ค่าปรับผู้ทำผิดกฏจราจร ตำรวจได้ส่วนแบ่งเท่าไร
ธันวาคม 23, 2024, 01:43:24 pm *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ค่าปรับผู้ทำผิดกฏจราจร ตำรวจได้ส่วนแบ่งเท่าไร  (อ่าน 2463 ครั้ง)
หลอดไฟ
วีไอพี
member
***

คะแนน246
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1550


อีเมล์
« เมื่อ: พฤษภาคม 06, 2014, 05:53:04 pm »

ค่าปรับจราจร : รายได้ของรัฐ ถูกนำส่งเข้าคลังอย่างไรหรือเป็นรางวัลของใคร
      ในบรรดาหน้าที่ความรับผิดชอบของตำรวจไทย งานหนึ่งที่ดูจะเกี่ยวข้องกับประชาชนไม่น้อยไปกว่างานป้องกันปราบปรามอาชญากรรม และดูจะเป็นที่กล่าวถึงอยู่บ่อยครั้งทั้งในแง่บวกและลบคือ งานจราจร ในบางประเทศ เช่น ออสเตรเลีย สหรัฐอเมริกาหรือบางประเทศในแถบทวีปยุโรป งานจราจรอยู่ในความรับผิดชอบของเจ้าหน้าที่ท้องถิ่น แต่ในแถบทวีปเอเชียโดย เฉพาะไทย กัมพูชาหรือลาว นั้น งานจราจรยังเป็นหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ตำรวจ
      บทบาทตำรวจจราจรในประเทศไทย ซึ่งเกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันของประชาชนเริ่ม  ตั้งแต่ตื่นนอนจนกระทั่งเข้านอนหรือบางช่วงก็ตลอด 24 ชั่วโมง สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ฐานะ กล่าวคือ ในฐานะเจ้าหน้าที่อำนวยความสะดวกด้านการจราจรบนท้องถนน และในฐานะเจ้าหน้าที่ผู้บังคับใช้กฎหมายจราจร อันที่จริงหมวกทั้งสองใบที่สวมอยู่บนตัวเจ้าหน้าที่ตำรวจไม่น่าจะก่อให้ความแตกต่างในเชิงบทบาทมากนักถ้าไม่มีเรื่องการกระทำความผิดตามกฎหมายจราจร ซึ่งเกี่ยวข้องกับโทษทางอาญาเข้ามาเกี่ยวข้องแต่ข้อเท็จจริงนี้ดูจะไม่สามารถปฏิเสธได้เพราะขึ้นชื่อว่ากฎหมายแล้วย่อมต้องมีการบังคับใช้ และหากมีการฝ่าฝืนจะต้องถูกลงโทษตามอัตราที่กำหนดไว้
      ประเด็นเรื่องการจราจรที่ดูจะถูกวิพากษ์วิจารณ์อยู่บ่อยครั้ง คือ การใช้อำนาจหน้าที่โดยมิชอบ การเลือกปฏิบัติ การทุจริตติดสินบนของตำรวจจราจร และเรื่องของเงินค่าปรับจราจรซึ่งประชาชนต้องถูกเปรียบเทียบปรับที่สถานีตำรวจ    ในบทความนี้จะแสดงรายละเอียดที่เกี่ยวข้องกับเงินค่าปรับจราจรในฐานะรายได้ของรัฐ ซึ่งประชาชนทั่วไปต้องเสียให้แก่รัฐเมื่อกระทำผิดกฎหมายจราจร เพื่อชี้ให้เห็นว่าตามกฎหมายเมื่อผู้ขับขี่รถหรือเจ้าของรถเสียเงินค่าปรับจราจรไปแล้ว เงินเหล่านี้มีหลักเกณฑ์และขั้นตอนการจัดสรรเป็นรายได้แผ่นดิน และย้อนกลับมาเป็นรางวัลแก่เจ้าหน้าที่ผู้จับอย่างไร
      ประเภทของเงินค่าปรับจราจร
      โดยทั่วไปกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการ ใช้รถใช้ถนนมีอยู่ด้วยกันหลายฉบับ เช่น พระ-ราชบัญญัติการจราจรทางบก, พระราชบัญญัติรถยนต์, พระราชบัญญัติขนส่ง, กฎกระทรวงต่างๆ ที่ออกตามพระราชบัญญัตินั้น และอาจเกี่ยวข้องกับกฎหมายอาญาซึ่งมีโทษจำคุกด้วยหากมีกรณีที่มีการเฉี่ยวชนกันและมีผู้บาดเจ็บเกิดขึ้น อย่างไรก็ตามเมื่อพูดถึงเฉพาะในของเรื่องเงินค่าปรับจราจรแล้ว หลักเกณฑ์ในการนำเงินส่งเป็นรายได้แผ่นดินและการจัดสรรเงินที่เหลือเป็นรางวัลสำหรับเจ้าหน้าที่จราจรผู้จับกุมเป็นไปตามประมวลระเบียบการตำรวจไม่เกี่ยวกับคดี  และระเบียบกระทรวงการคลังต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง   ซึ่งอาจแบ่งอย่างกว้างๆ ออกได้เป็น 4 ประเภทใหญ่ ๆ ดังต่อไปนี้   
      1. ค่าปรับจราจรที่ได้จากการเคลื่อนย้ายรถ หรือใช้เครื่องมือบังคับไม่ให้รถเคลื่อนย้าย (เงินล็อคล้อ)
         เงินค่าปรับประเภทนี้ดูจะเป็นที่หวาดกลัวของคนทั่วไปมากเป็นพิเศษ เพราะมีอัตราสูง   สมัยผู้เขียนดำรงตำแหน่งเป็นรองสารวัตรสอบสวนอยู่ที่สถานีตำรวจมักจะถูกร้องขอจากผู้ขับขี่รถที่ถูกล็อคล้อรถให้ช่วยปรับในอัตราขั้นต่ำที่สุดเท่าที่จะทำได้ โดยมีสาเหตุต่างๆ นานา แต่ก็ได้ตอบบุคคลเหล่านั้นว่า เป็นเรื่องยากที่จะทำได้เพราะเงินค่าปรับประเภทนี้ถูกกำหนดไว้ค่อนข้างจะชัดเจนในตัวเองอยู่แล้ว กฎหมายจราจรกำหนดไว้อย่างชัดเจนว่า เมื่อมีการใช้เครื่องมือบังคับล้อรถ และมีการสอบสวนแล้ว พบว่า เจ้าของรถจอดรถผิดกฎจราจรจริง ผู้ขับขี่หรือเจ้าของรถผู้ที่ประสงค์จะให้ปลดล็อคเครื่องมือบังคับล้อจะต้องถูกปรับในอัตรา 500 บาท ต่อคัน
         สำหรับคำถามว่า เมื่อใดที่ตำรวจจะใช้เครื่องมือบังคับล้อ กฎหมายไม่ได้ระบุไว้โดยปล่อยให้เป็นดุลยพินิจของเจ้าหน้าที่ตำรวจจราจรซึ่งโดยทั่วไปแล้วเป็นเรื่องของนโยบายของการบังคับใช้กฎหมายมากกว่าที่เป็นเรื่องของกฎเกณฑ์ที่ชัดเจนตายตัว อย่างไรก็ตามแนวคิดเรื่องการบังคับล้อรถดูจะสัมพันธ์กับเรื่องการบังคับใช้กฎหมายเพื่อให้เกิดความยำเกรงอยู่    ไม่น้อย จากการพูดคุยกับเจ้าหน้าที่ตำรวจในระดับผู้บริหาร ทำให้ได้คำตอบว่า ส่วนใหญ่แล้ว  เครื่องมือบังคับล้อรถจะถูกนำมาตามถนนเส้นสำคัญๆ หรือตรอก, ซอยที่มีการจราจรคับคั่ง โดยมุ่งหวังจะให้เกิดความหลาบจำ และเกรงกลัวที่จะกระทำผิดซ้ำอีก นั่นหมายความว่า หากผู้ที่เขียนใบสั่งจราจรพร้อมกับเครื่องมือบังคับล้อรถแล้ว ผู้ขับขี่หรือเจ้าของไม่สามารถจะขับรถต่อไปได้จนกว่าจะได้เสียค่าปรับก่อน จากนั้นเจ้าหน้าที่ตำรวจผู้ล็อคล้อรถจึงมาปลดเครื่องมือให้   ซึ่งทำให้ผู้ขับขี่ต้องเสียเวลามากขึ้นกว่าการที่   ได้รับใบสั่งติดหน้ารถ ซึ่งมองดูเป็นการบังคับใช้กฎหมายที่แข็งกร้าวมากกว่าการออกใบสั่ง  แต่เพียงอย่างเดียว
        ไม่เพียงแต่ผู้ขับขี่หรือเจ้าของรถจะต้องเสียค่าบังคับล้อรถจำนวน 500 บาท แต่ยังจะต้องถูกปรับในเรื่องการจอดรถผิดที่ผิดทางอีก  ในอัตราค่าปรับไม่เกิน 500 บาท ซึ่งขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของพนักงานสอบสวน โดยสรุป ผู้ขับขี่จะต้องถูกปรับในอัตราขั้นต่ำที่สุด 600 บาทเงินค่าปรับในกลุ่มนี้ สถานีตำรวจท้องที่ผู้ทำการปรับจะถูกแยกส่งออกเป็น 2 ส่วน ส่วนแรก คือ เฉพาะค่าปรับกรณีการเคลื่อนย้ายรถ (รถยก) หรือการใช้เครื่องบังคับล้อ ซึ่งมีอัตรา 500 บาท ต่อคัน จะถูกนำส่งไปฝากไว้ที่กระทรวงการคลังโดยไม่มีหักออก เงินดังกล่าวจะยังอยู่กับกระทรวง การคลังจนกว่าจะมีการคำขอเบิกจ่ายเพื่อ      เป็นค่าใช้จ่ายต่างๆ ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้   เช่น ค่าเช่าสถานที่จอดรถกลาง ค่าจัดซื้อจัดหารถยนต์และอุปกรณ์ในกรณีจำเป็นเร่งด่วน และไม่สามารถเบิกจากเงินงบประมาณได้ ค่าป้าย เอกสารเครื่องหมาย ค่าซ่อมแซม บำรุงรักษารถยกอุปกรณ์ ค่าประกันภัย ค่าฝึกอบรมสัมมนาเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน1 เป็นต้น ส่วนที่สองคือ เงินค่าปรับตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ. 2522 ซึ่งสามารถปันส่วนเป็นเงินรางวัลสำหรับเจ้าหน้าที่ตำรวจจราจร ซึ่งจะได้กล่าวถึงในส่วน  ต่อไป
      2. ค่าปรับจราจรตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ. 2522
         เงินค่าปรับในหมวดนี้ได้มาจากการกระทำความผิดตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก เช่น การจอดรถที่ที่ห้ามจอด การขับรถฝ่าฝืนสัญญาณจราจร  การขับรถเฉี่ยวชนกันบนท้องถนน อัตราค่าปรับในตาม พ.ร.บ.จราจร มีอยู่หลายระดับ ตั้งแต่อัตราโทษปรับขั้นต่ำไม่เกิน 500 บาท จนถึง 1,000 บาท อย่างไรก็ตาม การจัดสรรและจัดส่งจราจรในหมวดที่แล้ว หลักเกณฑ์การนำเงินส่งหน่วยการเงินที่เกี่ยวข้องในส่วนนี้สามารถแยกคิดคำนวณได้เป็น 3 ขั้นตอน กล่าวคือ
         ขั้นตอนที่ 1  แบ่งเงินค่าปรับออกเป็น 2  ส่วน ส่วนแรก ครึ่งหนึ่งของเงินค่าปรับจะนำส่งกรุงเทพมหานคร ส่วนที่สอง อีกครึ่งหนึ่งจะนำมาคิดคำนวณใหม่โดยตั้งฐานแบบร้อยละอีกสองชั้น
         ขั้นตอนที่ 2 นำเงินที่เหลือครึ่งหนึ่งของค่าปรับมาคิดหักเป็น 2 ส่วน ส่วนแรก 5 เปอร์เซนต์  หักนำส่งเป็นรายได้แผ่นดิน ส่วนที่สอง จัดสรรเป็นเงินรางวัลผู้จับกุมและผู้สนับสนุนตามขั้นตอนที่สาม
         ขั้นตอนที่ 3 นำเงินที่เหลือจากหัก 5 เปอร์เซนต์แล้ว มาจัดสรรสำหรับเป็นรางวัลผู้จับกุมและผู้สนับสนุนงานจราจร ในอัตรา  60 : 40 กล่าวคือ ผู้จับกุมจะได้ส่วนแบ่งในอัตราร้อยละ 60  ส่วนผู้สนับสนุนจะได้ร้อยละ 40
 ซึ่งสามารถเขียนแผนภาพประกอบความเข้าใจได้ดังนี้
 ลองดูตัวอย่างประกอบแผนภาพดังต่อไปนี้    สมมติว่า นาย เอบี ถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจจราจรปรับในฐานความผิดจอดรถในบริเวณพื้นที่     ห้ามจอด และถูกปรับในอัตราขั้นต่ำ 400 บาท เงินจำนวนดังกล่าวสามารถคำนวณได้ดังนี้
         ขั้นตอนที่ 1 200 บาท ส่งให้กับกรุงเทพมหานคร ที่เหลืออีก 200 บาท ส่งนำมาคิดคำนวณใหม่ในอัตราร้อยละ
         ขั้นตอนที่ 2  หักเป็นรายได้แผ่นดิน 5/100 * 200 = 10 บาท ที่เหลืออีก 190 บาท เป็นเงินรางวัลจราจร
         ขั้นตอนที่ 3  ผู้จับกุมจะได้เงิน 60/100 * 190 = 114 บาท ส่วนผู้สนับสนุน
 งานจราจรจะได้รับ  76 บาท

      3. ค่าปรับจราจรตาม พ.ร.บ.รถยนต์ พ.ศ. 2522
         เงินค่าปรับตาม พ.ร.บ.รถยนต์ แตกต่างไปจากหมวดอื่นที่กล่าวมาใน 2 กลุ่มแรก ความผิดในกลุ่มนี้ส่วนใหญ่จะเกี่ยวข้องกับตัวรถยนต์ของ ผู้ขับขี่โดยตรง เช่น การใช้รถยนต์ที่มิได้จดทะเบียน หรือใช้รถที่จดทะเบียนแต่มิได้เสียภาษีประจำปีสำหรับรถนั้นให้ถูกต้อง, การใช้รถที่ไม่แสดงแผ่นป้ายทะเบียนและเครื่องหมายให้ครบถ้วน, อนุญาตให้ผู้ซึ่งไม่มีใบอนุญาตขับรถหรือมีใบอนุญาตขับรถประเภทอื่นที่ใช้แทนกันไม่ได้เข้าขับรถของตนหรือรถที่ตนเป็นคนขับ เป็นต้น    การคิดสัดส่วนเงินค่าปรับในกลุ่มนี้จะแยกออกเป็น 2 ส่วน ส่วนแรก 5% จะหักเป็นรายได้แผ่นดิน ส่วนที่สอง อีก 95% จะเป็นเงินรางวัลสำหรับเจ้าหน้าที่จราจรผู้จับกุม โดยจะนำเงินฝากไปยังกระทรวงการคลังก่อนเพื่อรอการเบิกจ่ายให้กับเจ้าหน้าที่ผู้จับกุมอีกครั้งหนึ่ง โดยสถานีตำรวจซึ่งเป็นหน่วยต้นสังกัดของเจ้าหน้าที่จราจรก็จะทำหนังสือพร้อมเอกสารหลักฐานไปยังกระทรวงการคลังเพื่อขอเบิกเงินจำนวนดังกล่าวกลับคืนมาเป็นเงินรางวัลจราจร 
      4. ค่าปรับจราจรตาม พ.ร.บ. ขนส่งทางบก พ.ศ. 2535
         เงินค่าปรับตาม พ.ร.บ.ขนส่งทางบก พ.ศ. 2535 เป็นอีกหมวดหนึ่งที่มีลักษณะมีการจัดสรรเงินค่าปรับคล้ายกับของ พ.ร.บ.จราจรทางบก   แต่ซับซ้อนน้อยกว่า โดยเงินค่าปรับที่ได้จะแบ่งออกเป็น 3 ส่วน ส่วนแรก 45% จะนำส่งกระทรวงการคลังเป็นรายได้แผ่นดิน ส่วนที่สอง 15% จะส่งไปจัดเก็บที่กระทรวงการคลังเช่นกัน  แต่เป็นค่าใช้จ่ายสำหรับงบดำเนินงานซึ่งสามารถจะขอเบิกจ่ายได้ตามระเบียบที่กำหนดไว้ เช่น  ค่าเช่าสถานที่ ค่าบำรุงรักษาต่างๆ ส่วนสุดท้ายอีก 40% จะจัดสรรเป็นเงินรางวัลสำหรับ เจ้าหน้าที่ตำรวจผู้จับโดยใช้ระเบียบเช่นเดียวกับค่าปรับที่ได้จาก พ.ร.บ.รถยนต์ กล่าวคือ ต้องส่งเงินส่วนนี้ไปกระทรวงการคลังก่อน จากนั้นจึงทำรายงานพร้อมหลักฐานที่เกี่ยวข้องเพื่อขอเบิกกลับคืนเป็นเงินรางวัลสำหรับเจ้าหน้าที่ตำรวจจราจรอีกครั้งหนึ่ง
      นอกเหนือจากหลักเกณฑ์ที่กล่าวไปแล้วข้างต้น ในการจัดสรรเงินที่ได้ตั้งเบิกและรับมาจากกระทรวงการคลังเพื่อเป็นรางวัลสำหรับ  เจ้าหน้าที่จราจรยังคงมีรายละเอียดปลีกย่อยมากกว่านี้ซึ่งเป็นเรื่องภายในหน่วยงาน เช่น เงิน อุดหนุน (ที่จะดำเนินกิจกรรมต่างๆ ของตำรวจในกรุงเทพฯ) จากกรุงเทพมหานครให้กองบัญชา การตำรวจนครบาลขอตั้งงบประมาณเพิ่มเติมจากกรุงเทพมหานครเป็นเงินอุดหนุน เพื่อจ่ายเป็นเงินรางวัลแก่เจ้าหน้าที่ตำรวจผู้ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ควบคุมการจราจรให้เพียงพอกับการใช้จ่าย เป็นต้น เนื่องจากเป็นรายละเอียดในเชิงการบริหารขององค์กร ผู้เขียนจึงไม่ขอกล่าวไว้ ณ ที่นี้     
      จากที่กล่าวมาทั้งหมดจึงเห็นได้ว่า ค่าปรับที่ประชาชนถูกปรับตามกฎหมายการจราจรนั้น   มีกระบวนการจัดเก็บและการคำนวณเงินค่าปรับอย่างเป็นระบบ โดยมีการจัดสรรนำส่งกระทรวงการคลัง และจัดสรรเป็นเงินรางวัลสำหรับเจ้าหน้าที่จราจรผู้จับกุมและสนับสนุนอย่างเหมาะสม หรือกล่าวอีกอย่างได้ว่า ระบบของวงจรเงินค่าปรับมีการตอบแทนให้กับเจ้าหน้าที่อย่างเหมาะสมอยู่แล้ว เพียงแต่ว่า ตัวเจ้าหน้าที่ผู้บังคับใช้กฎหมายจะปฏิบัติให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากน้อยเพียงใด
      อย่างไรก็ตามจากสภาพสังคมไทยในความเป็นจริงแล้ว การบังคับใช้กฎหมายจราจรอย่างเคร่งครัดที่จะก่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ยังคงประสบกับอุปสรรคที่สำคัญ 2 ประการ คือ การแสวงหาช่องโอกาสในการทุจริตจากอำนาจหน้าที่ที่ได้รับ (เช่น การรับสินบนจากผู้ขับขี่โดยไม่ออกใบสั่งจราจรแม้ว่าเจ้าของรถหรือผู้ขับขี่    จะได้กระทำผิดกฎหมายจราจรก็ตาม) และการบังคับใช้กฎหมายแบบเลือกปฏิบัติ (เช่น ในการเปรียบเทียบปรับตามกฎหมายจราจรในอัตราโทษเดียวกัน ผู้ขับขี่ที่มีการให้ผู้หลักผู้ใหญ่ขอความอนุเคราะห์เป็นกรณีพิเศษ อาจถูกปรับในอัตราต่ำกว่าความเป็นจริง) สาเหตุสำคัญทั้งสองประการ จึงส่งผลให้การบังคับใช้กฎหมายจราจรไม่เกิดประสิทธิภาพเท่าที่ควร     
      ในต่างประเทศ การเปรียบเทียบปรับใบสั่งจราจร หรือความผิดตามกฎหมายอื่นๆ เช่น การโดยสารรถไฟโดยหลบเลี่ยงไม่จ่ายเงินค่าโดยสาร   ผู้ขับขี่หรือผู้โดยสารจะถูกเจ้าหน้าที่ออกใบสั่ง (notice) ไม่ว่าจะในทันทีทันใดนั้นเอง หรือส่งไปยังที่พักอาศัย จากนั้น ผู้กระทำผิดมีหน้าที่ที่    จะต้องนำใบสั่งดังกล่าวไปชำระที่ที่ทำการไปรษณีย์ ด้วยวิธีการเช่นนี้ หน่วยที่ทำการเปรียบเทียบปรับและผู้เสียค่าปรับจึงไม่มีโอกาสได้เห็นหน้ากัน เพราะอัตราค่าปรับถูกกำหนดไว้ในจดหมายเรียบร้อยแล้ว (ซึ่งค่อนข้างสูง) ในขณะที่กระบวนการนำส่งเป็นรายได้แผ่นดินและรางวัลสำหรับเจ้าหน้าที่ผู้จับมีลักษณะคล้ายคลึงกับไทย ดังนั้น ปัญหาของการเลือกปฏิบัติ หรือการทุจริตคอรัปชั่นจึงมีโอกาสเกิดขึ้นได้น้อยกว่า   ในขณะที่รางวัลการจับกุมที่จะย้อนกลับมาสู่ตัว      ผู้จับมีสัดส่วนสูงกว่าของไทยมาก แนวทางการดังกล่าวจึงอาจเป็นวิธีการหนึ่งที่อาจจะถูกนำมาใช้ในประเทศไทยได้ในอนาคต ถ้าประเทศไทยมีระบบการบริหารจัดการแบบเชื่อมโยงระหว่างหน่วยงานที่ดีพอ หรือกำหนดค่าปรับให้สูงขึ้นเพื่อป้องกันการกระทำผิดซ้ำ
 บรรณานุกรม
       > ประมวลระเบียบการตำรวจไม่เกี่ยวกับคดี  ลักษณะที่ 36 (เดิม) บทที่ 77 ระเบียบสำนัก งานตำรวจแห่งชาติ ว่าด้วย กำหนดหลักเกณฑ์ การรับ การเก็บรักษา และค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการเคลื่อนย้ายรถหรือ ใช้เครื่องมือบังคับไม่ให้เคลื่อนย้าย ตลอดจนค่าดูแลรักษารถระหว่างที่อยู่ในความครอบครองของเจ้าพนักงานจราจรหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2542 
       > ประมวลระเบียบการตำรวจไม่เกี่ยวกับคดี ลักษณะที่ 38 (เดิม) เงินสินบน บทที่ 26 ระเบียบ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ว่าด้วย หลักเกณฑ์ แบบ หรือวิธีปฏิบัติในการจ่ายเงินรางวัล เจ้าหน้าที่ตำรวจ  ผู้ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ควบคุมการจราจร พ.ศ. 2544 
       > ประมวลระเบียบการตำรวจไม่เกี่ยวกับคดี ลักษณะที่ 38 (เดิม) เงินสินบน บทที่ 25/1 ระเบียบกระทรวงการคลัง ว่าด้วย การจ่ายเงินรางวัลเจ้าหน้าที่ตำรวจซึ่งปฏิบัติหน้าที่ควบคุมการจราจร

จากsanpakornsarn.com


บันทึกการเข้า

ทำวันนี้ให้ดีที่สุด

b.chaiyasith
แก้ปัญหาไม่ตกคุยกันเวลางานline:chiabmillion
.กลุ่มผู้มีน้ำใจงาม.
member
*

คะแนน650
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3008


ไม้ดีไม่ลอยน้ำมาไกล


อีเมล์
« ตอบ #1 เมื่อ: พฤษภาคม 07, 2014, 06:38:39 am »

ตำรวจได้เต็มร้อย ถ้าไม่ออกใบสั่ง ตำรวจทางหลวงต้องจ่ายค่าใบสั่ง๑๐๐บาท ต่อใบ
ให้กับต้นสังกัด ไม่มีในระเบียบแต่ปฏิบัติ Cheesy
บันทึกการเข้า

"CHIAB"
มนุษย์เราแต่ละคน  ต่างไม่รู้ว่ามาจากไหน  ไม่มีใครรู้จักกันมาก่อนเลย  แล้ววันหนึ่งก็มาพบหน้ากัน  สมมุติเป็นพ่อ  เป็นแม่  เป็นเมีย  เป็นสามี  เป็นลูก  อยู่ร่วมกัน  ใช้ชีวิตร่วมกัน และแล้ววันหนึ่ง  ก็แยกย้ายด้วยการ  "ตายจาก"  กันไปสู่  ณ  ที่ซึ่งไม่มีใครได้ตามพบ  คืนสู่ความเป็นผู้ไม่รู้ว่ามาจากไหน  ไปไหน  และคืนสู่ความเป็น  "คนแปลกหน้า"  ซึ่งกันและกันอนันกาลอีกครั้งหนึ่ง...และอีกครั้งหนึ่ง!?
ขอขอบคุณ คุณเปลว สีเงิน ที่ให้ข้อคิดดีๆ
หลอดไฟ
วีไอพี
member
***

คะแนน246
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1550


อีเมล์
« ตอบ #2 เมื่อ: พฤษภาคม 17, 2015, 01:19:31 pm »


..พล.ต.ต.อดุลย์ ณรงค์ศักดิ์ รอง ผบช.น. ได้เปิดเผยว่า ในการประชุมพิจารณาแก้ไขกฎหมาย พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ. 2522 ว่า ทางสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ได้สั่งการให้หารือถึงข้อหาจราจรที่จำเป็นต้องปรับปรุงแก้ไขให้เด็ดขาดมากขึ้น

     ซึ่งในส่วนของ บช.น. จะมีการเสนอให้เพิ่มอัตราโทษ ในข้อหาไม่มีใบอนุญาตขับขี่ขณะขับรถ ให้จำคุกไม่เกิน 3 เดือน หรือ ปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือ ทั้งจำทั้งปรับ ซึ่งจากเดิมมีโทษเพียงลหุโทษ ตาม พ.ร.บ.รถยนต์ คือ จำคุกไม่เกิน 1 เดือน หรือปรับไม่เกิน 1,000 บาทเท่านั้น

     ทั้งนี้ ยังจะมีการขอเพิ่มโทษในข้อหา มีและไม่แสดงใบอนุญาตขับขี่ เมื่อเจ้าพนักงานเรียกตรวจสอบได้ โดยเสนอให้เพิ่มอัตราปรับ 5,000 ถึง 10,000 บาท และจากทั้งสองกรณีนั้น เจ้าหน้าที่ตำรวจสามารถควบคุมตัวผู้ขับขี่ได้

     นอกจากนี้ ทาง บช.น. ยังได้เสนอมาตรการเพิ่มโทษ กรณีขับรถโดยประมาทและหวาดเสียว เช่น ขับรถย้อนศร มีโทษปรับ 1,000 ถึง 5,000 บาท รวมทั้งจะเพิ่มโทษผู้ขับขี่ที่กีดขวางการจราจร อัตราปรับขั้นต่ำ 400 ถึง 1,000 บาท ด้วย

     อย่างไรก็ตาม มาตรการดังกล่าวทั้งหมดอยู่ระหว่างหารือกับทีมกฎหมาย เพื่อสรุปและเสนอร่างดังกล่าวต่อสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เพื่อพิจารณาให้การบังคับใช้เป็นข้อกฎหมายต่อไป

 

http://www.1009seo.com/
บันทึกการเข้า

ทำวันนี้ให้ดีที่สุด
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1 RC2 | SMF © 2001-2006, Lewis Media

lsv2555Please follow the new website at https://www.pohchae.com

Valid CSS!