“ทะเคะฮิสะ”เกษตรพันล้านแห่งจิบะ กับข้อคิด..ชาวไร่แดนอาทิตย์อุทัย” รวยเพราะ...?
มกราคม 22, 2025, 07:35:22 am *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: “ทะเคะฮิสะ”เกษตรพันล้านแห่งจิบะ กับข้อคิด..ชาวไร่แดนอาทิตย์อุทัย” รวยเพราะ...?  (อ่าน 4720 ครั้ง)
ปื้น ปากพนัง
.กลุ่มผู้มีน้ำใจงาม.
member
*

คะแนน173
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 531


« เมื่อ: กันยายน 21, 2014, 02:17:27 pm »


บ้านรโหฐานของ “ทะเคะฮิสะ” สุดยอดเกษตรกรจังหวัดจิบะ


บันทึกการเข้า

ปื้น ปากพนัง
.กลุ่มผู้มีน้ำใจงาม.
member
*

คะแนน173
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 531


« ตอบ #1 เมื่อ: กันยายน 21, 2014, 02:18:18 pm »


“ทะเคะฮิสะ อิจิมะ” เกษตรกรพันล้านแห่งจิบะ (ภาพบน), “โคอิจิ ยะมะชิตะ” เศรษฐีผู้แปรรูปลูกท้อให้กลายเป็นเงิน (ภาพล่าง)


"นี่หรือคือเกษตรกร นี่หรือคือเจ้าของบ้านหลังโต นี่หรือคือผู้บริหารไร่อันกว้างใหญ่สุดลูกหูลูกตาที่มองเห็นอยู่ตอนนี้?" ความคิดนี้ผุดขึ้นมาในหัวทันที หลังจากได้พบตัวเป็นๆ ของ “ทะเคะฮิสะ อิจิมะ (Takehisa Iijima)” เกษตรกรวัย 35 ผู้ถูกขนานนามว่าเป็นเกษตรกรที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดคนหนึ่งประจำจังหวัดจิบะ
       
        ผมสีส้มทองที่เกิดจากการย้อม เสื้อยืดพอตัว เสียงหัวเราะที่แสนเปิดเผย รอยยิ้มขี้เล่น บวกกับท่าทีสบายๆ ทุกอย่างที่ประกอบเป็นบุคลิกภาพภายนอกของเขาช่างดูขัดแย้งกับตำแหน่งผู้บริหาร กระทั่งเมื่อได้นั่งพูดคุยกัน จึงได้คำตอบว่าอะไรทำให้หยาดเหงื่อในวันวานของเขากลับมาทอประกายมีมูลค่าอยู่ขณะนี้ เป็นเพราะสิ่งที่อยู่ในหัวคิด กลยุทธ์ “วิธีบริหารหนี้” ของเขานี่เอง
       
       
        “วิธีขยายกิจการของผม ผมจะใช้วิธีกู้เงินจากธนาคารเอาครับ แต่ต้องค่อยๆ กู้นะ คือจะไม่กู้เป็นก้อนใหญ่ทีเดียวเพื่อมาลงทุนขนาดใหญ่ แต่จะคิดว่าในปีนี้เราต้องการจะขยายตรงไหน ถ้าปีนี้อยากได้เครื่องจักรเพิ่ม อยากได้เครื่องบรรจุถุงกับรถแทร็กเตอร์ขนาด 75 แรงม้า เราก็จะกู้แค่เอามาใช้ตรงนั้น จะไม่กู้เกินความจำเป็น พอหลังจากเอาเครื่องจักรมาใช้ช่วยงาน จนทำให้ทำงานได้ไวขึ้น ผลผลิตเพิ่มขึ้น เราก็เอากำไรจากตรงนี้แหละครับไปจ่ายหนี้ก้อนเดิมที่ติดธนาคารไว้ แล้วหลังจากนั้นค่อยไปกู้ก้อนใหม่
       
        เงินส่วนใหญ่ที่กู้มา ผมชอบเอาไปลงทุนกับเครื่องไม้เครื่องมือและเครื่องจักร เพราะคิดว่าเป็นสิ่งที่ลงทุนแล้วคืนทุน พอมีของตัวเอง เราก็ไม่ต้องเสียเงินไปเช่ายืมเครื่องจักรของคนอื่นเขามาใช้อีกแล้ว ยังไงก็คุ้มครับ ยกตัวอย่างเช่น จากเดิม ผมมี “เครื่องล้างหัวไชเท้า” วันหนึ่งล้างได้แค่ 500 กล่อง แต่พอซื้อเครื่องใหม่ มันเพิ่มประสิทธิภาพขึ้นถึง 3 เท่าคือ ล้างได้วันละ 1,000-1,500 กล่อง แต่ก็ไม่ใช่ความดีความชอบของเครื่องจักรอย่างเดียวนะครับ เพราะยังไงกำลังคนก็ยังสำคัญ เพราะถึงแม้เครื่องจักรประสิทธิภาพดีแค่ไหน แต่ไม่มีคนคุมมันก็จบ ที่เราสามารถทำงานได้เยอะขึ้น ก็เป็นเพราะลูกจ้างเขายอมทำงานตามชั่วโมงที่เพิ่มขึ้นมาด้วย เพราะฉะนั้น เราก็ต้องตอบแทนเขาด้วย


  จริงๆ แล้ว ในญี่ปุ่นเรามีระบบเงินช่วยเหลือเกษตรกรเยอะมากๆ นะครับ มีทั้งมาจากรัฐบาลส่วนกลางและส่วนท้องถิ่น แค่ภาครัฐเขารู้ว่าใครอยากจะสร้างอะไรเกี่ยวกับแปรรูปการเกษตร เขาจะเสนอตัวออกเงินให้เลยครึ่งหนึ่ง แต่สำหรับผม ผมไม่เคยใช้วิธีกู้เงินจากรัฐเลย จะขอคำปรึกษาด้านข้อมูลอย่างเดียว ผมเลือกที่จะกู้กับธนาคารมากกว่า ถามว่าทำไมถึงเป็นอย่างนั้น มันเป็นความคิดที่ปลูกฝังมาตั้งแต่รุ่นคุณพ่อแล้วครับ เขาบอกเราเสมอว่า “ไม่จำเป็นต้องขยายกิจการให้โตแบบเฉียบพลัน” ไม่จำเป็นต้องกู้เงินก้อนโตจากรัฐบาลเพื่อมาลงทุนใหญ่โตแล้วก็เป็นหนี้ไม่จบไม่สิ้น แต่พ่อจะสอนให้พึ่งตัวเองเป็นหลัก ค่อยๆ โตไปทีละปี ไม่ต้องพยายามฝืนทำอะไรในขณะที่ตัวเองยังไม่พร้อม ผมเลยเลือกกู้จากธนาคารดีกว่า
       
        การกู้เงินจากแบงก์ เราจะมีภาระ ต้องคืนเงินกู้ให้ได้ตามเวลาที่กำหนด ถึงจะหนักหน่อย แต่มันก็จะเป็นแรงผลักให้เราอยากรีบปลดหนี้ และถ้าเราทำได้ มันก็จะเป็นการสร้างเครดิตให้ตัวเราเองด้วย พอจะกู้ครั้งต่อไป แบงก์ก็จะมองเราเป็นลูกค้าเกรดเอ ถึงผมจะเรียนจบเศรษฐศาสตร์มา ไม่ถนัดเรื่องเกษตรแบบนี้เท่าไหร่ แต่เมื่อต้องมาสานต่อจากคุณพ่อ ผมก็อยากจะรักษาทุกอย่างในไร่เอาไว้ด้วยตัวเอง ก็เลยเลือกที่จะปลูกพืชง่ายๆ ก่อน ในปีแรกๆ ที่ทำ ตั้งแต่เมื่อ 13 ปีที่แล้ว เราปลูกแค่ไม่กี่อย่างเองครับ มีหัวไชเท้ากับผักป๋วยเล้ง ใช้พื้นที่แค่ 3 เฮกเตอร์ ปลูกหมุนเวียนไปแบบนี้ จนตอนนี้เราขยายออกไปได้ ทั้งหมดประมาณ 40 เฮกเตอร์แล้ว และตอนนี้ก็สามารถปลดหนี้ทุกอย่างได้หมดแล้วด้วย” เขาปิดท้ายประโยคด้วยรอยยิ้มแห่งความภาคภูมิใจ
       
        ทุกวันนี้ เกษตรกรญี่ปุ่นในละแวกนั้นทุกคนมีรายได้ต่อปีอยู่ที่ 15 ล้านเยน หรือคิดเป็นเงินไทยคือประมาณ 4.8 ล้านบาท และมีแนวโน้มว่าผลตอบแทนจะเพิ่มขึ้นไปเรื่อยๆ ทุกปี เพราะคุณทะเคะฮิสะ เจ้าของฟาร์มอิจิมะแห่งนี้ ตั้งเป้าเอาไว้แล้วว่าในอนาคตต้องทำให้เกษตรกรทุกคนมีรายได้อยู่ที่ 9.6 ล้านบาทต่อปีให้ได้ “ผมอยากเห็นเกษตรกรในเมืองเราทุกคนเป็นสุดยอดโมเดลด้านการเกษตรครับ” เขาประกาศกร้าวเอาไว้ในฐานะประธานสมาคมเกษตรกรจังหวัดจิบะ


มันต่างกันตรง “กู้ 0 เปอร์เซ็นต์”
        “ไปเปรียบเทียบกับเขาไม่ได้หรอก บ้านเรามันต่างกันเยอะ” เกษตรกรชาวไทยซึ่งเดินทางไปดูงานในครั้งนี้ด้วยกันราว 5-6 คน ต่างพูดออกมาในทำนองเดียวกันหลังจากได้เดินชมผลิตผลอันตระการตาจากไร่และความกว้างใหญ่ของที่พักอาศัยจากเพื่อนร่วมอาชีพในต่างแดน คนที่ไม่รู้ตื้นลึกหนาบาง ฟังเผินๆ แล้วอาจนึกว่าเป็นคำพูดตัดพ้อที่มาจากอารมณ์ย่อท้อของกระดูกสันหลังชาติไทย แต่ใครจะรู้บ้างว่า คำว่า “มันต่างกัน” ของพวกเขามีเหตุผลสนับสนุนความต่างให้น่าคิดอยู่ไม่น้อยเลยทีเดียว
       
        ยกตัวอย่างง่ายๆ อย่างเรื่องการสนับสนุนจากภาครัฐ เห็นได้ชัดเลยว่าถ้าเป็นการลงทุนเกี่ยวกับเกษตรกรรม โดยเฉพาะไร่ที่ไม่ได้มุ่งหมายจะส่งออกผลิตผลในรูปแบบสินค้าสดจากไร่อย่างเดียว แต่มีการแปรรูปผักผลไม้ออกมาเป็นเอกลักษณ์ประจำไร่ ส่งออกเป็นสินค้าประจำตำบล รัฐบาลญี่ปุ่นพร้อมยื่นข้อเสนอ “ให้กู้ 0 เปอร์เซ็นต์” หรือแม้แต่เข้ามาลงทุนออกค่าเครื่องจักรให้ครึ่งหนึ่งเลยก็มี เมื่อเทียบกับประเทศไทยแล้ว บางทีแค่เดินเข้าไปยื่นเอกสารกับเจ้าหน้าที่ประจำท้องถิ่นยังยากเลย
       
        “เวลาไปเขียนของบกับ อบต.หมู่บ้าน ส่วนใหญ่ถ้าเป็นกลุ่มใหม่หรือเกษตรกรรวมตัวกันเข้าไปเอง โดยที่ไม่ได้มีผู้ใหญ่บ้านหรือกำนันเข้ามาร่วมรู้เห็น เขาจะไม่ค่อยอนุมัติค่ะ แต่ถ้าเป็นกลุ่มที่มีผู้ใหญ่บ้าน เมียผู้ใหญ่บ้าน เขาจะอนุมัติ เพราะฉะนั้น คนที่ได้งบไปก็จะเป็นกลุ่มเดิมๆ มันไม่ได้กระจาย พอเราไปขอ เขาจะถามว่าคุณรู้ได้ยังไงว่ามีงบตัวนี้ รู้มาจากใคร และรู้ระเบียบข้อจำกัดมั้ยว่าต้องทำอะไรบ้าง เขาบอกว่าไม่ได้รวมกลุ่มกันมาทั้งหมู่บ้าน รวมกลุ่มแค่เกษตรกรมาแบบนี้ แน่ใจแล้วเหรอว่าจะทำได้ เราก็ถามกลับไปว่า แล้วทำไมคุณไม่เข้าไปส่งเสริมเกษตรกรจริงๆ ล่ะ ในเมื่อเขาอยากแปรรูป อยากผลิตผลิตภัณฑ์ออกมา เจ้าหน้าที่ก็บอกว่าคุณไปผ่านทางผู้ใหญ่บ้าน ทางกำนันมาก่อนสิ สรุปคือเราต้องผ่านฐานพวกนี้ขึ้นไปก่อน” กนกพร ดิษฐกระจันทร์ เกษตรกรผู้ปลูกข้าวอินทรีย์ประจำจังหวัดสุพรรณบุรี บอกเล่าจากประสบการณ์ตรงด้วยท่าทีเอือมระอา
บันทึกการเข้า
ปื้น ปากพนัง
.กลุ่มผู้มีน้ำใจงาม.
member
*

คะแนน173
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 531


« ตอบ #2 เมื่อ: กันยายน 21, 2014, 02:19:29 pm »


กนกพร เกษตรกรไทยเผยมุมอึดอัดภายในใจ หลังเดินดูไร่นาเพื่อนร่วมอาชีพแดนอาทิตย์อุทัย

ตราบใดที่ระบบยังเป็นอยู่แบบนี้ คงไปคาดหวังอะไรมากไม่ได้ “ฉันทานนท์ วรรณขจร” อัครราชทูตที่ปรึกษาฝ่ายเกษตร ประจำกรุงโตเกียว บอกเอาไว้อย่างนั้น “ในบ้านเราประมาณ 50 เปอร์เซ็นต์ของประเทศอยู่ในภาคการเกษตร แต่ในขณะที่ญี่ปุ่นทำตรงนี้อยู่แค่ 2-3 เปอร์เซ็นต์ เพราะอาชีพหลักๆ ของเขาคือธุรกิจเกี่ยวกับการบริการ ก็เลยทำให้เกษตรกรรมบ้านเขาควบคุมง่ายกว่าบ้านเรา เวลาจะออกมาตรการอะไรมาจากภาครัฐก็สามารถทำได้อย่างรวดเร็วกว่า
       
        ญี่ปุ่นเขาจะมีการเซ็ตระบบสหกรณ์ระหว่างเกษตรกรขึ้นมาอย่างชัดเจนเลยครับ หาคนที่มีความรู้ความสามารถมาช่วยกัน เกษตรกรก็รวมกลุ่มกันเพื่อทำหน้าที่ผลิต แล้วจากนั้นก็ส่งไปยังภาคการวางแผนการผลิต หลายๆ ที่เขาใช้วิธีไปจ้างคนที่มีความรู้และประสบการณ์ด้านการตลาดมาบริหารจัดการ ทำให้สินค้าของเขามีคุณค่า ทำให้ดีแล้วก็ขาย ไม่ใช่ผลิตให้มากเข้าว่าเพื่อเน้นขายอย่างเดียว”
บันทึกการเข้า
ปื้น ปากพนัง
.กลุ่มผู้มีน้ำใจงาม.
member
*

คะแนน173
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 531


« ตอบ #3 เมื่อ: กันยายน 21, 2014, 02:20:26 pm »


ร้านขายผลิตภัณฑ์ท้องถิ่น รวมสินค้าที่หาซื้อไม่ได้ง่ายๆ

ด้วยการรวมกลุ่มของเกษตรกรที่แข้มแข็งแบบนี้นี่เองที่ทำให้สินค้าจากไร่ในแต่ละท้องถิ่นในประเทศนี้ สามารถวางขายตามซูเปอร์มาร์เก็ตได้ไม่ต่างจากสินค้าจากนายทุนรายใหญ่ๆ แบรนด์ดังๆ โดยเฉพาะตึก “Tokyo Kotsu Kaikan” กลางกรุงโตเกียว ถือเป็นตัวอย่างความร่วมมือที่ประสบความสำเร็จให้เห็นเป็นรูปธรรมได้มากที่สุดแห่งหนึ่ง เพราะเป็นตึกที่ชาวนาชาวไร่รวมเงินกันเช่าที่เพื่อวางสินค้าจากแต่ละตำบลออกสู่ตลาดโดยเฉพาะ ทำให้ร้านค้าภายในมีเอกลักษณ์ที่ไม่เหมือนใคร คือขายเฉพาะพืชพันธุ์และผลิตผลแปรรูปจากไร่ท้องถิ่นที่ไม่สามารถหาซื้อได้จากที่ไหน ถ้าอยากได้แล้วไม่ก้าวเท้าเข้ามาในร้านเฉพาะกิจเช่นนี้ ก็จะไม่มีวันหาได้จากที่อื่น ยกเว้นจะเดินทางไปที่ไร่ไร่นั้นหรือเมืองเมืองนั้นอย่างเดียว
       
        ส่วนหนึ่งเป็นเพราะที่นี่มีกฎหมายเฉพาะออกมาเพื่อควบคุมไม่ให้มีการขนส่งสินค้าข้ามอำเภอด้วย จึงทำให้ญี่ปุ่นยังคงรักษาเสน่ห์ในแต่ละท้องถิ่นเอาไว้ได้ ไม่เหมือนสินค้า 1 ตำบล 1 ผลิตภัณฑ์ของบ้านเราทุกวันนี้ที่วางขายกันให้เกลื่อนทั่วร้าน “ของฝาก-ของที่ระลึก” เรียกได้ว่าไม่ต้องไปถึงสุราษฎร์ธานีก็มีไข่เค็มไชยา ไม่ต้องไปถึงระยองก็มีทุเรียนทอดกรอบ ให้ซื้อกันได้ทุกหนทุกแห่ง ไม่เว้นแม้แต่ในห้างฯ หรูๆ นี่แหละคือตัวอย่างเสียๆ หายๆ ที่ความสะดวกสบายเข้าไปทำลายเสน่ห์ของการท่องเที่ยว

อยากรอดต้อง “แปรรูป”
        ทุนไม่มี เป็นหนี้ ผลผลิตขายไม่ได้ รัฐไม่ส่งเสริม ฯลฯ ปัญหาร้อยแปดพันเก้ารุมเร้าอย่างนี้ แล้วเกษตรกรแดนสยามจะก้าวหน้าทัดเทียมเกษตรกรแดนอาทิตย์อุทัยได้อย่างไร? คำถามนี้มีคีย์เวิร์ดอยู่ที่ “เริ่มแปรรูป สร้าง Story และหัดช่วยเหลือตัวเอง”

“โคอิจิ ยะมะชิตะ (Koichi Yamashita)” คือเศรษฐีชาวไร่แดนอาทิตย์อุทัยที่เป็นตัวอย่างคนสู้ชีวิตได้ดีที่สุดคนหนึ่ง จากเดิมเคยเป็นแค่เกษตรกรตัวเล็กๆ ปลูกลูกท้อขายอย่างเดียว เขาผันตัวมาเป็นผู้ผลิตไอศกรีมเจลลาโต้ของตัวเองโดยใช้ชื่อว่า “La Pesca” หยิบลูกท้อที่ไม่ได้มาตรฐานแล้วเคยโยนทิ้งจำนวนหลายตันต่อปีขึ้นมาแปลงเป็นเนื้อไอศกรีม คิดค้นสูตรทุกอย่างเองทั้งหมด จนทุกวันนี้ Shop เล็กๆ ติดกับไร่ได้กลายเป็นจุดขายประจำเมืองไปเสียแล้ว มีลูกค้าหลั่งไหลมาวันละไม่ต่ำกว่า 150 คน ยิ่งช่วงวันหยุดจะมีคนเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่า ขายดีมากจนต้องต่อคิวรอซื้อกันนานถึง 40 นาทีขึ้นไป ใครมาที่ จ.ยามานาชิ แล้วไม่ได้แวะมาที่นี่ ถือว่ายังมาไม่ถึงที่
       
        “ตอนแรกมีผลลูกท้อที่ขายไม่ได้ถึง 3 ตันต่อปีเพราะผลไม่ได้มาตรฐาน เลยคิดว่าทำยังไงดี ตอนแรกเอาไปทำน้ำผลไม้ก่อนครับ คั้นเป็นน้ำผสมเนื้อแบบไม่ใส่อะไรเจือปนเลย ก็ขายได้แต่กว่าจะคั้นได้สักขวดหนึ่งมันนานเกินไป สุดท้ายก็ต้องทิ้งอยู่ดี เลยเริ่มมาทำเป็นไอติมดูครับ ช่วงแรกๆ ก็ใช้วิธีส่งลูกท้อของเราไปให้โรงงานในโตเกียวช่วยแปรรูปให้ ปรากฏว่าขายดีนะ แต่รสชาติที่ออกมามันไม่ค่อยถูกใจผมเท่าไหร่ ก็เลยตัดสินใจลงทุนเครื่องจักรมาทำเอง มีห้องแช่แข็งเป็นของตัวเอง
บันทึกการเข้า
ปื้น ปากพนัง
.กลุ่มผู้มีน้ำใจงาม.
member
*

คะแนน173
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 531


« ตอบ #4 เมื่อ: กันยายน 21, 2014, 02:21:14 pm »


ไอศกรีมเจลลาโต้ แปรรูปจากผลผลิตในไร่ของ “โคอิจิ” เศรษฐีแดนอาทิตย์อุทัย

ทุกวันนี้รายได้จากการขายไอติมคิดเป็น 15 เปอร์เซ็นต์ของรายได้ทั้งหมด คือถ้าเทียบกับรายได้ในการขายวัตถุดิบสดๆ กับรายได้จากการแปรรูปเป็นไอติมแล้ว การแปรรูปยังไงก็ได้กำไรดีกว่าเยอะ ถือว่าผมเป็นเกษตรกรรายแรกๆ เลยครับที่แปรรูปลูกท้อเป็นไอติม ถามว่ากลัวมั้ยว่ารายอื่นๆ จะเลียนแบบ มาแปรรูปไอติมขายแข่งกับผมบ้าง เพราะเกษตรกรแถวนี้ก็ปลูกลูกท้อเหมือนๆ กัน ตอบเลยว่า ผมไม่กลัวเลยครับ เพราะไอติมเจลลาโต้ตรงนี้ใช้ทุนเยอะเหมือนกัน 18 ล้านเยน เกษตรกรคนอื่นๆ ก็เลยไม่กล้าทำครับ เพราะทำออกมาก็ไม่มั่นใจว่าจะขายได้มั้ย และตอนนี้ก็มีผมคนเดียวที่ทำไอติมเจลลาโต้ลูกท้อทั้งหมด 30 สายพันธุ์ ไม่มีที่อื่นแน่นอนครับ และเราก็มีไอติมรสอื่นๆ เพิ่มเข้ามาด้วย” นี่แหละคือจุดขายของเขา
บันทึกการเข้า
ปื้น ปากพนัง
.กลุ่มผู้มีน้ำใจงาม.
member
*

คะแนน173
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 531


« ตอบ #5 เมื่อ: กันยายน 21, 2014, 02:21:57 pm »


ร้านไอศกรีมเล็กๆ ติดกับไร่ ขายดีจนผู้คนจากต่างเมืองต้องแห่มาชิม

 เจ้าของไร่ลูกท้อยะมะชิตะยังบอกอีกด้วยว่ากำลังคิดจะเอาไอศกรีมลูกท้อมาวางขายในประเทศไทยอยู่เหมือนกัน เล็งเอาไว้ว่าจะวางขายในร้านอาหารเป็นหลัก อย่างที่ทำสำเร็จมาแล้วในสิงคโปร์ เริ่มจากลูกค้าคนที่มาติดต่อซื้อลูกท้อจากสวนไปขาย บ่นว่าอยากกินลูกท้อช่วงนอกฤดูกาลด้วย จึงตกลงหอบไอศกรีมข้ามประเทศไปขายและได้รับผลตอบรับอย่างล้นหลาม เรียกได้ว่า “ยิ่งคิด ยิ่งมีทางไป” ลองหันกลับมามองเพื่อนร่วมอาชีพจากแดนไทยดูบ้าง เหตุใดจึง “ยิ่งคิด ยิ่งมีแต่ทางตัน” คำถามนี้ตอบเลยว่าเป็นเพราะเรายังไม่มีหัวคิดบริหารและการจัดการที่ดีพอ “ทวีนันท์ ชัยนา” ผู้เชี่ยวชาญด้านการแปรรูปผลิตภัฑณ์จากสถาบันอาหาร ช่วยวิเคราะห์ให้ฟัง
       
        “เราเคยพาผู้ประกอบการที่สงขลาไปขายตามงานผลิตภัณฑ์ท้องถิ่น มีคุณป้าคนนึงทำ “น้ำแกงส้ม” ขาย ทำแบบชาวบ้านๆ เลย พอไปขาย เหมือนเราเป็นดอกไม้ป่าท่ามกลางดอกไม้พลาสติก คนก็มารุมซื้อของแกนะคะ เพราะแกไม่ใส่กรดซิติก แต่ใช้มะนาวแท้ๆ เขามีจุดขายก็เลยมีคนสนใจติดต่อ จนทางเซเว่นฯ เข้ามาจีบเลย แล้วให้ไปคิดดูว่าขายยังไง ไหวมั้ย
       
        แต่บางทีความสำเร็จมันไม่ได้หมายความว่าต้องเข้าไปห้างใหญ่-ห้างดัง ส่งของได้ 6,000 สาขา เพราะถ้าเราส่งของเขา เขาขายไม่ออก เขาก็ไม่สั่งเพิ่ม หรือถ้าเราส่งไป เขาขายออก แต่เราผลิตไม่ทัน ไม่ใช่แค่เราขาดลูกค้านะ แต่เราจะโดนปรับตามมูลค่าที่เขาเสียหาย ก็เลยต้องหยุดการขายแบบนี้ก่อน และตอนนี้ก็อาศัยวิธีขายทางไปรษณีย์แทน โพสต์ขึ้นเว็บแล้วก็มีลูกค้ามาสั่ง และจุดแข็งที่ต่างจากรายใหญ่ก็คือ ใครสั่งมาเท่าไหร่ เราก็ส่งให้ เพราะค่าส่งคนซื้อเป็นคนจ่ายอยู่แล้ว เราต้องมีจุดขายของเราน่ะค่ะ

เท่าที่ลงไปช่วยเหลือเกษตรกรมาทำให้เห็นว่า พี่ๆ เกษตรกรเขารู้นะว่าทำยังไงให้ได้ของอร่อย แต่ไม่รู้ว่าจะทำยังไงให้อยู่ได้นาน จะทำยังไงให้ขายได้ เพราะฉะนั้น การฝึกอบรมเรื่องเทคนิคการแปรรูปน่าจะเหมาะกับพวกเขาที่สุด แต่เป็นการฝึกโดยไม่ได้ชี้แนะให้เขาไปทำธุรกิจอะไรนะคะ แต่จะบอกเป็นเทคนิคในเรื่องต่างๆ เช่น เทคนิคการใช้ความเย็นในการแปรรูป
       
        อยากแนะนำเรื่องกระบวนการคิดในส่วนงานพัฒนาผลิตภัณฑ์ค่ะ ปกติแล้วจะทำสินค้าสักชิ้นออกมา เราจะรวมกลุ่มกันแล้วซื้อ post it มาแปะค่ะ ว่าใครอยากทำอะไร แล้วมาดูว่าเป็นไปได้มั้ย ขายได้มั้ย ต้องลงทุนมั้ย แล้วก็ค่อยๆ ดึง post it ที่เป็นไปไม่ได้ออก สุดท้ายจากเป็นสิบๆ แผ่นก็จะเหลืออยู่ไม่กี่แผ่นค่ะ พอตัดสินใจจะทำผลิตภัณฑ์ตัวไหน เราก็ต้องลองทำในแล็บก่อน ทำออกมา ลองชิมก่อน แล้วถ้าใช้ได้ ถึงค่อยทำล็อตใหญ่ออกมา เพื่อให้คนกลุ่มใหญ่ชิมได้ หลังจากนั้น ถ้าคนจำนวนนั้นพึงพอใจกับมัน เราถึงจะเริ่มลงทุนสั่งทำบรรจุภัณฑ์ เพราะถ้าเมื่อไหร่เราลงทุนกับบรรจุภัณฑ์ปุ๊บ มันแสดงว่าเราจะต้องดันออกไปละ เพื่อให้ขายได้
       
        แต่ชาวบ้านหลายๆ คนทำผิดขั้นตอนไป เห็นหลายๆ ที่ ชาวบ้านตัวเล็กๆ อยากจะทำกาแฟ ไปสั่งทำกล่องไว้ก่อนเลย พอทำเสร็จปุ๊บ กาแฟที่ทำขายไม่ได้ ก็เลยต้องเอาฉลากอะไรไม่รู้ไปติดบนกล่อง เปลี่ยนจากกาแฟเป็นชา มันเลยทำให้กล่องเราไม่สวย เพราะเราเลือกที่จะลงทุนก่อน ไม่ได้เลือกที่จะพัฒนาผลิตภัณฑ์ก่อน สุดท้ายก็เลยไปไม่รอด”
บันทึกการเข้า
ปื้น ปากพนัง
.กลุ่มผู้มีน้ำใจงาม.
member
*

คะแนน173
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 531


« ตอบ #6 เมื่อ: กันยายน 21, 2014, 02:23:34 pm »


สินค้าแต่ละอย่างมี Story มีป้ายติดบอกเล่าที่มาน่าสนใจ

หัด “คิดมาก-สร้างเรื่อง”
        อยากรวยเหมือนเขา เจริญเหมือนเขา ต้องหัด “คิดเยอะๆ” ให้เหมือนเขา อัครราชทูตที่ปรึกษาฝ่ายเกษตร ประจำกรุงโตเกียว ให้คำแนะนำสั้นๆ เอาไว้ก่อนเจาะลึกรายละเอียดเพิ่มเติม
       
        “มันเป็นพื้นฐานนิสัยของคนญี่ปุ่นเลยครับ คนที่เขาผลิต เขามีความตั้งใจ เวลาทำสินค้าออกมาสักอย่างหรือปลูกพืชออกมาสักชนิด เขาไม่ได้สักแต่คิดว่าจะทำให้ได้ตังค์ เขาอยากจะเอาความสุข ความอร่อย อยากมอบสิ่งดีๆ ให้ผู้บริโภค ไม่ใช่มองแค่เป็นสินค้าแล้วขายเพื่อให้ได้ตังค์ อันนี้มารู้มาจากที่เคยได้นั่งพูดคุยกับคนญี่ปุ่นหลายๆ คนเลยนะครับ ทำให้รู้ว่าเขาคิดกันอย่างนี้จริงๆ เขาอยากให้คนกินได้รับคุณภาพ สุขภาพดี
       
        ที่เห็นชัดมากอีกอย่างคือทุกอย่างเขาจะมี Story เขามีจุดขายตลอด เขาจะเล่ามาหมดเลยว่า ข้าวจากนานี้จะมีรสชาติเป็นยังไง กลิ่นยังไง รสแบบไหน วิธีการผลิตแตกต่างจากที่อื่นยังไง เขาเล่ารายละเอียดทุกอย่างจนคนสนใจ คนซื้อรู้สึกว่ามันมีคุณค่า แต่เรื่องนี้ จะไปโทษว่าเกษตรกรบ้านเราไม่มีเรื่องเล่าอย่างเดียวมันก็ไม่ได้นะ มันขึ้นอยู่กับสภาพภูมิประเทศ สภาพแวดล้อมทางธรรมขาติด้วย อย่างญี่ปุ่น น้ำใต้ดินของเขาบางที่ก็เป็นน้ำแร่ แต่ละที่ก็มีแร่ธาตุต่างๆ ไม่เหมือนกัน เขาก็จะคิดหมดว่า ถ้าปลูกพืชตรงนี้ แถวแหล่งแร่นี้ แร่นี้จะช่วยให้พืชของเขาได้อะไร พิเศษยังไง เขาก็เอาตรงนี้มาเป็นจุดขาย เขามีการทำข้อมูลและวิจัยเกี่ยวกับแต่ละพื้นที่ออกมาและเอามาใช้ประโยชน์กันอย่างจริงจัง


ผมว่าเกษตรกรทุกคนก็อยากแปรรูปนะ ไม่ใช่ไม่อยาก แต่เขากลัวว่าทำออกมาแล้วจะขายได้มั้ย? และถ้าไม่มีเครื่องจักรเอง ส่งให้โรงสีเขาแปรรูป มันก็จบ จะลงทุนเครื่องจักรก็กลัวว่าลงทุนไปแล้วขายไม่ได้จะยิ่งเป็นหนี้ เพราะฉะนั้น จะแก้ปัญหา มันต้องแก้ทั้งระบบ ดูว่าควรให้ผู้เชี่ยวชาญจากหน่วยงานไหนเข้าไปช่วยดี หาคนมาจัดการเรื่องการตลาดและยกระดับไปพร้อมๆ กัน ภาครัฐอาจจะแค่เข้ามาช่วยให้มีถนน มีตลาดชุมชน มีโรงสี มีเครื่องจักรให้เกษตรกรได้ใช้ร่วมกัน ช่วยเปิดหูเปิดตาเกษตรกร พามาดูว่าเขามีวิธีการแปรรูปกันยังไง วันนึงเกษตรกรก็จะเข้มแข็งและสามารถยืนได้ด้วยตัวเองโดยไม่ต้องพึ่งเงินกู้”
       
       ข่าวโดย ASTVผู้จัดการ Lite
       เรื่องและภาพ: อิสสริยา อาชวานันทกุล


ขอบคุณ http://www.manager.co.th/Daily/ViewNews.aspx?NewsID=9570000107793
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1 RC2 | SMF © 2001-2006, Lewis Media

lsv2555Please follow the new website at https://www.pohchae.com

Valid CSS!