หลวงปู่เทสก์กล่าวถึง " ความต่างกันระหว่างฌานกับสมาธิ "
ยินดีต้อนรับคุณ,
บุคคลทั่วไป
กรุณา
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
พฤษภาคม 02, 2025, 12:10:59 am
หน้าแรก
ช่วยเหลือ
เข้าสู่ระบบ
สมัครสมาชิก
>
นานาสาระ
>
ลึกลับ-เหลือเชื่อ-ธรรมะ
> หัวข้อ:
หลวงปู่เทสก์กล่าวถึง " ความต่างกันระหว่างฌานกับสมาธิ "
หน้า: [
1
]
ลงล่าง
« หน้าที่แล้ว
ต่อไป »
พิมพ์
ผู้เขียน
หัวข้อ: หลวงปู่เทสก์กล่าวถึง " ความต่างกันระหว่างฌานกับสมาธิ " (อ่าน 2355 ครั้ง)
kittanan_2589
.กลุ่มผู้มีน้ำใจงาม.
member
คะแนน
630
ออฟไลน์
กระทู้: 2363
NightBaron
หลวงปู่เทสก์กล่าวถึง " ความต่างกันระหว่างฌานกับสมาธิ "
«
เมื่อ:
มกราคม 30, 2010, 07:35:56 am »
ฌาน แล สมาธิ มีลักษณะและคุณวิเศษผิดแปลกกันโดยย่ออย่างนี้ คือ
หลวงปู่เทสก์กล่าวถึง " ความต่างกันระหว่างฌานกับสมาธิ "
--------------------------------------------------------------------------------
ฌาน แล สมาธิ มีลักษณะและคุณวิเศษผิดแปลกกันโดยย่ออย่างนี้ คือ
ฌาน ไม่ว่าหยาบและละเอียด จิตเข้าถึงภวังค์แล้วเพ่งหรือยินดีอยู่แต่เฉพาะความสุขเลิศอันเกิดจากเอกัคคตารมณ์อย่างเดียว สติสัมปชัญญะหายไป ถึงมีอยู่บ้างก็ไม่สามารถจะทำองค์ปัญญาให้พิจารณาเห็นชัดในอริยสัจธรรมได้ เป็นแต่สักว่ามี ฉะนั้น กิเลสทั้งหลายมีนิวรณ์ ๕ เป็นต้น จึงยังละไม่ได้ เป็นแต่สงบอยู่
ส่วน สมาธิ ไม่ว่าหยาบแลละเอียด เมื่อเข้าถึงสมาธิแล้ว มีสติสัมปชัญญะสมบูรณ์ตามชั้นแลฐานะของตน เพ่งพิจารณาธรรมทั้งหลายอยู่ มีกายเป็นต้น ค้นคว้าหาเหตุผลเฉพาะในตน จนเห็นชัดตระหนักแน่วแน่ตามเป็นจริงว่า สิ่งนี้มี สิ่งนี้จึงมี เมื่อสิ่งนี้ไม่มี สิ่งนี้ก็ไม่มี เป็นต้น ตามชั้นตามภูมิของตนๆ ฉะนั้น
สมาธิจึงสามารถละกิเลส มีสักกายทิฏฐิเสียได้ สมาธินี้ถ้าสติอ่อน ไม่สามารถรักษาฐานะของตนไว้ได้ ย่อมพลัดเข้าไปสู่ภวังค์เป็นฌานไป ฌานถ้ามีสติสัมปชัญญะแก่กล้าขึ้นเมื่อไร ย่อมกลายเป็นสมาธิได้เมื่อนั้น ในพระวิสุทธิมรรคท่านแสดงสมาธิเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับฌาน เช่นว่า สมาธิกอปรด้วยวิตก วิจาร ปีติ เป็นต้น ดังนี้ก็มี บางทีท่านแสดงสมาธิเป็นเหตุของฌาน เช่นว่าสมาธิเป็นเหตุให้ได้ฌานชั้นสูงขึ้นไป ดังนี้ก็มี บางทีท่านแสดงสมาธิเป็นฌานเลย เช่นว่าสมาธิเป็นกามาพจร รูปาพจร อรูปาพจร ดังนี้ก็มี แต่ข้าพเจ้าแสดงมานี้ก็มิได้ผิดออกจากนั้น เป็นแต่ว่าแยกแยะสมถะฌาน สมาธิ ออกให้รู้จักหน้าตามันในขณะที่มันเกิดขึ้นเฉพาะหน้าเท่านั้น สำหรับผู้ฝึกหัดเป็นไปแล้วจะไม่งง ที่ท่านแสดงไว้แล้วนั้นเป็นการยืดยาว ยากที่ผู้มีความทรงจำน้อยจะเอามากำหนดรู้ได้
นิมิต เมื่ออธิบายมาถึง ฌาน สมาธิ ภวังค์ ดังนี้แล้ว จำเป็นจะลืมเสียไม่ได้ซึ่งรสชาติอันอร่อย (คือ นิมิต) ซึ่งเกิดขึ้นในระยะของสิ่งเหล่านั้น ผู้เจริญพระกรรมฐานย่อมปรารถนาเป็นอย่างยิ่งแทบทุกคนก็ว่าได้ ความจริงนิมิตมิใช่ของจริงทีเดียวทั้งหมด นิมิตเป็นแต่นโยบายให้พิจารณาให้เห็นตามความเป็นจริงก็มี ถ้าพิจารณานิมิตนั้นไม่ถูกก็เลยเขวไปก็มี ถ้าพิจารณาถูกก็ดีมีปัญญาเกิดขึ้น นิมิตที่เป็นของจริงคือนิมิตเป็นหมอดูไม่ต้องใช้วิพากษ์วิจารณ์อย่างนี้ก็มี นิมิตนั้นเมื่อจะเกิดก็เกิดเอง เป็นของแต่งเอาไม่ได้ เมื่อจะเกิด เกิดจากเหตุ ๒ ประการ คือเกิดจากฌาน ๑ สมาธิ ๑ เมื่ออบรมและรักษาธรรม ๒ ประการนี้ไว้ไม่ให้เสื่อมแล้ว นิมิตทั้งหลายย่อมเกิดขึ้นเองอุปมาดังต้นไม้ที่มีดอกและผล ปรนปรือปฏิบัติรักษาต้นมันไว้ให้ดีเถิด อย่ามัวขอแต่ดอกผลของมันเลย เมื่อต้นของมันแก่แล้ว มีวันหนึ่งข้างหน้าไม่ช้าคงได้รับดอกแลผลเป็นแน่นอน ดีกว่าจะไปมัวขอผลแลดอกเท่านั้น
นิมิต ที่เกิดจากฌานนั้น เมื่อจิตตกเข้าถึงฌานเมื่อไรแล้ว นิมิตทั้งหลายมีอสุภเป็นต้น ย่อมเกิดขึ้นในลำดับดังได้อธิบายมาแล้วในข้างต้นว่า จิตเมื่อเข้าจะเข้าถึงฌานได้ย่อมเป็นภวังค์เสียก่อน ภวังค์นี้เป็นเครื่องวัดของฌานโดยแท้ ถ้าเกิดขึ้นในลำดับของภวังคบาต เกิดแวบขึ้นครู่หนึ่งแล้วนิมิตนั้นก็หายไปพร้อมทั้งภวังค์ด้วย ถ้าเป็นภวังคจลนะ พอเกิดขึ้นแล้วภวังค์นั้นก็เร่ร่อนเพลินไปตามนิมิตที่น่าเพลิดเพลินนั้นโดยสำคัญว่าเป็นจริง ถ้านิมิตเป็นสิ่งที่น่ากลัว กลัวจนตัวสั่น เสียขวัญ บางทีก็รู้อยู่ว่านั่นเป็นนิมิตมิใช่ของจริง แต่ไม่ยอมทิ้งเพราะภวังค์ยังไม่เสื่อม ภวังคจลนะนี้เป็นที่ตั้งของวิปัสสนูปกิเลสทั้ง ๑๐ มีโอภาโส แสงสว่างเป็นต้น ถ้าไม่เข้าถึงภวังค์ มีสติสัมปชัญญะแก่กล้าเป็นที่ตั้งของปัญญาได้เป็นอย่างดี มีวิปัสสนาปัญญาเกิดขึ้นในที่นี้เอง นิมิตนั้นเลยกลายเป็นอุปจารสมาธินิมิตไป ส่วนภวังคุปัจเฉทะไม่มีนิมิตเป็นเครื่องปรากฏ ถ้ามีก็ต้องถอยออกมาตั้งอยู่ในภวังคจลนะเสียก่อน ตกลงว่านิมิตมีที่ภวังคจลนะอยู่นั่นเอง
นิมิตที่เกิดในสมาธิ เมื่อเกิดขึ้นในภูมิของขณิกสมาธิ วับแวบขึ้นครู่หนึ่งแล้วก็หายไป อุปมาเหมือนกันกับบุคคลผู้เป็นลมสันนิบาตมีแสงวูบวาบเกิดขึ้นในตา หาทันได้จำว่าเป็นอะไรต่ออะไรไม่ ถึงจะจำได้ก็อนุมานตามทีหลังคล้ายๆ กับภวังคบาตเหมือนกัน ถ้าเกิดในอุปจารสมาธินั้น นิมิตชัดเจนแจ่มแจ้งดี เป็นที่ตั้งขององค์วิปัสสนาปัญญา เช่นเมื่อพิจารณาขันธ์ ๕ อยู่ พอจิตตกลงเข้าถึงอุปจารสมาธิแล้ว หรือเข้าถึงอัปปนาสมาธิแล้วถอนออกมาอยู่ในอุปจารสมาธิ นิมิตปรากฏชัดเป็นตามจริงด้วยความชัดด้วยญาณทัสสนะในที่นั้น
เช่น เห็นรูปขันธ์เป็นเหมือนกับต่อมน้ำ ตั้งขึ้นแล้วก็ดับไป เห็นเวทนาเป็นเหมือนกับฟองแห่งน้ำ เป็นก้อนวิ่งเข้ามากระทบฝั่งแล้วก็สลายเป็นน้ำตามเดิม เห็นสัญญาเป็นเหมือนพยับแดด ดูไกลๆ คล้ายกับเป็นตัวจริง เมื่อเข้าไปถึงที่อยู่ของมันจริงๆ แล้ว พยับแดดนั้นก็หายไป เห็นสังขารเหมือนกับต้นกล้วยซึ่งหาแก่นสารในลำต้นสักนิดเดียวย่อมไม่มี เห็นวิญญาณเปรียบเหมือนมายาผู้หลอกให้จิตหลงเชื่อ แล้วตัวเจ้าของหายไปหลอกเรื่องอื่นอีก ดังนี้เป็นต้น เป็นพยานขององค์วิปัสสนาปัญญาให้เห็นแจ้งว่า สัตว์ที่มีขันธ์ ๕ ต้องเหมือนกันดังนี้ทั้งนั้น ขันธ์มีสภาวะเป็นอยู่อย่างนี้ทั้งนั้น ขันธ์มิใช่อะไรทั้งหมด เป็นของปรากฏอยู่เฉพาะของเขาเท่านั้น ความถือมั่นอุปาทานย่อมหายไป มิได้มีวิปลาสที่สำคัญว่าขันธ์เป็นตนเป็นตัว เป็นอาทิ
สมาธินี้ท่านจำแนกไว้เป็น ๓ ชั้นคือ
ขณิกสมาธิ สมาธิที่เพ่งพิจารณาพระกรรมฐานอยู่นั้น จิตรวมบ้าง ไม่รวมบ้าง เป็นครู่เป็นขณะ พระกรรมฐานที่เพ่งพิจารณาอยู่นั้นก็ชัดบ้าง ไม่ชัดบ้าง เปรียบเหมือนสายฟ้าแลบในเวลากลางคืนฉะนั้น เรียกว่า ขณิกสมาธิ
อุปจารสมาธิ นั้นจิตค่อยตั้งมั่นเข้าไปหน่อยไม่ยอมปล่อยไปตามอารมณ์จริงจัง แต่ตั้งมั่นก็ไม่ถึงกับแน่วแน่เป็นอารมณ์อันเดียว ถึงเที่ยวไปบ้างก็อยู่ในของเขตของจิต อุปมาเหมือนวอก เจ้าตัวกลับกลอกถูกโซ่ผูกไว้ที่หลัก หรือนกกระทาขังไว้ในกรงฉะนั้น เรียกว่าอุปจารสมาธิ
อัปปนาสมาธิ นั้นจิตตั้งมั่นจนเต็มขีด แม้ขณะจิตนิดหน่อยก็มิได้ปล่อยให้หลงเพลินไปตามอารมณ์ เอกัคคตารมณ์จมดิ่งนิ่งแน่ว ใจใสแจ๋วเฉพาะอันเดียว มิได้เกี่ยวเกาะเสาะแส่หาอัตตาแลอนัตตาอีกต่อไป สติสมาธิภายในนั้น หากพอดีสมสัดส่วน ไม่ต้องระวัง ไม่ต้องตั้งสติรักษา ตัวสติสัมปชัญญะสมาธิ มันหากรักษาตัวมันเอง อัปปนาสมาธินี้ละเอียดมาก เมื่อเข้าถึงที่แล้ว ลมหายใจแทบจะไม่ปรากฏ ขณะมันจะลง ทีแรกคล้ายกับว่าจะเคลิ้มไป แต่ว่าไม่ถึงกับเผลอสติเข้าสู่ภวังค์ ขณะสนธิกันนี้ท่านเรียกว่า โคตรภูจิต ถ้าลงถึงอัปปนาเต็มที่แล้วมีสติรู้อยู่ เรียกว่า อัปปนาสมาธิ ถ้าหาสติมิได้ ใจน้อมลงสู่ภวังค์เข้าถึงความสงบหน้าเดียว หรือมีสติอยู่บ้างแต่เพ่งหรือยินดีชมแต่ความสุขอันเกิดจากความสงบอันละเอียดอยู่เท่านั้น เรียกว่า อัปปนาฌาน
อัปปนาสมาธินี้มีลักษณะคล้ายกับผู้ที่เข้าอัปปนาฌานชำนาญแล้ว ย่อมเข้าหรือออกได้สมประสงค์ จะตั้งอยู่ตรงไหน ช้านานสักเท่าไรก็ได้ ซึ่งเรียกว่าโลกุตรฌาน อันเป็นวิหารธรรมของพระอริยเจ้า อัปปนาสมาธิเมื่อมันจะเข้าทีแรก หากสติไม่พอเผลอตัวเข้า กลายเป็นอัปปนาฌานไปเสีย
สมถะ สมถะเมื่อแยกออกไปแล้ว มี ๒ ประเภทคือ สมถะทำความสงบเฉยๆ ๑ สมถะที่ประกอบด้วยองค์ฌาน ๑
สมถะทำความสงบเฉยๆ นั้น จะกำหนดพระกรรมฐานหรือไม่ก็ตาม แล้วทำจิตให้สงบอยู่เฉยๆ ไม่เข้าถึงองค์ฌาน อย่างนี้เรียกว่า ตัตรมัชฌัตตุเปกขา ย่อมมีแก่ชนทั่วไปในบางกรณี ไม่จำกัดมีได้เฉพาะผู้เจริญพระกรรมฐานเท่านั้น
ส่วนสมถะที่ประกอบไปด้วยองค์ฌานนั้น มีได้แต่เฉพาะผู้เจริญพระกรรมฐานเท่านั้น เมื่อถึงซึ่งความสงบครบด้วยองค์ฌานแล้ว เรียกว่า ฌานุเปกขา ฌานุเปกขานี้ท่านจำแนกไว้เป็น ๒ ประเภท คือฌานุเปกขาที่ปรารภรูปเป็นอารมณ์ เอารูปเป็นนิมิต เรียกว่ารูปฌาน ๑ อรูปฌาน ปรารภนามนามเป็นอารมณ์ เอานามเป็นนิมิต ๑ แต่ละประเภทท่านจำแนกออกไว้เป็นประเภทละ ๔ รวมเรียกว่ารูปฌาน ๔ อรูปฌาน ๔ จึงเป็นสมาบัติ ๘
ฌานนี้มีลักษณะอาการให้เพ่งเฉพาะในอารมณ์เดียว จะเป็นรูปหรือนามก็ตาม เพื่อน้อมจิตให้สงบปราศจากกังวลแล้วเข้าถึงเอกัคคตารมณ์ มีความสุขเป็นที่นิยมแลปรารถนา เมื่อสมประสงค์แล้วก็ไม่ต้องใช้ปัญญาวิพากษ์วิจารณ์ในสังขารทั้งหลายมีกายเป็นต้น ดังแสดงมาแล้วนั้นก็ดี หรือจะพิจารณาใช้แต่พอเป็นวิถีทางเดินเข้าไปเท่านั้น เมื่อถึงองค์ฌานแล้วย่อมมีลักษณะแลรสชาติ สุข เอกัคคตา และเอกัคคตา อุเบกขา เสมอเหมือนกันหมด
ฉะนั้น ฌานนี้จึงเป็นของฝึกหัดได้ง่าย จะในพุทธกาลหรือนอกพุทธกาลก็ตาม ผู้ฝึกหัดฌานนี้ย่อมมีอยู่เสมอ แต่ในพุทธศาสนา ผู้ฝึกหัดฌานได้ช่ำชองแล้ว มีวิปัสสนาปัญญาเป็นเครื่องคุ้มครองฌานอยู่ เนื่องด้วยอุบายของพระสัพพัญญูพุทธเจ้าเป็นเครื่องส่องสว่างให้ จึงไม่หลงในฌานนั้น เมื่อเป็นเช่นนั้นฌานของท่านเลยเป็นวิหารธรรม เครื่องอยู่ของท่านผู้ขีณาสพ เรียกว่า โลกุตรฌาน ส่วนฌานที่ไม่มีวิปัสสนาปัญญาเป็นเครื่องคุ้มครอง เรียกว่า โลกิยฌาน เสื่อมได้ และเป็นไปเพื่อก่อภพก่อชาติอีก ต่อไปนี้จะได้แสดงฌานเป็นลำดับไป
รูปฌาน ๔ เมื่อผู้มาเพ่งพิจารณาพระกรรมฐานบทใดบทหนึ่งอยู่ มีกายคตาเป็นต้น จนปรากฏพระกรรมฐานนั้นชัดแจ่มแจ้งกว่า อนุมานทิฏฐิ ซึ่งได้กำหนดเพ่งมาแต่เบื้องต้นนั้น ด้วยอำนาจของจิตที่เปลี่ยนจากสภาพเดิม อันระคนด้วยอารมณ์หลายอย่าง และเป็นของหยาบด้วย แล้วเข้าถึงซึ่งความผ่องใสในภายในอยู่เฉพาะอารมณ์อันเดียว เรียกง่ายๆ ว่า ขันธ์ทั้งห้าเข้าไปรวมอยู่ภายในเป็นก้อนเดียวกัน ฉะนั้น ความชัดอันนั้นจึงเป็นของแจ้งชัดกว่าความแจ้งชัดที่เห็นด้วยขันธ์ ๕ ภายนอก พร้อมกันนั้น จิตจะมีอาการวูบวาบรวมลงไป คล้ายกับจะเผลอสติแล้วลืมตัว บางทีก็เผลอสติแล้วลืมตัวเอาจริงๆ แล้วเข้าไปนิ่งเฉยอยู่คนเดียว
ถ้าหากผู้สติดีหมั่นเป็นบ่อยๆ จนชำนาญแล้ว ถึงจะมีลักษณะอาการอย่างนั้นก็ตามรู้ตามเห็นอยู่ทุกระยะ ลักษณะอย่างนี้เรียกว่า "จิตเข้าสู่ภวังค์" เป็นอย่างนั้นอยู่ขณะจิตหนึ่งเท่านั้น แล้วลักษณะอย่างนั้นหายไป ความรู้อยู่หรือจะส่งไปตามอาการต่างๆ ของอารมณ์ก็ตามเรื่อง บางทีจะแสดงภาพให้ปรากฏในที่นั้นด้วยอำนาจของสังขารขันธ์ภายใน ให้ปรากฏเห็นเป็นต่างๆ เช่น มันปรุงอยากจะให้กายนี้เป็นของเน่าเปื่อยปฏิกูล หรือสวยงามประการใดๆ ภาพก็จะปรากฏขึ้นมาในที่นั้นโดยไม่รู้ตัว ดังนี้เป็นต้น แล้วขันธ์ทั้งสี่มีเวทนาขันธ์เป็นอาทิก็เข้ารับทำหน้าที่ตามสมควรแก่ภาวะของตนๆ เรียกว่า ปฏิภาคนิมิต บางทีส่งจิตนั้นไปดูสิ่งต่างๆ ที่ตนต้องการแลปรารถนาอยากจะรู้ ก็ได้เห็นตามเป็นจริง บางทีสิ่งเหล่านั้นมาปรากฏขึ้นเฉยๆ ในที่นั้นเอง พร้อมทั้งอรรถแลบาลีก็มีได้ ลักษณะอย่างนี้เรียกว่าใช้ขันธ์ภายในได้
ยังอีก ขันธ์ภายในจะต้องหลอกลวงขันธ์ภายนอก เช่น บางคนซึ่งเป็นคนขี้ขลาดมาแล้วแต่ก่อน พอมาอบรมถึงจิตในขณะนี้เข้าแล้ว ภาพที่ตนเคยกลัวมาแล้วแต่ก่อนๆ นั้น ให้ปรากฏขึ้นในที่นั้นเอง สัญญาที่เคยจำไว้แต่ก่อนๆ ที่ว่าเป็นของน่ากลัวนั้นก็ยิ่งทำให้กลัวมากขึ้นจนขวัญหนีดีฝ่อ ด้วยสำคัญว่าเป็นของจริงจังอย่างนี้เรียกว่าสังขารภายในหลอกสังขารภายนอก เพราะธรรมเหล่านี้เป็นสังขตธรรม ด้วยอำนาจอุปาทานนั้นอาจทำผู้เห็นให้เสียสติไปได้ ผู้ฝึกหัดมาถึงขั้นนี้แล้วควรได้รับคำแนะนำจากท่านผู้รู้ผู้ชำนาญ
เมื่อผ่านพ้นในตอนนี้ไปได้แล้ว จะทำหลังมือให้เป็นฝ่ามือได้ดี เรื่องเหล่านี้ผู้เจริญพระกรรมฐานทั้งหลาย มีความมุ่งหมายเป็นส่วนมาก ผู้ที่ยังไม่เคยเป็น แต่เพียงได้ฟังเท่านั้น ตอนปลายนี้ชักให้กลัวเสียแล้วไม่กล้าจะทำต่อไปอีก ความจริงเรื่องเหล่านี้ผู้เจริญพระกรรมฐานทั้งหลาย เมื่อทำถูกทางเข้าแล้วย่อมได้ประสบทุกคนไป แลเป็นกำลังให้เกิดวิริยะได้อย่างดีอีกด้วย ภวังค์ชนิดนี้เป็นภวังค์ที่นำจิตให้ไปสู่ปฏิสนธิเป็นภพชาติ ไม่อาจสามารถจะพิจารณาวิปัสสนาชำระกิเลสละเอียดได้ ฉะนั้น ท่านจึงจัดเป็นอุปกิเลส
ฌานทั้งหลาย มีปฐมฌานเป็นต้น ท่านแสดงองค์ประกอบไว้เป็นชั้นๆ ดังจะแสดงต่อไปนี้ แต่เมื่อจะย่นย่อใจความเพื่อให้เข้าใจง่ายๆ แล้ว ฌานต้องมีภวังค์เป็นเครื่องหมาย ภวังค์นี้ท่านแสดงไว้มี ๓ คือ ภวังคบาต ๑ ภวังคจลนะ ๑ ภวังคุปัจเฉทะ ๑
ภวังคบาต เมื่อจิตตกลงสู่ภวังค์นั้นมาอาการให้วูบวาบลง ดังแสดงมาแล้วในข้างต้น แต่ว่าเป็นขณะจิตนิดหน่อย บางทีแทบจะจำไม่ได้เลย ถ้าหากผู้เจริญบริกรรมพระกรรมฐานนั้นอยู่ ทำให้ลืมพระกรรมฐานที่เจริญอยู่นั้น แลอารมณ์อื่นๆ ก็ไม่ส่งไปตามขณะจิตหนึ่ง แล้วก็เจริญบริกรรมพระกรรมฐานต่อไปอีกหรือส่งไปตามอารมณ์เดิม
ภวังคจลนะ เป็นอย่างนั้นเหมือนกัน แต่ว่าเมื่อถึงภวังค์แล้ว เที่ยวหรือซ่านอยู่ในอารมณ์ของภวังค์นั้น ไม่ส่งออกไปนอกจากอารมณ์ของภวังค์นั้น ปฏิภาคนิมิตและนิมิตต่างๆ ความรู้ความเห็นทั้งหลายมีแสงสว่างเป็นต้น เกิดในภวังค์นี้ชัดมาก จิตเที่ยวอยู่ในอารมณ์นี้
ภวังคุปัจเฉทะ เมื่อจิตตกลงสู่ภวังค์แล้วขาดจากอารมณ์ภายนอกทั้งหมด แม้แต่อารมณ์ภายในของภวังค์ที่เป็นอยู่นั้น ถ้าเป็นทีแรกหรือยังไม่ชำนาญในภวังค์นั้นแล้วก็จะไม่รู้ตัวเลย เมื่อเป็นบ่อยหรือชำนาญในลักษณะของภวังค์นี้แล้วจะมีอาการให้มีสติรู้อยู่ แต่ขาดจากอารมณ์ใดๆ ทั้งหมด ภวังค์นี้จัดเป็นอัปปนาสมาธิได้ ฉะนั้นอัปปนานี้บางท่านเรียกว่าอัปปนาฌาน บางทีท่านเรียกว่า อัปปนาสมาธิ มีลักษณะผิดแปลกกันนิดหน่อยดังอธิบายมาแล้วนั้น เมื่อถอนออกจากอัปปนาสมาธิแล้ว มาอยู่ในอุปจารสมาธิ ไม่ได้เป็นภวังคจลนะ ในตอนนี้พิจารณาวิปัสสนาได้ ถ้าเป็นภวังคจลนะแล้วมีความรู้แลนิมิตเฉยๆ เรียกว่า อภิญญา ภวังค์ทั้งสามดังแสดงมานี้เป็นเครื่องหมายของฌาน
ความแปลกต่างของฌาน ภวังค์ สมาธิ จะได้แสดงตอนอรูปฌานต่อไป
รูปฌาน มี ๔ คือ ปฐมฌาน ๑ ทุติยฌาน ๑ ตติยฌาน ๑ จตุตฺถฌาน ๑
ปฐมฌาน นั้นประกอบด้วยองค์ ๕ คือ มีวิตก ยกเอาพระกรรมฐานบทใดบทหนึ่งขึ้นมาเพ่งพิจารณาให้เป็นอารมณ์ ๑ วิจารเพ่งคือพิจารณาเฉพาะอยู่แต่พระกรรมฐานนั้นอย่างเดียว ๑ เห็นชัดในพระกรรมฐานนั้นแล้วเกิดปีติ ๑ ปีติเกิดแล้วมีความเบากายโล่งใจเป็นสุข ๑ แล้วจิตนั้นก็แน่วอยู่ในเอกัคคตา ๑ เรียกว่าปฐมฌานมีองค์ ๕
ทุติยฌาน มีองค์ ๓ ด้วยอำนาจเอกัคคตา จิตนั้นยังไม่ถอนกิจ ซึ่งจะยกเอาพระกรรมฐานมาพิจารณาอีกย่อมไม่มี ฉะนั้นฌานชั้นนี้จึงคงยังปรากฏเหลืออยู่แต่ปีติ สุข เอกัคคตาเท่านั้น
ตติยฌาน มีองค์ ๒ ด้วยอำนาจเอกัคคตา จิตติดอยู่ในอารมณ์ของตนมาก เพ่งเอาแต่ความสุขอย่างเดียว จึงยังคงเหลืออยู่เพียง ๒ คือ สุขกับเอกัคคตา
จตุตฺถฌาน มีองค์ ๒ เหมือนกัน คือ เอกัคคตาที่เพ่งเอาแต่ความสุขนั้นเป็นของละเอียด จนสุขนั้นไม่ปรากฏ เพราะสุขนั้นยังเป็นของหยาบกว่าเอกัคคตา จึงวางสุขอันนั้นเสีย แล้วยังคงมีอยู่แต่เอกัคคตากับอุเบกขา
ฌานทั้งสี่นี้ละนิวรณ์ ๕ (คือสงบไป) ได้แล้วตั้งแต่ปฐมฌาน ส่วนฌานนอกนั้นกิจซึ่งจะต้องละอีกย่อมไม่มี ด้วยอำนาจการเพ่งเอาแต่จิตอย่างเดียวเป็นอารมณ์หนึ่ง จึงละองค์ของปฐมฌานทั้งสี่นั้นเป็นลำดับไป แล้วยังเหลืออยู่แต่ตัวฌานตัวเดียว คือ เอกัคคตา ส่วนอุเบกขา เป็นผลของฌานที่ ๔ นั้นเอง แต่ปฐมฌานปรารภพระกรรมฐานภายนอกมาเป็นเหตุจำเป็น จึงต้องมีหน้าที่พิเศษมากกว่าฌานทั้ง ๓ เบื้องปลายนั้น ฌานทั้ง ๔ นี้ปรารภรูปเป็นเหตุ คือ ยกเอารูปพระกรรมฐานขึ้นมาเพ่งพิจารณา แล้วจิตจึงเข้าถึงซึ่งองค์ฌาน ฉะนั้นจึงเรียกว่า รูปฌาน
อรูปฌาน ๔ อรูปฌานนี้ ในพระสูตรต่างๆ โดยส่วนมากท่านไม่ค่อยจะแสดงไว้ เช่น ในโอวาทปาฏิโมกข์ เป็นต้น พระองค์ทรงแสดงแต่รูปฌาน ๔ เท่านั้น ถึงพระองค์ทรงแสดงอานิสงส์ของการเจริญกายคตากรรมฐานไว้ว่ามีอานิสงส์ ๑๐ ข้อ ๑๐ ความว่า ได้ฌานโดยไม่ลำบาก ดังนี้ แต่เมื่อกล่าวถึงวิหารธรรมของท่านผู้ที่เข้าสมาบัติแล้ว ท่านแสดงอรูปฌานไว้ด้วย สมาบัติ ๘ ฌานทั้ง ๘ นี้ บางทีท่านเรียกว่า วิโมกข์ ๘ บ้าง แต่ท่านแสดงลักษณะผิดแปลกออกไปจากฌาน ๘ นี้บ้างเล็กน้อย อรรถรสแลอารมณ์ของวิโมกข์ ๓ เบื้องต้น ก็อันเดียวกันกับรูปฌาน ๓ นั่นเอง เช่น วิโมกข์ข้อที่ ๑ ว่า ผู้มีรูปเป็นอารมณ์แล้วเห็นรูปทั้งหลายดังนี้เป็นต้น แต่รูปฌานแสดงแต่เพียง ๓ รูปฌานที่ ๔ เลยแสดงเป็นรูปวิโมกข์เสีย อรูปวิโมกข์ที่ ๔ เอาสัญญาเวทยิตนิโรธมาเข้าใส่ฌานทั้ง ๘ รวมทั้งสัญญาเวทยิตนิโรธเข้าด้วยเป็น ๙
ฌานทั้งหมดนี้เป็นโลกีย์โดยแท้ แต่เมื่อท่านผู้เข้าฌานเป็นอริยบุคคล ฌานนั้นก็เป็นโลกุตตระไปตาม เปรียบเหมือนกับฉลองพระบาทของพระราชา เมื่อคนสามัญรับมาใช้แล้วก็เรียกว่ารองเท้าธรรมดา ฉะนั้น ข้อนี้จะเห็นได้ชัดทีเดียวดังในเรื่องวิโมกข์ ๘ นี้ พระองค์ทรงแสดงแก่พระอานนท์ว่า อานนท์ ภิกษุจะฆ่าวิโมกข์ ๘ นี้ได้ด้วยอาวุธ ๕ ประการ คือ เข้าวิโมกข์ได้โดยอนุโลมบ้าง ทั้งอนุโลมแลปฏิโลมบ้าง เข้าออกได้ในที่ตนประสงค์ เข้าออกได้ซึ่งวิโมกข์ที่ตนประสงค์ เข้าออกได้นานตามที่ตนประสงค์ จึงจะสำเร็จ เจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ ดังนี้
ฉะนั้น ต่อไปนี้จะนำเอาอรูปฌาน ๔ มาแสดงไว้ในที่นี้ด้วย เพื่อผู้ที่สนใจจะได้นำไปวิจารณ์ในโอกาสอันสมควร ผู้ได้รูปฌานที่ ๔ แล้วจิตตกลงเข้าถึงอัปปนาเต็มที่แล้ว ฌานนี้ท่านแสดงว่าเป็นบาทของอภิญญา คือเมื่อต้องการอยากจะรู้จะเห็นอะไรต่ออะไร แล้วน้อมจิตนั้นไปเพื่อความรู้ในสิ่งนั้นๆ (คือถอนจิตออกมาจากอัปปนามาหยุดในอุปจาระ) แล้วสิ่งที่ตนต้องการรู้นั้นก็จะปรากฏชัดขึ้นมาในที่นั้นเอง เมื่อไม่ทำเช่นนั้น จะเดินอรูปฌานต่อ ก็มาเพ่งเอาองค์ของรูปฌานที่ ๔ คือเอกัคคตากับอุเบกขามาเป็นอารมณ์ จนจิตนั้นนิ่งแน่วแน่แล้วไม่มีอะไร ไม่ใส่ใจในเอกัคคตาแลอุเบกขาแล้ว คงยังเหลือแต่ความว่างโล่งเป็นอากาศอยู่เฉยๆ
อรูปฌานที่ ๑ จึงได้ยัดเอามาเป็นอารมณ์ เรียกว่า อากาสานัญจายตนะ
อรูปฌานที่ ๒ ด้วยอำนาจจิตเชื่อน้อมไปในฌานกล้าหาญ ย่อมเห็นอาการของผู้รู้ว่าจิตไปยึดอากาศ อากาศเป็นของภายนอก วิญญาณนี้เป็นผู้ไปยึดถือเอาอากาศมาเป็นอารมณ์ แล้วมาชมว่าเป็นตนเป็นตัว วิญญาณนี้เป็นที่รับเอาอารมณ์มาจากอายตนะภายนอก วิญญาณจึงได้กลับกลอกแลหลอกลวง เวลานี้วิญญาณล่วงพ้นเสียได้แล้วจากอายตนะทั้งหลาย วิญญาณไม่มีอะไรเป็นเครื่องหมาย บริสุทธิ์เต็มที่ แล้วก็ยินดีในวิญญาณนั้น ถือเอาวิญญาณมาเป็นอารมณ์ข่มนิวรณธรรม อยู่ด้วยความบริสุทธิ์อันนั้น ดังนี้ เรียกว่าวิญญาณัญจายตนะ เป็นอรูปฌานที่ ๒
อรูปฌานที่ ๓ วิญญาณเป็นอรูปจิต เมื่อติดอยู่กับวิญญาณแล้ว นิมิตอันเป็นของภายนอกซึ่งจะส่งเข้าไปทางอายตนะทั้ง ๕ มันก็ไม่รับ เพ่งเอาแต่ความละเอียดแลความบริสุทธ์อันเป็นธรรมารมณ์ภายในอย่างเดียว จิตเพ่งผู้รู้ดูผู้ละเอียดก็ยิ่งเห็นแต่ความละเอียด ด้วยความน้อมจิตเข้าไปหาความละเอียดจิตก็ยิ่งละเอียดเข้าไปทุกที เกือบจะไม่มีอะไรเลยก็ว่าได้ ในที่นั้นถือว่าน้อยนิดเดียวก็ไม่มี (คืออารมณ์หยาบไม่มี) เรียกว่า อากิญจัญญายตนะ เป็นอรูปฌานที่ ๓
อรูปฌานที่ ๔ ด้วยอำนาจการเพ่งว่าน้อยหนึ่งในที่นี้ก็ไม่มีดังนี้อยู่ เมื่อจิตน้อมไปในความละเอียดอยู่อย่างนั้น ความสำคัญนั่นนี่อะไรต่ออะไรย่อมไม่มี แต่ว่าผู้ที่น้อมไปหาความละเอียดแลผู้รู้ว่าถึงความละเอียดนั้นยังมีอยู่ เป็นแต่ผู้รู้ไม่คำนึงถึง คำนึงเอาแต่ความละเอียดเป็นอารมณ์ ฉะนั้น ในที่นั้นจะเรียกว่าสัญญาความจำอารมณ์อันหยาบก็ไม่ใช่ เพราะไม่มีเสียแล้ว จะเรียกว่าไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่ แต่ความจำว่าเป็นของละเอียดยังมีปรากฏอยู่ ฌานชั้นนี้ท่านจึงเรียกว่า เนวสัญญานาสัญญายตนะ เป็นอรูปฌานที่ ๔
เมื่อแสดงมาถึงอรูปฌานที่ ๔ นี้ ท่านผู้อ่านทั้งหลายสมควรจะได้อ่านฌานวิเศษ คือ สัญญาเวทยิตนิโรธต่อไปอีกด้วย เพราะเป็นฌานแถวเดียวกัน แลเป็นที่สุดของฌานทั้งหลายเหล่านี้ คือผู้เข้าอรูปฌานที่ ๔ ชำนาญแล้ว เมื่อท่านจะเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ ก็มายึดเอาอรูปฌานที่ ๔ นี้เองมาเป็นอารมณ์ ด้วยการไม่ยึดเอาความหมายอะไรมาเป็นนิมิตอารมณ์เสียก่อนเมื่อจะเข้า ตามนัยของนางธัมมทินนาเถรี ตอบปัญหานางวิสาขอุบาสก ดังนี้ ไม่ได้คิดว่าเราจักเข้า หรือเข้าอยู่ หรือเข้าแล้ว เป็นแต่น้อมจิตไปเพื่อจะเข้า ก็ได้อบรมจิตไว้อย่างนั้นแล้วก่อนแต่จะเข้า เมื่อเข้านั้นวจีสังขารคือความวิตกดับไปก่อน แล้วกายสังขารคือลมหายใจ แลจิตสังขารคือเวทนา จึงดับต่อภายหลัง
ส่วนการออกก็ไม่ได้คิดอย่างนั้นเหมือนกัน เป็นแต่ได้กำหนดจิตไว้แล้วก่อนแต่จะเข้าเท่านั้น ว่าเราจะเข้าเท่านั้นวันแล้วจะออก เมื่อออกนั้นจิตสังขารเกิดก่อน แล้วกายสังขาร-วจีสังขารจึงเกิดตามๆ กันมา เมื่อออกมาทีแรก ผัสสะ ๓ คือ สุญญตผัสสะ ๑ อนิมิตตผัสสะ ๑ อัปปณิหิตผัสสะ ๑ ถูกต้องแล้ว ต่อนั้นไปจิตนั้นก็น้อมไปในวิเวก
บันทึกการเข้า
akhomubon
member
คะแนน
2
ออฟไลน์
กระทู้: 47
Re: หลวงปู่เทสก์กล่าวถึง " ความต่างกันระหว่างฌานกับสมาธิ "
«
ตอบ #1 เมื่อ:
เมษายน 06, 2010, 09:43:07 am »
สาธุ
บันทึกการเข้า
หน้า: [
1
]
ขึ้นบน
พิมพ์
>
นานาสาระ
>
ลึกลับ-เหลือเชื่อ-ธรรมะ
> หัวข้อ:
หลวงปู่เทสก์กล่าวถึง " ความต่างกันระหว่างฌานกับสมาธิ "
« หน้าที่แล้ว
ต่อไป »
กระโดดไป:
เลือกหัวข้อ:
-----------------------------
หาเงินONLINE&AI
-----------------------------
=> ●AI
=> หาเงินออนไลน์
-----------------------------
ประกาศข่าวสำคัญ
-----------------------------
=> ประกาศ:เฉพาะLSV-Team
=> ห้องเฉพาะกิจ ถวายอาลัยในหลวง ร.9
-----------------------------
► อิเล็กทรอนิกส์ ►
-----------------------------
=> **รวมเพื่อนช่าง โซล่าเซลล์
=> ถาม-ตอบ ซ่อมทีวี
===> สอบถามเบอร์ฟลายแบค
===> ทีวีระบบดิจิตอล
===> สรุปงานซ่อมเพื่อชีวิต2018
=> ซ่อมLCD-LED-Plasma
=> วงจรโทรทัศน์
===> ขอวงจรทีวี
===> AKAI
===> AIWA
===> CHAINA ทีวีจีน
===> DAEWOO
===> DIAMOND
===> DISTAR
===> HAIER
===> HITACHI
===> FAMILY
===> INTERNATIONAL
===> JVC
===> KIMURA-MITSUI
===> KONKA
===> LG - GOLDSTAR
===> MITSUBISHI
===> NATIONAL
===> NEC
===> ORION
===> PANASONICS
===> PHILIPS
===> RCR
===> SAMPO
===> SAMSUNG
===> SINGER-SANYO
===> SHARP
===> SONY
===> TANIN
===> TCL
===> THOMSON
===> TOSHIBA
=> รวมservice mode
===> AKAI-sm
===> AIWA-sm
===> CHAINA-sm
===> DAEWOO-sm
===> DIAMOND-sm
===> DISTAR-sm
===> GOLDSTAR-sm
===> HAIER-sm
===> HITACHI-sm
===> JVC-sm
===> KIMURA-MITSUI -sm
===> LG-sm
===> MITSUBISHI-sm
===> NEC-sm
===> ORION-sm
===> PANASONICS-sm
===> PHILIPS-sm
===> RCR-sm
===> SAMSUNG-sm
===> SINGER-SANYO-sm
===> SHARP-sm
===> SONY-sm
===> TCL-sm
===> THOMSON-sm
===> TOSHIBA-sm
=> รวมee-prom
===> AKAI ee-prom
===> AIWA ee-prom
===> CHAINA ee-prom
===> DAEWOO ee-prom
===> DIAMONDee-prom
===> DISTAR ee-prom
===> HAIER ee-prom
===> HITACHI ee-prom
===> JVC ee-prom
===> KIMURA-MITSUI ee-prom
===> LG ee-prom
===> GOLDSTAR ee-prom
===> MITSUBISHI ee-prom
===> MITSUI-ee-prom
===> NEC ee-prom
===> ORION ee-prom
===> PANASONICS ee-prom
===> PHILIPS ee-prom
===> RCR ee-prom
===> SAMSUNG ee-prom
===> SINGER-SANYO
===> SHARP ee-prom
===> SONY ee-prom
===> TCL ee-prom
===> THOMSON ee-prom
===> TOSHIBA ee-prom
=> ►ถาม-ตอบ มินิคอมโปเน้นท์
===> ** ee-prom
===> รวมวงจรมินิคอมโป
=====> AIWA
=====> KENWOOD
=====> LG
=====> PANASONICS
=====> PIONEER
=====> SAMSUNG
=====> SHARP
=====> SONY
=====> JVC
=====> PHILIPS
=====> TECHNICS
=> ►ถาม-ตอบ VCD-DVD
===> ขอวงจร VCD-DVD
===> PANASONICS
===> PHILIPS
===> PIONEER
===> SAMSUNG
===> ** ee-prom
=> ◆ดาวเทียม,สายอากาศทีวี◆
===> ซอร์ฟแวร์ ดาวเทียม
=> กล้องวงจรปิด
=> โทรศัพท์
===> วงจรโทรศัพท์
=====> ERICSON
=====> NOKIA
===> ระบบ 3 G.◆
===> ► iPOD-MP3-MP4
===> เขียนโปรแกรมบน Android
=> มุม smartphone
===> โลกโซเชียลเน็ตเวิร์ค
===> GooGle
===> ช่วยกันรวมApp. น่าใช้
=> LINE ไลน์
===> รวมเรื่องเล่าไลน์
===> ชีวิตคิด+
===> รวมภาพไลน์
=> ►ถาม-ตอบอีเล็กทรอนิกส์ทั่วไป
===> รอบรู้อิเล็กทรอนิกส์
===> ถาม-ตอบมอนิเตอร์
=====> ซ่อมมอนิเตอร์ Hansol
=====> LCD Monitor
=====> ee-prom monitor
=====> รวมวงจรมอนิเตอร์
=======> ACER - cct.
=======> ADI
=======> AOC - cct.
=======> COMPAQ - cct.
=======> CTX - cct.
=======> DELL- cct.
=======> DAEWOO
=======> HANSOL -- cct.
=======> HP - cct.
=======> LG - cct.
=======> MAG - cct.
=======> NEC
=======> PHILIPS - cct.
=======> PROVISION - cct.
=======> SAMSUNG - cct.
=======> SAMTRON - cct.
=======> SOCOS - cct.
=======> SONY - cct.
=======> VIEWSONIC - cct.
=> ►อิเล็กฯกับงานอุตสาหกรรม
===> มุมUPS,หม้อแปลงไฟ
===> ►PRINTER-FAX-SCANER
=> ►เครื่องมือ
===> รวมวงจรเครื่องมือ
=> หุ่นยนต์-pcb-เทคโนโลยี่ใหม่
===> ใช้งานPICด้วยภาษาASM
=> แอร์,ตู้เย็น,ไมโครเวฟ,ซักผ้า
===> รวมวงจรแอร์-ระบบทำความเย็นทุกชนิด
===> รวมวงจรไมโครเวฟ
===> รวมวงจรเครื่องซักผ้า
===> ซ่อมเครื่องหยอดเหรียญ
=> ►อะไหล่
===> ►ดาต้าชีทอุปกรณ์ใช้บ่อย
=====> SOUND TR
=====> TV HOR. TR.
=====> TV. SUPPLY TR-MOSFET
=====> TR-MOSFET .-RF.
=====> เบอร์แทน
=> นำเที่ยว&ร้านซ่อมทุกจังหวัด
===> กรุงเทพ
===> กระบี่
===> กาญจนบุรี
===> กาฬสินธุ์
===> กำแพงเพชร
===> ขอนแก่น
===> จันทบุรี
===> ฉะเชิงเทรา
===> ชลบุรี
===> ชัยนาท
===> ชัยภูมิ
===> ชุมพร
===> เชียงราย
===> เชียงใหม่
===> ตราด
===> ตรัง
===> ตาก
===> นครนายก
===> นครปฐม
===> นครพนม
===> นครราชสีมา
===> นครศรีธรรมราช
===> นครสวรรค์
===> นนทบุรี
===> นราธิวาส
===> น่าน
===> บุรีรัมย์
===> ปทุมธานี
===> ประจวบคีรีขันธ์
===> ปราจีนบุรี
===> ปัตตานี
===> พะเยา
===> พิจิตร
===> พิษณุโลก
===> เพชรบูรณ์
===> เพชรบุรี
===> แพร่
===> พังงา
===> พัทลุง
===> ภูเก็ต
===> มุกดาหาร
===> มหาสารคาม
===> แม่ฮ่องสอน
===> ยะลา
===> ยโสธร
===> ร้อยเอ็ด
===> ระนอง
===> ระยอง
===> ราชบุรี
===> ลพบุรี
===> ลำปาง
===> ลำพูน
===> เลย
===> ศรีสะเกษ
===> สกลนคร
===> สงขลา
===> สตูล
===> สมุทรสาคร
===> สมุทรสงคราม
===> สมุทรปราการ
===> สระแก้ว
===> สระบุรี
===> สิงห์บุรี
===> สุโขทัย
===> สุพรรณบุรี
===> สุราษฎร์ธานี
===> สุรินทร์
===> หนองคาย
===> หนองบัวลำภู
===> อยุธยา
===> อ่างทอง
===> อุบลราชธานี
===> อุทัยธานี
===> อุดรธานี
===> อุตรดิตถ์
===> อำนาจเจริญ
===> รวมร้านค้าขายอะไหล่ทั่วประเทศ
-----------------------------
ห้องโครงงาน - D.I.Y.- เทคโนโลยี่
-----------------------------
=> ห้องโครงงาน - D.I.Y.- เทคโนโลยี่
===> ►ถาม-ตอบโครงงาน
===> รวมDIY. INVERTER
===> พลังงาน
===> มอเตอร์
===> LED
===> RF.รวมDIY. RF.
===> รวมDIY. Audio
===> ไฟฟ้ารถยนต์
===> รวมDIY. เครื่องมือ
===> รวมDIY. Power Supply
===> รวมDIY. Digital
===> รวมDIY. LIGHTING
===> รวมDIY. AUTOMOTIVE
===> รวมDIY. ELECTRONIC SWITCH
-----------------------------
ประสบการณ์ซ่อมเสร็จแล้ว
-----------------------------
=> ประสบการณ์ซ่อมเสร็จแล้วโทรทัศน์ ++++++
===> NATIONAL
=> อื่นๆ
-----------------------------
เครื่องเสียงบ้าน,กลางแจ้ง - แสงสี
-----------------------------
=> ♫ถาม-ตอบ เครื่องเสียง
===> ♫Class D power amp.
===> AC to DC สวิทชิ่งซัพพลาย
===> ♫โชว์ออฟเครื่องเสียง
===> ♫ระบบแสง-สี
===> ♫รวมวงจรเครื่องขยายเสียง
=> ♫ถาม-ตอบตู้ลำโพง
=> ♫โฮมเธียร์เตอร์-ทีวี3มิติ
-----------------------------
เครื่องเสียงรถยนต์
-----------------------------
=> ♫ ถาม-ตอบเครื่องเสียงรถยนต์
===> การแก้ code เครื่องเสียง
===> DC-DC convertor&Car Amp
===> ♫โชว์ออฟเครื่องเสียงรถยนต์
=> ♫ตู้ลำโพงเครื่องเสียงรถยนต์
=> ♫วงจรเครื่องเสียงรถยนต์
===> ♫วงจรเครื่องเสียงรถยนต์ SONY
===> PIONEER
===> KENWOOD
===> ALPINE
===> ♫วงจรเครื่องเสียงรถยนต์ JVC
===> AIWA
-----------------------------
สายอากาศ-เครื่องส่ง
-----------------------------
=> ถาม-ตอบ สายอากาศ - เครื่องส่ง
===> วงจรเครื่องส่ง
===> คู่มือการใช้งานวิทยุสื่อสาร
=> โดรน
=> วิทยุบังคับ-เครื่องบินเล็ก
-----------------------------
ห้องคอมพิวเตอร์
-----------------------------
=> ●หาเงินด้วยภาพถ่าย
===> ●พอร์ทช่างเล็ก
===> ●ช่วยกันเติมเต็มความรู้ตกแต่งภาพถ่าย
===> ●รวมเว็บซื้อ+ขายภาพ&วีดีโอ
=> สนทนา-คอมพิวเตอร์
===> ปัญหาเกี่ยวกับเสียง
===> ปัญหาเกี่ยวกับภาพ
===> ●คอมพ์คอนโทรล
===> ●วินโดว์
=====> เข้าAdminstratorไม่ได้
===> ●ลีนุกซ์
=====> POWER POINT
===> ●ไวรัส - โทรจัน
===> ●lan - internet - browser
=====> FireFox
=====> เน็ตมือถือ-แอร์การ์ด
===> ●driver
===> ●โน๊ตบุ๊ค
=====> รวมวงจรโน๊ตบุ๊ค
=======> ●วงจรโน๊ตบุ๊คACER
=======> ●วงจรโน๊ตบุ๊คAPPLE
=======> ●วงจรโน๊ตบุ๊ค SAMSUNG
=======> ●วงจรโน๊ตบุ๊คSONY
===> ●เมนบอร์ด &Hardware
=====> ปัญหาฮาร์ดดิสก์
=====> ปัญหาเครื่องซีดี
=====> ปัญหาแรม
=====> ปัญหาซัพพลาย
=====> ปัญหาเกี่ยวกับการ์ดต่างๆ
=====> กล้องวงจรปิด
=====> รวมวงจรเมนบอร์ดคอมพิวเตอร์
===> ●***GooGle Adsense
=> ●คอมพ์กราฟฟิก
===> Flash
===> COREL DRAW
===> ●Sony Vegas - Ulead Video
===> มาช่วยกันรวมเทคนิคโฟโต้ชอฟ
===> โปรแกรมออกแบบผลิตภัณฑ์
===> ●After Effect
===> Illustrator
=> ●Blender
=> ●คน ทำ เว็บ
===> MAMBO-JOOMLA
===> ●Wordpress
===> ●MyQSL
===> ●รวมโค๊ตทำเว็บ
===> ●SMF
===> ●รวม Icon,Botton,ภาพสวย,ดุ๊กดิ๊ก,smilyฯลฯ
=====> รวม Icon
=====> Botton
=====> ดุ๊กดิ๊ก,smily
=====> ภาพสวย-บ้าน
=====> ภาพสวย-วิว
=====> ภาพสวย-รถยนต์
=====> ภาพสวย-รถมอเตอร์ไซต์
=====> ภาพbg
===> ●ชุมชนคนรักArtisteer
===> ●CSS
-----------------------------
โหลดฟรีแวร์(ห้ามนำโปรแกรมมีลิขสิทธิ์มาลง)
-----------------------------
=> ดาวน์โหลดฟรีโปรแกรม
===> Driver โหลดไดร์เวอร์ ไดร์เวอร์เสียง การ์ดจอ
===> โปรแกรมกําจัดไฟล์ขยะ
===> โปรแกรมดูหนัง ฟังเพลง
===> โปรแกรมแต่งภาพ
===> โปรแกรมแต่ง-ตัดต่อวีดีโอ
===> โปรแกรมบราวเซอร์
===> โปรแกรมแปลงไฟล์
===> โปรแกรมไรท์แผ่น
===> โปรแกรมสแกนไวรัส
===> โปรแกรมสปายแวร์ Anti-Spyware
===> โปรแกรมออฟฟิศ
===> โปรแกรมอัพโหลดไฟล์
===> โปรแกรมเกี่ยวกับWindows
-----------------------------
สารพัดช่าง-แนวทางอาชีพ
-----------------------------
=> รวมอาชีพ
=> ออฟโรด&12โวลท์
=> ทุเรียนพืชเงินล้าน
=> ●ปาล์มน้ำมัน
=> ●การเกษตร
===> เครื่องมือการเกษตร
===> บุคคลดีเด่นงานเกษตรและแนวคิดพัฒนา
===> ปูมประวัติดินฟ้าอากาศ
===> รวมปูมประวัติแผ่นดินไหว
===> ปากพนัง..เมืองดีที่ถูกลืม.
===> มุมแต่งสวน...จัดบ้านเกษตร
===> ปลาและสัตว์น้ำ
===> การเพาะเลี้ยงเห็ด
===> ข้าว
===> ชุมชนออนไลน์ผู้เลี้ยง เป็ดไข่
===> ปลูกมะละกอ
===> การเลี้ยงแพะ-แกะ
=> เฟอร์นิเจอร์,บ้าน,งานประดิษฐ์
===> รวมแบบบ้าน
===> งานแกะสลักน้ำแข็ง
=> คุ้ย,แคะ,แกะ,เกา..สินค้า,บริการ
=> ●รถ-ยานพาหนะ
===> รถใช้แก๊ส
===> มุมคนชอบแต่งรถ
===> ►ไฟฟ้ารถยนต์
===> ฝึกทำสีรถ
=> ●EV รถพลังงานไฟฟ้า
=> ●มอเตอร์ไซค์
=> ►พลังงาน
===> พลังงานจากFUEL CELL
===> โซล่าเซลล์-กังหันลมผลิตไฟฟ้า
-----------------------------
นานาสาระ
-----------------------------
=> ●โควิด-19
=> สุขภาพ
=> บ้าน,ครอบครัว,อาหาร
===> ยา-สมุนไพร
===> น่ากินทั่วไทย...
===> สัตว์เลี้ยงน่ารัก...
===> สูตรอาหาร
===> ชีวิต
=> ซื้อๆ ขายๆ
===> TU2522
===> ตลาดนัดสินค้าเหลือใช้
=> รับงาน- สมัครงาน
=> เส้นทางการเงิน-เศรษฐกิจ
===> เล่นทองให้ได้เงิน
=> เด็ดข่าวเด่น
===> เศรษฐกิจ
=====> เส้นทางคนรวย
=====> ช่วยกันคิด พิชิตรวย
=> ช่างสนทนา
===> เล่าเรื่องประสบการณ์ชีวิต
=> กีฬา
=> นานาสาระ
===> ขำขัน
===> พิคโพส
===> ย้อนอดีต-ของโบราณ
===> กู๊ด ไอ เดียร์
===> ปัญหาเชาวน์-อะไรเอ่ย
===> ศิลปะ
===> MOST..ที่สุด
===> นิทาน
===> รู้ไว้ได้ประโยชน์,เคล็ดลับ
=====> งานช่างปูน
=====> งานไม้
=====> รถ
=====> อาหาร
=====> ประวัติศาสตร์
===> ปัญหากวนใจ
===> ศึกษาชีวิตคนดัง
=> ตากล้อง-ท่องเที่ยว
===> งาน-เทศกาล
=> เล่นกีต้าร์-คีย์บอร์ด-ดนตรี
=> ♫♫ MUSIC - บันเทิง ♫ ♫
=> ห้องยูทูป
===> ดูหนัง,ฟังเพลง
===> อุบัติเหตุ,ตื่นเต้น
===> สารคดี
===> วิชาการ
===> วิทยาศาสตร์
===> คอมพิวเตอร์
===> หารายได้จากYoutube
=> การศึกษา
===> วิทยาศาสตร์
===> ห้องลับสมอง
===> ภูมิศาสตร์,ประวัติศาสตร์,สังคม
===> กฏหมาย
=> หน้าที่พลเมือง
=> พระเครื่อง2017
=> ลึกลับ-เหลือเชื่อ-ธรรมะ
===> ดูดวง
===> คติ-สุภาษิต
===> มาช่วยกันเก็บประวัติ....หมอดู VS หมอเดา
===> เลขดับ13-0-26
===> พระเครื่อง2003
=> ห้องเด็กๆ
===> เกมส์
===> โชว์ผลงานเด็กๆ
=> เตือนภัย
=> ★ ไม่รู้ว่าย้ายเข้าห้องไหน ฝากไว้ที่นี่ก่อน
-----------------------------
ห้องฝึกภาษา
-----------------------------
=> ภาษาท้องถิ่นไทย
===> ปักษ์ใต้
===> อีสาน
===> เหนือ
=> ฝึกภาษาจีน
=> ฝึกภาษาอังกฤษ
===> ฝึกภาษากับเพลงดัง