ทองคำกำลังสร้างความเสียหายร้ายแรง
มกราคม 07, 2025, 08:46:29 pm *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ทองคำกำลังสร้างความเสียหายร้ายแรง  (อ่าน 4213 ครั้ง)
ช่างเล็ก(LSV)
Administrator
member
*

คะแนน1346
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 18846


คิดดี ทำดี ชีวิตมีแต่สุข


อีเมล์
« เมื่อ: มกราคม 30, 2010, 12:05:13 am »

ทองคำกำลังสร้างความเสียหายร้ายแรง
โดย ไสว บุญมา    28 มกราคม 2553
       

       
       ผู้สนใจในเรื่องราวของทองคำคงทราบแล้วว่า ผู้ผลิตทองคำรายใหญ่ได้แก่จีน แอฟริกาใต้ สหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย รัสเซีย และเปรู เมื่อเร็วๆ นี้มีสำนักข่าวหลายแห่งส่งพนักงานไปดูการทำเหมืองทองคำที่เปรูและนำเรื่อง ราวมาเล่าไว้ในสื่อต่างๆ เนื้อเรื่องชี้ให้เห็นปัญหาของการทำเหมืองทองคำในเขตป่าอะเมซอนซึ่งผมเคยไป ดูมาจึงรู้ว่ามันมีผลเสียหายร้ายแรงขนาดไหน ป่าอะเมซอนเป็นป่าดงดิบขนาดใหญ่ซึ่งอยู่ในเขตของประเทศบราซิลเป็นส่วนมาก นอกจากนั้นมันยังครอบคลุมไปถึงอีกหลายประเทศรวมทั้งเปรูและกายอานาอีกด้วย
       
       รายงานการทำเหมืองทองคำในเปรูไม่ต่างกับการทำเหมืองทองคำที่ผมเห็นใน กายอานายกเว้นมันมีขนาดใหญ่โตกว่าเท่านั้น นั่นหมายความว่าความเสียหายร้ายแรงที่ตามมาย่อมสูงกว่าในกายอานาด้วย ราคาของทองคำที่พุ่งขึ้นไปทำให้การขุดค้นหาทองคำและการทำเหมืองแพร่ขยายออก ไปอย่างรวดเร็ว
       
       การขุดค้นหาทองคำและการทำเหมืองดังกล่าวเป็นการทำที่ไม่มีใบอนุญาต และขาดการควบคุมของรัฐบาลและเป็นกิจการขนาดเล็กจำพวกร่อนทรายหาทองคำตาม ลำธารไปจนถึงการใช้เครื่องจักรขนาดใหญ่ไถ ขุด เจาะพ่นน้ำและร่อนหาแร่ทอง พวกร่อนทรายไม่ต้องตัดต้นไม้หรือทำลายชายฝั่งของลำน้ำเพื่อค้นหาแร่ ฉะนั้นกิจการของพวกเขามักไม่มีผลกระทบทางลบในด้านการตัดไม้ทำลายป่า
       
       อย่างไรก็ตาม ในกระบวนการแยกละอองทองคำออกจากทราย พวกเขาใช้ปรอทผสมกับทรายเพื่อให้ละอองของทองเกาะปรอท หลังจากแยกปรอทออกจากทรายซึ่งทำได้ไม่ยากนัก พวกเขาก็จะเผาปรอทโดยการเอามันใส่ลงในภาชนะจำพวกกระทะแล้วนำขึ้นลนไฟ ปรอทจะระเหยไปอย่างรวดเร็ว ทิ้งทองไว้ที่ก้นภาชนะ ผู้เผาปรอทมักสูดควันอันแสนจะเป็นอันตรายเข้าไปในปอด นอกจากนั้นในกระบวนการนี้มักมีปรอทตกหล่นอยู่ตามต้นน้ำ สารอันเป็นอันตรายสูงนั้นจะถูกสัตว์น้ำตัวเล็กๆ กินเข้าไปและเมื่อปลาใหญ่กว่ากินปลาเล็ก ปรอทก็จะเข้าไปอยู่ในวงจรอาหารซึ่งในที่สุดชาวบ้านที่กินปลาจะได้รับอันตราย
       
       พวกที่มีเครื่องจักรขนาดใหญ่จะทำลายสิ่งแวดล้อมสูงมากเนื่องจากพวก เขาจะตัดต้นไม้ทำลายป่าดงดิบ ไถ ขุด เจาะพื้นดินและพ่นน้ำเข้าตามฝั่งลำธาร รายงานตามหนังสือพิมพ์มีรูปการพังทลายของพื้นดินประกอบและอ้างว่าถ้าอยากจะ เห็น “แผลเป็น” ของการตัดต้นไม้พร้อมกับการทำลายสิ่งแวดล้อมจะต้องนั่งเครื่องบินขึ้นไปวน เวียนดูจึงจะรู้ว่ามันเป็นอย่างไร
       
       ย้อนไปเมื่อสมัยผมไปกายอานาบ่อยๆ ผมนั่งเครื่องบินไปวนดู “แผลเป็น” ดังกล่าวจึงนึกออกทันทีว่ามันน่าวิตกขนาดไหน นอกจากจะตัดต้นไม้จนเตียนโล่งหมดแล้ว การขุดดินเป็นสระเล็กใหญ่ยังก่อให้เกิดการพังทลายจนสายน้ำลำธารกลายเป็นสี โคลนยังผลให้ปลาตายอย่างกว้างขวางอีกด้วย นักขุดแร่พวกนี้มักใช้วิธีแยกทองด้วยการใช้ปรอทเช่นกัน ฉะนั้น พวกเขาสร้างความเสียหายเช่นเดียวกับพวกร่อนทรายในด้านการทิ้งปรอทไว้ในสิ่ง แวดล้อม
       
       นอกจากการทำเหมืองที่ไม่มีใบอนุญาตและขาดการควบคุมจะสร้างผลเสียหาย ต่อสิ่งแวดล้อมและทำอันตรายให้แก่ผู้กินปลาที่มีปรอทอยู่ในตัวแล้ว การทำเหมืองแร่ที่มีใบอนุญาตก็อาจทำอันตรายได้สูงด้วยเช่นกัน ในกรณีที่ผมเห็นในกายอานา ผู้ประกอบการเหมืองทองคำใช้กระบวนการแยกทองที่ต้องใช้ไซยาไนด์ซึ่งเป็น อันตรายสูงมากในตัวของมันเองอยู่แล้ว กระบวนการนั้นเกิดน้ำผสมไซยาไนด์เป็นผลพลอยได้จำนวนมาก แต่หากทิ้งน้ำนั้นไว้ในสระที่ปลอดภัย สารไซยาไนด์จะค่อยๆ ระเหยไปโดยไม่ก่อให้เกิดอันตรายร้ายแรง
       
       แต่ถ้าผู้ประกอบการมักง่ายและลักลอบปล่อยน้ำผสมไซยาไนด์ออกไปตามแม่ น้ำลำคลอง อันตรายร้ายแรงจะเกิดขึ้นกับสัตว์น้ำและคน หรือถ้าก้นของสระน้ำปูด้วยแผ่นพลาสติกที่ไม่หนาพอ เพียงไม่นานก้นสระนั้นก็จะรั่วยังผลให้เกิดความเสียหายร้ายแรงเช่นกัน
       
       ผู้ประกอบการในกายอานาไม่ได้มักง่ายเช่นนั้น แต่การที่กายอานามีฝนตกหนักเป็นครั้งคราว เมื่อฝนตกหนักเกินความคาดหมาย น้ำในสระที่มีไซยาไนด์ผสมอยู่ก็ล้นออกมา หรือเขื่อนรอบสระอาจจะพังทลาย ปล่อยไซยาไนด์ออกไปจำนวนมาก เหตุการณ์เช่นนี้เกิดขึ้นในกายอานา และในปี 2543 โรมาเนียก็ประสบปัญหาในทำนองเดียวกันเมื่อสระดังกล่าวแตก น้ำผสมไซยาไนด์ที่ไหลออกไปตามแม่น้ำลำคลองทำให้ปลาตายไปราว 150 ตัน นอกจากนั้นแหล่งน้ำดื่มน้ำใช้ยังถูกทำลายไปจำนวนมากอีกด้วย
       
       ทองคำทำประโยชน์ได้หลายอย่าง แต่ส่วนใหญ่ถูกนำไปใช้ทำสิ่งที่ไม่มีประโยชน์ นั่นหมายความว่าการทำลายสิ่งแวดล้อมเกิดขึ้นโดยไม่มีความจำเป็น ข้อมูลบ่งว่ามนุษย์เรานำทองคำออกมาจากแหล่งธรรมชาติแล้วประมาณ 1.6 แสนตัน เราใช้ราว 12% ในอุตสาหกรรมจำพวกอิเล็กทรอนิกส์และในการทำฟันราว 78% ทำเครื่องประดับและ 10% เก็บไว้ในรูปของทองแท่งทั้งในคลังของรัฐบาลและเพื่อการเก็งกำไรของเอกชน
       
       ในสมัยก่อนทองคำมีความสำคัญต่อระบบการเงินมากเนื่องจากรัฐบาลทั่วไป ตรึงค่าเงินไว้กับทองคำ และใครก็ตามที่มีเงินจะซื้อทองคำจากรัฐบาลได้ด้วยราคาตามที่กำหนด ฉะนั้น รัฐบาลจะพิมพ์เงินออกมาได้ก็ต่อเมื่อมีทองคำเก็บไว้ในคลังเป็นหลักประกัน แต่ในสมัยนี้ไม่มีการทำเช่นนั้นอีกแล้ว ทองคำจำนวนมากที่รัฐบาลทั่วโลกเก็บไว้จึงไม่มีความจำเป็นอะไรทั้งสิ้น
       
       นอกจากจะกระตุ้นให้เกิดการทำลายสิ่งแวดล้อมแล้ว ราคาของทองคำที่พุ่งขึ้นไปยังอาจทำให้เกิดภาวะฟองสบู่เศรษฐกิจซึ่งเมื่อ ระเบิดออกมาจะทำให้เกิดปัญหาร้ายแรงเช่นเดียวกับการระเบิดของฟองสบู่ อสังหาริมทรัพย์ในเมืองไทยเมื่อปี 2540 และในอเมริกาเมื่อปี 2550 นอจากนั้นราคาที่พุ่งขึ้นไปยังทำให้ผู้มีทองคำไว้ในครอบครองรู้สึกมั่งคั่ง ความรู้สึกนั้นมักนำไปสู่การใช้จ่ายแบบคึกคะนองซึ่งนำไปสู่การบริโภคแบบไร้ เหตุผลอันเป็นการทำลายทรัพยากรและก่อให้เกิดภาวะโลกร้อน
       
       อีกด้านหนึ่งทองส่วนใหญ่ถูกนำไปใช้ทำเครื่องประดับซึ่งไม่ใช่การ บริโภคที่มีความจำเป็นเช่นกัน ร้ายยิ่งกว่านั้นมันอาจสร้างอันตรายจากพวกวายร้ายที่คอยจ้องแย่งชิง ยิ่งกว่านั้น ยังมีการสร้างตลาดค้าทองคำกันอย่างเป็นล่ำเป็นสัน รวมทั้งตลาดล่วงหน้าซึ่งล้วนไม่สร้างประโยชน์มากนักนอกจากเป็นแหล่งแสวงหา รายได้ของนักเก็งกำไรเท่านั้น เมืองไทยจึงไม่ควรให้มีตลาดล่วงหน้าทองคำ แต่ก็มีจนได้
       
       เมื่อ รวมอันตรายและความเสียหายจากหลายด้านซึ่งทองคำทำให้เกิดขึ้น ถึงเวลาแล้วที่เราจะต้องมองทองคำจากด้านนี้บ้างพร้อมกับหาทางจำกัดราคาของ มันโดยการเลิกใช้เครื่องประดับทำด้วยทองคำ และเลิกเก็บไว้ในรูปของทองแท่งเพื่อเก็งกำไรและในคลังของประเทศ นั่นจะเป็นการช่วยทะนุถนอมโลกใบนี้ให้มีโอกาสอยู่ต่อไปได้อย่างยั่งยืน


บันทึกการเข้า

kittanan_2589
.กลุ่มผู้มีน้ำใจงาม.
member
*

คะแนน630
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2363


NightBaron


เว็บไซต์
« ตอบ #1 เมื่อ: มกราคม 30, 2010, 06:04:13 am »

 ที่ให้คำแนะนำ Cheesy
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1 RC2 | SMF © 2001-2006, Lewis Media

lsv2555Please follow the new website at https://www.pohchae.com

Valid CSS!