หากโดนใบสั่งปรับ 1,000 บาท หรือไปซื้อรถยนต์ราคา 1,000,000 บาท เราสามารถแคะกระปุกเอาเหรียญบาทที่สะสมไว้ไปจ่ายได้หรือไม่? ในเมื่อก็เป็นเงินเหมือนกัน
ผู้รับเงินหรือคนขายสามารถปฏิเสธไม่รับได้หรือไม่? ถ้าปฎิเสธแล้วใครผิด ใครถูก
หากมองในแง่ของมูลค่าไม่ว่าจะเป็น เช็ค ธนบัตร หรือเหรียญ ย่อมมีมูลค่าไม่ต่างกัน
เหรียญบาท 1,000 เหรียญ มีค่าเท่ากับ ธนบัตรพันบาท 1 ใบ
แต่เงินเหรียญย่อยๆ นั้น แม้จะมีมูลค่าน้อย แต่กลับมีน้ำหนักมากกว่าธนบัตรหลายเท่า เพื่อไม่ให้คนขายลำบากจนเกินไปจึงมีกฎหมายกำหนดมูลค่าสูงสุดที่สามารถชำระด้วยเหรียญชนิดต่างๆ ไว้ เช่น
เหรียญกษาปณ์ราคาหนึ่งบาทหรือยี่สิบบาท เป็นเงินที่ชำระหนี้ได้ตามกฎหมาย คราวละไม่เกินจำนวนห้าร้อยบาท
แปลว่า ถ้าซื้อของราคา 500 บาท เราสามารถจ่ายด้วยเหรียญบาท 500 เหรียญ คนขายไม่มีสิทธิ์ปฏิเสธ
แต่ถ้าของมีมูลค่าเกินกว่านั้น เช่น ราคา 501 บาท หากเราจ่ายด้วยเหรียญบาทล้วนๆ คนขายมีสิทธิ์ไม่รับได้ เพราะเกินกว่ามูลค่าที่กฎมายกำหนด
ส่วนเหรียญอื่นๆ มีมูลค่าสูงสุดที่ชำระได้ในคราวเดียวแตกต่างกันไป ดังนี้


ในทางปฏิบัติ แม้จะมีกฎหมายกำหนดมูลค่าสูงสุดไว้ แต่ไม่ได้กำหนดบทลงโทษเมื่อไม่ปฏิบัติตามไว้ นั่นคือแม้เราจะจ่ายเงิน เหรียญบาทล้วนเป็นล้านเหรียญ ถ้าผู้รับยินยอมก็สามารถทำได้
ส่วนกรณีของผู้ขาย หากลูกค้าจ่ายเงินเหรียญบาท 500 ร้อยเหรียญ ก็สามารถปฏิเสธได้โดยไม่มีความผิด เพียงแต่จะจะมาเรียกร้องว่า "ลูกค้าไม่ยอมจ่าย" ไม่ได้ เพราะถือว่าลูกค้าได้ชำระหนี้ตามกฎหมายอย่างถูกต้องแล้ว
ในต่างประเทศ มีกรณีลูกหนี้จ่ายเงิน £800 ด้วยเหรียญทองแดง คิดน้ำหนักแล้วประมาณ 166 กิโลกรัม เจ้าหนี้ก็เลยฟ้องศาล
ปรากฎว่าศาลตัดสินให้จ่ายเงินด้วยวิธิการที่เหมาะสม เพราะ £800 เป็นมูลค่าที่สูงเกินกว่าที่จะจ่ายด้วยเหรียญย่อยๆ (มูลค่าสูงสุดที่ให้ชำระได้ด้วยเหรียญคือ £10)
สรุปคือ การชำระหนี้ด้วยเหรียญมีมูลค่าสูงสุดที่สามารถชำระได้ในคราวเดียวอยู่ หากเกินกว่านั้นผู้รับชำระมีสิทธิ์ที่จะไม่รับเงินจำนวนนั้น โดยถือว่า "ยังไม่ได้ชำระเงิน"
ส่วนธนบัตรแม้จะไม่มีกฎหมายที่กำหนดมูลค่า "ขั้นสูง" ของการชำระหนี้ไว้ แต่ดูเหมือนในทางปฏิบัติจะมีการกำหนดมูลค่า "ขั้นต่ำ" เอาไว้โดยปริยาย ถ้าไม่เชื่อ ลองจ่ายค่ารถเมล์ด้วยแบงค์พันดูสิครับ

ที่มา วชาการ.คอม