การติดตั้งโซลาร์รูฟอย่างเสรี 2558..เรื่องมันยาว
มกราคม 07, 2025, 07:25:37 pm *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: การติดตั้งโซลาร์รูฟอย่างเสรี 2558..เรื่องมันยาว  (อ่าน 20651 ครั้ง)
ช่างเล็ก(LSV)
Administrator
member
*

คะแนน1346
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 18846


คิดดี ทำดี ชีวิตมีแต่สุข


อีเมล์
« เมื่อ: มกราคม 15, 2015, 02:41:45 pm »



ย้อนรอย! เหตุ สปช.พลังงาน รับลูก คสช. เร่ง โครงการส่งเสริมการติดตั้งโซลาร์รูฟอย่างเสรี หลัง “คสช.” ทบทวนโครงการผลิตไฟฟ้าโรงงานแสงอาทิตย์ สกัดการเมือง ฮุบ 4 หมื่นล้าน เผย คสช.เร่งทำต่อเนื่องให้เสร็จในปี 2558 ปูด!! บริษัท “เสี่ยนิค” ชื่อโผล่ทำพลังงานทดแทนให้กองทัพ ผลิตไฟฟ้าจากหญ้าเนเปียร์ ขนาด 1 เมะวัตต์ ในพื้นที่กองการสัตว์และเกษตรกรรมที่ 2 กรมการสัตว์ทหารบก อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา มีชื่อบริษัท รีนิวเอเบิล เอนเนอร์ยี่ (โฮลดิ้ง)จำกัด เป็นผู้ดำเนินโครงการ
       
       ในขณะที่ สภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ใช้เสียง 206เสียง เริ่มต้นเปิดศักราช 2558 โดยการให้ของขวัญกับคนไทยทั้งประเทศ ด้วยการเห็นชอบพิจารณาวาระการปฏิรูปเร็ว (Quick win) เรื่องโครงการส่งเสริมการติดตั้งโซลาร์รูฟอย่างเสรี (ระบบผลิตไฟฟ้าด้วยแสงอาทิตย์สำหรับบ้านและอาคาร)สปช.ด้านพลังงาน หลายคนออกมาชื่นชมว่า จะเป็นมิติใหม่ มีการอภิปรายอย่างกว้างขวาง
       
       น.ส.รสนา โตสิตระกูล สปช.ด้านพลังงาน ระบุว่า เป็นการส่งเสริมให้ประชาชนผลิตพลังงานไฟฟ้าจากหลังคาเรือน จะไม่มีใครสามารถเป็นเจ้าของผูกขาดได้ เป็นการกระจายอำนาจทั้งด้านเศรษฐกิจและกระจายความเป็นเจ้าของพลังงานแทนที่จะตกอยู่ในมือของคนกลุ่มเดียว ส่วนข้อกังวลว่าในอนาคต จะมีค่าใช้จ่ายที่สูงนั้น ตนเห็นว่าถ้ามีการใช้กันอย่างแพร่หลาย ราคาของแผงโซลาร์รูฟก็น่าจะมีราคาลดลง และกระบวนการตามโครงการดังกล่าวจะส่งเสริมให้ประชาชนประหยัด เพราะนอกจากจะลดรายจ่ายค่าไฟฟ้าแล้ว ยังสามารถจำหน่ายให้แก่บุคคลอื่นๆ ได้ด้วย ถือเป็นมติใหม่ในการปฏิรูปประเทศ
       
       นายทองฉัตร หงศ์ลดารมภ์ ประธานกรรมาธิการปฏิรูปพลังงาน ระบุว่า ถือเป็นผลงานปฏิรูปชิ้นแรกของคณะกรรมาธิการปฏิรูปพลังงาน ซึ่งโครงการนี้จะทำให้ประชาชนสามารถนำพลังงานแสงอาทิตย์ไปใช้ได้เอง และลดภาระการหาพลังงาน รวมทั้งสามารถนำพลังงานแสงอาทิตย์ไปหารายได้ให้กับครัวเรือนได้ โดยจะเสนอเรื่องให้คณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบโดยเร็ว
       
       คาดว่าอีก 5 ปีข้างหน้าจะมีการติดตั้งพลังงานแสงอาทิตย์ไม่ต่ำกว่า 1 แสนหลังคาเรือน คิดเป็นค่าไฟฟ้าไม่ต่ำ 5,000 เมกะวัตต์ โดยตั้งเป้าการติดตั้งที่ โรงเรียน โรงงาน สถานที่ราชการ และออฟฟิศ รวมทั้งตั้งเป้าใน 20 ปีข้างหน้าจะมีพลังงานแสงอาทิตย์จากการติดตั้งโซลาร์รูฟไม่ต่ำกว่า 10,000 เมกะวัตต์ และจะลดการสร้างโรงงานไฟฟ้าของรัฐบาล โดยคิดเป็นมูลค่า 1 ล้านล้านบาท ทั้งยังลดภาวะโลกร้อนและภาวะเรือนกระจก ซึ่งประเทศไทยจะเป็นผู้นำการผลิตพลังงานแสงอาทิตย์และประเทศสีเขียวในภูมิภาคอาเซียน
       
       “จะเสนอเรื่องให้ครม. ให้ความเห็นชอบและมีมติให้คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ และคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน ออกกฎระเบียบมารองรับ โดยให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) และการไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) ดำเนินการตามมติดังกล่าว โดยไม่ต้องรอกฎหมายใหม่ เพียงแค่ ครม.มีมติส่งเสริมการติดตั้งโซลาร์รูฟอย่างเสรี ก็ดำเนินโครงการได้ทันที”
       
       นพ.พลเดช ปิ่นประทีป สมาชิก สปช. ระบุว่า แม้ประเทศไทยจะมีการอนุญาตให้ใช้ระบบโซลาร์รูฟท็อป แต่ติดขัดปัญหาเรื่องขยายการติดตั้งโซลาร์รูฟท็อปบนหลังคาที่อยู่อาศัยในเรื่องระยะเวลาการขอใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงาน (รง.4)ที่ล่าช้ามากเป็นผลให้โครงการพลังงานหลายเรื่อง เช่น พลังงานแสงอาทิตย์ สถานีแม่เอ็นจีวี โรงไฟฟ้าต่างๆ ไม่สามารถดำเนินการได้ เพราะถูกตีความภายหลังว่า ผิดกฎหมายกรมโรงงานอุตสาหกรรม เนื่องจากไม่ขอ รง.4มาโดยตลอด
       
      คสช. ทบทวนโครงการผลิตไฟฟ้าโรงงานแสงอาทิตย์

     เหตุใด สปช.พลังงาน ต้องเร่งดำเนินการอย่างเร่งด่วนกับโครงการส่งเสริมการติดตั้งโซลาร์รูฟอย่างเสรี (ระบบผลิตไฟฟ้าด้วยแสงอาทิตย์สำหรับบ้านและอาคาร)
       
       ย้อนกลับไปเมื่อช่วงการจัดตั้ง คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) องค์กรต่อต้านคอร์รัปชั่น (ประเทศไทย) ได้เสนอให้ คสช. ทบทวนโครงการผลิตไฟฟ้าโรงงานแสงอาทิตย์ชุมชน 800 ชุมชนทั่วประเทศ มูลค่า 40,000 ล้านบาท
       
       แฉ! จ่อกู้ออมสินหนุนชุมชน 80,000 ล้านบาท หลังประเมินมูลค่าลงทุนต่อ 1 เมกะวัตต์ พบว่าอยู่ที่ประมาณ 100 ล้านบาท ผู้ประกอบการโซลาร์ฟาร์มที่ขนาดเล็ก ต้นทุนสูงรัฐเมิน หนุนแต่โซลาร์ชุมชน จีนกระหน่ำโซลาร์เซลล์ ไทยปิด รง.ขาดทุนยับ”
       
       ช่วงนั้น โครงการนี้ เป็นโครงการของกระทรวงพลังงาน ที่ผลักดันโดยพงษ์ศักดิ์ รักตพงษ์ไพศาล อดีต รมว.พลังงานมี“สุเทพ เหลี่ยมศิริเจริญ” ปลัดกระทรวงพลังงานเสนองาน
       
       คสช.เร่ง โครงการพลังงานทำต่อในปี 2558
       ย้อนกลับไปเมื่อวันที่ 10 ก.ค.2557 ที่ห้องประชุมชั้น 2 ของกรมส่งกำลังบำรุงทหารบก ภายในกองบัญชาการกองทัพบก พล.อ.อุดมเดช สีตบุตร รองผบ.ทบ.ในฐานะเลขาธิการคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เป็นประธานประชุมคณะกรรมการกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน ครั้งที่ 2/2557 ซึ่งมี ปลัดกระทรวงพลังงานเป็นประธานอนุกรรมการ
       
       ตอนนั้น พล.อ.อุดมเดช ระบุว่า การประชุมในครั้งนี้เน้นถึงการส่งเสริมการผลิตและการใช้พลังงานทดแทนตามนโยบาย ของ คสช. เพื่อสร้างความมั่นคงทางพลังงานของประเทศให้ยั่งยืนเป็นระบบโดยไม่เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของประชน เช่น พลังงานแสงอาทิตย์ ในภาคอุตสาหกรรมและภาคครัวเรือน โดยการผลิตไฟฟ้าจากขยะรวมถึงพลังงานทดแทนประเภทอื่นๆ ทั้งนี้ยังได้มีการพิจารณาสนับสนุนส่วนราชการ สำหรับการปฏิบัติงานในพื้นที่ ที่การไฟฟ้ายังเข้าไม่ถึงให้สามารถเข้าถึงได้ โดยเฉพาะพื้นที่ในจังหวัดชายแดนใต้ ซึ่งต้องมีการพิจารณาในมิติของความมั่นคงต่อไป
       
       ตามที่คณะกรรมการติดตามและตรวจสอบการใช้จ่ายงบประมาณในภาครัฐ (คตล.) ได้ระบุให้ทบทวน 23 โครงการ ซึ่งเป็นแผนงานโครงการในปี 56-57 ซึ่งทางคณะอนุกรรมการกองทุนส่งเสริมพลังงานทดแทน ได้พิจารณาว่า จาก 23 โครงการ จะดำเนินการต่อเพียง 2 โครงการคือโครงการให้ทุนไปพัฒนาพลังงานทดแทน และในเรื่องของการอนุรักษ์พลังงาน ซึ่งเป็นจำนวนเงินไม่สูงมากเพียง 400 ล้านบาท
       
       “บางโครงการจะดำเนินการต่อในปี 2558 เพราะเห็นว่าเป็นโครงการที่มีประโยชน์ เพียงแต่มีเหตุผลของแต่ละโครงการว่า บางส่วนมีการดำเนินงานไปแล้ว ได้ประโยชน์พอสมควรแล้ว ก็จะชะลอตัวหยุดลงไป บางส่วนเห็นว่า ไม่เหมาะสม และเวลากระชั้นชิดเกินไป ก็จะโอนงานไปพิจารณากันในปี 2558“
       
       โครงการแผงโซลาร์รูฟชุมชน ให้ 3 จชต.ก่อน
       ส่วนโครงการแผงโซลาร์รูฟชุมชน จะดำเนินการต่ออย่างไร พล.อ.อุดมเดช บอกคราวนั้นว่า ที่ประชุมได้พิจารณาสมควรมอบหมายให้ทางคณะอนุกรรมการ ที่ได้จัดตั้งขึ้น 2 คณะ ได้ไปพิจารณาโครงการที่เห็นว่ามีประโยชน์และเร่งด่วนที่สมควรดำเนินการต่อ โดยใช้งบประมาณปี 57 ที่เหลือ ได้อีกจำนวนหนึ่ง
       
       “ทั้งในส่วนของ แผงโซลาร์รูฟท๊อป เพื่อให้แสงสว่างในพื้นที่ไม่ปลอดภัยใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ เพื่อติดตามเสาไฟฟ้าในพื้นที่ที่มีความจำเป็น หรือพื้นที่ที่ไฟฟ้าเข้าไม่ถึง การจัดทำโรงงานผลิตไฟฟ้าจากขยะ ถือเป็นนโยบายที่ทาง หัวหน้า คสช. ได้ให้ไว้ น่าจะเป็นเรื่องพลังงานทดแทนที่มีประโยชน์ นอกจากนี้ยังช่วยสภาพแวดล้อม เพราะเรามีขยะจำนวนมาก ได้ให้อนุกรรมการ ได้ไปพิจารณาความเหมาะสม เพื่อเสนอต่อคณะกรรมการกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน ซึ่งจะนำมาพิจารณาอีกครั้งหนึ่ง เราพยายามจะให้เกิดโครงการที่เป็นประโยชน์เพิ่มเติมในปลายปี 57
       
       “จะมาประชุมกันว่าจะเพิ่มโครงการที่เป็นประโยชน์อย่างไร ต่อชุมชน ต่อพื้นที่ โดยเฉพาะพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งจะนำกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน จัดโครงการที่ได้ประโยชน์ในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ด้วย ซึ่งถือเป็นนโยบายของหัวหน้า คสช.”
       
       "เราอยากจะนำพลังงานทดแทนลงไปในพื้นที่ชุมชนเพื่อให้เกิดประโยชน์ในด้านต่างๆ ซึ่งต้องผ่านอนุกรรมการเพื่อพิจารณาดูความเหมาะสม ทั้งนี้คงจะเน้นเรื่องพลังงานให้แสงสว่าง ซึ่งต้องอยู่ในกรอบวงเงินไม่เกิน 7,000 ล้านบาท จะพยายามให้เกิดประโยชน์สูงสุด" พล.อ.อุดมเดช กล่าว
       
       ด้าน นายอารีพงศ์ ภู่ชอุ่ม ปลัดกระทรวงพลังงาน กล่าวว่า ในโครงการปี 2557 มี 2 โครงการที่ดำเนินการต่อ คือ 1.โครงการให้ทุนศึกษาวิจัยพัฒนาพลังงานทดแทน และ 2.โครงการอนุรักษ์พลังงาน ใช้งบประมาณจำนวน 400 ล้านบาท
       
       ส่วนโครงการการวิจัยต้นแบบหญ้าเนเปีย ที่ใช้งบประมาณ 300 ล้านบาท ซึ่งผ่านการประมูลไปแล้ว แต่การเบิกจ่ายไม่ทัน 30 ก.ย.นี้ จึงยกเลิกและจะนำไปพิจารณากันอีกครั้งในปี 2558 ส่วนเรื่องโซลาร์รูฟชุมชนได้พิจารณากันแล้วว่าจะต้องมีการสนับสนุน แต่ก็จะต้องไปดูกันว่ารูปแบบเป็นอย่างไร
       
        บริษัท “นิค” ชื่อโผล่ทำพลังงานทดแทนให้กองทัพ
       ในส่วนของพลังงานทดแทน ล่าสุด พบว่า มีหนังสือจาก “กรมส่งกำลังบำรุงทหารบก” มาถึงกระทรวงพลังงาน เพื่อรายงานโครงการผลิตไฟฟ้า/เชื้อเพลิงประเภทต่าง ๆ จากพืชพลังงาน (หญ้าเนเปียร์) และขยะจำนวน 4 โครงการ พบว่าในโครงการที่ 3.2.1 โครงการผลิตไฟฟ้าจากหญ้าเนเปียร์ ขนาด 1 เมะวัตต์ ในพื้นที่กองการสัตว์และเกษตรกรรมที่ 2 กรมการสัตว์ทหารบก อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมามีชื่อบริษัท รีนิวเอเบิล เอนเนอร์ยี่ (โฮลดิ้ง)จำกัด เป็นผู้ดำเนินโครงการ
       
        บริษัท รีนิวเอเบิล เอนเนอร์ยี่ (โฮลดิ้ง)จำกัด ผู้ดำเนินโครงการ เป็นบริษัทลูกของ บริษัท รีนิวเอเบิล เอนเนอยี คอร์เปอร์เรชั่น จำกัด มีผู้ถือหุ้นใหญ่ บริษัท วินด์ เอนเนอร์ยี่ โฮลดิ้ง จำกัด แจ้งจดทะเบียน 18 เมษายน 2549 ทุนปัจจุบัน 132,500,000 บาท ตั้งอยู่เลขที่ 24/38 ซอยรามอินทรา 34 แขวงท่าแร้ง เขตบางเขน กรุงเทพมหานคร ประกอบธุรกิจ ผลิตและจำหน่ายกระแสไฟฟ้า
       
       ปรากฎชื่อนาย นพพร ศุภพิพัฒน์ หรือ เสี่ยนิค เป็นกรรมการผู้มีอำนาจแต่เพียงผู้เดียว และถือหุ้นใหญ่สุด จำนวน 9,867,494 หุ้น มูลค่า 25,174,940 บาท ล่าสุดนำส่งงบการเงิน ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2556 ระบุว่า มีรายได้รวม 93,748,531.79 บาท กำไรสุทธิ 46,734,342.31 บาท
       
       “เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2552 เขา (นายนพพร ศุภพิพัฒน์) ประสบความสำเร็จโดยการขายหุ้นให้ บริษัท ราชบุรีพลังงาน จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทในเครือของ บมจ.ราชบุรีโฮลดิ้ง บริษัทลูกของ กฟผ. โดยครั้งแรกเข้ามาถือหุ้นร้อยละ 26 ของทุนจดทะเบียน 300 ล้านบาท เงิน 97.5 ล้านบาทได้ไหลเข้ามาในบริษัท การเกิดใหม่ของเขาดูดีมากน่าชื่นชมเป็นอย่างยิ่งพร้อมกระสุนเต็มกระเป๋า เขาได้จัดตั้ง บริษัท รีนิวเอเบิลเอนเนอร์ยี จำกัด เพื่อขยายโครงการไปจังหวัดอื่นอีก และเพื่อแต่งตัวให้ดูดีพร้อมเป็นบริษัทมหาชน บริษัท วินด์เอ็นเนอร์ยีโฮลดิ้ง จำกัด ได้ถูกจัดตั้งขึ้นในเวลาต่อมา”
       
       เป็นบริษัทที่ก่อตั้งเพื่อขยายโครงการ ของบริษัท วินด์ เอนเนอร์ยี่ โฮลดิ้ง จำกัด ของ นายนพพร ศุภพิพัฒน์ อดีตประธานกรรมการบริหาร ที่ยังหลบหนีคดีพัวพันจ้างวานผู้ต้องหาที่ถูกจับก่อนหน้านี้บีบบังคับผู้อื่นให้ลดหนี้ และ ถูกออกหมายจับในข้อหาร้ายแรง เครือข่ายพล.ต.อ.พงศ์พัฒน์ ฉายาพันธุ์ เข้ามาเกี่ยวข้อง
       
       ประกอบกับเมื่อปลายปี 2557ได้ มีโครงการบูรณาการศึกษาพัฒนาการใช้ประโยชน์ พื้นที่กรมการสัตว์ทหารบก กองทัพบก จำนวน 770 ไร่ เพื่อปลูกหญ้าเนเปียร์ ณ หมู่บ้านฝายมอญ ต.หนองสาหร่าย จ.นครราชสีมา
       
      เร่งฟอก WEH “นพพร”
       มีรายงานว่า หลังจากศาลทหาร กรุงเทพฯ 2557 ออกหมายจับ นายนพพร ทางบริษัท เด็มโก้ จำกัด (มหาชน) (DEMCO) ที่ถือหุ้นบริษัท วินด์ เอนเนอร์ยี่ โฮลดิ้ง จำกัด (WEH) ของนายนพพร กำลังมีการปรับโครงสร้างผู้ถือหุ้นใหม่ที่จะมาแทนนายนพพร โดยขณะนี้มีผู้สนใจเข้ามาซื้อหุ้นจำนวนมาก
       
       สำหรับผู้ถือหุ้นWEH ณ วันที่ 6 สิงหาคม 2557 มีทั้งหมด 25 ราย ส่วนผู้ถือหุ้นรายใหญ่ 10 อันดับ ประกอบด้วย 1. บริษัท รีนิวเอเบิล เอนเนอยี คอร์เปอร์เรชั่น จำกัด (ถือหุ้นใหญ่โดยนายนพพร ศุภพิพัฒน์) 2 .บริษัท ดีดี มาร์ท โฮลดิ้ง จำกัด 3. นายประเดช กิตติอิสรานนท์ 4. บริษัท เด็มโก้ จำกัด (มหาชน) 5. นายกำธร กิตติอิสรานนท์ 6. นางสาวเจนจิรา กิตติอิสรานนท์ 7. นางสาวนันทิดา กิตติอิสรานนท์ 8. นายสมพงษ์ กิตติพิพัฒน์ภูติ 9. นางสาวจารุวรรณ วงษ์มา และ10. นายสมพงษ์ ชลคดีดำรงกุล

ขอบคุณ http://www.1009seo.com/


บันทึกการเข้า

หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1 RC2 | SMF © 2001-2006, Lewis Media

lsv2555Please follow the new website at https://www.pohchae.com

Valid CSS!