การผลิตสารเร่งสำหรับทำปุ๋ยหมัก
ธันวาคม 23, 2024, 08:14:21 am *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: การผลิตสารเร่งสำหรับทำปุ๋ยหมัก  (อ่าน 3432 ครั้ง)
Nattawut-LSV Team
E23IUY
.กลุ่มผู้มีน้ำใจงาม.
member
*

คะแนน808
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3581


อีเมล์
« เมื่อ: มีนาคม 03, 2009, 06:42:44 pm »



  สารเร่ง พด.-1 และวิธีการต่อเชื้อ
 
   
           โครงการปรับปรุงดินด้วยอินทรียวัตถุ ได้ดำเนินการผลิตสารเร่งสำหรับทำปุ๋ยหมัก เพื่อใช้ย่อยเศษพืชให้เป็นปุ๋ยหมักได้รวดเร็ว ยิ่งขึ้น และให้ได้ปุ๋ยหมักที่มีคุณภาพดีและ ปลอดภัย ผลิตภัณฑ์สารเร่งที่ทางกรมพัฒนา ที่ดินผลิตนี้ คือ พด.-1 สารเร่งชนิดนี้ประกอบ ด้วย เชื้อจุลินทรีย์รวมกันหลายสายพันธุ์ อยู่ในสภาพแห้งซึ่งสะดวกแก่การนำไปใช้และ การเก็บรักษา มีคุณสมบัติ โดยสังเขปดัง ต่อไปนี้

     
 
 
           สารเร่งพด.-1 ประกอบด้วยเชื้อจุลินทรีย์ชนิดต่าง ๆ ที่มีประโยชน์ เป็น เชื้อจุลินทรีย์ ชนิดต่าง ๆ ที่มีประโยชน์เป็นเชื้อจุลินทรีย์ ประเภทรา บักเตรี และ แอคติโมมัยซีส ซึ่งสามารถย่อยสลายเศษพืชให้เป็นปุ๋ยหมัก ใช้ได้อย่าง รวดเร็ว เมื่ออยู่ในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม ช่วยประหยัดเวลาในการทำ ปุ๋ยหมัก และสามารถนำปุ๋ยหมักไปให้ทันกับความต้องการ และได้ปุ๋ยหมัก ที่มีคุณภาพดี ทั้งนี้เพราะเชื้อจุลินทรีย์บางชนิดที่ผสมอยู่ในผลิตภัณฑ์เป็นพวก ที่ทำการย่อยเศษพืชได้ดีในสภาพที่กองปุ๋ยมีความร้อนสูง สภาพดังกล่าว จะช่วยทำลายเมล็ดวัชพืชหรือเชื้อโรคที่ปะปนอยู่ได้ กรมพัฒนาที่ดินได้นำสาร เร่งนี้มาทดลองเพื่อย่อยเศษพืช ปรากฏว่าสามารถย่อยฟางข้าวใหม่ให้เป็น ปุ๋ยหมักใช้ได้ภายในเวลาไม่เกิน 30-45 วัน และกากอ้อยซึ่งสลายตัวยาก เป็นปุ๋ยหมักใช้ได้ไม่เกิน 60 วัน และได้ปุ๋ยหมักที่สมบูรณ์และมีคุณภาพดี

 
 
ส่วนผสมในการกองปุ๋ยหมัก
  เศษพืชแห้งหรือวัสดุอื่น ๆ 1,000 กก.หรือ 1 ตัน
(ประมาณ 8-10 ลบ.ม.)
 มูลสัตว์ 200 กก.
 ยูเรีย 2 กก.
 สารเร่ง พด.-1 150 กรัม (1 ถุง)
 
วิธีการกองปุ๋ยหมัก
      นำวัสดุที่จะใช้กองปุ๋ยหมักแบ่งเป็น 4 ส่วน (ในกรณีที่กอง 4 ชั้น) โดยเมื่อกองปุ๋ยหมักเสร็จ ควรมีขนาดของกองกว้าง 2-3 เมตร สูงประมาณ 1.0-1.5 เมตร โดยมีขั้นตอน ดังนี้
      1. นำวัสดุที่จะใช้ทำปุ๋ยหมัก ส่วนแรกมากองเป็นชั้น ให้มีความกว้าง 2-3 เมตร สูงประมาณ 30-40 ซม. โดยย่ำให้แน่น และรดน้ำให้ชุ่ม

    2. นำมูลสัตว์โรยบนชั้นของวัสดุให้ทั่ว สำหรับการกองปุ๋ยหมัก 4 ชั้นนี้ จะใช้มูลสัตว์ชั้นละประมาณ 50 กก. รดน้ำให้ชุ่ม
     
 
      3. นำปุ๋ยยูเรียโรยลงบนชั้นของมูลสัตว์ สำหรับการกองปุ๋ยหมัก 4 ชั้นจะ.โรยยูเรียชั้นละประมาณ 0.5 กก. รดน้ำอีกเล็กน้อย
      4. นำสารเร่ง พด.-1 จำนวน 150 กรัม (1 ถุง) มาละลายน้ำ 20 ลิตร แล้วคนให้สารเร่งละลายให้ทั่วกัน ประมาณ 15 นาที แล้วแบ่งไว้ 5 ลิตร นำไปรดให้ทั่วชั้นที่ 2, 3 และ 4 ต่อไป
      5. นำวัสดุกองทับลงบนชั้นแรกของกองปุ๋ยหมัก แล้วปฏิบัติแบบเดียว กับการกองปุ๋ยหมักชั้นแรก ดำเนินการจนกระทั่งครบ 4 ชั้น โดยชั้นบนสุด ควรโรยทับด้วยมูลสัตว์ หรือดินที่อุดมสมบูรณ์ให้ทั่วผิวหน้าของกองปุ๋ยหมัก
      สำหรับการใช้ฟางข้าวทำปุ๋ยหมัก จะใช้เวลาประมาณ 30-45 วัน และสามารถนำปุ๋ยที่ได้ไปต่อเชื้อสำหรับกองปุ๋ยหมักกองใหม่ได้เป็นอย่างดี หรือนำไปใช้เป็นวัสดุปรับปรุงบำรุงดินตามความต้องการต่อไป
 
 
"การทำปุ๋ยหมัก-โดยวิธีการต่อเชื้อ"
      การทำปุ๋ยหมัก-โดยวิธีการต่อเชื้อ หมายถึง การทำปุ๋ยหมักโดยใช้ ปุ๋ยหมักที่เป็นแล้วมาเป็นต้นตอของเชื้อจุลินทรีย์ หรือสารตัวเร่งสำหรับการ กองปุ๋ยหมักครั้งใหม่ โดยไม่จำเป็นต้องใช้สารเร่งประเภทจุลินทรีย์ทุกครั้ง ที่ทำปุ๋ยหมัก
      การนำเอาปุ๋ยหมักจากกองเดิมมาเป็นต้นตอของเชื้อจุลินทรีย์ เพื่อใช้ทำปุ๋ยหมักครั้งใหม่นี้ นับว่าเป็นประโยชน์ต่อเกษตรกรอย่างแท้จริง กล่าวคือ เกษตรกรลงทุนเพียงครั้งเดียวก็สามารถนำปุ๋ยหมักที่ทำได้มาใช้เป็น ต้นเชื้อจุลินทรีย์ เพื่อทำปุ๋ยหมักครั้งต่อไปได้อย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้เพราะจุลินทรีย์ ซึ่งมีประสิทธิภาพในการย่อยสลายในกองปุ๋ยหมักกองเดิม ยังคงมีชีวิตอยู่ แลยังมีความสามารถที่จะย่อยสลายเศษวัสดุต่าง ๆ ที่ใช้ในการทำปุ๋ยหมักใน คราวถัดไปได้อีก การทำปุ๋ยหมักโดยวิธีการต่อเชื้อ นับได้ว่าเป็นการประหยัดค่าใช้จ่าย และลดต้นทุนในการผลิตปุ๋ยหมักได้เป็น อย่างดี แต่เกษตรกรจะต้องมีการดูแลและเก็บรักษาปุ๋ยหมักที่จะนำไปต่อเชื้อนี้ ให้อยู่ในสภาพที่ดี คือ จะต้องไม่ทิ้งตากแดดตากลม และควรให้มีความชื้น อยู่ในระดับที่เหมาะสมสำหรับการเจริญของเชื้อจุลินทรีย์ในกองปุ๋ยหมักด้วย

 
วิธีการกองปุ๋ยหมักโดยการต่อเชื้อ
       นำวัสดุที่จะใช้กองปุ๋ยหมักตามที่กล่าว ข้างต้นมาแบ่งออกเป็น 4 ส่วนเท่า ๆ กัน (ในกรณีที่กองปุ๋ยหมัก 4 ชั้น) และเมื่อกอง ปุ๋ยหมักเสร็จแล้ว ควรมีขนาดกว้าง 2-3 เมตร สูงประมาณ 1.0-1.5 เมตร โดยมีขั้นตอน ดังนี้ คือ
     1. นำเศษวัสดุที่จะใช้ทำปุ๋ยหมักมากองเป็นชั้น ให้มีความกว้าง ประมาณ 2-3 เมตร สูงประมาร 30-40 ซม. โดยย่ำให้แน่น และรดน้ำให้ชุ่ม

      2. นำปุ๋ยหมักที่หมักได้ 15 วัน หรือปุ๋ยหมักทีเป็นแล้วส่วนแรกโรย ที่ผิวบน ของเศษวัสดุที่กองไว้ชั้นละ 50 กิโลกรัม แล้วรดน้ำให้ชุ่ม แต่อย่าให้ถึงกับแฉะมากเกินไป 
     
       3. นำปุ๋ยเคมีโรยให้ทั่วผิวบนของเศษวัสดุ
      4. สำหรับการกองปุ๋ยหมักในชั้นต่อไป ก็ปฏิบัติเช่นเดียวกับที่กอง ในชั้นแรก และทำการกองจนครบ 4 ชั้น ชั้นบนใช้ดินทับ หนา 1 นิ้ว และทำการกลับกองปุ๋ยทุก 7-10 วัน
       การทำปุ๋ยหมักโดยวิธีการต่อเชื้อนี้ ถ้าใช้ฟางข้าวเป็นวัสดุ ในการทำปุ๋ยหมัก สามารถทำได้ตามวิธีการที่กล่าว รวมถึงมีการปฏิบัติ และดูแลรักษาอย่าถูกขั้นตอนจะใช้เวลา ประมาณ 30-45 วัน ก็สามารถ นำปุ๋ยหมักไปใช้ได้แล้ว ปุ๋ยหมักที่ได้จากการต่อเชื้อนี้ ถ้าจะนำไปใช้ต่อเชื้ออีก ในเมื่อต้องการจะทำ ปุ๋ยหมักในครั้งต่อไป ก็กระทำต่อไปได้แต่ไม่ ควรทำเกิน 3 ครั้ง ดังภาพ


 
แผนภาพแสดงส่วนประกอบของการทำปุ๋ยหมักแบบต่อเชื้อ

 
แผนภาพแสดงการผลิตปุ๋ยหมักแบบต่อเชื้อ

 
การปฏิบัติและการดูแลรักษากองปุ๋ยหมัก
      การรดน้ำกองปุ๋ยหมัก
      ควรกระทำอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้ความชื้นภายในกองปุ๋ยหมักอยู่ใน ระดับที่เหมาะสม คือ ประมาณ 50-60% (โดยน้ำหนัก) ในทางปฏิบัติ อาจสังเกตเห็นได้โดยไม่แห้งหรือแฉะจนเกินไป เพราะถ้าความชื้นในกอง ปุ๋ยหมักน้อยเกินไป จะทำให้ขบวนการย่อยสลายเกิดขึ้นได้ช้า และถ้าความชื้น ในกองปุ๋ยหมักมากเกินไป จะมีผลต่อการระบายอากาศในกองปุ๋ยหมัก จะทำให้เกิดสภาพการขาดออกซิเจน ขบวนการย่อยสลายก็จะเกิดขึ้นได้ช้า เช่นกัน
      การกลับกองปุ๋ยหมัก
      ควรปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอ เพื่อเป็นการระบายอากาศภายในกองปุ๋ยหมัก ช่วยลดความร้อนภายในกองปุ๋ยหมักและยังเป็นสิ่งจำเป็น สำหรับเชื้อจุลินทรีย์ ที่เกี่ยวข้องกับขบวนการย่อยสลายเศษพืชเหล่านี้ เพราะเชื้อจุลินทรีย์ส่วนใหญ่ เป็นพวกที่ต้องการอากาศ โดยเชื้อจุลินทรีย์จะใช้ออกซิเจนในระบบการสร้าง พลังงาน ระยะเวลาในการกลับกองปุ๋ยหมักนั้น ยิ่งบ่อยครั้งยิ่งดี แต่ปฏิบัติ ประมาณ 7-10 วันต่อครั้ง
      การรัษาความชื้นภายในกองปุ๋ยหมัก
      ในกรณีที่กองปุ๋ยหมักอยู่กลางแจ้ง กองปุ๋ยจะได้รับความร้อนโดยตรง จากแสดงแดด ทำให้น้ำระเหยออกจากกองปุ๋ยหมักได้เร็วกว่าในโรงเรือน อาจจะต้องมีการรดน้ำ เพื่อรักษาความชื้นภายในกองปุ๋ยหมัก ให้เหมาะสม หรืออาจจะใช้วัสดุบางประเภทปิดคลุมบนกองปุ๋ยหมัก เพื่อลดการระเหยของน้ำ ได้บางส่วน เช่นแผ่นพลาสติก ใบทางมะพร้าวแห้ง เป็นต้น

 
หลักในการพิจารณาปุ๋ยหมักที่เสร็จสมบูรณ์

1. สีของวัสดุ สีของวัสดุเศษพืชหลังจาก เป็นปุ๋ยหมักที่สมบูรณ์ จะมีสีน้ำตาลเข้ม จนถึงสีดำ
2. ลักษณะของวัสดุ เศษพืชที่เป็นปุ๋ยหมัก ที่สมบูรณ์จะมีลักษณะอ่อนนุ่ม และเปื่อยยุ่ย
3. กลิ่นของวัสดุ ปุ๋ยหมักที่สมบูรณ์ จะไม่มีกลิ่นเหม็น หรือกลิ่นฉุน
4. ความร้อนภายในกองปุ๋ยหมัก จะมีลักษณะใกล้เคียงกับอุณหภูมิภายนอก   การทำปุ๋ยชีวภาพ

 
 
 ช้อมูลจาก http://www.triamudomsouth.ac.th/07_g/h40241/plan8_2.htm
 


บันทึกการเข้า

bancha.2518
member
*

คะแนน42
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1066


ลูกสาว ครับ


อีเมล์
« ตอบ #1 เมื่อ: มีนาคม 04, 2009, 12:05:39 am »

สารเร่ง พด.-1   พด.-1 มีวิธีการทำหรือเปล่าครับ ไม่ตรงกับหัวข้อกระทู่เลยนี่ครับ 
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1 RC2 | SMF © 2001-2006, Lewis Media

lsv2555Please follow the new website at https://www.pohchae.com

Valid CSS!