พุทธรักษานานาพันธุ์

พุทธรักษานานาพันธุ์

<< < (2/4) > >>

sirirrin:


พุทธรักษาพันธุ์ เพ็ญพิตร

ได้จากการนำเมล็ด ของพุทธรักษาพันธุ์ GISC 24 (No.24) ไปฉายรังสีแกมมาแบบเฉียบพลัน (acute irradiation) ด้วยเครื่องฉายรังสีแกมมารุ่นมาร์ควัน ที่ศูนย์บริการฉายรังสีแกมมาและวิจัยนิวเคลียร์เทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โดยใช้ปริมาณรังสี 250 เกรย์ ปลูกให้แตกหน่อใหม่ แยกหน่อที่มีลักษณะกลายออกมาขยายพันธุ์ เพื่อให้ได้พันธุ์ใหม่ที่คงตัว และขอขึ้นทะเบียนพันธุ์พืชไว้ที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ในชื่อพันธุ์ เพ็ญพิตร (Penphit) เมื่อวันที่ 7 มิถุนายน 2545

sirirrin:


พุทธรักษาพันธุ์ แสงเทียน

พันธุ์แสงเทียน ได้จากการนำเมล็ดของพันธุ์ส้มสิรนุช (Orange Siranut) มาปลูก ได้ลักษณะดอกที่แปลกออกไปจากส้มสิรนุช จึงแยกออกมาขยายพันธุ์ และขอขึ้นทะเบียนพันธุ์พืชไว้ที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ในชื่อพันธุ์ แสงเทียน (Candle Light) เมื่อวันที่ 7 มิถุนายน 2545

sirirrin:


พุทธรักษาพันธุ์ พิบูลศิลป์

ได้จากการนำหน่อและเหง้า ของพุทธรักษาพันธุ์ GISC 70 (No.70) ไปฉายรังสีแกมมาแบบเฉียบพลัน (acute irradiation) ด้วยเครื่องฉายรังสีแกมมารุ่นมาร์ควัน ที่ศูนย์บริการฉายรังสีแกมมาและวิจัยนิวเคลียร์เทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โดยใช้ปริมาณรังสี 20 เกรย์ ปลูกให้แตกหน่อใหม่ แยกหน่อที่มีลักษณะกลายออกมาขยายพันธุ์ เพื่อให้ได้พันธุ์ใหม่ที่คงตัว และขอขึ้นทะเบียนพันธุ์พืชไว้ที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ในชื่อพันธุ์ พิบูลศิลป์ (Piboonsin) เมื่อวันที่ 7 มิถุนายน 2545

sirirrin:


พุทธรักษาพันธุ์ นฤทุม

ได้จากการนำหน่อและเหง้า ของพุทธรักษาพันธุ์ GISC 22 (No.22) ไปฉายรังสีแกมมาแบบเฉียบพลัน (acute irradiation) ด้วยเครื่องฉายรังสีแกมมารุ่นมาร์ควัน ที่ศูนย์บริการฉายรังสีแกมมาและวิจัยนิวเคลียร์เทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โดยใช้ปริมาณรังสี 20 เกรย์ ปลูกให้แตกหน่อใหม่ แยกหน่อที่มีลักษณะกลายออกมาขยายพันธุ์ เพื่อให้ได้พันธุ์ใหม่ที่คงตัว และขอขึ้นทะเบียนพันธุ์พืชไว้ที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ในชื่อพันธุ์ นฤทุม (Naritoom) เมื่อวันที่ 7 มิถุนายน 2545   

sirirrin:


พุทธรักษาพันธุ์ แดงวิโรจ

ได้จากการนำเมล็ด ของพุทธรักษาพันธุ์ GISC 10 (No.10) ไปฉายรังสีแกมมาแบบเฉียบพลัน (acute irradiation) ด้วยเครื่องฉายรังสีแกมมารุ่นมาร์ควัน ที่ศูนย์บริการฉายรังสีแกมมาและวิจัยนิวเคลียร์เทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โดยใช้ปริมาณรังสี 250 เกรย์ ปลูกให้แตกหน่อใหม่ แยกหน่อที่มีลักษณะกลายออกมาขยายพันธุ์ เพื่อให้ได้พันธุ์ใหม่ที่คงตัว และขอขึ้นทะเบียนพันธุ์พืชไว้ที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ในชื่อพันธุ์ แดงวิโรจ (Red Viroch) เมื่อวันที่ 7 มิถุนายน 2545

นำร่อง

[0] ดัชนีข้อความ

[#] หน้าถัดไป

[*] หน้าที่แล้ว