ต้องเข้าใจหลักการก่อนครับ

ตามที่ท่าน xeq กล่าวถูกต้องครับ
การประหยัด..ต้องนึกถึง ความถูกต้อง และ ปลอดภัยในชีวิตทรัพย์สินเป็นหลักนะครับ แนะนำปัจจุบันใช้พวก คอนซูเมอร์ยูนิท สะดวก ปลอดภัยกว่า
ในตู้คอนซูเมอร์จะมีเบรคเกอร์ทั้งที่ให้ต่อผ่าน และไม่ต่อผ่าน ตัวตัดกระแสรั่วไหล เพื่อให้เหมาะสมกับ โหลดที่ใช้งาน
ลองอ่านบทความเบื้องต้นนี้ครับ
เครื่องตัดไฟรั่วที่ใช้ป้องกันไฟดูดต้องมีคุณสมบัติ...
- พิกัดขนาดกระแสไฟฟ้ารั่วต้องไม่เกิน 30 mA และตัดไฟได้ภายในระยะเวลา 0.04 วินาที เมื่อมีไฟรั่วขนาด 5 เท่าของพิกัด (=150 mA)
- ควรติดตั้งใช้งานเฉพาะจุด เช่น วงจรเต้ารับในห้องครัว, ห้องน้ำ, ห้องเด็ก ๆ หรือวงจรเต้ารับ/สายไฟที่ต่อไปใช้งานนอกอาคารทั้งชั่วคราวและถาวร
- ถ้าจะติดตั้งรวมที่เมนสวิตช์จะต้องแยกวงจรที่มีค่าไฟรั่วตามธรรมชาติมากออกไป เช่น อุปกรณ์ป้องกันฟ้าผ่า,เครื่องปรับอากาศ, อุปกรณ์ที่มีโอกาสเปียกชื้น- เมื่อต้องการให้เครื่องตัดไฟรั่วสามารถป้องกันทุกวงจรที่เมนสวิตช์ (ใช้ได้เฉพาะระบบที่มีสายดิน เป็นมาตรการเสริมป้องกันอัคคีภัย และไฟฟ้าดูด) ให้ใช้ขนาดตั้งแต่ 100 mA เป็นต้นไป โดยอาจเป็น 300 mA หรือ 500 mA ก็ได้ ขึ้นอยู่กับปริมาณของกระแสไฟรั่วตามธรรมชาติ สำหรับขนาด 30 mA นั้นก็ยังคงใช้ร่วมกันในวงจรย่อยซึ่งอาจใช้หลายตัวก็ได้ และหากมีปัญหาการทำงานพร้อมกันให้เลือกชนิดที่มีการหน่วงเวลา (Type S) สำหรับเครื่องตัดไฟรั่วที่เมนสวิตช์
บทความจาก
http://www.mea.or.th/apd/4/menu.htmตัวอย่างผลิตภัณฑ์
http://www.sense.co.th/product/14t.htm