โอเวอร์คล็อกแรมโดยปรับค่า Timings
ธันวาคม 23, 2024, 01:55:47 am *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: โอเวอร์คล็อกแรมโดยปรับค่า Timings  (อ่าน 2623 ครั้ง)
ope3
วีไอพี
member
***

คะแนน39
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 139

ท้อได้แต่ห้ามถอย

ope172010@hotmail.com
อีเมล์
« เมื่อ: สิงหาคม 15, 2007, 11:58:00 am »

โอเวอร์คล็อกแรมโดยปรับค่า Timings
แรม ก็เป็นส่วนประกอบส่วนหนึ่งที่มีความสำคัญต่อระบบและความเร็วโดยรวมมาก ไม่ใช่แค่มีแรมความสำคัญต่อระบบความเร็วโดยรวมมาก ไม่ใช่แค่มีแรมความจุเยอะๆ แล้วจะทำให้เครื่องทำงานเร็วกว่าเดิม บางคนก็อัดแรมไปซะเต็มพิกัด กะว่าคอมพ์ของตนจะแรงสุดในซอย (เริ่มบ้า) แต่รู้ไหมครับว่า แรมทุกตัวก็มีค่าความเร็วเป็นของตัวเอง เราเรียกเหล่านี้ว่า Timings
การโอเวอร์คล็ฮกแบบปรับ FSB แรมจะเป็นปัจจัยแรก ๆ ที่ต้องคำนึงถึงเพราะแรมจะมีความเร็วเปลี่ยนไปตาม FSB ที่เราปรับ เรียกได้ว่าหาก FSB ทำงามที่ 200 เมกะเฮิรตซ์ เช่นเดียวกัน(ไปไหนไปกันว่างั้น) ฉะนั้นถ้าคุณจะโอเวอร์คล็อกแบบปรับ FSB แรมของคุณก็จะต้องรับกับความถี่ที่สูงขึ้นได้เป็นอย่างดี รวมทั้งยังมีค่า Timings ในตัวเองอีกด้วย เช่น CL2-2-2-5 ซึ่งยิ่งมีค่าตัวเลขน้อยก็แสดงว่าแรมตัวนี้เร็วมาก ดังนั้นเราจะมาโอเวอร์แรมโดยการปรับเปลี่ยนค่า Timings กัน
 

1. หน่วยความจำ หรือแรมที่เราเรียกกัน ก็มีหลากหลายยี่ห้อแหละครับซึ่งแต่ละตัวก็มีค่า Timings ในตัวเองไม่เท่ากันเสมอไป และแรมที่ผมจะใช้ก็เป็นแรมที่ชื่อ Corsair DDR XMS 512 MB DDR400 CL2-7-3-3



2. สิ่งแรก ผมก็ขอให้เพื่อนๆ เข้าสู่จอไบออสกันก่อน ต่อมาก็เข้าไปที่เมนู Advanced Chipset Features หรือเมนูอื่นๆ ตรงนี้ก็แล้วแต่รุ่นของไบออสและเมนบอร์ดด้วยครับ ซึ่งเมนบอร์ดบางรุ่นจะมีเมนูสำหรับโอเวอร์คล็อกโดยตรงเลยแหละ เมื่อเข้าไปแล้วจะเห็นว่ามีเมนูให้เราได้ปรับอะไรต่อมิอะไรได้หลายอย่าง



3. ค่าTimings ของแรม Corsair DDR XMS 512 MB DDR 400 ที่ผมใช้นั้นมีค่า Timings ที่ 2-7-3-3 ค่าเหล่านี้แหละครับที่จะต้องปรับให้ต่ำที่สุดเท่าที่จะทำได้



4. ต่อไปก็ให้เราเลื่อนไปกดที่แถบ DRAM Timing Selectable เพื่อเปิดฟังก์ชันให้เราสามารถปรับแต่งค่า Timing ได้ จะรออยู่ทำไมครับ Enter เข้าไปเลือก Manual เลย จากนั้นก็จะกลับสู่หน้าจอเดิมอีกครั้ง ซึ่งเราก็สามารถปรับค่าทั้ง 4 ค่าได้โดยการกดปุ่ม + (เครื่องหมายบวก) และ - (เครื่องหมายลบ) เพื่อปรับแต่งค่าให้ต่ำที่สุด


รูปที่1
 
รูปที่2

5. เมื่อ save หรือว่ากด F10 ออกมาแล้ว เครื่องก็จะบูตตัวเองอีกครั้งหนึ่ง แค่นี้ก็เป็นการเสร็จสิ้นการรับแต่ง Timings แล้วละครับ โดยท่านสามารถตรวจสอบจากวินโดว์ได้ด้วยโดยใช้โปรแกรม CPUZ เป็นตัวยืนยันอีกทางเพราะว่าโปรแกรม CPUZ จะแสดงค่า Timing ทั้งหมดเอาไว้ จากรูปที่1คือ Timing 2-3-3-7 ก่อนปรับแต่ง ส่วนรูปที่2 Timing 2-2-2-5 หลังปรับแต่ง

นี่ก็เป็นเพียงแค่การปรับค่า Timings ของแรมเท่านั้น ซึ่งสามารถดาวน์โหลดโปรแกรม CPUZ ได้ที่นี่ ซึ่งเป็นโปรแกรมที่บอกรายละเอียดของระบบโดยรวม และเปรียบเทียบค่าความเร็วต่างๆ มากมาย ผมก็ได้รันโปรแกรมดู ผลที่ได้ออกมานั้นก็เป็นธรรมดาครับที่ค่า Timings ต่ำๆ นั้นจะทำคะแนนออกมาได้ดีกว่าอย่างแน่นอน แต่ถ้าจะโอเวอร์คล็อกให้แรมทำงานอย่างเต็มพิกัดจริงๆ ต้องอาศัยการปรับ FSB ครับจะเห็นผลมากกว่าเป็นไหนๆ

 


บันทึกการเข้า

หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1 RC2 | SMF © 2001-2006, Lewis Media

lsv2555Please follow the new website at https://www.pohchae.com

Valid CSS!