การเพาะเห็ดฟางกองเตี้ย
LSVคลังสมองออนไลน์ "ปีที่14"
พฤศจิกายน 01, 2024, 08:22:40 am *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: การเพาะเห็ดฟางกองเตี้ย  (อ่าน 1076 ครั้ง)
คนเกษตร
วีไอพี
member
***

คะแนน41
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 45


« เมื่อ: กุมภาพันธ์ 20, 2016, 12:53:19 pm »

การเพาะเห็ดฟางกองเตี้ย


 
         เห็ดฟางเป็นเห็ดที่เพาะง่าย ใช้เวลาสั้น 5-7 วัน ก็เก็บดอกเห็ดที่เพาะได้ เป็นเห็ดที่มีผู้นิยมบริโภคมาก ทำให้ความต้องการของตลาดสูง ซึ่งทำให้มีราคาดีตลอดปี จึงมีผู้นิยมเพาะเห็ดฟางกันมาก

          การเพาะเห็ดฟางกองเตี้ย มีการพัฒนามาจากการเพาะแบบกองสูง ซึ่งเป็นการประหยัดวัสดุเพาะและง่ายต่อการดูแล สามารถให้อาหารเสริม และให้ผลผลิตที่แน่นอน
 
วัสดุอุปกรณ์และขั้นตอนการเพาะเห็ดฟางกองเตี้ย

          1. การเตรียมดินบริเวณเพาะเห็ด ควรขุดดินและย่อยให้ละเอียดไว้ก่อน และรดน้ำให้ดินเปียกชุ่ม บริเวณพื้นดินรอบ ๆ กองเพาะเห็ดจะได้เห็ดเพิ่มจากฟางบนกองเพาะเห็ดอีกจำนวนหนึ่ง
          2. ไม้แบบ ไม้แบบเพาะเห็ดใช้ไม้กระดานมาทำเป็นแบบแม่พิมพ์ โดยมีความกว้าง 120 เซนติเมตร สูง 30 เซนติเมตร ด้านล่างกว้าง 30 เซนติเมตร ด้านบนกว้าง 25 เซนติเมตร
          3. วัตถุดิบในการเพาะเห็ด จะนิยมฟางข้าวเพราะหาง่ายและมีจำนวนมาก จะใช้ฟางทั้งต้น หรือฟางข้าวนวดก็ได้ ยังมีวัตถุดิบอีกหลายชนิดที่ใช้เพาะเห็ดฟางได้ เช่น เปลือกของฝักถั่วเขียว ถั่วเหลือง ต้นถั่ว เปลือกผิวมันสำปะหลัง ผักตบชวา เศษต้นพืช ต้นหญ้า ปัจจุบันใช้ขี้เลื่อยจากการเพาะเห็ดถุงพลาสติก และผักตบชวาก็ให้ผลผลิตดีเท่ากับฟาง วัตถุดิบที่ใช้ในการเพาะเห็ด ต้องนำไปแช่น้ำให้เปียก ใช้เวลาในแช่ประมาณ 30 นาที ก็นำไปเพาะเห็ดได้
          4. อาหารเสริม การเพิ่มอาหารเสริมจะเป็นการเพิ่มผลผลิตให้มากขึ้น ที่นิยมคือไส้นุ่น เปลือกฝักถั่ว ผักตบชวา จอกหูหนู มูลสัตว์ที่แห้งเช่นขี้ควาย ก่อนใช้ต้องแช่ให้ชุ่มน้ำเสียก่อน
          5. เชื้อเห็ด เชื้อเห็ดฟางที่นำมาใช้ควรมีอายุ 5-10 วัน จะเห็นเส้นใยเจริญเติบโตเต็มถุงสีขาว ถ้าเส้นใยแก่จะมีสีเหลืองเข้ม หรือมีดอกเห็ดเจริญในถุงเชื้อ ไม่ควรนำไปใช้ และต้องไม่มีศัตรูเห็ด เช่น ตัวไร ไม่มีเชื้อราชนิดอื่นปนอยู่ เช่น ราเขียว ราเหลือง ราดำ หรือเชื้อราชนิดอื่นที่ไม่ไช่เชื้อเห็ด และมีกลิ่นหอมของเห็ด
          6. วัสดุคลุมแปลงเพาะเห็ด โดยทั่วไปจะใช้ผ้าพลาสติกคลุม เป็นการควบคุมความชื้นและรักษาอุณหภูมิให้เหมาะสมต่อการเจริญของเห็ด ถ้าเพาะในที่โล่งแจ้งจะใช้ฟาง ใบมะพร้าว ใบตาล เพื่อป้องกันแสงแดด

ขั้นตอนการเพาะเห็ดฟางกองเตี้ย

          เมื่อมีการจัดเตรียมสถานที่และวัสดุเรียบร้อยแล้ว ก็เริ่มทำการเพาะเห็ดชั้นแรก โดยเห็ดฟางกองเตี้ยจะทำทั้งหมด 4 ชั้น

          เพาะชั้นที่ 1

          1. นำไม้แบบหรือแม่พิมพ์เพาะเห็ดวางบนพื้นที่เตรียมไว้ นำฟางที่แช่น้ำใส่ลงในไม้แบบขึ้นย่ำพร้อมรดน้ำจนแน่นพอดี และให้มีความหนาประมาณ 10 เซนติเมตร
          2. นำอาหารเสริมที่ชุ่มน้ำ โรยรอบขอบไม้แบบบนฟางบาง ๆ ทั้งสี่ด้าน
          3. ใส่เชื้อเห็ด เชื้อเห็ดฟาง 1 ถุง มีน้ำหนักประมาณ 2 ขีด ขยี้เชื้อเห็ดให้เป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย แล้วแบ่งเป็น 4 ส่วน นำส่วนที่ 1 โรยลงบนอาหารเสริมให้ทั่วทั้งสี่ด้าน
          การเพาะชั้น 2-4 ให้ปฏิบัติเช่นเดียวกับชั้นที่ 1 จนครบ 4 ชั้น
          สำหรับชั้นที่ 4 ซึ่งเป็นชั้นบนสุดให้โรยอาหารเสริมและเชื้อเห็ดให้ทั่วผิวหน้าของแปลง แล้วนำฟางแช่น้ำมาคลุมหนาประมาณ 2-3 เซนติเมตร ใช้มือกดให้แน่นพอสมควร
          4. ยกแบบไม้ออก ควรยกด้านหัวและท้ายพร้อม ๆ กัน นำไปเพาะแปลงต่อ ๆ ไป โดยแต่ละกอง แปลงเพาะเห็ดให้ห่างกันประมาณ 10-15 เซนติเมตร
          5. ช่องว่างระหว่างแปลงเพาะเห็ดให้โรยอาหารเสริมและเชื้อเห็ด บนดินคลุมด้วยฟางบาง ๆ
          6. คลุมแปลงเพาะเห็ดด้วยผ้าพลาสติก ถ้าทำหลาย ๆ กองให้คลุมผ้าพลาสติก ยาวตลอดทุกแปลงเป็นผืนเดียวกัน
          7. นำฟางแห้ง คลุมทับบนผ้าพลาสติกอีกครั้ง

การดูแลรักษาแปลงเพาะเห็ด

          1. การคลุมผ้าพลาสติกแปลงเพาะเห็ด เป็นการรักษาอุณหภูมิและความชื้นให้เหมาะสมต่อการเจริญของเชื้อเห็ด โดยในวันที่ 1-3 ไม่ต้องเปิดผ้าพลาสติกเลย
          2. เมื่อถึงวันที่ 3 ให้เปิดผ้าพลาสติก เพื่อเป็นการระบายอากาศปล่อยไว้ประมาณ 1 เซนติเมตร (ในระยะนี้จะสังเกตเห็นเส้นใยของเห็ดเจริญบนอาหารเสริมและฟาง ยังไม่เกิดตุ่มดอก)
          3. นำฟางแห้งคลุมทับบนแปลง หนาประมาณ 3-5 เซนติเมตร แล้วคลุมทับด้วยผ้าพลาสติกเดิมบนฟาง แล้วปิดทับด้วยวัสดุป้องกันแสงบนผ้าพลาสติกอีกครั้ง อาจจะเป็นใบมะพร้าวแผงหญ้าคา หรือฟางแห้งก็ได้
          4. ต่อจากวันที่ 4 ของการเพาะให้เปิดแปลงเพาะเห็ดทุกวันเป็นการระบายอากาศและดูแลการเจริญ ของดอกเห็ด ในวันที่ 5 จะเห็นตุ่มเห็ดสีขาวเล็ก ๆ บนฟางของแปลงเพาะเห็ด
          5. ในระยะนี้ถ้ากองเห็ดแห้งให้รดน้ำเบา ๆ เป็นฝอยละเอียดบนฟางคลุมกองและรอบกองห้ามรดน้ำแปลงเพาะเห็ดเด็ดขาด จะทำให้ดอกเห็ดฝ่อและเน่า ถ้าเป็นฤดูฝนควรคลุมผ้าพลาสติกให้มิดชิด และทำร่องระบายน้ำรอบแปลงเพาะเห็ด
          6. ดอกเห็ดจะพัฒนาเจริญเติบโต และเก็บผลผลิตได้ราวันที่ 7-9 วันของการเพาะเห็ด แล้วเก็บดอกเห็ดได้ราว 2-3 วัน ต่อจากนี้ไปจะได้ผลผลิตน้อย (ถ้าใช้ฟาง 10 กิโลกรัม จะได้ดอกเห็ด 1-2 กิโลกรัม)
          7. การเก็บผลผลิต การเก็บดอกเห็ดจะนิยมเก็บในตอนเช้า ๆ เพราะดอกเห็ดจะตูมเต็มที่ในช่วงตี 3-4 ถ้าช้ากว่านี้ดอกเห็ดจะบานจะขายไม่ได้ราคา การเก็บดอกให้ใช้มือจับตรงโคนดอกโยกนิดหน่อยแล้วดึงออกมา ถ้าติดกันหลาย ๆ ดอกให้เก็บทั้งหมด อย่าให้มีชิ้นส่วนขาดหลงเหลืออยู่จะทำให้เน่าและเป็นสาเหตุการเน่าเสีย ของดอกเห็ดได้

ปัญหาการเพาะเห็ดฟางแบบกองเตี้ย

          ผู้ประกอบการเพาะเห็ดจะประสบปัญหามากมายหลายชนิด จึงจำเป็นต้องศึกษาสาเหตุและวิธีการแก้ไขให้ถูกต้อง เป็นการศึกษาด้วยประสบการณ์ของตนเองจะเป็นผลดีอย่างยิ่ง แต่พอจำแนกปัญหาได้ดังนี้

          1. พื้นที่เพาะเห็ด พื้นที่ที่มีสารเคมี ยาฆ่าแมลง ยาฆ่าเชื้อรา จะมีผลต่อการเจริญของเห็ดไม่ควรเพาะเห็ดในพื้นที่นี้
          2. วัสดุที่ใช้ในการเพาะเก่าเกินไป ถ้าเป็นฟางข้าวที่เก็บไว้นาน ๆ จะมีเชื้อจุลินทรีย์บางชนิดที่อยู่ในกองฟางเจริญและใช้อาหารในฟาง ทำให้ไม่พอต่อการเจริญของเห็ด ควรเลือกฟางค่อนข้างใหม่ แห้ง ไม่สดเกินไป และไม่มียาฆ่าแมลง หรือยาฆ่าเชื้อราตกค้างอยู่3. เชื้อเห็ด จะมีปัญหามากต่อผู้ประกอบการเพาะเห็ด โดยสาเหตุจากเชื้อเห็ดไม่บริสุทธิ์ สายพันธุ์ไม่ดี มีการต่อเชื้อกันหลายครั้งจนเชื้ออ่อนแอ ควรเลือกซื้อเชื้อเห็ดจากแหล่งที่ไว้ใจได้
          4. ฤดูกาล ดินฟ้าอากาศ จะมีผลต่อการเจริญของเห็ดได้อย่างมาก โดยเฉพาะในฤดูหนาว เห็ดฟางจะไม่เจริญถ้าไม่มีการควบคุมอุณหภูมิ ถ้าในฤดูฝนจะทำให้แปลงเพาะเปียกชื้น ดอกเห็ดจะเน่าควรคลุมแปลงเพาะให้มิดชิด ในฤดูร้อนอุณหภูมิในแปลงเพาะจะสูงมาก โดยเฉพาะการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิสูงต่ำแตกต่างกันมากในเวลากลางวันและกลาง คืน (ไม่ควรต่างกัน 10 องศาเซลเซียส) ควรจะให้มีการระบายอากาศและควบคุมความชื้นให้เหมาะสม
          5. การเพาะเห็ดฟางซ้ำในที่เดิมหลายครั้ง จะมีการสะสมศัตรูเห็ด และโรคเห็ด ทำให้ผลผลิตลดลง หรือไม่ได้เลย ถ้าจำเป็นต้องเพาะซ้ำที่เดิม ควรใช้ไฟเผาพื้นที่และโรยปูนขาวเพื่อปรับพื้นที่ใหม่
          6. น้ำที่ใช้ในการแช่ฟาง ต้องมีสภาพเป็นกาง มีค่าความเป็นกรดเป็นด่างอยู่ที่ 6.5-7.0 น้ำต้องไม่เน่าเหม็น ถ้าเป็นน้ำประปาต้องทิ้งไว้อย่างน้อย 6 ชั่วโมง และไม่มีสารเคมีและยาฆ่าแมลงตกค้างอยู่
          7. ศัตรูเห็ด เช่น มด ปลวก ถ้ามีความจำเป็นต้องใช้พื้นที่ที่อาศัยของมด ปลวก ทำการเพาะเห็ด ควรแก้ไขโดยใช้ยาฆ่าแมลงผสมน้ำรดดินแล้วปล่อยไว้ประมาณ 1-2 เดือน ถึงทำการเพาะเห็ด
          8. ศัตรูจากหนู กิ้งกือ จิ้งเหลน ที่ชอบเข้ามาอาศัยในแปลงเห็ด แล้วกัดกินดอกเห็ด หรือคุ้ยที่เขี่ยทำให้เกิดความเสียหาย ควรวางกับดักและทำลายแหล่งที่อยู่อาศัยรอบบริเวณเพาะเห็ด


ที่มา : การเพาะเห็ด โดยสุเทพ ญาดี ภาควิชาจุลชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ หาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์




บันทึกการเข้า

หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1 RC2 | SMF © 2001-2006, Lewis Media

lsv2555Please follow the new website at https://www.pohchae.com

Valid CSS!