ผมว่าเพิ่มโวลท์ได้ครับ แต่กำลังวัตต์คงเพิ่มไม่มาก เพราะว่าเพิ่มแต่รอบขดลวด (ให้เดาว่าภาคจ่ายไฟอย่างอื่นคงไม่แตะ ยกเว้นขดลวด) ถ้าจะเพิ่มค่าความต่างศักดิ์(โวลท์) ไม่ยากเลยครับ มีขั้นตอนดังนี้
1. ถอดแผงวงจรออกจากซิ๊ง (เว้นแต่ซิ๊งที่เปิดฝาบนฝาล่างได้ก็ไม่ต้องถอด)
2. สังเกตุขดลวดเทอรอยด์ มันจะมีขาเข้า ขาออก (จดไว้ครับกันลืม)
3. ทำการถอดขดลวดออกครับ (ทำยังไงก็ได้ แต่ผมถอดทีไรได้ตัดทุกที ต้องพันใหม่หมดทุกทีเลยครับ หัวแร้งไม่ค่อยดี)
4. เมื่อถอดขดลวดได้แล้ว (ผมใช้เวลาพอสมควร) ทำการเอาลวดทองแดงออกจขากขดครับ นับรอบด้วย (จดไว้ครับกันลืม)
5. เมื่อถอดลวดทองแดงขาออก ออกแล้ว ก็จะพบกับขดลวดขาเข้า ถ้ามันยังไม่ขาด(จากการถอด) ไม่ต้องไปแตะเลยครับ(อย่าแตะนะครับ) นับรอบลวดทองแดงขาเข้าครับ (จดไว้ครับกันลืม)
จากที่ผมลองทำผมลองพันขาเข้า 12 รอบ ขาออกพัน 24 รอบ ผลที่ได้คือ ไฟออกเท่าเดิมคือ +/-24V เลยลองพันใหม่ ขาเข้า 6 รอบ ขาออก 24 รอบเท่าเดิม กลายเป็นว่าไฟออก +/-50V แสดงว่า(สรุปเองเลย )ไฟออกมีผลต่อจำนวนรอบขาเข้า โดยที่เอาไฟเข้า(โวลท์)หารจำนวนรอบขาเข้า แล้วเอาผลหารที่ได้หารโวลท์ขาออกที่ต้องการ ก็จะได้จำนวนรอบขาออก
จาก(ที่คิดเอาเอง
)
f = Vi / Ni = Vo / No หรือ Vi / Ni = Vo / No
โดยที่
f = ค่าแฟคเตอร์ที่ได้จากผลหารของ Vi / Ni หรือ Vo / No
Vi = ค่าความต่างศักดิ์ขาเข้า (โวลท์)
Vo = ค่าความต่างศักดิ์ขาออก (โวลท์)
Ni = จำนวนรอบของลวดทองแดงขาเข้า
No = จำนวนรอบของลวดทองแดงขาออก
เช่น ไฟเข้า(แบต) 12V เราพันขาเข้า 6 รอบ มันก็จะได้ค่าแฟคเตอร์เท่ากับ 2 แล้วเราต้องการไฟออกเท่าไรก็เอาค่าแฟคเตอร์ไปหาร เช่นต้องการไฟออก 35V ก็เอา 2 หารก็จะได้ขดลวดขาออก 17.5 รอบ (อีกครึ่งรอบพอพันจะครบรอบแล้วก็ย้อนกลับ ล้อเล่นครับ) แต่ถ้าพันขาเข้า 12 รอบ ค่าแฟคเตอร์( f )มันจะเท่ากับ 1 ขาออกก็ต้องพันตามโวลท์ที่ต้องการครับ เช่นอยากได้ 50V ก็ต้องพัน 50 รอบ (พันกันมือหงิก)
ปล.ไม่อ้างอิงทษฎีใดๆ