สาเหตุการเกิด Bad Sector ในฮาร์ดดิสก์(คัดลอกมาจากบอร์ดเดิม)
ธันวาคม 23, 2024, 06:10:52 am *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: สาเหตุการเกิด Bad Sector ในฮาร์ดดิสก์(คัดลอกมาจากบอร์ดเดิม)  (อ่าน 2599 ครั้ง)
winai4u-LSV team
.กลุ่มผู้มีน้ำใจงาม.
member
*

คะแนน673
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3025



« เมื่อ: มกราคม 21, 2007, 01:04:51 pm »

สาเหตุการเกิด Bad Sector ในฮาร์ดดิสก์

สำหรับผู้ ​ที่​ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ในปัจจุบัน คงไม่มี​ใครไม่รู้จักฮาร์ดดิสก์ เพราะ​เป็นอุปกรณ์พื้นฐานตัวสำคัญในการ​ที่​ จะเก็บรักษาข้อมูลอันมีค่าไว้ภายในเครื่องคอมพิวเตอร์ ให้เรา​สามารถนำ​เอามา​ใช้​ได้ทุก​เมื่อ​ที่เรา​ต้องการ ​แต่ปัญหาสำคัญของฮาร์ดดิสก์ ในปัจจุบัน​ที่เรามัก​จะพบกัน​ได้บ่อยๆ ​และ​เป็นปัญหา​ที่คงไม่มี​ใครอยากให้เกิดขึ้น​ ก็​คือฮาร์ดดิสก์ เกิด Bad Sector ซึ่ง​จะส่งผลให้ข้อมูล​ที่เรามีอยู่​ในเครื่องเกิดสูญหาย​ไป ดังนั้น​เราน่ามีวิธีป้องกันไม่ให้เกิดปัญหานี้ ​โดยมาดูกันว่าสาเหตุหลักๆ ​ที่ทำให้เกิดปัญหา Bad Sector มีอะไร​กันบ้าง

1. สินค้าฮาร์ดดิสก์ ​เป็นสินค้า​ที่มี​ความอ่อนไหวต่อแรงกระแทกค่อนข้างมาก ดังนั้น​ ไม่ควรกระทำการใดๆ ​ที่ทำให้เกิดแรงกระแทกต่อตัวฮาร์ดดิสก์ เพราะ​จะทำให้เกิดปัญหา Bad Sector ​ได้ง่าย ตัวอย่างของแรงกระแทก ​ได้แก่
1.1 กรณี​ที่ตัวเคสวางอยู่​ใต้โต๊ะทำงาน แล้ว​ขา​ไปกระแทกเคส ในขณะ​ที่เครื่อง​กำลัง อ่านหรือเขียนข้อมูลอยู่​
1.2 กรณี​ที่มีการขนย้ายเครื่อง ตัวฮาร์ดดิสก์​จะไม่มีตัวป้องกันแรงกระแทกเลย​ ​เนื่องจากตัวมันเอง​จะถูกยึดติดอยู่​​กับเคส ​และตัวเคส ​ส่วนใหญ่เวลา​ที่มีการเคลื่อนย้าย
มักไม่มีการหีบห่อใดๆ เลย​
1.3 กรณี​ที่​เป็นสินค้าใหม่ ​ถ้ามาจากโรงงาน ​จะมีกล่องใสๆ ห่อหุ้มอยู่​ ​เพื่อกันแรงกระแทก ซึ่งเรียกว่า SeaShell คน​ส่วนใหญ่ไม่เข้าใจว่ามีไว้ทำไม
จึงไม่ค่อยใส่ฮาร์ดดิสก์ในกล่องนี้ ทำให้เกิดแรงกระแทก​ได้ง่าย
1.4 ในกรณี​ที่มีการเปลี่ยนอุปกรณ์ภายในเคส ก็มัก​จะมีการเปิดฝาเคสไว้​เพื่อ​ความสะดวก​ แล้ว​ก็ทำการเปิดเครื่องดูว่าเครื่อง​สามารถทำงาน​ได้ตาม​ความ​ ต้องการหรือไม่
ในกรณี​ที่การติดตั้งอุปกรณ์ใหม่ยังไม่เรียบร้อย​ ซึ่งมักพบเห็น​ได้บ่อยๆ ว่าช่าง​ที่ติดตั้งอุปกรณ์เหล่านี้ ​จะมีการเคลื่อนย้าย ขยับ หรือหมุนตัวเคส ​ไป-มา ​ทั้งๆ
​ที่ยังเปิดเครื่องอยู่​ ซึ่งตรงนี้​จะก่อให้เกิดแรงกระแทก​ระหว่างหัวอ่าน​กับจาน ของฮาร์ดดิสก์ ​และทำให้เกิด Bad Sector ตามมา
1.5 การติดตั้ง​โดย​ที่ขันน๊อตไม่ครบ ​ทั้ง 4 ตัว ​โดยปกติในการติดตั้งฮาร์ดดิสก์เข้า​กับตัวเคสเรา​จะ​ต้องยึดน๊อต​ทั้งหมด 4 ตัว ​เพื่อให้เกิด​ความมั่นคง​และแข็งแรง
​แต่ในบางครั้งเราก็พบว่ามีการยึดน๊อตเพียง 2 ตัวเท่านั้น​ ​ทั้งนี้อาจ​จะ​เป็น เพราะข้อจำกัดของเคส​ที่ออกแบบมาไม่ดีมีรูยึดอุปกรณ์ไม่ครบก็​ได้
ดังนั้น​ในการเลือกซื้อเคส ให้พิจารณาเรื่อง​รูสำหรับยึดน๊อตของอุปกรณ์ต่างๆ ด้วย ​เมื่อเรายึดน๊อตไม่ครบ
ปัญหา ​ที่ตามมา​คือตัวฮาร์ดดิสก์​จะมีการสั่นคลอน​และเกิดเสียงดังเวลา​ ที่ทำงาน ​และ​จะเกิดแรงสั่นสะเทือน ​เมื่อ​ใช้​ไปนานๆ ​จะก่อให้เกิดปัญหา Bad Sector ​ได้เช่นกัน

2. อุปกรณ์อิเล็คทรอนิคส์ทุกชนิด ​ต้องการแรงดันไฟ​เพื่อนำ​ไปเลี้ยงให้​กับ​ส่วนต่างๆ ทำงาน ดังนั้น​แรงดันไฟ จึงมีผลต่อประสิทธิภาพ​และการทำงานของฮาร์ดดิสก์​เป็นอย่างมาก ตัวอย่างของ Bad Sector ​ที่มีสาเหตุเกี่ยว​เนื่องมาจากแรงดันไฟ ​ได้แก่
2.1 เกิดไฟฟ้าดับ​ระหว่าง​ที่ฮาร์ดดิสก์ ​กำลังเขียนข้อมูล ทำให้ ณ จุด​ที่​กำลังเขียนข้อมูลอยู่​นั้น​ไม่สมบูรณ์ ครั้งต่อ​ไป​ที่ในอ่านข้อมูล ตรงนี้
ระบบก็​จะไม่​สามารถวิเคราะห์​ได้ว่าข้อมูลตรงนี้ เขียนว่าอย่างไร ​และ​จะรายงานผลออกมาว่า​เป็น Bad Sector
2.2 เกิดไฟกระชาก ( ซึ่งอาจเกิดจากมีฟ้าแลบ หรือฟ้าผ่า บริเวณใกล้บ้านท่าน แล้ว​เกิดไฟฟ้าแรงสูงวิ่งมาตามสายไฟ มาเข้าบ้านท่าน) ขณะ​ที่​กำลัง เขียนข้อมูล
ก็​จะเกิดเหตุการณ์เช่นเดียว​กับข้อ 2.1
2.3 ตัวจ่ายไฟ (Power Supply) เกิด​ความบกพร่อง ​โดยอาจ​จะจ่ายไฟ ออกมาไม่สม่ำเสมอ ในขณะ​ที่​กำลังเขียนข้อมูล ซึ่งมัก​จะเกิดขึ้น​ ขณะ​ที่มีการ​ใช้พลังงานไฟฟ้ามากๆ
​พร้อมๆ กัน เช่น ขณะ​ที่เขียนข้อมูลบนฮาร์ดดิสก์ ก็มีการอ่านข้อมูลจากซีดีด้วย ​พร้อมๆ กัน หรือมีการ Eject ซีดี ซึ่งช่วง​ที่มอเตอร์ ทุกชนิด​กำลัง​จะเริ่มหมุน
​จะมีการดึงกระแสไฟมากกว่าปกติ ซึ่งเรื่อง​นี้ ผู้​ใช้งานหลายๆ คนมัก​จะมองข้าม​ความสำคัญของ ตัวจ่ายไฟ ส่งฮาร์ดดิสก์มาเคลม แล้ว​ เคลมอีก
​ใช้แป๊บเดียวก็​จะเสียอีกเช่นเดิม
หมายเหตุ อาการ Bad Sector ​ที่เกิดจากสาเหตุในหัวข้อนี้ มัก​จะ​สามารถแก้ไข​ได้ ​โดย​ใช้โปรแกรม ​ที่ทาง Seagate แนะนำให้​ใช้ ​คือ โปรแกรม Disk Manager ซึ่งรายละเอียดเรื่อง​วิธีการ​ใช้โปรแกรมนี้ ​จะนำมาเล่าสู่กันฟังในโอกาสต่อ​ไปครับ

3. การติดตั้ง​ที่ไม่ระวังจนทำให้ฟอยด์​ที่​เป็นอลูมิเนียมด้านข้างฮาร์ดดิสก์ เกิดการฉีกขาด จน​เป็นรู ทำให้อากาศภายนอกเข้า​ไปในฮาร์ดดิสก์ ซึ่งอากาศ​ที่เข้า​ไปในฮาร์ดดิสก์​จะมีพวกฝุ่นผงอยู่​ ทำให้​ไปแทรกอยู่​​ระหว่างหัวอ่าน​กับตัวจาน ​เมื่อมีการหมุนก็​จะทำให้เกิดรอยบนจาน กลาย​เป็น Bad Sector ซึ่งในกรณีนี้ ทางโรงงานผู้ผลิต ถือว่า​เป็นการผิดเงื่อนไขการรับประกัน ​เนื่องจากการเก็บรักษา​และ​ใช้งาน​ที่ไม่ถูกวิธี ทำให้เกิด​ความเสียหายต่อฮาร์ดดิสก์ ​และไม่รับเคลม ดังนั้น​ท่านผู้​ใช้​ต้องระวังเรื่อง​นี้ให้มากๆ


รายละเอียดเกี่ยว​กับลักษณะของการผิดเงื่อนไขการรับประกัน

1. ฟอยด์ ด้านข้างขาด หรือทะลุ จนมีรูให้อากาศเข้า​ไปภายในฮาร์ดดิสก์
2. ยางหุ้มสีดำ ฉีกขาด หรือหลุดหาย
3. ซีเรียลของสินค้า ด้านบน​และด้านของของตัวฮาร์ดดิสก์ ไม่ตรงกัน
4. มีร่องรอยของการแกะ ฮาร์ดดิสก์
5. มีรอยกระแทก จน ยุบ , บุบ ,งอ ,หรือบิ่น
6. ตัวลาเบลด้านบนมีรอยย่น ​เนื่องจากมีการถอดยางหุ้ม
7. Connector มีรอยแตก หรือหัก หรือเข็มงอ , หาย
8. มีรอยหยอดกาว​ที่คอนเนคเตอร์
9. บาร์โค้ด ด้านข้างของตัวฮาร์ดดิสก์ หาย​ไป​ทั้งแถบ
10. มีรอยไหม้บนตัวอุปกรณ์
11. มีคราบของเหลว หรือสนิม บนตัวอุปกรณ์
ดังนั้น ​ ​เพื่อให้ฮาร์ดดิสก์​ที่ท่าน​ใช้อยู่​​ สามารถเก็บรักษาข้อมูลอันมีค่าให้ท่าน​ใช้งาน​ได้ยาวนาน​ที่สุด จึงควรพยายามหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงดังกล่าวไว้ด้านบน​เป็นดี​ที่สุดครับ


บันทึกการเข้า

หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1 RC2 | SMF © 2001-2006, Lewis Media

lsv2555Please follow the new website at https://www.pohchae.com

Valid CSS!