ปัญญา เกิดจากการปฏิบัติ
หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ปัญญา เกิดจากการปฏิบัติ  (อ่าน 11126 ครั้ง)
ช่างเล็ก(LSV)
Administrator
member
*

คะแนน1346
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 18843


คิดดี ทำดี ชีวิตมีแต่สุข


อีเมล์
« เมื่อ: เมษายน 22, 2007, 08:52:54 am »

ปัญญา เกิดจากการปฏิบัติ

 

พระครูภาวนาวิสุทธิ์

P1001
 

การกำหนดท้องพองยุบ ก็คือ อานาปานสติ ที่พระพุทธเจ้าได้ดำเนินมาแล้วเช่นเดียวกัน สมาธิแน่วแน่นี่ต่างกัน ทางที่เจริญปัญญาตามสติปัฏฐาน ๔ สมาธิยังไม่คงที่คงวาคงศอกแน่วแน่แต่ประการใด มันจะมีพวกกิเลสต่าง ๆ อารมณ์ต่าง ๆ มาแทรกแซงอยู่เสมอ นี่เราใช้สติกำหนดได้อย่างนี้ มันจะมีความสงบได้แค่ไหนไม่สำคัญ สำคัญที่เราจะกำหนดได้ในปัจจุบันหรือไม่เท่านั้น แล้วปัญญาจะเกิดเองตามลำดับ แล้วความคุ้นเคยก็จะมาสงบต่อไปภายหลัง
                ในด้านวิปัสสนาอันนี้ก็ค่อยเป็นค่อยไป ที่อาตมาว่า ตั้งสติที่ลิ้นปี่นี่เราต้องสะสมไว้ให้ได้ อาตมาเคยสอนเด็กมาแล้ว บางทีเขาเรียนวิชาการที่จะสอบ คิดไม่ออกก็ให้ตั้งสติที่ลิ้นปี่เป็นวิธีปฏิบัติได้ผลมาแล้ว คือการกำหนดโดยหายใจยาว ๆ ตั้งสติไว้ที่ลิ้นปี่ กำหนดคิดหนอ ๆ ยาว ๆ นี่สำหรับนักศึกษาเด็กชั้นระดับวิทยาลัย อีกสักครู่หนึ่งเขาคิดออก ตอบได้ตามนั้นแล้วไม่เคยผิดพลาด อันนี้เป็นวิธีปฏิบัติสำหรับที่ลิ้นปี่ บางทีเราไม่รู้ตัวว่ามันมีอะไรเกิดขึ้น เราก็ไม่รู้ว่าจะปฏิบัติอย่างไร ถ้าเรามีสติกำหนดตรงลิ้นปี่รู้หนอ ๆ พอสติดีปัญญาเกิด เราก็รู้อะไรขึ้นมาเหมือนกัน อันนี้ไม่ใช่วิธีฝึก แต่เป็นวิธีปฏิบัติที่เกิดเฉพาะหน้า ก็ปฏิบัติอย่างนั้น

            แต่ฝึกที่ว่า พองหนอ ยุบหนอ การเดินจงกรมนั้นเป็นการฝึกตามระเบียบที่กำหนดนั่นเอง ปัญญานี้ไม่ใช่วิชาการ ปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน ตามหลักที่พระพุทธเจ้าสอนนี้ ต้องทิ้งตำรับตำราวิชาการ โดยปฏิบัติตามหลักเหตุผลนี้ โดยทิ้งทิฐิ ทิ้งตำรับตำราหมด กำหนดไปเรื่อย ๆ เป็นการสะสมหน่วยกิตให้เกิดปัญญา คือรอบรู้เหตุผลในอารมณ์ที่เกิดขึ้นแก้ปัญหาได้อย่างแน่นอน ยกตัวอย่างเขามาถามปัญหาท่าน ถ้าท่านมีปัญญาในเรื่องนี้ ท่านจะแก้ปัญหาให้เขาได้ประการหนึ่ง ประการที่ ๒ ถ้าเรามีปัญหาเกิดขึ้นเหมือนผงเข้าตาเรา เราสามารถใช้ปัญญาแก้ไข ก็คือความสามารถให้เกิดความสุขในครอบครัวได้ นี่ปัญญาอย่างนี้ ไม่ใช่มานั่งแล้วเกิดปัญญา ไปเห็นโน้นเห็นนี้

            ปัญญาที่รอบรู้เหตุผล คือ ปัญญาช่วยตัวเองได้ สามารถจะขจัดปัดเป่าความชั่วจากตัวได้ แล้วกิเลสที่เกิดขึ้นแก่ตัวเรา สามารถยับยั้งได้ทันเวลา ไม่ใช่ปัญญารู้ว่าต้องค้าขายอย่างนั้นได้กำไร อย่างนี้ได้กำไร ไม่ใช่อย่างนั้นแน่ ปัญญาที่เราประสบมาจากการวิปัสสนานี้ มันบอกกันไม่ได้ และให้กันไม่ได้ด้วย มันเป็นพรสวรรค์ของใครของมัน บางท่านที่เป็นวิทยากรก็มีเทคนิคอีกอย่างหนึ่ง บางท่านก็มีอีกอย่างหนึ่งสามารถแก้ปัญหาในส่วนนั้นได้

            ปัญญาของวิปัสสนานี้เราจะรู้ได้ คนนี้มีทุกข์เราจะแก้ทุกข์ให้เขาอย่างไร เราจะพูดตามวาระจิตเหมือนพระพุทธเจ้าไปทรงโปรดกับสัตว์ทั้งหลาย รู้วาระจิตของคน อย่างนั้นแก้ไขได้ตามขั้นตอน แต่ปัญญาที่เกิดขึ้นไม่ใช่ปัญญาในเรืองทำมาหากินโดยเฉพาะ แต่มันเป็นผลพลอยได้อันหนึ่ง เช่น ปัญญารอบรู้ในสังขาร รู้เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเฉพาะหน้าในตัวเรา แก้ปัญหาได้เดี๋ยวนี้

            ตามปกตินี่เราไม่รู้ว่าปัญญาเกิดขึ้นได้อย่างไร ปัญญานี้ไม่ใช่ความเฉลียวฉลาดโดยเฉพาะ แต่มันเกิดปัญญาสามารถแก้ปัญหาที่เกิดเฉพาะหน้าได้ทันท่วงที อันนี้หายากอย่างที่ว่า เห็นหนอ นี่ที่อาตมาว่านี้ อาตมาก่อนจะรู้เป็นเวลานาน โมหะเกิดขึ้นในตัวเราสามารถยับบั้งได้ทันท่วงที อาตมาว่าขอให้จับให้ได้ว่า คนเดินมานี้มีธุระอะไร แต่เราทำกันไม่ได้ ไม่เคยกำหนดนั่นเอง จึงไม่มีประสบการณ์กับปัญหาเรื่องนี้ บางทีผู้หญิงมา ผู้ชายมา เราจะได้มีปัญญารู้ว่าเขามาธุระอะไร เรื่องอะไรกับเรา นี่ไม่ใช่เป็นวิชาการแต่มันมีปัญญาเกิดขึ้นจากสติตัวเดียวเท่านั้น ดูหน้าตารู้อันนี้ ก็สังเกตเหตุการณ์ อันนี้บอกกันยากนะ ปฏิบัติไปเรื่อย ๆ จะเห็นชัด ถ้าเราเป็นนักวิชาการ เรา ไปเชื่อตำราแล้วไม่ปฏิบัติ ผลที่เกิดจากภาคปฏิบัติจะไม่มี

          การศึกษา ภาคปฏิบัตินี้ยากมาก คือ อารมณ์เปลี่ยนแปลงหลายอย่างมาแทรกแซงเรา ก็ขอเจริญพรว่า ให้ กำหนดทีละอย่าง ศึกษาไปทีละอย่าง ทีนี้มันฟุ้งซ่าน ความวัวยังไม่ทันหาย ความควายเข้ามาแทรกแซงตลอดเวลา เพราะไม่ได้ปฏิบัติมานาน เราไม่ได้ฝึกทางนี้ ไม่ต้องวิจัยประเมินผล ให้เกิดขึ้นเอง เกิดขึ้นด้วยปัญญาของเรา ปัญญาตัวนี้สำคัญ ไม่ใช่ปัญญาสามารถทางวิชาการ แต่กลับเป็นปัญญาทางใน เช่นมีเวทนากำหนดทีละอย่าง มันก็ปวดอย่างที่อาตมาเจริญพรแล้ว ยิ่งปวดหนัก ๆ เดี๋ยวมันจะเกิดอนิจจังไม่เที่ยง มันเป็นทุกข์จริง ๆ นะ ทุกข์นี่คือตัวธรรมะ เราจะพบความสุขต่อเมื่อภายหลัง แล้วเวทนาก็เกิดขึ้นสับสนอลหม่านกัน แล้วความวัวไม่ทันหาย ไอ้โน้นแทรกไอ้นี่แซงตลอดเวลาทำให้เราขุ่นมัว ทำให้เราฟุ้งซ่านตลอดเวลา

            เราก็กำหนดไปเรื่อย ๆ ทีนี้ถ้าปัญญาเกิดขึ้นเป็นขั้นตอน มันก็จะรู้ในอารมณ์นั้นได้อย่างดีด้วยการกำหนด มันมีปัญหาอยู่ว่า เกิดอะไรให้กำหนดอย่างนั้น อย่าไปทิ้ง อริยสัจ ๔ แน่นอน เกิดทุกข์แล้วหาเหตุที่มาของทุกข์ เอาตัวนั้นมาเป็นหลักปฏิบัติ แล้วจะพบอริยสัจ ๔ แน่นอนโดยวิธีนี้ อันนี้ขอเจริญพรว่าค่อย ๆ ปฏิบัติ กำหนดไปเรื่อย ๆ พอจิตได้ที่ ปัญญาสามารถตอบปัญหาสิบอย่างได้เลยในเวลาเดียวกัน คนมาเรื่องโน้นเรื่องนี้ เดี๋ยวคอมพิวเตอร์ตีสามารถจะแยกประเภทบอกเขาได้ อารมณ์ฟุ้งย่านต้องเป็นแน่เพราะเราเพิ่งปฏิบัติไม่นาน

            แต่อาตมาทำมานานแล้ว ๓๐ กว่าปีแล้ว แล้วทำอย่างจริงจังถึงจะได้รู้ว่าตัวเวทนาเป็นตัวธรรมะ ตัวทุกข์นี่เป็นตัวธรรมะแล้วตัวสุขนี้เป็นเรื่องเล็กไปเลย เมื่อก่อนนี้เราก็หาไอ้เรื่องสุข ต้องการมีความสุขความเจริญด้วยกันทุกคน แต่เราไม่ผ่านความทุกข์เลย เราก็สุขเจือปนในความทุกข์ไม่แน่นอน ความสุขเป็นอนิจจังอย่างแน่นอน

            อาตมาก็ทำมาหลาย ๆ อย่างเลยจัดจดนี้ได้ เราจึงแบ่งวาระจิตออกไปทำงานและโอกาสที่มันจะเกิดปัญญาเหตุผลข้อเท็จจริง สามารถจะเอาปัญญาของเรานี้ไปช่วยคนอื่นได้ บอกหนทางคนอื่นได้ แต่นี่มันก็ไม่ใช่วิชาการ คือ พองหนอยุบหนอให้ชัด ๆ ไว้ถ้ามันชัดไม่ได้ในตอนใหม่ ๆ ก็ค่อยเป็นค่อยไปอย่างที่อาตมาว่า นอนตั้งสติไปเรื่อย ๆ

            อาตมาว่าเรายึดทางสายเอก ทางอื่นอาจจะถูกของท่าน แต่เราไม่เคยปฏิบัติ เราก็อาจจะว่าของท่านไม่ถูก ให้มีสติก็ใช้ได้ แต่อาตมาว่าอย่างนี้ง่าย ๆ ก็คือ สติปัฏฐาน ๔ กาย เวทนา จิต ธรรม ปฏิบัติได้ทุกเวลา อายตนะธาตุอินทรีย์เป็นหลักของเรา อินทรีย์เป็นหน้าที่รับผิดชอบ เกิดจิตที่อินทรีย์ หน้าที่สัมผัส มันก็ปรุงแต่งขึ้นมาโดยเฉพาะ ตั้งสติไว้แล้วก็ดับวูบลงไป อันนี้เป็นคำสอนทางสายเอกนะ

            พระพุทธเจ้าว่าทางสายเอกนั้นทำได้ทุกเวลา จะยืนเดินนั่งนอน เหลียวซ้ายแลขวามีสติสัมปชัญญะทุกเวลากาล จะหยิบก็มีสติ หยิบแล้วให้รู้ตัวว่าหยิบอะไร อันนี้เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้าที่ละเอียดอ่อน โดยอิริยาบถที่เราทำอยู่ทุกวันนี้ก็เป็นสติปัฏฐาน ๔ มีสติหมด แต่ที่เราฝึกปฏิบัตินะ เชี่ยวชาญแล้วไม่ต้องกำหนด มันเกิดขึ้นเอง เวลาเรายกมือขึ้นหรือจะหยิบอะไรนี่ สติจะบอกว่าหยิบมาทำอะไรและเกิดประโยชน์อย่างไร ปัญญามันจะสอดคล้องต้องกัน

            เรายึดหลักที่สติปัฏฐาน ๔ เป็นข้อปฏิบัติ เพราะเราทำได้ผลมาแล้ว มันเกิดปัญญารอบรู้เหตุผลชีวิตของเราที่จะต้องเกิดขึ้นในวันหน้า อันนี้เป็นอีกรูปหนึ่ง บางแห่งก็ปฏิบัติกันอีกอย่างหนึ่ง แต่ก็คงถูกจุดมุ่งหมายอย่างเดียวกันอย่างที่อาตมาเคยพูดเสมอ คือ คลำช้าง มันก็คือช้างด้วยกัน เป็นช้างตัวเดียวกัน จะไปว่าของท่านผิดก็ไม่ได้หรอก

            แต่การที่แก้จริตในสมถะ ๔๐ ประการนั้น ก็ต้องแก้จริตไปแล้วแต่ชอบเพ่งรูปสวยก็ไปสำเร็จมรรคผลนิพพานเหมือนกัน แต่ต้องเจือจางหายไปด้วย อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ก็ไปเป็นทางวิปัสสนาได้ แต่บางแห่งก็ไม่ถูกเหมือนกัน ไปทางไสยศาสตร์ ไปกำหนดทางอื่นไปก็เยอะ ก็แล้วแต่

            การหายใจออกยาวหรือสั้นนั้นไม่สำคัญ ๆ อยู่ข้อเดียว คือกำหนดได้ในปัจจุบัน คือ พองหนอ ยุบหนอ กำหนดได้ หากเรากำหนดไม่ได้ เร็วไป ช้าไป กำหนดไม่ทันก็กำหนดใหม่ อันนี้ไม่ต้องคำนึงถึงว่าพองยาวหรือยุบยาว หรือยุบยาวไป พองสั้นไป อันนี้ไม่ต้องกำหนด เราเพียงแต่รู้ว่ากำหนดได้ในปัจจุบันหายใจเข้าท้องพอง หายใจออกท้องยุบ ก็กำหนดเรื่อย ๆ ไปอย่างนี้เท่านั้นก็ใช้ได้ ทีนี้เราก็ไม่จำเป็นต้องรู้ว่าพองยาวเท่านั้นยุบยาวเท่านั้นเท่านี้ แต่บางครั้งจะรู้เอง จะรู้ว่าพองมีกี่ระยะยุบมีกี่ระยะ บางครั้งมันจะเกิดมาเอง ว่าพองยาวยุบสั้น บางทีบางครั้งยุบยาวยุบลงไปลึกเดี๋ยวพองสั้นมันเกิดขั้นเองนะ อันนี้มีข้อหมายอยู่อันหนึ่งว่า กำหนดให้ได้ในปัจจุบัน

            อาตมากว่าจะปฏิบัติพองยุบได้ก็ต้องฝึกอยู่นาน เพราะปฏิบัติพุทโธมาตั้ง ๑๐ ปี ธรรมกายสัก ๖ เดือน ทีนี้เราก็มาเลื่อนทำสติปัฏฐาน ๔ เดี๋ยวพองหนอ ยุบหนอ เดี๋ยวพุทโธ อาตมาได้แก่ตัวเอง บางทีกำหนดได้ อ้าวมาตรงนี้อีกแล้ว ทำมานาน ๑๐ ปี มันก็ฝังอยู่นาน แล้วก็ค่อย ๆ ไป อาตมาว่าอย่างนี้แหละดี พองหนอยุบหนออย่างนี้แหละ แต่ก็อดไปติดที่พุทโธไม่ได้ เพราะเราทำพุทโธมาก่อน ๑๐ ปี ทีนี้หนักเข้าอารมณ์ก็ไปหลาย ๆ กระแส แต่พุทโธใช้สติปัฏฐาน ๔ ก็เหมือนกัน ก็ได้เหมือนกันนะ แต่ทำอารมณ์เดียวที่ท้องนี่ทำให้เราเห็นได้ชัด

            พองหนอยุบหนอเป็นประการใด บางทีมันจะวูบไปตอนพองหรือวูบไปตอนยุบ นี่ก็จับได้ชัดดีกว่ากันเท่านั้นเอง มีนิมิตอะไรบ้างไหม บางคนบอกว่านั่งหลายชั่วโมงแล้วไม่เห็นอะไร คงจะไม่ได้ดี บางคนเขาว่าอย่างนั้น ข้อเท็จจริงทำวิปัสสนาไม่ต้องการเห็นนิมิต ถ้ามีนิมิตในสมถะเกิดขึ้นแล้วก็กำหนดเห็นหนอไม่เอาเสีย บางแห่งบางคนประสาทไหวติงมันมีอุปาทานยึดมั่น นิมิตเยอะ เดี๋ยวนิมิตเกิดอย่างนี้อย่างนั้นกัน บางทีนั่งแค่ ๕ นาทีเทพธิดาลอยมาแล้ว เห็นโน้นเห็นนี่กันมากมายก็ต้องกำหนดได้ มันเป็นวิธีปฏิบัติ

            เวลายืน ทีกระหม่อมตั้งสติให้ดี วับลงไปที่ปลายเท้า ยืนหนอที่ปลายเท้าพอดี สำรวมที่ปลายเท้าขึ้นมาบนศีรษะ ยืนสำรวมนึกมโนภาพ จากปลายเท้าถึงกระหม่อมพอดีหนอ มันจะมีพิจารณาตัวเองโดยเฉพาะ เกิดภาพกายขึ้นมาโดยเฉพาะ แล้วนึกมโนภาพจากกระหม่อมถึงปลายเท้า ทั้งหมด ๕ ครั้ง แล้วก็ลืมตา มันมีความรู้สึกว่า มันชาไป ชาตามตัว แต่มันเกิดคิดในใจขึ้นมาเอง ถ้าเรายืนหนอ บางที่จิตเรามันถากมาทางซ้ายทางขวาจะไม่รู้สึก หากถากทางด้านขวา ทางด้านซ้ายจะไม่รู้สึก

            วิธีปฏิบัตินี้ก็ให้กำหนดยืนหนอให้เห็นตัวทั้งหมด ให้นึกมโนภาพว่าตัวเรายืนแบบนี้ ให้กึ่งกลาง ศูนย์กลางจากที่ศีรษะลงไประหว่างหน้าอกแล้วก็ลงไปถึงระหว่างเท้าทั้งสอง แล้วมันจะไม่มีความไหวติงในเรื่องขวาหรือซ้าย บางที่ถ้าเราไปทางขวา ทางซ้ายเราไม่มีความรู้สึก แต่ไม่ใช่อัมพาต มันเกิดเอง ยืนนี่กำหนดไปเรื่อย ๆ ช้า ๆ ให้จิตมันพุ่งไปได้ตามสมควร จากคำว่ายืนหนอ ยืนจากซ้ายหนอขึ้นบนศีรษะพอดี บางทีจิตนี่มันลงไปทางซ้ายบ้างขวาบ้าง ทีนี้เราก็แวบลงไปในมโนภาพให้รู้สึกว่าเรายืนท่านี้ลงไปเท่านั้น

            พองยุบก็เหมือนกัน ตอนแรกก็ชัดดี พอเห็นหนักเข้าก็เลือนลางบางทีแผ่วเบา จนไม่มองเห็นพองยุบ ถ้ามันตื้อไม่พองไม่ยุบให้กำหนดรู้หนอ หายใจยาว ๆ รู้หนอ ๆ ตั้งสติไว้ตรงลิ้นปี่ กำหนดพองหนอ ยุบหนอ เดี๋ยวชัดเลย ถ้าหากว่าพองหนอยุบหนอนี่มันไม่ชัดแผ่วเบามาก เรายังกำหนดได้ก็กำหนดไป เอามือจับคลำดูก็ได้ว่ามันจะชัดไหม เดี๋ยวก็ชัดขึ้นมา ถ้าไม่เป็นเช่นนั้น ให้กำหนดตัวรู้เสีย รู้หนอ ๆ ตั้งสติไว้แล้วกำหนดพองหนอ ยุบหนอเดี๋ยวชัด จิตฟุ้งซ่านมากไหม ถ้ามีบ้างก็ให้กำหนดสติปัฏฐาน ๔ นั้นมีกำหนดอย่างนี้ อย่างที่ทางพุทโธนั้นไม่ใช่ อาตมาเคยทำมานานกว่าจะเข้าเบาะเข้าแสใช้เวลานานหน่อย ต้องค่อย ๆ กำหนดไป

            แต่เรื่องวิปัสสนานี่มีอย่างหนึ่งที่น่าคิด คือประการแรก ปัญญาที่จะเกิดขึ้นได้นั้นมันมีกิเลสมากมายหลายอย่างที่เกิดขึ้นในตัวเราทั้งหมด เราจะรู้กฎแห่งกรรมความเป็นจริง จากภาพเวทนานั้นเอง ประการที่ ๒ รองลงไปมีอะไรก็กำหนดสติปัฏฐาน ๔ ให้ยึดหลักนี้ไว้ มีอะไรเกิดขึ้นก็ให้กำหนดเหตุนั้น ไม่ใช่ดิ่งลงไปเฉย ๆ ปัญญาที่จะเกิดนั้นไม่ใช่เกิดเพราะดิ่งเฉย ๆ คือความรู้ตัวเกิดขึ้นโดยสติสัมปชัญญะภาคปฏิบัติจากการกำหนดนี่เอง เวทนาที่ปวดเมื่อยนั้น มันปวดตามโน้นตามนี้เราก็หยุดเอาทีละอย่าง อย่างที่อาตมากล่าวแล้ว กำหนดเวทนาให้ได้ คือ เวทนากำหนดได้เมื่อใด มากมายเพียงใดซาบซึ้งเพียงนั้น มันเกิดเวทนาอย่างอื่นขึ้นมาก็เป็นเรื่องเล็กไป อันนี้ข้อสำคัญอยู่ตรงนี้

            บางครั้งมันอาจจะนึกได้ ไปทำเวรทำกรรมอะไรไว้ไม่ต้องไปคำนึงถึงกรรมนั้นเลย ให้มีข้อปฏิบัติเพื่อไม่ให้มีอารมณ์ฟุ้งซ่านไปอยู่ในกรรม ก็ด้วยการกำหนดเวทนานั้นเอง นี่วิธีปฏิบัติไม่ต้องเอาอย่างอื่นแล้ว กำหนดเวทนาที่เกิดขึ้นกับเราเองโดยเฉพาะ เดี๋ยวมันจะแจ้งชัดขึ้นมาเอง เจ็บมากให้กำหนด เราจะแผ่เมตตาตอนทำกรรมฐานไม่ได้ มีหลักปฏิบัติคือ พอเรานั่งกำหนดเรียบร้อยดี ๑ ชั่วโมง หมดสัจจะที่เราอธิษฐานไว้ เราก็อโหสิกรรม วิธีปฏิบัติอโหสิกรรมต่อการกระทำ เวรกรรมที่ทำไว้อดีต เราอโหสิให้ได้ อโหสิแล้วก็แผ่เมตตาให้แก่เขาโดยวิธีนี้

            ยกตัวอย่าง นักศึกษามาจากขอนแก่นเรียนที่วิทยาลัยครูอยุธยา ปวดทนไม่ไหว กำหนดก็ไม่หาย ก็มานึกได้ว่าเมื่อตอนเป็นเด็ก พ่อแม่ให้ไปจับเขียดก็ไปหักขามัน มันกำลังเป็น ๆ เด็กคนนี้เล่าให้ฟัง อาตมาถามว่า “หนูกำหนดหายไหม” “ไม่หายเจ้าค่ะ กำหนดยิ่งปวดใหญ่” “เมื่อก่อนเคยนึกถึงเขียดไหม” “ไม่เคยนึกเลย” หนักเข้าทำอย่างไร ก็แก้ไขปัญหาด้วยการแผ่เมตตาอุทิศส่วนกุศล หายปวดเลย เดี๋ยวนี้เป็นอาจารย์ไปแล้ว สำเร็จ คบ. ก็ใช้วิธีปฏิบัติอย่างที่เราปฏิบัติกันมา........

 

 


บันทึกการเข้า

ช่างเล็ก(LSV)
Administrator
member
*

คะแนน1346
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 18843


คิดดี ทำดี ชีวิตมีแต่สุข


อีเมล์
« ตอบ #1 เมื่อ: เมษายน 22, 2007, 08:53:58 am »

วิธี สอบอารมณ์

พระครูภาวนาวิสุทธิ์

P1002

 

            ท่านทั้งหลายที่มาบวชเรียน มาปฏิบัติธรรมกันทั้งฝ่ายอุบาสก ทั้งฝ่ายอุบาสิกา ถ้าจิตใจเป็นมหากุศล ขอให้เริ่มต้นชีวิตใหม่ ทิ้งตำราเก่าหมด เรามาศึกษาชีวิตใหม่ เริ่มต้นชีวิตใหม่กันในวัด ด้วยการศึกษา สวดมนต์ไหว้พระพิจารณาปัจเวกขณ์ พิจารณาปัจจัยสี่เพิ่มขึ้นให้ดี เรื่องใหม่ต้องสร้างมันขึ้นมาในจิตใจ หล่อหลอมชีวิตให้สดชื่นโดยพระธรรมวินัย

            การปฏิบัติกรรมฐานอย่างที่สอนในโบสถ์ ตจปัญจกรรมฐาน นั่นแหละคือ ยืนหนอห้าครั้ง การปฏิบัติกรรมฐานไม่ต้องไปสอนวิชาการ เพราะไม่ต้องการให้รู้และไม่ต้องดูหนังสือ ปฏิบัติโดยเคร่งครัดให้มันผุดขึ้นใหม่ ดวงใจใสสะอาดและหมดจด ให้มันผุดขึ้นมาและตอบได้ตามหลักนี้ เช่น ขันธ์ห้า รูปนามเป็นอารมณ์ อายตนะ ๑๒ อินทรีย์ ๒๒ ธาตุ ๑๘ หน้าที่การงานต้องรู้จุดนี้เป็นสำคัญ ไม่ต้องปฏิบัติมาก พองหนอ ยุบหนอ ให้ชัดได้จังหวะดีเท่านี้เป็นการสมควรและปฏิบัติได้ ยกตัวอย่าง ขวาย่างหนอ ซ้ายย่างหนอ เท่านี้ก็พอ ย่างไปอย่างไร จิตกำหนดอย่างไร

            ครูอาจารย์จะถามว่า พองหนอ ยุบหนอเป็นอันเดียวกันหรือคนละอัน ถ้าคนละอันเพราะเหตุใด คนผู้ปฏิบัติได้ตอบแจ๋วเลย ไม่ต้องเอาหนังสือมาตอบ เอาที่ปฏิบัติได้มาตอบถึงจะถูกต้อง ไม่ต้องไปถามซักว่าเพ่งกสิณไหม อสุภไหม ไม่ต้องเลย มันจะเกิดขึ้นมาเองโดยวิธีนี้ จึงให้ กินน้อย พูดน้อย ไม่ต้องดูตำรับตำรา ตัดปลิโพธกังวล ไม่ต้องมีกังวลทางบ้าน ไม่ต้องกังวลทางวัด ตัดปลิโพธกังวลทำกิจวัตรอย่างนี้ซิแน่นอน ได้แน่

            อายตนะ อินทรีย์ ธาตุ ขันธ์ห้า รูปนามเกิดที่ไหน เป็นอย่างไร เสียงกับหูอย่างไร ตากับรูปอย่างไร อายตนะ อินทรีย์สัมผัส เกิดอารมณ์อย่างไร ตอบได้ไหม พองหนอ ยุบหนอเป็นอันเดียวกันหรือเปล่า ขวาย่างหนอ ซ้ายย่างหนอ เป็นอันเดียวกันหรือเปล่า นามรูปปริจเฉทญาณ ยังแยกไม่ได้ เลื่อนขึ้นอย่างไร รู้ไหม อย่างไร ตอบไม่ได้เพราะท่านทำไม่ได้ ไม่รู้จริง รู้จริงแสดงออกบอกได้โดยไม่ต้องตรึกตรอง ไม่ต้องใช้สติคิด ปัญญาคิดเลย มันจะไหลออกมาเป็นไข่งูไหลพรวดออกมา อ๋อใช่แล้วต้องอย่างนี้แน่ มันเกิดแสงปัญญาธรรม มันจะเกิดตอบออกมาเอง

            โดยเฉพาะ เช่น พองหนอ ยุบหนอ ยังปฏิบัติไม่ได้ เลยก็ไม่รู้ไปยุบก่อนพองมีที่ไหน หายใจออกก่อนเข้ามีที่ไหน เอาอะไรมาออกมันไม่เข้า มันต้องเข้าก่อนถึงจะออก ทำนองนี้เป็นต้น เท่านี้ก็ผิดแล้ว ทำไม่ถูกแล้วจะไปปลูกสติดำริชอบประการใด อ๊อกซิเจนเป็นอย่างไร หายใจทางสะดือรู้ไหม ไม่รู้ พองหนอ ยุบหนอ หลับตอนไหน ไม่รู้ ไม่เข้าใจ เท่านี้ท่านทำไม่ได้ ชั้นอนุบาลไม่ผ่าน แล้วจะขึ้นชั้นประถมอย่างไร แล้วจะไปได้ญาณสูงที่ไหน ญาณต้นยังไม่ได้

            นามรูปปริจเฉทญาณแยกรูปแยกนามได้ ถ้าเสียงดังปัง เสียงหนอ เสียงกับหูเป็นอย่างไร เสียงนั้นบอกว่าอย่างไร มีความหมายอย่างไร ต้องตอบได้ นี่ความหมายของภาคปฏิบัติ อ๋อ ขวาย่างหนอ ซ้ายย่างหนอ ทำไมยืนหนอห้าครั้ง มือไพล่หลัง พระพุทธเจ้าสอนว่าอย่างไร ตั้งตัวตรงทรงที่หมาย ปอดขยาย หายใจสะดวก เอามือไว้ข้างหน้ามัจะปอดขยายได้อย่างไร หายใจก็ไม่สะดวกอย่างนี้

            เราเจริญกรรมฐานมา ๓๕ ปี ผ่านมาแล้ว เจริญ “อานาปา” มา ๒๐ ปีเศษ เจริญมโนมยิทธิมา ๑๐ ปีเศษ เพ่งกสิณได้ ธรรมกายได้ ทำนองนี้เป็นต้น มันต้องทำได้ ถ้าทำไม่ได้สอนเขาอย่างไร อย่างนี้นักปฏิบัติธรรมโปรดทราบ ต้องสอนตัวเองก่อนอื่นใด ต้องให้ได้เดินจงกรมได้ไหม ตั้งสติกำหนดยืนหนอห้าครั้ง มีความหมายอย่างไร อย่างที่พระท่านบวช เกศา โลมา นขา ทันตา ตโจ ตโจ ทันตา นขา โลมา เกศา ให้ได้ห้าครั้ง ลงขึ้นอย่างไรเบื้องต่ำปลายผมลงไป เบื้องบนปลายเท้าขึ้นมา พระพุทธเจ้าสอนอย่างนี้ เรากำหนดยืนได้ กำหนดจนเชี่ยวชาญ ชำนาญการมโนภาพ สมภาพคือศีลแสดงท่าทีกิริยารู้ได้อย่างดีว่า สวยหรือไม่สวย ดีหรือไม่ดีประการใด มันจะแจ้งแก่ใจ ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหิ รู้ได้เฉพาะตัวเราแน่นอน

            นอกเหนือจากนั้นเราดูคนอื่นว่าเห็นหนอ นักปฏิบัติธรรมเท่าที่สังเกต ทบทวนประเมินผลแล้วไม่เคยกำหนด มัวแต่คุยกัน เห็นใครมาก็ไม่รู้เรื่องว่าเขามาทำอะไร เท่านี้ใช้ไม่ได้ ไม่ได้ญาณัง คือความรู้ในปัญญา รู้ว่าเขาเดินมาทำไมกัน อ๋อคนเดินมานี้ปลายผมเป็นอย่างไร ปลายเท้าเป็นอย่างไร หน้าตาเป็นอย่างไร นิสัยเป็นอย่างไร เราจะรู้แจ้งแก่ใจเป็นปัจจัตตัง โดยคนอื่นบอกไม่ได้ไม่มีขายในตลาด ไม่ใช่วิชาการ เป็นเทคนิควิธีปฏิบัติการของบุคคลผู้ประสบการณ์กับการกำหนดจิต ใช้สติกำหนดรู้ทุกประการ คนที่เดินมาเราจะรู้ได้ว่าเขามาทำไม นิสัยอย่างนี้ต้องแก้ไขอย่างไร พอมาถึงเราจะพูดให้เขาเข้าใจด้วยบทอันใด สรุปด้วยอย่างไร อย่างนี้เป็นการชอบใจยิ่งสำหรับผู้มา และจะกลับไปด้วยสวัสดีมีชัยปลื้มใจไปทุกคน เพราะเกามันถูกที่ แขกจึงนิยมมากันมากมาย โดยทำนองนี้

            ผู้ปฏิบัติธรรมที่มีเวทนาไม่เคยกำหนด ปล่อยมันไปตามเรื่องตามราวอย่างนี้ใช้ได้หรือ เลยรู้ไม่จริงในเรื่องอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ไม่ต้องไปอรรถาธิบายวิชาการให้ฟัง ให้มันผุดขึ้นเอง ตอบได้อย่างดีว่าจิตกำหนดพองกับจิตกำหนดรู้เหมือนกันไหม พองหนอ ยุบหนอ กับรู้หนอเหมือนกันไหม จิตกำหนดคิดกับกำหนดรู้เหมือนกันไหม คิดกับรู้เหมือนกันไหม นี่เท่านี้ต้องตอบได้แล้ว อ๋อคิดมันไม่ออก มันบอกไม่ได้ อันนี้จิตอันเดียวกันแต่สติมีลักษณะเป็นสามสติตัวต้น สติตัวกลาง สติตัวปลาย พร้อมกันเมื่อใดกำหนดคิดกับกำหนดรู้ต่างกันแยกออกได้ทันที ว่ามันคิดไม่ออก รู้นี่หมายความว่าปัจจุบัน ปัจจุบันนะเราไม่รู้ตัว รู้แต่ครั้งอดีตกำลังคิดอยู่นี่ต่างกันแล้ว           

            แต่ทำไมหนอผู้ปฏิบัติตอบไม่ได้ กลับไปดูหนังสือตอบอย่างโน้น อย่างนี้ อ๋ออสุภะ อย่างโน้นนะ ต้องเพ่งกสิณอย่างนี้นะ มันไม่ใช่หรอกต้องตอบให้ได้ว่า คิดหนอที่ลิ้นปี่ นี่เป็นการสตาร์ท ทุกคนไม่เคยปฏิบัติเลย เท่าที่ทบทวนแล้วไม่ได้กำหนดนี้ ถ้าเราตั้งสติไว้ดี สัมปชัญญะดี กำหนดว่าคิดเพราะเหตุใด ไอ้ที่คิดแปลว่าอดีตน่ะรู้ไหม ทำไมคิดถึงแปลว่าอดีต เพราะเรียนมาแล้วมัน อดีตจึงกำหนดว่าคิด ปัจจุบันจึงกำหนดว่ารู้หนอ ผ่านพ้นไปแล้วเป็นอดีต แต่จำไม่ได้ นี่อย่างนี้เรียกว่า รู้ตัวไหม ไม่รู้ จึงกำหนดว่ารู้หนอ เท่านี้ยังตอบแยกกันไป จิตคนละดวง จิตคนละกระแส คนละอารมณ์ แล้วทำไมเอาองค์เดียวกันเล่า ผู้ปฏิบัติยังใช้ไม่ได้ เดินจงกรมไม่ได้ปัจจุบัน พองหนอไม่ได้ปัจจุบัน ยุบหนอไม่ได้ปัจจุบัน มันต้องพองก่อน ยุบก่อนมีที่ไหน หายใจออกก่อนหรือ มีได้ไหม ใครลองทำซิหายใจออกก่อนได้ไหม หรือใครทำได้เรายอมกลัวเลย มันต้องหายใจเข้าก่อนถึงจะออกได้ มันไม่เข้ามันจะมีอะไรมาออก ถ้าโยมไม่รับข้าว ไม่รับอาหารมาตั้ง ๗-๘ วัน จะมีอุจจาระออกไหม ทำนองนี้เป็นต้น นี่เหตุผล เหตุผลสำคัญยิ่ง

            ผู้ปฏิบัติสนใจโปรดฟัง เอาปฏิบัติให้มันถูกจุด เช่น ยืนหนอ ยืนกันจริง ๆ ซิ มโนภาพ แสดงออกมารูปร่างหน้าตา เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา อ๋อรูปร่างเราแก่แล้ว ใช่แล้วเลื่อนลอย ตายจริง แสดงเป็นอนิจจัง เปลี่ยนแปลงภาวะอยู่เสมอ มันจะบอกเองไม่ต้องไปดูหนังสืออย่างนี้เป็นต้น ทำได้แล้วหรือยัง ประเมินผลกันเสียทีว่ายืนหนอ ๕ ครั้ง ถ้าท่านทำได้นะ ดูคนที่เดินมาเขาเป็นชั้นไหนทายได้เลย เป็นผู้ใหญ่หรือเป็นผู้น้อยเป็นผู้บังคับบัญชาหรืออย่างไร แต่งตัวปอน ๆ มาคิดว่า เขาเป็นคนชั้นต่ำ เปล่านะ ชันสูงก็มีนะ แหมแต่งตัวสวยโก้ผูกเนคไทมาแล้ว ถือกระเป๋าเจมสบอนด์ ดูซิผู้ดีมีขั้น ผู้ดีต้องต้อนรับดี เอาน้ำมาเลี้ยง เปล่า คนร้ายทีเดียว เตรียมจะมาต้มมาตุ๋น รู้ไหม ไม่รู้แน่ ไม่รู้แน่ ๆ นี่ข้อนี้ยังทำไม่ได้ ทำได้แล้วหรือยัง นักปฏิบัติธรรมทุกท่านมาอยู่กันเป็นเวลานานแล้ว คิดหนอเป็นอดีตนะ รู้หนอเป็นปัจจุบันนะ เสียงหนอที่มันเสียงดังปังและผ่านไปแล้ว โยมกำหนดว่าอย่างไร จะกำหนดว่ายังไง เสียงมันฟังผ่านไปแล้ว กำหนดอย่างไร เป็นอดีตหรือเป็นปัจจุบัน รู้ไหม

            นี่แค่นี้จิตใจยังไม่เบิกบานเลย ๑ พรรษาแล้วอะไรเป็นอดีต อะไรเป็นปัจจุบัน อะไรเป็นอนาคตเอาตรงนี้ได้แล้วหรือยัง นี่บางแห่งอย่าลืม ๗ วัน ๗ คืนนะ ได้อนุบาลใช้ได้ ๗ วัน ๗ คืน โดยติดต่อต่อเนื่องรู้ว่าพองยุบเป็นอย่างไร เสียงนั้นหมดไปเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา แล้วเป็นอดีต หรือเป็นอนาคต เสียงนกร้อง เสียงปืน ดังปัง แล้วหายไปจะกำหนดอย่างไร จะเรียกว่า อดีต หรือปัจจุบัน รู้ไหม เคยกำหนดต้องรู้แน่ เสียงทันต่อเหตุการณ์ไหม เขาด่าเราขณะนี้ยังไม่เลิกตั้งสติไว้ เสียงหนอ เสียงหนอ อ๋อที่ด่าเดี๋ยวจะหมดเป็นอดีต แล้วผ่านพ้นไป เหลืออยู่คือปัจจุบัน ปัจจุบันคืออะไร คือจิตที่สำนึกอัดเทป สัมผัสเกิดจิตเหลืออยู่คือปัจจุบัน นี่ด่าหายไปแล้วหมดสิ้นไปเป็นอดีต บัดนี้เป็นปัจจุบันก็ต้องกำหนดให้ทัน ก็รู้หนอคือปัจจุบัน ว่าได้ไหม

            ผู้มีปัญญาโปรดฟัง ปฏิบัติอยู่เท่านี้ไม่ต้องไปทำมาก ขวาย่างหนอ ซ้ายย่างหนอ ให้ได้ปัจจุบัน พองหนอ ยุบหนอ ให้ได้ปัจจุบัน เท่านี้เหลือกินเหลือใช้ เหลือที่จะพรรณนา อะไรเป็นอดีต อะไรเป็นปัจจุบัน คิดหนอเป็นอะไร รู้หนอเป็นอะไร เห็นหนอเป็นอะไร เสียงหรือรูป รูปมันยังอยู่ปัจจุบัน แต่รูปนั้นยังอยู่ปัจจุบันเห็นไหม ดูฝาผนัง เห็นหนอ เห็นหนอ ๑ ครั้ง ๒ ครั้ง ก็ยังเห็นอยู่ แต่ครั้งที่กำหนดเห็นเบื้องต้นเป็นอดีตไป เห็นหนอครั้งที่ ๒ ปัจจุบันยังเห็นหนอครั้งที่ ๓ เป็นปัจจุบัน ครั้งที่ ๒ เป็นอดีต แล้วเกิดขึ้นตั้งอยู่ดับไป นี่แหละคือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา รูปมันคงที่คงวา คงศอก แต่พิจารณาโดยธรรมแล้วของที่อยู่นั้นมิได้คงที่ มิได้คงวา คงศอก แต่หอประชุมคงวา คงศอกโดยวัตถุ แต่จิตใจคงที่ไม่ได้ เป็นอนิจจังไม่เที่ยง หนึ่งครั้งกำหนดเห็นหนอ จิตมันไม่เที่ยง แต่ฝาผนังมันเที่ยง มันคงวา คงศอกให้เห็น อยู่ ณ บัดนี้ กำหนดสามครั้ง ครั้งที่ ๓ เป็นปัจจุบัน กำหนดครั้งที่ ๔ ครั้งที่ ๔ เป็นปัจจุบัน ครั้งที่ ๓ เป็นอดีต เท่านี้ตอบได้ไหม

            ตั้งสติให้ดีซิ กำหนดจะได้รู้ว่าอะไรเป็นอดีต เห็นหนอ เห็นหนอ โยมเดินมา เห็นครั้งที่หนึ่งต้องเป็นอดีตไปแล้ว เห็นครั้งที่สองเป็นปัจจุบัน เป็นครั้งที่ ๓ สามเป็นปัจจุบัน สองเป็นอดีต เดี๋ยวจะเห็นคนเดินมาเป็นอนิจจัง เปลี่ยนแปลงภาวะแล้วเข้าสู่ธรรมะนะ จิตนี้เปลี่ยนแปลงภาวะ คงที่คงศอกคงว่าไม่ได้ แต่รูปคงเป็นรูปตามเดิม นามธรรมเปลี่ยนแปลง จิตที่ผันแปร โดยคิดแต่รูป ผันแปรโดยรูปอย่างงี้ รูปผันแปร โดยรูปคือแก่ลง ผันแปรโดยรูป เราจะเห็นได้ว่า ฟิล์มภาพยนตร์เราดูแค่ ๕ ภาพ ดูอยู่เฉย ๆ แต่เมื่อภาพหน้าภาพเกิดหมุนขึ้นมา มันแสดงท่าทีออกว่าขวาหรือซ้าย มือซ้ายมือขวาประการใด แสดงท่าที่ได้โดยวิธีนี้เป็นต้น นี่คุกคนยังไม่รู้ รูปนะมันเป็นภาพเดียวกัน แต่ไวขึ้นโดยมองไม่เห็นด้วยสายตา....กลายเป็นรูปเดิน กลายเป็นนั่ง กลายเป็นปากพูดเหมือนตัวหนัง ข้อเท็จจริงหนังอยู่เฉย ๆ แต่เวลามันเดินฟิล์มเหมือนจิตที่เปลี่ยนแปลงที่ต้องคิดอ่านอารมณ์อยู่ตลอดเวลากาล เปลี่ยนแปลงภาวะคืออนิจจังไม่เที่ยง เป็นทุกข์จริง ๆ เปลี่ยนแปลงภาวะได้ เข้าสู่ภาวะของธรรมกลายเป็นอนัตตา นี่ต้องพูดกันภาคปฏิบัติอย่าไปเอาวิชาการมาพูดไม่ได้ นักปฏิบัติต้องไม่รู้ล่วงหน้า จะไปรู้ล่วงหน้าทำอย่างงั้นอย่างงี้รู้เชิดฉิ่งมันจะเชิดกลองเอา แล้วประคองน้ำใจไม่ได้เลยกลายเป็นคนฟุ้งซ่านเสียสติ เลยพูดมากยากนานไปเลย เพราะฉะนั้นต้องปฏิบัติได้ดังแนวนี้

            ครูอาจารย์จะถามว่า โยมหรือภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง ยืนหนอ ๕ ครั้ง ตั้งสติไว้ที่ไหน นี่วิธีสอบอารมณ์จิตปักไปตรงไหน จิตถึงไหน รับอารมณ์ได้ไวหรือช้า นี่วิธีสอบอารมณ์ต้องถามอย่างนี้ อ๋อ จิตพุ่งไม่ไหว ไปไม่ได้ เพียงนึกเอาเฉย ๆ สติไม่ตาม ใช้ไม่ได้ต้องกำหนดใหม่ นี่สอบอารมณ์ว่าอย่างนี้นะ ขอพระภิกษุนวกะธรรมทายาทโปรดเอาไปใช้เผื่อจะไปสอนลูกหลานเมื่อสึกหาลาเพศไป อย่างนี้ แยกรูป แยกนาม แยกอย่างไร นามรูปปริจเฉทญาณ ไม่ใช่อึกอัก ๗ วันเลยโสฬสเลย ฟังเทศน์ลำดับญาณเลยสำเร็จเลย เป็นโสดาแล้วอะไร กระผมเองปฏิบัติมา ๓๐ ปียังไม่เป็นโสดาเลย เดี๋ยวนี้เขาเป็นโสดากันง่ายจังเลย

            ขอฝากพระภิกษุธรรมทายาทผู้เป็นบัณฑิตเอาไปสอนลูกหลาน แยกรูปแยกนาม อะไรเป็นรูป อะไรเป็นนาม รูปก็คงที่คงวา คงศอก ได้แก่อะไร คงที่คงวาจับตั้งอยู่เฉย ๆ ดูไปดูมาเห็นหนอ เห็นหนอ เห็นหนอ กลายไป เปลี่ยนแปลง รูปทาสีแดงกลายเป็นสีดำ เห็นชัดขึ้นมาเลย นี่แหละอนิจจัง เห็นหนอ นี่พอเห็นหนออีกทีเป็นอนิจจัง เห็นหนออีกทีเป็นอดีต เอาซ้ำอีกทีเห็นหนอกำลังเดินเข้ามาแล้ว เปลี่ยนแปลง เห็นหนอสติดี สัมปชัญญะดี อ้อคนนี้เดินมาเห็นหนอปลายผมถึงปลายเท้า ปลายเท้าขึ้นไปหาปลายผม ปลายผมลงไปหาปลายเท้า ปลายเท้าขึ้นไปหาปลายผม คำว่าเห็นหนอ ตอบได้เลย คนนี้ยิ้มแฉ่งมาแล้ว เห็นหนอ ปัจจุบันรู้ คนนี้เป็นพิษเป็นภัยกับเราจงอย่าไว้ใจ จงพยายามอย่าบอกความลับ อย่าพยายามพูดหละหลวมกับคนนี้เลย นี่ปัญญาเกิด ปัญญาเกิดอย่างนี้

            ไม่ใช่ว่า เอ๊ เห็นหนอก็แล้ว พองยุบก็แล้ว เดินขวาย่างซ้ายย่างก็แล้ว ไม่เห็นเกิดปัญญา นี่จะตอบอย่างนี้ แทบทุกคนไม่เห็นเห็นอะไร จะไปเห็นอะไร ก็ไม่เห็นได้อะไร จะไปเห็นอะไร มันไม่ได้อะไรเลยนี่ อย่างงี้ทำไมข้ามไปเสียเล่า เห็นหนอไม่เคย เสียงหนอบ้างไหม เปล่า มีแต่คุยกัน พอตั้งสติได้แล้ว เสียง......หนอ อ๋ออย่างนี้แหละหนอ เสียงนี้เขาพูดคุยกัน เสียงนี้เขาปรึกษางานกัน เสียงนี้เขาจะทำงานกัน เสียงนี้เขาจะสำเร็จมรรคผลของเขา เขาจะทำการค้าของเขา เสียง....หนอ สติตั้งสัมปชัญญะมา บวกกันเกิดปัญญาตอบออกไปได้เลย ที่เขาพูดว่าจะทำการค้าเจ๊งแน่แล้ว จริงด้วย นี่ปัญญาบอก มันจะบอกเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา คือ พระไตรลักษณ์

            นี่ตรงนี้นะ ท่านทั้งหลายแยกรูปแยกนามอย่างไร รูปเป็นภาวะที่ผันแปร เปลี่ยนแปลงกลับกลอกหลอกลวงได้ ถ้าเรากำหนดขณะยืนที่ฝาผนัง ยืนหนอ เห็นหนอ กำหนดเรื่อยไป สติดี ปัญญาเกิด ภาพมันจะบอก เราเต้นเหมือนตัวหนังว่าสภาพความเป็นอยู่ของรูปนี่ผันแปรต่อไปจะเฒ่าชะแรแก่ชรา แล้วตรงนี้จะชำรุดตรงนั้นจะทรุดที่นั้นจะใช้ไม่ได้ ต้องซ่อมนี่ประโยชน์ในทางโลก ต้องซ่อม ซ่อมตรงไหนก่อน นี่สภาวะรูปเปลี่ยนแปลงผันได้อย่างนี้

            แต่จิตนามธรรม ถ้าไม่มีธรรมะเปลี่ยนแปลงได้ จิตของท่านทั้งหลายเปลี่ยนแปลงได้ชื่อว่านามเฉย ๆ เปลี่ยนแปลงไม่ได้พูดจริงต้องทำจริงทุกสิ่งเป็นเช่นนั้น ธรรมะเข้ามาประกอบกิจโดยชีวิตของนามธรรม คนนั้นจะกลายเป็นคนชั่วไม่ได้ จะเปลี่ยนแปลงให้ชั่วไม่ได้ แต่เปลี่ยนชั่วให้เป็นดีได้จากนามธรรม เอาธรรมะไปใส่เข้า โดยสติสัมปชัญญะตัวกำหนดได้ปรากฏออกมาเป็นนามธรรม พองหนอ ยุบหนอ อันเดียวกันไหม คนละอันอย่างไร อ๋อจิตกำหนดพองหนอ มันมีกี่ระยะ จิตตั้งใจถึงอยู่จุดไหนชั้นกลางหรือชั้นต้น หรือชั้นปลายหนออยู่ที่ตรงนี้นะต้องถามตรงนี้ ยุบหนอมีกี่ระยะ ระยะต้นตั้งสติอย่างไร ระยะกลางที่จะลงหนอ ปลายสติของท่านกำหนดตรงไหน จิตมีอย่างไร แล้วก็ดับวูบไปอย่างไร ตอบได้ทันทีถ้าทำได้ มันจะเห็นชัดสำหรับของบุคคลของใครของมัน บางคนอาจจะตอบว่า ๓ ระยะ บางคนก็ตอบว่า ๒ ระยะ บางคนก็บอกระยะเดียว แล้วเราจะดูได้เลยว่าคนนี้ได้อย่างไร กำหนดได้ดีไหม นี่วิธีสอบอารมณ์

            ประการที่สอง ตาเห็นรูป จิตกำหนด ขวาย่างหนอ จิตกำหนด หูได้ยินเสียง จิตกำหนด ลิ้นรับรส จิตกำหนด จมูกได้กลิ่น จิตกำหนด อยากจะถามว่าจิตกำหนดเสียงหนอกับจิตกำหนดตาเห็นรูปจิตดวงเดียวกันไหม มีลักษณะอย่างไร เหมือนกันไหมในอารมณ์นั้น ตอบยังไง ตอบยังไง นี่สอบอารมณ์ต้องสอบอย่างนี้ คนที่ทำได้ก็ตอบว่าจิตกำหนดเห็นหนอแล้วเห็นหนอครั้งที่ ๒ ครั้งที่ ๑ หมดไป ครั้งที่ ๒ จิตดวงใหม่เข้ามาแทนที่ ดวงเก่าดับ เป็นอนิจจัง ดวงที่ ๓ มาอีกแล้ว เห็นหนอดับ ดวงที่ ๔ มาอีกแล้ว เห็นหนอดับ ดวงที่ ๕ เห็นหนอ ปัญญาเกิด เกิดว่าอย่างไร รูปที่เดินมานี้รีบต้อนรับ รีบจัดการโดยด่วนเขาจะรีบไป นี่ห้าครั้งทำได้หรือยัง ไม่รู้เรื่อง

            ขอท่านผู้มีปัญญาโปรดเอาของเราไปเป็นแนวคิดปฏิบัติต่อไป อย่างงี้ เสียงหนอ จิตกำหนด เสียงหนออีกครั้ง หนึ่งดับ ดวงต้นที่กำหนดไปหายไปเป็นอดีต ดวงที่สองเป็นปัจจุบัน ดวงที่สามเป็นปัจจุบัน ดวงที่สองเป็นอดีต แล้วก็ต่อว่าจิตกำหนดเสียงหนอกับเห็นหนอต่างกันอย่างไร ต่างกันไหม ดวงเดียวกันไหม จิตอย่างเดียวต่างอารมณ์ไหม ต่างกันแน่นอน คนละอารมณ์แน่นอน จิตมุ่งมาดปรารถนาอันเดียวกันก็ตาม ต่างวาระต่างอารมณ์แล้วจิตเป็นดวงเดียวกันอย่างไร เหมือนกันไหม นักปฏิบัติเคยสังเกตไหม ไม่เคย พองหนอ ยุบหนอได้จังหวะไหม ถ้าได้จังหวะแปรสภาพอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา พองเป็นรูปไหม รู้แต่ว่าพองเป็นรูป ยุบเป็นรูป จิตกำหนดรู้เป็นตัวนามใช้ไม่ได้ พองหนอ อ๋ออะไรหยุดยุติหมดไป ยุบหนอ หมดไป พองหนอ ยุบหนอ หมดไป

            ถ้าท่านสติดีสัมปชัญญะดี สมาธิดี พองหนอ ยุบหนอ ในเมื่อ ๓๐ นาทีแรก ก้นกระสับกระส่ายกระเสือกกระสนมากมาย ๓๐ นาทีหลังแจ๋วคล่องแคล่วว่องไว กำหนดได้ทันท่วงที ได้ทันเหตุการณ์ปัจจุบัน รูปนามขันธ์ห้าเป็นอารมณ์ ก็จะตอบใหม่เปลี่ยนแปลงภาวะจะตอบใหม่แล้ว ถ้าตอบว่า ๓ ระยะ เหลือ ๒ ระยะแล้ว ตอนใหม่อาจจะเหลือ ๓ ระยะ เหลือ ๑ ระยะ อาจารย์ผู้เชี่ยวชาญต้องพิจารณาดูว่าคนนี้ทำได้หรือเปล่า หรือตอบเอาเอง หรือว่าคนนี้ตอบด้วยความเห็นในสภาวธรรมของเขา ต้องฉลาดต้องเฉลียว ต้องปฏิบัติได้ ตอบได้เลยอย่างนี้ ขวาย่างหนอ จิตกำหนดขวาย่างไปได้ปัจจุบันไหม...ได้ สติอยู่ที่ไหน จิตอยู่ที่ไหน อย่างไร รู้แล้วได้คล่องแคล่ว ซ้ายก็คล่องแคล่วไม่หลงไม่ลืมแล้วก็ถาม ขวากับซ้ายอันเดียวกันหรือเปล่า เราจะตอบว่ายังไง และจิตกำหนดขวาย่างหนอกับจิตกำหนดซ้ายย่างหนอดวงเดียวกันหรือเปล่า ดวงเดียวกันไหม ตอบส่งเดชไม่ได้นะต้องของใครของมัน เห็นเอาเอง อย่างนี้ชัดมาก

            พอตอบได้แล้ว อ๋อ ใช่แล้ว จิตกำหนด ตา หู จมูก ลิ้น อันเดียวกันหรือเปล่า สัมผัสเกิดจิต จิตเกิดอย่างไร อารมณ์เกิดขึ้นโดยวิธีไหน อย่างนี้นะรับรองท่านได้ผลแน่ ได้ผลแน่นอน นอนกำหนด พองหนอ ยุบหนอ ได้คล่องแคล่วว่องไวดี เดี๋ยวจะเคลิ้ม จะเพลิน จะเผลอบ้างบางประการ สติใส่เข้าไป เดี๋ยวมันจะวูบเหมือนขับรถลงสู่สะพานสูง ๆ วูบ ลงไป แล้วก็จะดิ่งพสุธา มองไม่เห็นตัว มองไม่เห็นตน ไม่เห็นมีตนมีตัว แล้วสติดีเหมือนอยู่ในที่มือ เกิดแสงสว่างข้างนอกไม่รับสัมผัส ข้างในสัมผัสอย่างไร ถามดูบ้างซิ สัมผัสยังไง ในเมื่อนอนหลับรู้ มีสติรู้ สัมผัสภายในอย่างไร ถ้าโยมทำได้ตอบแจ๋วเลย ตอบแจ๋วเลยโดยวิธีนี้

            นี่วิธีสอบอารมณ์อย่างงี้ ขวาซ้าย สติไว้ตรงไหน พองหนอ ยุบหนอ กำหนดอย่างไร เอาจิตดันออกหรือพองออก เอาจิตออกหน้าหรือ เอาจิตตามหลัง จิตอยู่กลางอย่างไร โยมทำได้ตอบแจ๋วไปเลยยังงี้ นี่ที่ถูกต้องทำไปทำมาญาณเกิด สติดี พองหนอ ยุบหนอ เปลี่ยนแปลงแล้ว จะไม่คงที่เหมือนเดิม อาจจะยืดยาด อาจจะเร็วโดยกำหนดไม่ทัน นี่เปลี่ยนแปลง เดี๋ยวก็วูบหน้าวูบหลัง ทำอย่างไร ทำไมวูบ ทำไมถึงสะอึก ทำไมถึงกำหนดไม่ได้ ทำไมถึงพองยุบไม่เห็นเพราะเหตุใด นี่วิธีสอบอารมณ์ ไม่เห็นกำหนดยังไง รู้หนอ รู้หนอ เอ้ากำหนดไม่ได้ ไม่เห็น กำหนดอย่างไร กำหนดอย่างไร หายใจยาว ๆ หายใจยาว ๆ อย่าเพิ่งกำหนด นี่วิธีแก้หายใจยาว ๆ ได้แล้วทำอย่างไร มองไม่เห็นพองยุบ มองไม่เห็นแก้ไม่ได้ ทำอย่างไรต่อไป กำหนดก็ไม่ได้ ไม่หายและไม่เห็นภาวะนี้ รีบเดินจงกรม ออกเดินจงกรมทันที วิธีแก้ทำอย่างนี้ นี่ไม่เคยแก้กันเลย ยังไงกันยังงั้น กำหนดตะบันไม่รู้เหนือรู้ใต้แล้วท่านจะได้อะไรเล่า

            นี่วิธีสอบอารมณ์นะ จะต้องถามพองหนอ ยุบหนอ เอาจิตไว้ที่ไหน หนออย่างไร แล้วปลายจิตจะสรุปวูบไปตรงไหน เกิดอย่างไรที่ได้จังหวะ ถามอย่างนี้ซิอย่างนี้ได้ผลแน่ แล้วผู้ปฏิบัติก็จะตอบว่า พองหนอ พองสั้น พองยาว ยุบสั้น สั้นกำหนดได้ไหม กำหนดไม่ได้ เปลี่ยนแปลงใหม่ กำหนดได้ ทำไป ในเมื่อทำไปแล้วมันเหนื่อย พองหนอ ยุบหนอมันเหนื่อย กำหนดไม่ได้ทำอย่างไร ทำไมถึงเหนื่อย หายใจไม่เท่ากัน ลมหายใจไม่เท่ากัน มันเหนื่อยในเมื่อกำหนดไม่ได้ อย่างนี้แล้วเหนื่อยมาก จึงต้องค่อย ๆ นอนลงไป วิธีแก้ เอามือประสานท้อง หายใจยาว ๆ ไว้ก่อนให้ได้จังหวะ พอได้จังหวะดีหายใจได้ถูกที่ดีแล้ว ก็ค่อย ๆ กำหนดไปเรื่อย ๆ รับรองผู้ปฏิบัติได้รับผลแน่นอน

            เรื่องอย่างนี้บางทีถามไม่รู้เรื่องกันซักคน ทำมานานแล้วถามไม่รู้เรื่อง ทำนองนี้เอาง่าย ๆ อย่างนี้ และต้องทำได้อย่างนี้ รูปนามขันธ์ห้าเป็นอารมณ์ นามรูปปริจเฉทญาณ แยกรูปตรงไหน แยกนามอย่างไร อย่าลืมรูปทั้งหลายสกลกายทั้งหมด สัมผัสเกิดจิต สภาวะรูปเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป ไม่มีอะไรคงที่ และไม่สามารถจะเห็นทันต่อเหตุการณ์ในปัจจุบันนี้ของมันและเราทำได้ ปัญญาเกิดเห็นทันปัจจุบันของมันแน่นอน ในเมื่อเห็นทันปัจจุบันแล้ว เราจะพิจารณาได้เลยว่า อ๋อ เป็นอย่างนี้แหละหนอ หายใจเข้ายาว ๆ หายใจออกยาว ๆ คงที่ได้เมื่อใด เปลี่ยนแปลงภาวะได้อย่างไร เราจะอารมณ์ดีเกิดเมตตาแน่นอน และเกิดมีทิฐิมาแต่เดิมเปลี่ยนแปลงภาวะ จากใจร้อนกลับใจเย็น จากฟุ้งซ่านเกิดความสงบ จากความสงบเกิดปัญญา จากปัญญาเกิดความคิด จากความคิดคนนั้นแหลมลึกในเรื่องคำพูด คนนั้นคล่องแคล่วในการทำงาน คนนั้นสามารถจะรู้เหตุการณ์เกิดเฉพาะหน้าปัจจุบันได้ โดยวิธีนี้ประการหนึ่ง

            นี่อยากจะถามพวกโยมนอนหลับรู้แล้วหรือยังจับได้ไหม หลับอย่างไร สติไว้ตรงไหนกันแน่ เท่านี้ยังไม่มีใครตอบเลยมาช้านาน นี่ประเมินผลกันเสียทีในวันนี้ แล้วกำหนดคิดหนอคิดอะไรได้บ้าง เปล่าเลยไม่เคยกำหนดนั่นแหละเป็นอดีตที่ผ่านพ้นไปแล้ว กำหนดได้เมื่อใด สติมีเมื่อใด สามารถจะระลึกเหตุการณ์ในชีวิตได้โดยชัดแจ้ง จากคำกำหนดว่า คิดหนอ มีประโยชน์มาก โยมคิดอะไรได้บ้างที่มันลืมเลือนเรื่องกฎแห่งกรรม ถ้าเราสติดีปัญญาเกิด ความคิดของกรรมจะปรากฏแก่นิมิตในเราทราบได้ว่า เราจะใช้กรรมวันพรุ่งนี้แล้วและเราก็จะได้ประโยชน์ในวันพรุ่งนี้แล้ว นี่อดีตนะแสดงผลงานปัจจุบัน ปัจจุบันแสดงผลงานในอนาคต อย่างนี้ยังตอบกันไม่ได้เลย ถามมานานแล้ว ไปทำนอกประเด็นนี้หมด ไม่เกิดประโยชน์แต่ประการใด ที่เรารู้สรรพสำเนียง เสียงนกกำหนดเสียงหนอ อ๋อนกเขาร้องด้วยเหตุผล ๒ ประการมันบอกได้อย่างนี้ เราเดินผ่านต้นไม้ สติดี สัมปชัญญะดี ต้นไม้จะบอกอารมณ์แก่เราได้ว่าขณะนี้เป็นอย่างไร นี่เท่านี้ยังมองไม่เห็นเลย

            นี่พูดทางแนวปฏิบัติสั้น ๆ ง่าย ๆ เบื้องต้น เพราะฉะนั้นขันธ์ห้ารูปนามแยกออกไป รูปเช่นแยกว่า หูกับเสียงแยกอย่างไร ตากับรูปแยกอย่างไร กลิ่นกับจมูกแยกอย่างไร สัมผัสเกิดจิต จิตในจมูกดูดกลิ่นเหม็นหอมแยกอย่างไร ลิ้นกับรสแยกอย่างไร คนไหนแยกได้จะไม่บ่นเรื่องอาหารเลย คนไหนแยกหูกับเสียงได้จะไม่บ่นกับบุคคลที่มาว่ากล่าวเสียดสีแต่ประการใดเลย คนไหนแยกตากับรูปได้เมื่อไร คนนั้นจะไม่ตำหนิติเตียนบุคคลที่ผ่านไปมา เห็นด้วยปัญญาแล้ว ก็จะมองเห็นน่าสงสารน่าเวทนา จากคำว่าเห็นหนอตั้งสิตไว้นี่นักปฏิบัติธรรมก็ต้องสงบอย่างงี้

            นี่แหละขันธ์ห้า รูปนามเป็นอารมณ์ แยกออกไปอย่างนี้ เสียงหนอ เสียงกับหูเป็นอันเดียวกันหรือเปล่า เห็นหนอตากับรูปเป็นอันเดียวกันหรือเปล่า ทำไมถึงคนละอัน ทำไมถึงอันเดียวกันอย่างไร ถ้าโยมมีปัญญาแยกนามได้ ก็จะทายได้ตอบได้โดยไม่ต้องดูหนังสือ เอาอย่างนี้ก่อนซิ ทำได้แล้วหรือยังขวาย่างหนอ ซ้ายย่างหนอ ได้ภาวะทันปัจจุบันไหม ช้าที่สุดเหมือนคนจะตายยิ่งดีมาก เราจะได้เห็นภาวะปัจจุบันได้คล่องแคล่ว และสามารถจะเก็บหน่วยกิตไว้ได้ คือรวบรวมสติสัมปชัญญะไว้ในภายใน ถึงเวลาแสดงออกสติจะบอกได้ทุกประการ อันนี้เป็นผลงานของภาคปฏิบัติธรรมทั้งหมด

            ขอสรุปว่าโยมอยู่วัดกันมานานแล้ว ตอบได้กันบ้างหรือยัง พองหนอ ยุบหนอนี้ และพองมีกี่ระยะ ยุบมีกี่ระยะ ระยะต้นว่าอย่างไร ระยะกลางว่าอย่างไร ระยะปลายว่าอย่างไร เดี๋ยวเหลือ ๑ ระยะ ระยะหนึ่งแปลความหมายว่ากระไร สะอึกขั้นมาเหนื่อยขึ้นมา อะไรเกิดขึ้นแล้วกำหนดอย่างไร เท่านี้ทำได้หรือยัง ไม่ใช่นึกถึงก็เดินจงกรมแล้ว ก็นั่งหลับหูหลับตาโดยไม่เกิดปัญญาเลย ต้องรู้ตัวทุกเวลา เข้าใจทุกเวลาปัญญาเกิดทุกเวลา ในปัจจุบัน นี่ซิอดีต นี่ปัจจุบัน นี่อนาคต นี่เรื่องนี้สำคัญมากไม่ใช่ทำสงเดชนะ หรือรู้กันส่งเดชตามหนังสือแล้วก็ใช้ได้ ไม่งั้นก็ไม่ต้องปฏิบัติอ่านหนังสือใช้ได้ รู้ว่าอายตนะ ธาตุ อินทรีย์ อย่างนี้ใช้ได้ ไม่ต้องปฏิบัติก็ได้เป็นวิปัสสนาปลอม เป็นวิปัสสนึกไป เป็นวิปัสสนาไม่ได้ แน่และผลงานจะเกิดขึ้นแก่เราก็ไม่ได้ด้วย ไม่มีความอดทนแน่และไม่มีอารมณ์ที่คงที่คงวา ที่เปลี่ยนผันแปรออกมาให้จิตเข้าสู่ภาวะโดยปัจจุบันธรรมเลย

            โดยวิธีนี้ พองหนอ ยุบหนอ ได้จังหวะแล้ว สติก็ดีเป็นขั้นตอน สัมปชัญญะรู้ตัว บวกกัน พองยุบชัด เดี๋ยวก็เลือนลางเป็นญาณแต่ละอย่าง แล้วบางอย่างทำให้เบื่อหน่ายในการปฏิบัติ เกิดอะไรขึ้นมา ญาณไหนหรือ ไม่ใช่พูดตามญาณคิดค้นเดาเอาเอง โดยเฉพาะอาตมาเองยังไม่ได้ญาณชั้นสูงเลย ญาณชั้นต่ำที่เราทำได้ ทำให้เจริญก้าวหน้ามาได้เพราะญาณชั้นต่ำไม่สูงเกินไป ที่เขาได้กันเราต้องทำได้ โดยจุดมุ่งหมายอันนี้เป็นประการสำคัญ

            วันนี้ก็ขอฝากนักปฏิบัติธรรมไว้อย่าไปนั่งคุยกัน สาธยายกันเลย ๗ วัน ๗ คืน ก้มหน้าก้มตาทำ และมีอะไรกับประสบอารมณ์ปัญหา กำหนดให้ได้ ให้ทันต่อเหตุการณ์ปัจจุบัน เราจะรู้เหตุการณ์นั้นได้ทันท่วงที พระไตรลักษณ์ก็แจ้งคดีที่มีมา เป็นอนิจจัง ไม่เที่ยงเป็นทุกข์แท้ ๆ แน่เหลือเกินปัญญาเกิด รอบรู้ในกองสังขาร โดยวิธีปฏิบัติง่าย ๆ และกำหนดเวทนาได้ด้วย อ๋อ เมื่อยนี่เรื่องเล็ก ตั้งสติไว้เสียให้ดี เวทนาแยกแตกออกไป เปลี่ยนภาวะเวทนาไปส่วนหนึ่ง สัมผัสไปส่วนหนึ่ง ญาณวิถีทางของรูปนามส่วนหนึ่ง แล้วก็อาศัยรูปเกิดแล้วดับไป เวทนาก็กลับหายไป แยกออกไปเสียได้โดยวิธีปฏิบัติโดยวิธีนี้ เป็นต้น

            นี่แหละโยม ผู้ปฏิบัติธรรมโปรดตั้งจุดมาตรการนี้ไว้ ไม่เพียงแต่พิจารณาโดยหลับตา พิจารณาโดยปัญญาด้วยการกำหนดจิต ใช้สติทุกประการ เดินจงกรมให้ชัด ปฏิบัติให้ดี และกำหนดให้ได้ทันท่วงทีและทันต่อรูปนามขันธ์ห้าเป็นอารมณ์ นี่เบื้องต้นของภาคปฏิบัติวิปัสสนาญาณ เราจะรู้เหตุการณ์ได้ งูบหน้า งูบหลัง ถ้าคนไหนมีมากคนนั้นขาดสติ ด้วยวิธีการภาคกำหนดเบื้องต้น อันนี้มีความหมายมาก จึงขอชี้แจงสรุปผลงาน จากภาคปฏิบัติกรรมฐานที่โยมปฏิบัติกันทำให้มันต่อเนื่องเสียหน่อยเถอะ เดินจงกรมแล้วนั่ง นั่งแล้วก็เดิน ปฏิบัติไปเรื่อย ๆ ๗ วัน ๗ คืน เท่านั้นได้ผลแน่ ๗ วัน ๗ คืนเท่านั้นได้ผลยังไง ได้ผลอารมณ์ของรูปนาม ได้ผลยังไง มีสติสัมปชัญญะดีและสามารถจะรู้เหตุการณ์ในชีวิตได้ดีโดยปัจจุบัน สามารถจะแก้ไขทันเหตุการณ์ได้ในปัจจุบันเท่านี้เท่านั้น อันนี้มีความหมายมาก

            ขอให้ญาติโยมสนใจต่อไปให้ถูกทาง และทำไปโดยไม่ต้องไปคิดเอาเอง ทำไปโดยไม่ต้องหาวิชาการมาใส่ตัวให้รู้เองก่อนทำ ต้องทำก่อนจะรู้ ไม่ใช่ไปรู้ก่อนทำนะ เดี๋ยวนี้รู้กันเสียก่อนแล้ว รู้ก่อนทำแล้วได้อะไร ก็ได้ของปลอมไปนะ ต้องทำก่อนรู้ซิไปรู้ก่อนทำมีที่ไหนเล่า ยังงี้อาตมาสังเกตมานานแล้ว ขอทบทวนให้โยมฟัง แค่เสียงหนอก็ไม่ได้เคยกำหนดเลย กำหนดคิดบ้างไหม กำหนดรู้บ้างไหม อย่าลืมคิดนะ เป็นอดีตนะ รวมเก่าที่มันลืมไปแล้วตั้งแต่เป็นเด็ก รู้หนอ อย่าลืมปัจจุบันยังรู้ไม่จริง ต้องกำหนดรู้หนอ อย่างนี้เสียงหนอ มันผ่านพ้นไปแล้วทำยังไงไม่ให้เสียสติ ต้องกำหนดปัจจุบัน อดีตอย่าเอา เข้าใจไหมจ๊ะ ต้องเข้าใจ ต้องกำหนดรู้หนอเสียก่อน เพราะมันเลยไปเสียแล้ว เอาปัจจุบัน อย่าเอาอดีต อดีตไม่เอา ถ้าเราลืมไปแล้วจะคิดเรื่องเก่าเอามาเล่นใหม่ก็กำหนดอดีตเรียกว่า คิดหนอ หายใจยาว ๆ ไม่มีคนทำเลยหรือ ไม่มีคนทำเลยอย่างนี้อาตมาเสียดายเสียใจด้วย ที่โยมไม่ปฏิบัติตามแนวปฏิบัตินี้ จึงคิดไม่ออก บอกไม่ได้ ใช้ไม่เป็น ไม่เห็นตัวตายเลย ไม่คลายทิฐิ ไม่มีโอกาสดำริชอบ แน่นอนนะ จงตั้งใจอย่างนี้เป็นประการสำคัญ ขอสรุปผลงานไว้เพียงเท่านี้

            ขอให้ผู้ปฏิบัติธรรมตั้งใจและขอเรียนถวายท่านทั้งหลายที่เป็นบัณฑิตมีความคิดแล้ว จงปฏิบัติหน้าที่ แยกรูป แยกนาม แยกขันธ์แต่ละขันธ์ รูปขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ ออกไปเป็นสัดส่วนให้ได้จากการปฏิบัตินี้ รูปคงเป็นรูป อาศัยเกิดด้วยรูปคือ เวทนา เวทนาขันธ์รวมความเหลือ ๓ สุข ทุกข์ อุเบกขา แน่นอนไม่ผันแปร สัญญาความจำได้หมายรู้ต้องกำหนดว่า คิดหมด จำได้ไหม จำไม่ได้ อดีตมาโผล่ ลืมไปเสียแล้ว ผ่านไปเสียหมด เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป ต้องเอาปัจจุบันมาแทน จึงต้องกำหนดรู้หนอ รู้หนอ รู้หนอ เพราะมันเป็นอดีตผ่านพ้นไปเสียแล้วกำหนดไม่ทันเอาปัจจุบันแก้ ถ้าหากปัจจุบันแก้ไม่ได้ทำอย่างไรต้องสำรวมจิตกันใหม่ ตั้งต้นใหม่ แก้ไม่ได้ปล่อยให้มันเป็นอดีตไป......

 

 
บันทึกการเข้า
ช่างเล็ก(LSV)
Administrator
member
*

คะแนน1346
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 18843


คิดดี ทำดี ชีวิตมีแต่สุข


อีเมล์
« ตอบ #2 เมื่อ: เมษายน 22, 2007, 08:55:06 am »

จับหลับ

 

พระครูภาวนาวิสุทธิ์

P1003

 

            จับหลับ หมายถึง การหลับที่มีสติ อันเป็นคำพูดของคนสมัยเก่า หลับจะมีสติได้อย่างไร มีวิธีปฏิบัติดังนี้ หายใจเข้าหายใจออกยาว ๆ พองหนอ ยุบหนอ อย่างเคร่งในอุปาทานยึดมั่น ให้มันเกินไป ทำอย่างสบาย หายใจสบาย เดี๋ยวมันจะหลับมันจะเพลินแล้วมันจะเผลอ แล้วมันจะวูบลงไปสู่ภวังค์ จิตนั้นจะดิ่งลงไปไม่สัมผัสภายนอก พลิกกายกี่ครั้งรู้หมด ตื่นตอนไหนรู้หมดเลย นี่หลับมีสติซึ่งคนโบราณท่านเรียกว่า “จับหลับ” ในสติปัฏฐาน ๔

            อาตมาถามหลายคนใน ๑๐๐ คนจะได้สัก ๑๐ คนแต่ทำฝึกไปเรื่อย ๆ ได้ผล หลับมีสติอย่างนี้เอง บางทีถ้าไปนอนไม่มีนาฬิกาไป จะต้องตื่นตี ๔ ถ้าเรานั่งจนชำนาญแล้วนะ เราก็นอนพองหนอยุบหนอเรื่อยไป แล้วหลับมีสติดี ถึงตี ๔ จะสะดุ้งตื่นเลย แล้วดูนาฬิกาก็จะตรงเวลาพอดี

            พระพุทธเจ้าสอนข้อนี้ พูดตามศัพท์ภาษาไทยก็ นอน ตื่น มีสติ หลับมีสติ ในพระไตรปิฎกมีบอกไว้ สติปัฏฐาน ๔ ในตอนที่อาตมาเริ่มฝึกกรรมฐานใหม่ ๆ อาตมาก็ยังไม่ทราบหลับจะมีสติได้ยังไง ตื่นนี่มีสติแน่ หลับผลอยไปนี่ มันไม่เห็นมีสติอะไร แล้วทำไมพระพุทธเจ้าสอนว่าหลับต้องมีสติ ตื่นมีสติ หลับยังไง อาตมาก็ทำไปเรื่อย ๆ พระอาจารย์หลายรูปท่านก็บอกว่าหลับมีสติตื่นมีสติต่อเนื่อง เราก็ไม่รู้ ท่านก็ไม่บอกเราหลับแบบไหนมีสติอย่างไร ทีนี้อาตมาทำมาเรื่อย ๆ เป็นเวลานาน ก็พองหนอ ยุบหนอ เพ่งมากไม่หลับ ก็ทำอย่างนี้หลายวันแต่ก็กำหนดไปเรื่อย ๆ พองหนอ ยุบหนอ หายใจยาว ๆ ไปเรื่อย ๆ เอ..มันจะหลับแล้ว มันจะเพลินที่ฟังเสียงต่าง ๆ รู้มั่งไม่รู้มั่ง เผลอแว้บไม่รู้หลับไปตอนไหน จำไม่ได้ หนักเข้าเดินจงกรมมั่งนั่งบ้าง ก็รวบรวมสติปัญญาไว้แล้วมานอนกำหนดไป

            วันนั้นรู้ อ้อ หลับมีสติเป็นอย่างนี้นี่เอง ในตอนแรกได้ยินคนคุยกัน เราก็นอนกำหนดของเราไปเรื่อย ๆ แล้วก็ภาวนาพองหนอยุบหนอไป ได้ยินอะไรก็กำหนดไปเรื่อย ๆ กำหนดไปซักเพลินหลับ ๆ ตื่น ๆ ได้ยินแว่ว ๆ ถึงได้ตั้งสติเข้าไว้แต่อย่าไปเพ่งมาก ถ้าเพ่งมากไม่หลับ ไม่ต้องเพ่งมากหรือเพ่งชัดจนเกินไป ตั้งสติไว้อย่างเดียวก็หายใจเรื่อยไปว่าพองหนอยุบหนอไปเรื่อย ๆ

            สักประเดี๋ยวมันจะเผลอแว้บ พอยุบก็จับได้เลย เหมือนเราขับรถลงสะพานวูบลงไป แล้วก็ทวารหูปิดไม่ได้ยินเสียง แต่ข้างในรู้หมด หลับมีสติอย่างนี้นี่เอง แล้วทีนี้เราจะสังเกตตัวเราหลับนอน ๓ ชั่วโมง เหมือนนอนชั่วโมงเดียวไวมาก เราจะพลิกตัวกี่ครั้งรู้หมด รู้พลิกแบบใหม่อย่างไหนรู้หมด จะนอนตะแคงหรือนอนหงายนอนคว่ำ รู้หมดเลย พอถึงเวลาถึงสะดุ้งตื่นขึ้นมาตามเวลาเลย อ้อ นี่หลับมีสติอย่างนี้เอง

            นอนมีสติ เราจะเห็นวินัยพระจะจำวัด ต้องปิดบังเสียให้ดี ปิดห้องหับเสียให้ดี ไม่งั้นมีอาบัติโทษ ข้อเท็จจริงก็หมายความว่า เดี๋ยวประชาชนเขาจะเห็นนะเอาศีลออกมาให้เขาดู ก็ลำบาก ถ้าหลับมีสติศีลไม่ออก หลับมีสติ ตื่นมีสติ ขอให้ท่านฝึก ๆ ไปได้ผลอย่างนี้ ในหลักบอกหลับมีสติ ตื่นมีสติ หลับมีสติได้อย่างไร หลับพลิกตัวกี่ครั้งรู้หมด รู้ข้างใน ถ้าวิปัสสนาข้างในต้องรู้นะ เผลอไปดิ่งพสุธา มีแต่สมาธิ ไม่ใช่วิปัสสนาแน่ ต้องรู้ข้างในพร้อมข้างนอกไม่รู้ อย่างที่พระสมาบัตินี่ข้างในรู้หมด ข้างนอกไม่รู้ อันนี้มันก็ขึ้นอยู่ที่ฝึก นอนที่โล่ง ๆ ก็ได้ จะพลิกตัวกี่ครั้งรู้หมด แล้วใครจะเรียก คำเดียวต้องตื่นได้เลย มันจะบอก สตินี่สำคัญ

            อย่างบางท่านทำได้หลับบนเก้าอี้ได้เลย หายใจยาว ๆ วางจิตไว้ที่ตรงคอ อยากจะหลับ วางจิตไว้หลับเลย ถ้าง่วงเหลือเกินก็วางจิตไว้ที่หน้าผาก แล้วกำหนดไป ไม่หลับดูหนังสือต่อไปได้ ลองดูได้ถ้าสมาธิดี จับจุดปั๊บถูกต้อง ๆ ถ้าเราอยากจะหลับหายใจยาว ๆ สงบจิตไว้ วางไว้ที่คอที่เรากลืนน้ำลาย หลับเลย บนเก้าอี้ก็ได้ที่เรานั่งรถโงกไปทางนี้ ๆ ไม่มีสติ ถ้ามีสติดีในการหลับ รับรองถ้านั่งรถหรือนั่งเก้าอี้ ท่านจะหลับ เฉย ๆ ไม่โงกแน่นอน สติบอกพร้อม ถึง ๕ นาทีตื่นทันที ดีกว่าไปนอนที่บ้านตั้งหลายชั่วโมง อันนี้มีคนทำได้หลายคน

            บางทีเราเขียนหนังสืออยู่บนเก้าอี้จะพักผ่อน อยู่ที่ทำงานแล้วนั่งเขียนหนังสือเสร็จแล้วก็วาง ก็ค่อย ๆ นั่งเก้าอี้ธรรมดา ๆ หายใจยาว ๆ พองหนอ ยุบหนอ แล้วอธิษฐานจิตว่าข้าพเจ้าขอหลับ ๕ นาที สำรวมจิตไว้ที่ลูกกระเดือกที่กลืนน้ำลาย ตั้งสติหายใจยาว ไม่เกินอึดใจหลับเลย แล้วมันจะวูบลงไป พอถึง ๕ นาที ตื่นตามธรรมดาแล้วสดชื่น แต่ต้องวางจุดให้มันถูก แต่ก่อนที่จะหลับได้นี่ ต้องฝึกมานานนะ ต้องฝึกเรื่อย ๆ ให้มันเข้าออกได้ ทีนี้ถ้าง่วงเหลือเกินเราอยากจะอยู่ต่อไปโดยไม่ง่วง ตั้งสติไว้หน้าผากแล้วหายใจยาว ๆ ตั้งสติไว้หน้าผากแล้วหายใจยาว ๆ ตั้งสติไว้ที่หน้าผากเดี๋ยวตาแข็ง สมาธิไว้ที่นี่ ดูหนังสือต่อไปได้เลย อีก ๑ ชั่วโมงแล้วค่อยนอน

            ถ้าวันไหนฟุ้งซ่านมาก ไม่ใช่ไม่ดีนะ ดีนะ มันมีผลงานให้กำหนด แล้วก็ขอให้ท่านกำหนดเสีย ฟุ้งซ่านก็กำหนดตั้งอารมณ์ไว้ดี ๆ กำหนดฟุ้งซ่านหนอ แล้วหายใจยาว ๆ ไม่ต้องไปพองยุบ วิธีแก้หายใจยาว ๆ ตามสบาย แล้วภาวนาในใจ ฟุ้งซ่านหนอ ๆ สักชั่วครู่หนึ่งท่านจะหายแน่นอน บางคนดูหนังสือปวดลูกตา อย่าให้เขาเพ่งที่จมูก ต้องลงไปที่ท้องหายทุกราย บางทีปวดกระบอกตาดูหนังสือไม่ได้เลย ตาแดงร่านลงมากำหนดที่ท้องมันก็จะว่องไวคล่องแคล่วขึ้น แล้วจะหายไปเอง .......

 
บันทึกการเข้า
ช่างเล็ก(LSV)
Administrator
member
*

คะแนน1346
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 18843


คิดดี ทำดี ชีวิตมีแต่สุข


อีเมล์
« ตอบ #3 เมื่อ: เมษายน 22, 2007, 08:56:01 am »

โทรจิต

 ของวีโก้-ชาวนอรเวย์

 

พระครูภาวนาวิสุทธิ์

P1004

 

                เรื่องโทรจิตทางใจ มี นายวีโก้ ที่มาต่อปริญญาโทที่จุฬาฯ เป็นชาวนอรเวย์ อาตมาคิดว่าคงจะเป็นฝรั่งชาติฮอลันดามาบวชที่นี่ เขาเป็นชาวคริสต์ บิดาเป็นวิศวกรไฟฟ้าแห่งนอรเวย์ ปู่เขาเป็นศาสตราจารย์ภาคคณิตศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยออสโล มารดาเป็นเลขานุการมหาวิทยาลัยออสโล มีลูกชายคนเดียวชื่อ วีโก้ มีลูกสาว ๒ คน วีโก้เรียนอักษรศาสตร์ภาษาไทยเรียนหลายภาษามาต่อปริญญาโทที่ประเทศไทยที่จุฬา

            ปู่เขาเป็นศจ.บอกกับหลานว่า เจ้าไปประเทศไทยจงเอาของดีมาฝากปู่ เพราะปู่อ่านพระไตรปิฎกเป็นภาษาอังกฤษที่มหาวิทยาลัยของเราทุกศาสนามีให้เรียน อ่านแล้วซึ้งใจในภาคปฏิบัติธรรมเหลือเกิน ไปแล้วจงเอามาฝากปู่ให้จงได้ เขาก็โน้ตแล้วให้ปู่เซ็นชื่อไว้ ฝรั่งนี่ทำอะไรละเอียด ก็มาเรียนที่จุฬาฯ เขามาสิงห์บุรี อยากจะมาดูชาวบ้านแป้ง คนเวียงจันทน์ย้ายมาตั้งแต่สมัยเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก บ้านนี้มีอาชีพทางปั้นหม้อ ทำเครื่องช่างต่าง ๆ ทำทอง

            ที่บ้านแป้ง มีเจ้าคุณองค์หนึ่งชื่อ เจ้าคุณพรหมโมฬี ก็ไปกราบนมัสการพระคุณเจ้านี้มีปัญหาถาม ๑๐ ข้อ แต่เจ้าคุณไม่สามารถตอบได้ ก็เลยพาฝรั่งมาหาอาตมาที่วัดนี้ แต่อาตมาก็ไม่ทราบว่าตอบถูกหรือผิด ตอบไปแล้วเขาก็ลากลับ กลับไปได้ ๑๐ กว่าวันเศษ แบกหีบมาที่วัดบอกกระผมขอบวชที่วัดนี้ ขอเจริญวิปัสสนากรรมฐานตามที่ปู่มีความประสงค์ อาตมาบอกไม่ได้คุณเป็นชาวต่างประเทศต้องได้รับอนุญาตจากบิดา มารดาเสียก่อน จึงจะบวชได้ ไม่งั้นบวชให้ไม่ได้ เขามีใบแสดง ฝรั่งเขามีว่าพออายุเท่านี้ก็หมดหน้าที่ แล้วปู่เขาก็มีในฐานะของพ่อแม่ ก็ได้อนุญาตให้เขาเอาของดีมาฝากให้ได้โดยการบวช อาตมาก็อนุญาต

            ฝรั่งคนนี้เก่งมาก ท่องขานนาคได้ใน ๓ ชั่วโมง แล้วก็วินัยของพระรู้มาก่อน เพราะเขาเรียนหนังสือไทยเขียนได้ดีมาก บวชแล้วเจริญวิปัสสนากรรมฐาน ทำได้เคร่งครัด ๔๕ วัน สามารถโทรจิตได้ เขาถามว่าผมอยากจะกราบเรียนถามว่า คนไทยชาวพุทธเวลาเขาตายกัน กรวดน้ำได้ไม่ได้ไม่รู้ ผมอยากจะถามว่า อุทิศส่วนกุศลแผ่เมตตาให้กับพ่อแม่ที่ยังมีชีวิตอยู่จะได้รับไหมครับ

            อาตมาเห็นว่าจิตเขาสูงแล้วพอสมควร สามารถจะโทรจิตได้พอดีแม่เขากำลังป่วยหนัก พักฟื้นอยู่ที่บ้านเขาอยากจะอุทิศส่วนกุศลไปด้วยบุญกุศลอย่างนี้ จะได้รับมั๊ย ก็บอกเขาว่าได้ เขาก็เดินจงกรมแล้วนั่ง เสร็จแล้วก็อธิษฐาน เวลาอธิษฐานจะแผ่เมตตา อย่าทำกำลังนั่ง เวลาส่งผลก็เช่นกัน ต้องทำให้เสร็จกิจก่อน ทำให้งานเสร็จก่อน เราจะเดินจงกรม ๑ ชั่วโมง นั่ง ๑ ชั่วโมง เสร็จกิจในการภาวนาก่อน แล้วค่อยสวดมนต์แผ่เมตตาโดยอโหสิกรรม ทำให้จิตใจสบายเบิกบาน แล้วแผ่ได้เลยอุทิศได้ตอนหลัง ไม่ใช่นั่งด้วยแผ่ไปด้วย จะไม่ได้รับ

            พอทำเสร็จแล้ว เขาก็อธิษฐานจิตหลังจากนั่งภาวนาหมดกิจเสร็จเรียบร้อยแล้ว อโหสิกรรมต่อกันให้จิตใจเบิกบานบริสุทธิ์ เขาอธิษฐานว่า ในวันนี้เป็นวันชาติของข้าพเจ้า แม่ของข้าพเจ้ากำลังป่วยหนัก ด้วยบุญกุศลของลูกที่ได้บำเพ็ญกุศลได้บวชในพระศาสนาและได้เจริญวิปัสสนากรรมฐาน ถ้าเป็นความจริงดังกล่าวแล้ว ขอให้แม่ของข้าพเจ้าหายจากโรคภัยไข้เจ็บทันที

          ประการที่ ๒ ปู่ของข้าพเจ้าที่ต้องการจะให้หลานเอาของดีไปฝากบัดนี้หลานได้ของดีแล้ว

            ประการที่ ๓ ขอให้เพื่อนของข้าพเจ้าอีก ๓ คนที่อยู่บ้านใกล้เรือนเคียงกันที่เรียนหนังสือมาด้วยกัน จงมีความสุข ความเจริญโดยทั่วหน้ากัน ในเมื่อทั้ง ๓ นี้ได้รับแล้ว ขอให้ตอบทางจดหมายทันที

            อธิษฐาน ถึงเดี๋ยวนั้นไม่ต้องรอเวลาเหมือนไปรษณีย์ วันนั้นพอดีเป็นวันชาติของนอรเวย์ เขาก็มาพักคุยกันที่บ้านของวีโก้ อยู่ที่ออสโล คุยกัน แม่เขานอนอยู่ในห้องพักฟื้น กำลังป่วยแต่กลับจากโรงพยาบาลแล้ว ยังอ่อนเปลี้ยอยู่ในห้อง เวลาส่งโทรจิตที่นี่เป็นเวลากลางคืน ๔ ทุ่ม ที่โน่นเป็นเวลาเช้า เวลาไม่เท่ากัน รู้ได้จากการตอบรับหนังสือ ขณะนั้นปู่เห็นผ้าเหลืองแวบผ่านหน้าไป ทุกคนก็สังหรณ์พร้อมใจกันคิดถึงวีโก้ทันที ก็คุยเรื่องวีโก้ ปู่เขาก็เข้าใจว่าหลานคงจะได้บวชในพระพุทธศาสนาเพราะผ้าเหลืองผ่านหน้าแล้วก็หายไป พ่อเขาก็พูดถึงวีโก้เรียนอักษรศาสตร์ที่จุฬา แม่กำลังคิดถึงลูกชายก็ได้ยินพูดถึงวีโก้ลูกชาย ปู่พูดว่าเห็นผ้าเหลืองแวบ แม่ก็คลานออกมาอารามดีใจคิดถึงลูก เลยหายออกมานั่งโต๊ะคุยกันเป็นชั่วโมง พอคุยกันแล้ว แม่ก็เริ่มเขียนหนังสือ เขาเขียน วัน เดือน ปี ลงเวลาด้วย ก็เขียนถึงวีโก้ลูกรัก เหตุการณ์เกิดขึ้นที่บ้านของเราวันนั้นเป็นวันชาติ เพื่อนของเจ้าด้วยก็มาอยู่ที่นี่ พ่อและปู่ ปู่ของเจ้าเห็นผ้าเหลือง ถามว่าเจ้าบวชจริงมั้ย แล้วปฏิบัติกรรมฐานจริงเท็จประการใด แม่ตอนนี้กำลังพักฟื้น เขาเห็นผ้าเหลืองแล้วก็พูดถึงลูก แม่ก็หายทันที เขียน ๔-๕ หน้ากระดาษกว่าจะมาถึงวัดหลายวัน ผ่านที่จุฬาฯ ก็ส่งมาให้ที่วัด พอพระวีโก้อ่านแล้วน้ำตาร่วงทันที เขาก็แหลให้ฟัง ตอนนั้นเขาขอเวลาอาตมาวันละชั่วโมงตอน ๓ ทุ่ม อาตมาจะไปไหนไม่ได้ เขาว่าผมข้ามน้ำข้ามทะเลมาท่านต้องไปไหนไม่ได้ ๑ ชั่วโมง ดังที่กล่าวมานี้ยังมีหลักฐานอยู่

            ในเวลากาลต่อมา วีโก้จะจบหลักสูตร ก็ต้องกลับประเทศนอรเวย์ หลักการเขามีอยู่ว่า ถ้าไปเรียนมหาวิทยาลัยไหนก็ตาม ถ้าจบแล้วต้องไปเป็นทหาร ๑ ปีไม่ต้องจับใบดำ ใบแดง ประเทศเขามีหลักอย่างนี้ ทุกคนเป็นทหารหมด ๑ ปี แต่เขาไม่นิยมรบกับใคร วีโก้ก็มาบอกกับอาตมาว่าผมจบหลักสูตรปริญญาโทแล้ว อยากจะอยู่ประเทศไทยต่ออีก ๑ ปี จะทำอย่างไร

            อาตมาก็แนะนำให้ คือ ทำเหมือนเดิม อธิษฐานจิตเดินจงกรม ๒ ชั่วโมง นั่ง ๒ ชั่วโมง แล้วขอแผ่ถวายเป็นกุศลถึง

๑.     องค์พระมหากษัตริย์แห่งกรุงสยาม

๒.    อธิการบดีและอาจารย์ภาควิชาของเขา

๓.    ถึงประเทศนอรเวย์ มีบิดา มารดา ครูอาจารย์

๔.    แล้วก็แผ่ถึงกระทรวงกลาโหมให้ยับยั้งเวลาการเป็นทหารอีก ๑ ปีต่อไป

วีโก้ทำติด ๆ กัน ๒ คืน แล้วขอลาเข้ามหาวิทยาลัย สิกขาลาเพศ พอลาไปแล้วก็บอกอาตมาว่า ถ้าผมไม่ได้อยู่ต่อไป ก็อาจจะเขียนจดหมายแจ้งช้าหน่อย ถ้าได้อยู่ต่อไปก็จะรีบส่งโทรเลขมาให้ทราบ เขายังถาว่า แม่ราตรีที่เป็นคนไทย ผมจะขอแต่งงานกับเขา เพราะรักกันมาหลายปี ตั้งแต่อยู่เมืองนอก หลวงพ่อเห็นสมควรหรือไม่

อาตมาบอกไม่ทราบไปนั่งกำหนดสติเอาเอง ว่าจะแต่งงานได้หรือไม่ได้มีประโยชน์เหมือนกัน ก็ไปนั่งเดี๋ยวมาบอกก็แล้วกัน หลังจากนั้นเขาก็มาบอกว่าหลวงพ่อถ้าจะไม่ได้แต่งงานเสียแล้ว รู้ได้ยังไง สติบอก บุพเพสันนิวาสไม่ได้แต่งงานกับคนนี้ ผมจะต้องได้ไปแต่งงานกับคนง่อยกำพร้าพ่อแม่ สติบอกได้

ในที่สุดเขาก็กลับไป เขาดีกว่าคนไทย ขอเทียนแพใส่พานดอกไม้ กรวย เขาก็ไปไหว้อธิการขอศีลขอพร ไหว้บ้านเหนือ บ้านใต้ก่อนไป เที่ยวลาคนโน้นคนนี้ คนไทยไม่เอาไหน ขอพรใครที่ไหน สึกแล้วยังไม่ทันไร หนีไปแล้ว ยังไม่ลาพระอาจารย์เสียด้วย จึงไม่ได้รับพร จึงได้มีอายุไม่ยืน

อาตมาก็ให้เขาทำกรวยผ้าไหมให้เขาก็ไปกราบขอพรอธิการของเขายังไม่ทันวางพาน พอเข้าไปอาจารย์บอกว่า วีโก้คุณได้อยู่ต่ออีก ๑ ปี เท่านั้น น้ำตาร่วงเลย เขามีหนังสือยืนยันจากนอรเวย์ กระทรวงกลาโหมให้คุณอยู่ต่อในประเทศไทยได้อีก ๑ ปี อยู่ได้คืนเดียวกลับมาแล้วรายงานให้อาตมาทราบ นี่ด้วยอำนาจบุญกุศล ขอได้ฟังได้พิจารณาด้วยตนเอง เพราะมันเกิดขึ้นแล้วที่นี่ นี่เรื่องของแผ่เมตตาอุทิศส่วนกุศลก็ได้อยู่ต่อ ๑ ปี พอกลับไปก็ไปเป็นทหารแล้วส่งข่าวให้อาตมาเรื่อยมา

อาตมาดีใจอย่างหนึ่ง ทางราชการเคยส่งพวกโรงไฟฟ้าไปดูงานที่นอรเวย์ อาตมาก็จดหมายบอกไป เขาให้พักที่บ้านเลย เปิดโรงไฟฟ้านอรเวย์ให้ดูวันอาทิตย์เลย เขาเป็นหัวหน้าใหญ่ เขาบอกเขารักลูกเขาอย่างไร รักคนไทยอย่างนั้น สามารถจะสงเคราะห์ให้ลูกเขาได้บวชในพระศาสนา เอกอัครราชทูตนอรเวย์มาดูตัวอาตมาที่วัด อยากดูตัว หัวหน้าศาสนาหน่อยไปเอาลูกเขามาบวชได้ยังไง

วีโก้ออกไปจากประเทศไทยไปเป็นทหาร ๑ ปี แล้วไปบรรจุเป็นอาจารย์ที่เดนมาร์ก สอนมหาวิทยาลัยเดนมาร์ก ตอนหลังได้มีโอกาสมาทำวิทยานิพนธ์เรื่องผี เขาให้โอกาส ๓ ปี เลยในที่สุดก็ไปเจอแฟนง่อย แต่งงานกันที่เดนมาร์กเป็นง่อยจริง ๆ กำพร้าพ่อแม่ เป็นอาจารย์สอนภาคภาษาจีนกลางเป็นโรคโปลีโอที่ขา เดินไม่ได้ เป็นตั้งแต่รุ่น ๆ เป็นชาวฟิลิปปินส์ ญาติพี่น้องส่งเรียน มาบรรจุเป็นอาจารย์ที่มหาวิทยาลัยเดนมาร์ก เลยรักกันแต่งงานกัน อันนี้ไม่ต้องหาหมอดู พอมีลูก ๒ คน ก็ได้มาเขียนวิทยานิพนธ์เรื่องผีที่จังหวัดเชียงใหม่ เขียนปีครึ่งจบ พอไปสอนที่เดนมาร์กว่าผีมีจริงมั้ย ที่พ่อเลี้ยงแม่เลี้ยงทางเชียงใหม่ถือผีกันที่ซางดอย มันเป็นประวัติมาอย่างไร เอาไปสอนมหาวิทยาลัยของเขา

เขากลับมาก็พาภรรยามาด้วย เอามาอวดอาตมาว่าเขาได้คนง่อยจริง ๆ ที่กล่าวมาแล้วก็เลยนับถือพุทธศาสนาตามสามีมาจนบัดนี้ แต่เดิมเป็นชาวคริสต์เอาลูกมาด้วยมาค้างที่วัดนี่หลายวัน เดินทางไปเขียนวิทยานิพนธ์เรื่องผีมาจากไหน เป็นอย่างไรเรียกว่าผี แล้วทำไมถึงถือผีอย่างไร ก็เอาไปสอนเดี๋ยวนี้เป็นศาสตราจารย์แล้ว ที่บ้านเขามีโต๊ะหมู่บูชา พระบูชาซึ่งอาตมาส่งไป

พอสมควรแล้ว สำหรับเรื่องของวีโก้ ที่ปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน ที่วัดอัมพวันจนสามารถส่งโทรจิตไปยังญาติพี่น้อง ณ ประเทศนอรเวย์ได้.........
บันทึกการเข้า
ช่างเล็ก(LSV)
Administrator
member
*

คะแนน1346
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 18843


คิดดี ทำดี ชีวิตมีแต่สุข


อีเมล์
« ตอบ #4 เมื่อ: เมษายน 22, 2007, 08:56:56 am »

พิกุลเทพสถิต

 

พระครูภาวนาวิสุทธิ์

P1005

 

            มีแม่ชีคนหนึ่ง ชื่อ แม่ชีก้อนทอง นามสกุล ปานเณร แม่ชีคนนี้เคยไปอยู่มาหลายสำนัก ไปอยู่สำนักปฏิบัติของ หลวงพ่ออ่อน ที่สิงห์บุรี ไปอยู่ที่เขาถ้ำตะโก วันหนึ่งก็มาขออาตมาว่า “พระเดชพระคุณหลวงพ่อ ดิฉันจะขอมาอยู่นั่งกรรมฐานได้ไป” “เอ...โยม วัดนี้ไม่มีสำนักชี แล้วไม่มีกุฏิชีอยู่ จะอยู่ได้หรือ” “กลัวผีหรือเปล่า ถ้าไม่กลัว อยู่บนศาลา มันมีห้องอยู่ทางนี้” สมัยนั้นมันเป็นป่าดงพงไพรมาก แม่ชีผู้นี้อายุก็ประมาณ ๗๐ กว่า ตอนตายก็อายุ ๙๖-๙๗ เพิ่งจะเสียไปเมื่อไม่กี่ปีนี้เอง อาตมาก็ให้อยู่บนศาลา พออยู่บนศาลาก็ให้เดินจงกรม เดินจงกรมแล้วก็นั่ง พองหนอยุบหนอ แล้วตั้งสติเข้าไว้

            ๑ เดือนผ่านไป โยมชีก็ให้อาตมาสอบอารมณ์ให้ทุกวัน ตอนเช้าอาตมาก็ไปสอบอารมณ์ให้ แม่ชีเล่าให้อาตมาฟังว่า “หลวงพ่อฉันจะลำบากเสียแล้ว เทวดามากวน” “เทวดามาทำไม” “มาชวนฉันสวดมนต์” อาตมาก็ให้กำหนดเห็นหนอ พอมาอีกคืนหนึ่ง แม่ชีก็เล่าว่ากำหนดเห็นหนอ ๆ แต่เทวดาไม่ไป ไม่ยอมไป อาตมาถามว่า “เทวดาอยู่ที่ไหน ถามเทวดาซิ” “เทวดาบอกว่าอยู่ที่ต้นพิกุล” “เอ..มาอยู่ได้อย่างไรที่ต้นพิกุล เชื่อไม่ได้” “ถามเทวดาทำไมมาอยู่ที่ต้นพิกุลนี่”  เทวดาก็บอกว่า “โดนสาปมาจากสรวงสวรรค์ ผิดประเวณีนางฟ้า”  เทวดาโดนสาปแล้วให้มาอยู่ที่ต้นพิกุลนี้ ๑๐๐ ปีตรงกับวันที่เท่านั้นเวลา ๙.๔๕ น. ครบ ๑๐๐ ปี อาตมาก็จดไว้ “เทวดามาชวนสวดมนต์ตอนไหน” “ตี ๑๒.๐๑ นาที”

            เทวดาจะมาเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า อาตมาได้ตำราเยอะเลยจากเทวดา นี่ถ้าบ้านไหนมีเครื่องสักการบูชา พระพุทธรูปเปรียบเสมือนประติมากรรม แทนองค์พระพุทธเจ้าแล้ว ถ้าหากว่าตั้งไว้เฉย ๆ เทวดาไม่สิง ถ้าหากว่าสวดมนต์ไหว้พระอยู่ตลอดเวลา เทวดาก็จะมาสิง เรียกว่า เทพ เทวดาบอก แล้วบอกว่าหลวงพ่อโสธรนี่ เทพสิงจึงขลังมาก แล้วพระพุทธรูปที่เสาชิงช้านี่ เอามาตั้งและสวดมนต์ทุกวันก็ยังสิงเลย เทวดาเค้าบอกว่าจะมาเฝ้าพระพุทธเจ้าตอน ๒๔ นาฬิกา แล้วทีนี้เราไปเช่าพระอู่ทองเชียงแสนมาเป็นตุ๊กตา ราคาหลายแสน ถึงเป็นของเก่าก็จริง เจ้าของไม่นำพา ไม่สวดมนต์บ้านนั้นและบ้านนั้นเอาลูกเด็กเล็กแดงมานอนหน้าพระ เทวดาบอกหนีหมด ไม่สวดมนต์ให้ บางบ้านทำห้องพระไว้นอนกันเต็มหมด เทวดาไม่มาสิง ไม่มาสวดมนต์ อาตมานึกว่าคงไม่มีจริง แต่มันเกิดมีจริงขึ้นมาแล้ว อาตมาก็จดไว้เดี๋ยวนี้ยังจดไว้พร้อม

            แล้วบอกแม่ชีให้ถามเทวดาซิ มาอยู่ที่ต้นพิกุลนี่ลำบากลำบนแค่ไหน บอกไปเที่ยวสวดมนต์นี่ มาสวดเฉพาะแม่ชีหรือเปล่า เทวดาบอกทั่วไป บ้านไหนสวดมนต์ไหว้พระนะ เอาใจใส่สวดมนต์ดีทั้งครอบครัว บ้านนั้นจะมีเทวดาเข้าไปสวดมนต์ สวดอะไร “มหาเมตตาใหญ่” บทใหญ่เลย อาตมาได้แต่บทสั้น ไม่ใช่บทยาว เทวดามาชวนสวด ๑ ปี แม่ชีก้อนทองนี้อ่านหนังสือไม่ออก สวดได้หมดเลย เทวดาก็มาบอกแม่ชี บอกกราบเรียนหลวงพ่อวัดนี้ด้วย บอกเทวดาอยู่ต้นพิกุล นี่ผิดประเวณีนางฟ้านะ เอ..เรานึกว่าเทวดาจะไม่โดนทำโทษ โดนนะ เทวดามี ๒ อย่างคือ เทวดาพาล กับเทวดาตรง เทวดาพาลเป็นพวกชอบกินของสังเวย เวลาโจรจะปล้น จะต้องมีบวงสรวงมีหัวหมูไป เทวดาพวกนี้ชอบเข้าข้างพวกโจร เลยอาตมาถามว่าพวกโจรจะปล้นจะทำไง ต้องบวงสรวงนะ มีหัวหมู บายศรี เทวดาก็ส่งทิพยเนตร ไอ้พวกเทวดาพาลก็ว่าพวกเราไปซะหน่อย ไปกินเครื่องสังเวยอย่างนี้ก็มี เทวดายังมีแบบนี้แล้วโลกมนุษย์ทำไมจะไม่มีแบบนี้ มันต้องมี เทวดาตรงไม่กินของใคร เทวดาบอกกับแม่ชีก้อนทองอย่างนี้

            ใกล้จะตี ๑๒ อาตมาก็ย่องไปที่ใต้ถุนศาลา ส้วมบนนั้นไม่มี มีแต่อยู่ห่างไกล กลัวแกจะปัสสาวะรดเราจะตาย เราก็ย่องไป พอตี ๑๒.๐๑ น. แกจุดไม้ขีดแล้วจุดธูปเทียน สวนมนต์เมตตาจริงเทวดาสวด ฟังอยู่เป็นชั่วโมง เทวดาสวดมหาเมตตาใหญ่ จำไว้สวดให้เมตตาประชาชนอยู่เย็นเป็นสุข ถ้าเทวดาพาลไม่สวดบทนี้ เลยให้ถามเทวดาว่าจะกลับจากต้นพิกุลเมื่อไร เทวดาก็บอกว่าพอครบ ๑๐๐ ปี ก็จะกลับ อาตมาจดไว้หมด ดูซิว่า ต้นพิกุลจะเกิดอะไรขึ้นมา เทวดาบอกว่า ถ้าบ้านใครนะ มีเครื่องบูชาพระพุทธรูป สวดมนต์ไหว้พระเป็นประจำเทวดาจะไปสิงสถิต

            อาตมามีตัวอย่างจะเล่าให้ฟัง มีคุณยายคนหนึ่ง ชื่อ แม่นาค อายุ ๘๐ กว่า ตายไปนานแล้ว สมัยเรายังเป็นเด็ก แกเป็นคนจีน อาตมาชอบไปกินขนมเข่งที่เขาไหว้เจ้ากันที่บ้านนั้น ยายนาคคนนั้นก็บอกว่า “ไอ้หนูเอ๋ย พระอั๊วพูดได้ว่ะ..” “อาม้า พระองค์ไหนพูดได้ให้พูดซิ” “มันไม่พูดเดี๋ยวนี้ว่ะ” “มันพูดตอนไหน” “มันพูดกลางคืนว่ะ” แล้วบ้านนี้ไม่มีรั้วเลยนะ มีเรือหม้ออยู่ ๒ ลำ เรือใส่ฟืนสำหรับโยงเรือให้เรือข้าม บ้านนี้มี ๓ ลำ แล้วมีพระสมเด็จวัดระฆัง บ้านนี้จอดเรือโยงหน้าวัดระฆัง ได้พระสมเด็จโตมาเยอะเชียว พอบ่าย ๓ โมง ก็จุดธูปแล้ว คนไทยขี้เกียจบูชาไม่ค่อยรวย        เจ็กรวย พอบ่าย ๓ โมงสวดเลย เราเลยบอกว่าอาม้า “พระอาม้าพูดได้ตอนไหน” “มันพูดกลางคืนไม่พูดกลางวัน” “ทำไมพูดกลางคืนล่ะ” “เวลาขโมยเข้ามามันพูดว่ะ” มันสวดมนต์อั๊วตื่นหมดขโมยเอาอะไรไปไม่ได้ มันเป็นเทวดา ก็ได้ความอย่างนี้

            ในเวลากาลต่อมา แม่ชีก้อนทองสวดมนต์ อาตมาก็ถามสวดยังไง สวดอย่างนี้ อาตมาไม่แน่ใจ ก็ไปซื้อตำรา ถามที่เสาชิงช้าว่า มหาเมตตาใหญ่มีไหม บอกว่าไม่มี อาตมาเลยเข้าไปที่วัดสุทัศน์ฯ ไปหาพระครูปลัด เดี๋ยวนี้เป็นเจ้าคุณไปแล้ว เจ้าคุณอะไรจำไม่ได้เสียแล้ว เป็นพระครูปลัดของ สมเด็จพุฒาจารย์ องค์เก่า (พุฒาจารย์โสม) บอกขอยืมหนังสือพุทธาภิเษก ฉบับ สมเด็จพระสังฆราชแพ จะเอาไปสอบขอยืมวันเดียวครับ เดี๋ยวเสร็จผมจะมาส่ง เลยให้แม่ชีก้อนทองว่าให้ฟัง ๓ ช.ม. จบ ๓ ช.ม. ต่อท้ายมหาพุทธาภิเษกตัวเดียวไม่ผิดเลย อันนี้เชื่อได้ ๘๐ เปอร์เซ็นต์แล้ว

            เมื่อก่อนนี้แกอ่านหนังสือไม่ออก แล้วจะไปท่องได้อย่างไร อาตมายังไม่ได้บทนี้นะ เทวดาสวดบทมหาเมตตาใหญ่ แผ่เมตตา อาตมาจำได้แม่นยำ แล้วรู้ด้วยว่าเทวดาสิงไม่สิง มีเคล็ดลับ เทวดายังบอกอีก บอกคนเรามีเทวดาประจำวันเกิดทุกคน เทวดาวันเกิดออกไปเมื่อไรนะ เทวดาใหม่ยังไม่มา มักจะตาย เห็นหนอมันบอก อาตมาจับได้หลายคนแล้ว บางคนเงาหัวไม่มี ตายแน่ ตายทุกราย เพราะว่าเทวดาเราย้ายไป หากเทวดาองค์ใหม่ยังไม่มาประจำให้ระวังนะ ช่วงจังหวะนั้นระวังนะ มีพระ ๑๐๐ องค์คล้องคอก็ต้องตาย มีเคล็ดลับอันนี้แนะแนวไว้ก่อน มันมีวิธีพิสูจน์ว่า คนนี่มีเทวดารักษาไหม บางท่านไม่ได้คล้องพระเลยปืนยิงไม่ออกนะ ถ้าหากมีคล้องพระไว้โป้งเดียวตายก็มีนะ เทวดาไม่ได้รักษา เทวดาวันเกิดนี่มีทุกคนนะ เห็นหนอบอกได้แต่ยังไม่บอกต้องแนะแนว อันนี้เรื่องจริง

            แล้วเวลากาลต่อมา แม่ชีก้อนทองยังมีเกร็ดพิเศษอีกหลายอย่าง เทวดาบอกไว้ว่าอยากคุยกับเทวดาให้สวดบทเมตตาใหญ่นี้ แล้ววันหนึ่งใกล้วันที่ สมเด็จพระสังฆราช จะเสด็จ ประชุมพระสงฆ์ทั่วราชอาณาจักร วัดพัฒนาตัวอย่างก็เหลืออีก ๑๐ กว่าวันเท่านั้น ก็จะเสด็จแล้ว ๙.๔๕ น. ตอนเช้า อาตมายังอยู่ที่กุฏิ คนเคยมาช่วยทำงานที่นี่อยู่ใต้ต้นพิกุลทั้งนั้น กำลังจะมาปลูกปะรำ เอาผ้าใบขึง ต้นพิกุลเทพสถิตต้นนั้นโค่นสนั่นหวั่นไหว ไม่มีลมเลย ตอนเช้า ๙.๔๕ น.

            อาตมาก็เปิดสมุดบันทึกครบ ๑๐๐ ปีพอดี ต้นพิกุลสูงมาก ล้มลงไปที่โบสถ์ คิดว่าโบสถ์ต้องพังแน่ แต่ไปถึงใกล้หลังคาโบสถ์เกิดล้มไปทางอื่น เทวดาช่วยผลักไปทางอื่น ไม่งั้นต้องช่วยเราสร้างอีก เทวดาต้องเสียเงินให้เรา เทวดากลัวเสียเงินเลยช่วยผลักไปทางอื่น ให้รั้วกำแพงแก้วพังไปแค่นั้น ไม่งั้นอาตมาจะไปฟ้องพระอินทร์ให้เทวดามาช่วยสร้างโบสถ์อยากมาทำทำไม เทวดากลัวเหมือนกันนะ

            เราก็เลยอ่อนใจ ตายจริงขวางทางรถพระประเทียบต้องเข้าทางนี้ พระเณรช่วยกันเลื่อยก็ไม่ค่อยเข้า ไม่พิกุลเลื่อยยากเลื่อยเป็นท่อน ๆ เดี๋ยวนี้หายกันหมดแล้ว มันเกิดศักดิ์สิทธิ์เขาว่าโคนยังอยู่ เอาไปทำยาได้ ใครมาก็ลักเอาไป ๆ เลยเอาไปเรียงไว้ข้างศาลา เทวดายังบอกอีกว่าที่นี่จะเกิดอะไรขึ้นมา ก็จริงตามที่เทวดาบอก ๑. อะไร ๒. อะไร เกิดหมดแล้ว ในวัดจะต้องเป็นอย่างนี้ ๑-๒-๓-๔ แล้วตรงนี้จะเกิดหอประชุมขึ้นมาจริง จด มันเรื่องจริงทั้งนั้น

            ต่อมาแม่ชีก้อนทองก็มีสำนักขึ้น ก็ให้แกลงจากศาลา สร้างสำนักให้อยู่ อีกวันหนึ่งอาตมาจะต้องไปเชียงราย ออกตี ๑ ไม่ได้บอกแกหรอก แกแก่แล้ว อาตมาก็ไปตี ๑ กะไปฉันเพลที่เชียงราย พอตี ๑ ก็ออกจากที่วัด ถึงเชียงรายประมาณ ๙ โมงเช้า พอตอนเช้ามีชีเด็ก ๆ ก็บอกจะมาลาอาตมา แม่ชีก้อนทองบอกไม่ต้องไปลา หลวงพ่อไปตั้งแต่เมื่อคืนตี ๑ แล้ว ยายรู้ได้ไง เทวดาบอกข้า มีประโยชน์เห็นไหม แล้วทีนี้อาตมาไปจะไปค้างเชียงรายสัก ๓ คืน พอไปค้างได้คืนเดียวนึกถึงงานวัดได้ต้องกลับก่อน พอกลับมาถึงนี่ก็ดึกแล้ว พอตอนเช้าแม่ชีก้อนทองบอกกับแม่ชีอีกว่า หลวงพ่อมาตั้งแต่เมื่อคืนแล้ว จะไปลาก็ซะ ยายรู้ได้ไง เทวดาบอก คุยกับเทวดาได้ก็ดีเหมือนกัน อย่าไปพูดคนเดียวนะ คนอื่นเขาจะว่าเอา ก็ลำบากเหมือนกัน อันนี้หมายถึงเทวดา

            อาตมาได้ความรู้ก็สรุปได้ว่า พุทธกิจ ๕ ประการ* เป็นความจริงยังใช้ได้ เทวดาก็จะไปสวดมนต์ตามบ้านเวลาตี ๑๒ แน่นอน เทวดายังบอกต่อไปว่า บ้านไหนเครื่องบูชาพระไม่สะอาด แล้วหน้าโต๊ะหมู่พระ คนนอนเกะกะอยู่ เทวดาจะไม่เข้าไปในนั้นแน่นอน บ้านไหนหมั่นสวดมนต์ เทวดาจะสวดมนต์ให้พรทุกคืน

·      พุทธกิจ ๕ ประการ  (งานของพระพุทธเจ้าประจำวัน)

๑.       เช้าโปรดสัตว์ บิณฑบาต

๒.      เย็นทรงแสดงธรรมโปรดมหาชน

๓.      ค่ำโอวาทสั่งสอนพระภิกษุสงฆ์

๔.      เที่ยงคืน แก้ปัญหาเทวดา

๕.      ใกล้รุ่ง ตรวจดูอุปนิสัยเวไนยสัตว์ที่จะเสด็จไปโปรดในวันใหม่

 

********************
บันทึกการเข้า
ช่างเล็ก(LSV)
Administrator
member
*

คะแนน1346
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 18843


คิดดี ทำดี ชีวิตมีแต่สุข


อีเมล์
« ตอบ #5 เมื่อ: พฤษภาคม 27, 2007, 08:14:16 pm »

ปกิณกธรรม

พระราชสุทธิญาณมงคล

P11012

 

            วันนี้เป็นวันพระแรม ๑๔ ค่ำ เป็นวันสิ้นเดือนอ้าย เป็นเดือนขาด เราก็คิดว่าเป็นวันพระใหญ่ ข้อเท็จจริงก็เหมือนกันทุกวันพระ จะเดือนขาดหรือเดือนเต็มก็ตาม แต่ปัญหาอยู่ที่ว่า เราแสวงหาพระไว้ในใจ ทำใจให้สบาย ทำใจให้เป็นปกติด้วยการเจริญกรรมฐาน เจริญกุศล ตั้งสติโดยการเจริญสติปัฏฐาน ๔ ดีที่สุด ไม่มีอะไรจะดีกว่าการเจริญสติปัฏฐาน ๔ อีกแล้ว ก็คือ บำเพ็ญ ศีลภาวนา ต้องการให้มีสติสัมปชัญญะ

          คำสอนของพระพุทธเจ้าตั้ง ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ ก็ย่อให้เราแล้ว พระองค์แสวงหาตั้ง ๖ ปี ที่เสด็จออกบรรพชา กว่าจะสำเร็จสัมโพธิญาณ พระองค์ได้รวมตำรับตำรามาให้เราแล้ว แต่ทำไมเราเอาไปทิ้ง เราไม่ต้องไปหาที่ไหนอีกแล้ว และไม่ต้องไปเหนื่อยยากแสวงหาโมกขธรรม แต่พระพุทธเจ้าท่านทรงเหนื่อยยากพระวรกายและจิตใจเพื่อแสวงหาความดีในวิชานี้เอามาแก้ทุกข์ เอามาเพื่อแก้ไขปัญหาชีวิต พระองค์ทรงรวบรวมตำรับตำราให้เราไว้ครบถ้วนขบวนการ ต้องการให้เราทั้งหลายได้อยู่เย็นเป็นสุข ปราศจากทุกข์ แล้วทำไมเราเอาไปทิ้งล่ะ ธรรมะของพระพุทธเจ้าท่านก็ให้เราครบถ้วนทุกอย่าง คือ ศีล สมาธิ ปัญญา ถ้าใครมีแล้วก็มีพระประจำใจ มีพระประจำกาย มีพระประจำครอบครัว มีแต่ความสุขในเรื่องประกอบกิจหน้าที่การงาน ไม่มีทุกข์ ไม่มียาก ไม่มีความลำบากแต่ประการใด จะประกอบอาชีพค้าขายหรือทำอะไรก็ดีหมด พระพุทธเจ้าท่านสอนทุกแง่คิด สอนให้เรามีสติปัญญาเฉลียวฉลาด สามารถในการปฏิบัติชอบทุกประการ

          เมื่อวันพระก่อน เทศน์เรื่อง ฆ่าความโกรธ วันพระต่อมาเทศน์เรื่อง ขันติ ความอดทน วันนี้จะบอกสรุปอานิสงส์คือขันติ เมื่อวันพระที่ผ่านมาที่เทศนาไปแล้ว ท่านได้รับฟังแล้วว่าวิธีฆ่าความโกรธทำอย่างไร ก็คือการเจริญกรรมฐาน ฆ่าอะไรก็ไม่เท่าฆ่าความโกรธในตัวเอง ถ้าเราฆ่าความโกรธในตัวเองออกได้ คนนั้นก็จะมีความสุขไม่มีทุกข์ มีแต่ปัญญา ในด้านอกุศลกรรมก็จะไม่มีแก่บุคคลนั้น วันพระต่อมาเทศน์เรื่องขันติ ความอดทน จะอดทนได้อย่างไร ก็ด้วยการเจริญกรรมฐาน กำหนดจิตทำให้มีความอดทน แต่ผู้ปฏิบัติธรรมไม่ได้ทำอย่างนั้น ไม่ได้อดทนเลย มีเวทนาก็เลิกแล้ว เลิกปฏิบัติ จิตฟุ้งซ่านก็เลิก ไม่มีการกระตือรือร้นในการปฏิบัติธรรมแต่ประการใด แล้วมันจะได้อะไรหรือ จะไม่ได้อะไรแน่นอน

          การเจริญวิปัสสนากรรมฐาน นั้นก็คือ การเจริญสติปัฏฐาน ๔ ทางสายเอกนี่เอง กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน กายจะเดิน จะนั่ง จะนอน เหลียวซ้าย แลขวา คู้แขน เหยียดขา ตั้งสติไว้ ในเมื่อมีสติดีอยู่ในกายอย่างนี้ ก็เรียกว่าเรามีพระประจำกายแล้ว ไม่ใช่เอาเครื่องรางของขลังมาแขวนคอ แล้วก็เรียกว่ามีพระประจำกาย ไม่ใช่ แต่แล้วเรามีสติดีในการยืน เดิน นั่ง นอน เหลียวซ้าย แลขวา คู้แขน เหยียดขาในตัวของตนเอง จิตก็เป็นกุศล ภายในก็มีพระประจำใจ จิตใจของท่านก็จะประเสริฐ จิตใจท่านก็ล้ำเลิศ แสดงขันติความอดทนได้แน่นอนออกมาอย่างนี้ซิ แสดงไปแล้วเมื่อวันพระก่อนนี้

          เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน นั้นเราก็จะได้รู้ว่ามีสติกำหนดเวทนาได้ มันจะเกิดขึ้นในตัวเรา จะดีใจหรือเสียใจก็กำหนด ตั้งสติไว้ได้ หรือระยะหนึ่งไม่มีสุข ไม่มีทุกข์ ไม่มีความดีใจเสียใจ จิตใจก็ว้าเหว่ จิตใจก็ออกไปนอกประเด็น เพราะมันไม่ได้คิดอะไร จิตใจก็ลอยออกไป เรียกว่า อุเบกขา เวทนาก็ต้องมีสติกำหนดอยู่ตลอดรายการอย่างนั้น ปวดเมื่อยก็กำหนด เสียใจก็กำหนด โกรธก็กำหนดไว้ ตัวกำหนดนี่เป็นตัวกำชะตากรรมในชีวิตของเราไว้ดีมาก  ตัวกำหนดก็ตัวตั้งสติ ตัวมีบำเพ็ญศีล ตัวบำเพ็ญสมาธิของตนเองไปโดยอัตโนมัติภายในตัวของมันเอง ตัวแก้ปัญหาก็ตัวสติ ตัวสัมปชัญญะก็คือตัวรู้ รู้จริงในร่างกายและสังขาร รู้รูป นาม ขันธ์ ๕ เป็นอารมณ์ รู้เหตุผลที่ควรจะแก้ควรจะไม่แก้ ควรจะตัดควรจะเติม ควรจะต่อ ขาดเติม เกินตัดนั่นสัมปชัญญะ คือตัวรู้นี้แปละมันเข้าไปในหลักนี้คือเวทนา เราจะได้รู้ว่ามันปวดเมื่อยอย่างไร ไม่สบายใจอย่างไร ดีใจตรงไหน ถูกต้องตรงไหนประการใด ต้องกำหนดที่ไหนเสียใจกำหนดที่ลิ้นปี่ หายใจยาว ๆ กำหนดให้ลึก ๆ หายใจลึก ๆ เดี๋ยวท่านจะหายเสียใจ หายฟุ้งซ่าน คิดไม่ออกก็กำหนดตรงนั้น เดี๋ยวกำหนดไปกำหนดมา มันก็จะคิดออกมาอย่างนี้เป็นต้น และเมื่อคิดออกได้แล้วเราก็ดำเนินงานต่อไป แต่ผู้ปฏิบัติไม่ได้ติดตามผลงานอย่างนี้ ไม่ได้ปฏิบัติ ปล่อยตามเรื่อง ปวดศีรษะก็ไม่กำหนด เสียใจก็ไม่กำหนด จิตใจออกไปฟุ้งซ่านก็ไม่กำหนด ปล่อยตามเรื่องตามราว น่าเสียดายปล่อยไปตามยถากรรม จะไม่ได้ผลจะไม่ได้อานิสงส์แต่ประการใด นี่คือความหมายของ จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน จิตต้องเป็นธรรมชาติ คิดอ่านอารมณ์ รับรู้อารมณ์ไว้ได้เป็นเวลานานเหมือนเทปบันทึกเสียง มันก็เหลวแหลกแตกความคิดเรื่องโน้นเรื่องนี้ แต่ปัญหามันอยู่ที่ว่าเอาสติตามคิด เอาสติตามไปดูว่ามันคิดเรื่องอะไร กำหนด คิดหนอ คิดหนอ กำหนดตรงไหน กำหนดที่ลิ้นปี่ก็ทำความเข้าใจลิ้นปี่ด้วยนะ เอาเชือกวัดจากจมูกไปถึงสะดือแล้วก็พับครึ่งนั้นแหละลิ้นปี่แล้ว

          คนที่โกรธง่าย คนที่โมโหเก่งนี่ใจร้อนหายใจสั้น มันไม่ทันคิดเหนือใต้อะไรเลยนะ ลุกลี้ลุกลน จะไม่มีทางที่จะคิดที่ดีได้ จะคิดไม่เป็นเรื่องเป็นราว คิดออกมาผิดทั้งนั้นไม่มีสติปัญญา ที่จะเข้าไปสู่จุดมุ่งหมายอันนี้ เช่น ยืนหนอ ๕ ครั้ง นี่สอนให้มันถูกหน่อย ตั้งแต่ศีรษะลงปลายเท้า ตจปัญจกกรรมฐาน เกสา โลมา นขา ทันตา ตโจ ตโจ ทันตา นขา โลมา เกสา โดยวิธีปฏิบัติภาษาไทยไม่ต้องใช้บาลี ก็เลยเอาสติกำหนดตรงนี้ ยืน....หนอ ถ้าไม่เข้าใจทำรุ่นใหม่ก็ให้เว้นวรรคที่สะดือ ยืน....ถอนหายใจที่สะดือ แล้วก็ หนอ ลงไป แล้วยืนจากเท้า มโนภาพสำรวมขึ้นมาถึงสะดือ ถอนหายใจแล้วก็หนอลงไป ทำได้แล้วไม่ต้องถอนหายใจ ทำความเข้าใจด้วยบางทีไปสอนผิด บางทีไปถอนหายใจเรื่อยจนกระทั้งเข้าใจแล้ว ถ้าเข้าใจแล้วไม่ต้อง ยืน...หนอ ไปถึงเท้า หนอมันจะคล่องขึ้น สติมันจะอยู่กับจิตตลอดรายการ อย่างนี้สิ บางคนที่ทำไม่ได้แล้วก็กลับบ้าน แล้วยังไม่ได้ ๕ ครั้ง โดยมโนภาพ บางทีทำไม่ได้เลย จะมาแลกเปลี่ยนอะไรกันก็ไม่ทราบ ถ้าทำได้แล้วมันจะคล่องแคล่วว่องไว มันจะเกิดทัศนศึกษาโดยวิสุทธิ จะเกิดความบริสุทธิ์ขึ้น สติก็ดี ปัญญาก็เกิด จะรอบรู้ในกองการสังขาร จะแก้ปัญหาได้ทุกทิศทาง มันจะออกมาอย่างนี้เป็นต้น และ พองหนอ ยุบหนอ นี่ ขอเจริญพรว่าหายใจยาว ๆ บางคนทำไม่ได้จนกระทั่งกลับ พองหนอ ยุบหนอ กลับไปพองขึ้นยุบลง ๆ บางคนไป พองหนอ ยุบหนอ ที่ลิ้นปี่ คนละเรื่องกันแท้ ๆ เอาไปสอนกันมาให้มันพองที่ท้องให้ได้ ไม่ใช่ว่าพองหนอ ยุบหนอ แล้วท้องก็ไม่พอง ไม่ยุบ อันนี้ขอเน้นตรงนี้ให้มาก ขอฝากไว้ บางคนก็ไป พองหนอ ยุบหนอ ตรงลิ้นปี่ มันคนละเรื่องกัน อันนี้สำหรับโกรธ กำหนดเสียใจ หรือหายใจสั้น ผูกพยาบาท ผูกความโกรธ ผูกเคียดแค้น ต้องกำหนดที่ลิ้นปี่ให้หายใจยาว ๆ กำหนดต่างหาก ไม่ใช่พอง ยุบ มันคนละเรื่องกัน

          ถ้ากำหนดพองหนอ ยุบหนอ ก็ให้หายใจยาว ๆ เดี๋ยวมันก็พองแล้วก็หนอ ยุบหนอพอดี ถ้าหากว่าทำได้อย่างนี้ มันกำหนดยาว ๆ พอง ๑ ส่วน หนอ ๓ ส่วน เป็น ๔ ส่วน ก็ออกไปได้ชัดมาก บางคนกำหนดไม่ได้ จนกระทั่งกลับออกจากวัดไปก็ทำไม่ได้ อันนี้ขอเน้นนะ อย่างไรท่านก็ต้องทำให้ได้อย่างนี้ เดินจงกรมพยายามเดินให้ช้า ๆ หน่อย ขอเตือนพวกครู อาจารย์ ไปสอนกันให้ช้าและต้องดูที่ปลายเท้า อย่าไปเหลียวซ้าย แลขวา ดูเหนือดูใต้ และไปหลับตาเดินไม่ได้ ต้องดู มันเมื่อยก็กำหนดเวทนา มันจะปวดก็กำหนดเวทนา เป็นต้น นั่งก็เช่นเดียวกัน มีคิดอะไรก็กำหนดคิด เห็นนิมิตอะไรขึ้นมาอย่าไปดู กำหนดเห็นหนอ เสียอย่าไปสนใจดูนิมิตเครื่องหมาย มันเป็นเครื่องที่ไม่เป็นนิสัยปัจจัยในเรื่องฌาน ว่าอันนี้จะเกิดขึ้น มันจะได้ตั้งอยู่ มันจะได้ดับไป สภาวรูปที่มันเปลี่ยนแปลงมาทำให้เราหลอนสมอง มันจะหลอนไปก็ต้องกำหนดเสียอย่างนี้ เป็นต้น

          นี่แหละ การเจริญกรรม๘นต้องทำให้เราอดทน ลบเรื่องตนออกจากนี้ได้ อดทน อดกลั้น ทนต่อความเจ็บใจได้ด้วย เพราะทุกคนเราเห็นหรือในตัวเอง เช่น กราบไหว้พระพุทธรูปก็ดี อย่าลืมระลึกถึงว่าอนุสาวรีย์นี้แหละ คือผู้เป็นยอดแห่งความอดทน และเราจะสวดมนต์ไหว้พระนึกถึงความอดทน คือกรรมฐานนี้ทำให้อดทน ทนตรากตรำทนลำบากได้ เราจะต้องโอปนยิโก คือน้อมนำเอาพระคุณความดีที่มีอยู่ในพระองค์ท่านคือพระพุทธเจ้า ที่ท่านสอนเรานั้นอันเป็นรูปธรรมอยู่ในพระองค์มาประพฤติ ปฏิบัติสวมใส่ไว้ในตัวเรา นี่เป็นรูปธรรม คือ รูปธรรมะ คือ ภาวนารูปที่เรียกว่าพระประจำกาย คือปรับปรุงแก้ไขนิสัยตัวให้มีความเข้มแข็งเข้าไปภายใน เรียกว่า เปลี่ยนแปลงนิสัย อดทนต่อการศึกษา การประกอบกิจเลี้ยงชีพ การฝึกซ้อมจิตใจให้เยือกเย็นเพราะการปฏิบัติตนเช่นนี้ เป็นวิถีทางแห่งความสวัสดี เกิดขึ้นจากการนั่งกรรมฐาน มันจะเป็นวิถีทางที่เกิดความสวัสดีให้แก่ชีวิตนี้ เพราะขันติที่กล่าวไว้เมื่อวันพระก่อนนั้น แปลว่า ความอดทน เป็นธรรมะที่มีอานุภาพมากมายนัก ชาวโลกที่ประสบความสวัสดีมีชัยล้วนต้องอาศัยธรรมะข้อนี้ ส่วนผู้ไม่ประพฤติปฏิบัติธรรมะข้อนี้ก็รังแต่จะตกต่ำ การเจริญกรรมฐานจำทำให้มีธรรมะขันติแน่นอน

          ถ้าเจริญกรรมฐานแล้วจะรู้ว่าความทุกข์เกิดจากอะไรหาคำตอบได้ ความทุกข์เกิดจากการตามใจตนเอง ถ้านักปฏิบัติกรรมฐานตามใจตนเอง เมื่อยเลิก อะไรก็เลิกหมด ไม่อดทนอะไรเลย นี่แหละความทุกข์เกิดจากตามใจตนเองทั้งนั้น คนที่ไม่ตามใจตนเอง ฝืนใจตนได้ มีความอดทนจะสามารถแก้ปัญหาชีวิตได้ มีความหมายอย่างที่กล่าวไว้วันพระก่อนแล้วนั่นแหละ ความทุกข์ของคนเราเกิดจากการตามใจตัวเองตลอด อาตมาก็กล่าวมานานแล้ว ผู้หญิงที่น่าเกลียดคือผู้หญิงที่ตามใจตัว ผู้ชายที่น่ากลัวคือผู้ชายที่ไม่รู้จักเกรงใจคน คนที่ตามใจตัวเองไม่ต้องมาเจริญกรรมฐาน ไม่ได้ผลอย่างแน่นอน ตั้งใจจะเดินจงกรม ๑ ชั่วโมง นั่ง ๑ ชั่วโมงเลิกแล้ว นี่แหละคนตามใจตัวเอง จะไม่สามารถกู้ชีวิตให้เป็นความสวัสดีในใจได้

          ถ้าพิจารณาถึงความทุกข์ยากลำบากในโลกที่มวลมนุษย์ประสบพบพานอยู่ทุกยุคทุกสมัยแล้ว ล้วนเกิดจากการตามใจตัวเอง ยอมตนให้ตกอยู่ภายใต้อิทธิพล เหมือนอย่างท่านมานั่งกรรมฐานตามใจตนเอง ปวดเลิกแล้ว จิตฟุ้งซ่านก็เลิก ตามใจตัวเองตลอด อยู่ภายใต้อิทธิพลของชีวิตนั่นท่านจะหาความสุขความเจริญไม่ได้ ชนะใจไม่ได้ นี่แหละตามภายใต้อิทธิพลของกิเลสความชั่วร้าย บางครั้งมาในรูปต่าง ๆ ที่เรียกว่า ผีบ้าง ปีศาจบ้าง พญามารบ้าง ซาตานบ้าง จะมาในรูปไหนก็ตาม ชื่อว่าความชั่วร้ายทั้งสิ้น ผู้ที่ปล่อยตัวให้ตกอยู่ในอำนาจของความชั่วนั้นเพราะขาดขันติความอดทน ไม่มีขันติเป็นฐานรองรับชะตาชีวิตของท่าน จึงอาภัพตลอดกัลปาวสาน

          แต่ในทางตรงกันข้าม ผู้ใดมั่นอยู่ในคุณธรรมข้อนี้ คือ ขันติตั้งอยู่ เจริญกรรมฐานตายเป็นตาย ถ้าท่านมีคุณธรรมในข้อนี้แล้วรับรองว่าต้องเจริญแน่นอน ถ้าเป็นพระสงฆ์องค์เจ้าหรือแม่ชี หรือเป็นฆราวาสทั้งหญิงชายเจริญแน่นอน คนยากจนจะตั้งตัวได้ คนมีฐานะดีอยู่แล้วไม่ล่มจม เรื่องวิวาทบาดหมาง เช่น ฆ่าอาฆาตไม่มีโอกาสเกิดขึ้นได้เลย จะไม่เกิดขึ้นในตัวท่าน บ้านเมืองจะร่มเย็นเป็นสุข ยิ่งกว่านั้นผู้ที่มั่นอยู่ในคุณธรรมข้อนี้ยังมีผลให้ไปสวรรค์ ทั้งเป็นรากฐานให้ถึงนิพพานอีกด้วย

          อาตมาเมื่อสมัยโบราณเป็นเด็ก เดินไปเรียนหนังสือระยะทาง ๑๑ กิโลเมตร ต้องเดินไปมาตั้ง ๒๐ กว่ากิโลทุกวัน แสนจะยากลำบากจริง ๆ ยานพาหนะก็ไม่สะดวกในสมัยนั้น บางคราวฝนตก บางคราวหนาว บางคราวร้อน และต้องประสบกับความเมื่อย ปวดหัว กระหาย ความเจ็บไข้ บางครั้งอาตมาไปโรงเรียนไม่มีข้าวกินเลย สตางค์ก็ไม่มี นี่อาตมาขึ้นมาด้วยตนเอง ไปอยู่โรงเรียนวัดบางพุทรากลับมาถึงบ้านมืดทุกวัน ตี ๔ ก็ต้องเตรียมตัวเดินทาง บางครั้งก็ห่อข้าวไปห่อหนึ่ง ปลาทูตัว ปูเค็มตัว จำได้ ด้วยความหิวกระหายเหลือเกิน ความเจ็บไข้ความคร่ำเคร่งในการดูตำราอุปสรรคต่าง ๆ เหล่านี้ จะขอสตางค์ยายขอแม่แค่ ๑๐ บาท ๑๐๐-๒๐๐ ก็ขอยาก ซื้อเครื่องลูกเสือ ขอ ๑๐๐ ให้ ๑๐ บาท ต้องอดทนต่อความยากลำบาก นี่แหละชีวิตของอาตมาล้วนต้องอาศัยความอดทนทั้งสิ้น เดินบนถนนลูกรังจากถนนสายลพบุรี ไม่ใช่ราดยาง กว่าจะได้จักรยานสักคัน ต้องอดทนทุกประการ บางครั้งดื่มแต่น้ำตลอดวันยังค่ำ พอประทังชีวิตด้วยความอดทนต่อการศึกษาของอาตมา ชีวิตของอาตมาแร้นแค้นตลอดมา ต้องอดทน อดทนต่อสิ่งยั่วยวนกวนใจอันเป็นทางก่อให้เกิดการเสียสุขภาพอนามัย บางคนสูบบุหรี่ สุราเมรัย ฝิ่น เฮโรอีน มวย ม้า การพนัน ตลอดจนการเที่ยวเตร่จนติดเป็นนิสัย

          อบายมุขเหล่านี้แหละทำให้เสียการเรียน อาตมาผ่านมาหมดแล้วท่านทั้งหลาย นี่แหละมาศึกษาประวัติของอาตมาบ้าง ว่านี่ต้องอดทน ต้องการเรียนจริง ๆ

          อนึ่งการรักในวัยเรียน มันก็เคยผ่านมาแต่ก็เลวที่สุดแล้วนับว่าเป็นมารอย่างร้ายกาจ โดยเฉพาะผู้ที่อยู่ในวัยนี้ควรระวังให้จงหนัก คือ พ่อ แม่ ระวังดูลูกวัยรักวัยเรียน วัยรกวัยสกปรก ยาเสพติด จงอย่าชิงสุกก่อนห่าม อย่าไปลอง บอกลูกหลานระวังให้มากที่สุด จงยับยั้งชั่งคิดชั่งใจถึงอนาคตตลอดไป

          ชีวิตของอาตมายังไม่สิ้นหวัง ยอดนักรบก็ต้องชนะจิตใจตนเอง คือ ไม่ปล่อยใจให้ตกไปเป็นทาสของความชั่ว อาตมาโดยมาด้วยตนเอง โรงเรียน ๘ โรงเรียนอยู่หมด แต่ไม่ได้จบเลยสักโรงเรียนเดียว ก็ขอฝากไว้ แต่ก็ยังดี มาตั้งใจศึกษาเล่าเรียนในทางธรรม ถึงหาไม่ได้เป็นดอกเตอร์ แต่เขาก็เอาปริญญาเอกมาถวายได้ถึง ๓ สาขาแล้ว เราก็ดีใจขอนุโมทนา ท่านทั้งหลายอย่าปล่อยใจให้ตกไปเป็นทาสของความชั่ว มาเจริญกรรมฐานดีที่สุด สามารถจะกำจัดความชั่วได้ ในเมื่อนักเรียนลูกหลานักศึกษาใช้ความมานะอดทนเข้าประกอบเช่นนี้แล้ว จะทำการศึกษาวิชาการทุกชนิดก็สำเร็จได้ดังใจหวัง ขอฝากท่านทั้งหลายไว้ ความอดทนต่อกิจการตั้งตัวอีกประเด็นหนึ่ง ความอดทนกับความตั้งตัวสอนผู้ที่จะตั้งตัวเป็นหลักฐานมั่นคง สิ่งสำคัญคือความอดทนอันเป็นผลให้เกิดการประหยัด บางท่านอยากร่ำรวย แต่ผิดหวังเพราะนิสัยสุรุ่ยสุร่าย จ่ายง่าย ใช้เปลือง ไม่รู้จักเก็บหอมรอมริบ มีความเป็นอยู่ที่เรียกว่าวันนี้เพื่อวันนี้ วิถีชีวิตมืดมนไร้ความหวังจัดว่าเป็นผู้ฆ่าตัวเองแท้ ๆ พฤติกรรมเช่นนี้ก็ให้เกิดอาชญากรรมต่าง ๆ มีจี้ปล้นเป็นต้น

          บางท่านเข้าใจผิดคิดโทษเวรโทษกรรม โทษเทวดาฟ้าดิน ญาติพี่น้องว่าให้โทษ คอยกีดกันอย่างนั้นอย่างนี้ ทำตัวไม่ดีกลับมองไม่เห็น ยิ่งไปกว่านั้นบางรายไปบนบานศาลกล่าวต่อเทวดาอารักษ์สิ่งศักดิ์สิทธิ์เพื่อขอลาภผล หรือทำอยู่กับบ่อนการพนัน เพื่อให้รวยทางใจ ผลสุดท้ายต้องล่มจมเพราะการพนัน ท่านว่าคนที่คอยพึ่งโชคชะตาราศีนั้นย่อมไม่ผิดอะไรกับราชสีห์ที่ทำด้วยหินที่เขาตั้งไว้หน้าปราสาท แม้เขาได้ส่อแสดงให้เห็นว่าเป็นอยู่แต่เพียงร่างแต่ไม่มีจิตใจหรือใช้อำนาจกำลัง จะสู้กับอุปสรรคปัญหาเป็นการปล่อยชีวิตไปตามยถากรรมเช่นเดียวกับสวะในแม่น้ำลำธาร ซึ่งล่องลอยไปตามกระแสน้ำไปใช้การบังคับทั้งนั้น คนประหยัดต้องมีความอดทน ต้องตัดการใช้จ่ายที่ฟุ่มเฟือยไม่จำเป็นออกเสีย นับตั้งแต่อาหารการบริโภคต้องระวัง ซึ่งตั้งใจให้เงินไปเท่าที่จำเป็นไม่ต้องไปกินกุ้ง กินปลาอะไรที่เขาเลือกกันพอจะมีอะไรกินได้ก็กินเข้าไป อย่ากินทิ้งกินขว้าง ได้ครึ่งเสียครึ่ง อย่าได้ตกเป็นทาสของความอยากเป็นอันขาด แม้ในเรื่องอื่น ๆ เช่นการแต่งตัว การเที่ยวเตร่การพักผ่อนหย่อนใจก็เช่นกัน ก็ควรจะมีการประหยัดทุกกรณี อย่าทะเยอทะยานเอาอย่างคนร่ำคนรวยเขา เข้าทำนองว่า ช้างขี้ขี้ตามช้าง

          หากทุกคนตั้งใจกำจัดนิสัยฟุ้งเฟ้อสุรุ่ยสุร่ายกลับตัวเป็นคนประหยัด ฝึกหัดตัวเอง กลัวจน ต้องประหยัด กลัววิบัติต้องเลิกทำชั่ว อันนี้ฝากคติธรรมไว้ด้วย อีกข้อหนึ่งขอให้มีความอดทนต่อการครองรักครองเรือนภายในครอบครัวระหว่างสามีภรรยา รู้จักยับยั้งชั่งใจ รู้จักถนอมน้ำใจกันอย่าทะเลาะกัน อาตมาขอบิณฑบาตตั้งแต่นานแล้ว หนักนิดเบาหน่อยให้อภัยกันระหว่างสามีภรรยา มีปัญหาอะไรเกิดขึ้นก็ค่อยพูดค่อยจาพาทีกัน ถ้าเป็นผู้เจริญกรรมฐาน ต้องอดทน ภรรยาว่าอย่างไรสามีต้องนิ่ง สามีว่าอย่างไรภรรยาก็อดทนนิ่ง ต่างคนต่างนิ่งอดทนดูสิจะมีเรื่องราวไหม พูดดีเข้าใจง่าย พูดร้ายเข้าใจยาก ถ้าพูดดี ๆ เพราะ ๆ เอาอกเอาใจกันนะ เจ้าคะ เจ้าขา วาจาดีมันจะทะเลากันไหม จะไม่ทะเลาะกันเลย สามีก็เอาใจภรรยาด้วย ภรรยาเขาก็เหนื่อยยากต้องเอาใจลูกเอาใจผัวหาอาหารให้รับประทาน สามีก็ต้องเห็นใจเขาบ้าง สามีเห็นใจภรรยาต่างคนต่างเห็นใจกันมีปัญหาอะไรเกิดขึ้นก็ค่อย ๆ พูดจากันหาเหตุผลหาต้นหาปลายตกลงกันด้วยสันติวิธี ด้วยการเจริญกรรมฐาน โกรธหนอ โกรธหนอ ถ้าสามีด่าภรรยาก็บอกว่า โกรธหนอ โกรธหนอ อย่าด่าฉันหนอ อย่าด่าฉันหนอ เพราะฉันนั่งกรรมฐานหนอ ฉันไม่โกรธหนอ และต้องเอาอย่างนี้นี่แหละตกลงกันด้วยสันติวิธีดีกว่า อย่าเอาแพ้ชนะกันเลย วิธีการอย่างนี้ทำให้บรรยากาศในครอบครัวอบอุ่น สามีภรรยาจะได้อบอุ่นใจ และถ้าภรรยานั่งเจริญกรรมฐานได้แล้วแผ่เมตตา สามีเขาจะชอบสาวแก่แม่หม้ายก็โปรดอนุโมทนาร่วมกัน อย่าไปหึงไปหวงเลย พวกไปหึงไปหวงนี่ไม่ใช่นักกรรมฐานจะไม่อบอุ่นในครอบครัว เขาจะชอบใครก็อนุโมทนาทำได้ไหม ถ้าทำได้ขออนุโมทนาด้วย

          ชาวพุทธที่แท้ต้องทำอะไรบ้าง ต้องไม่ตกเป็นทาสของความโกรธ จะว่ากล่าวสั่งสอนใครก็กล่าวแต่โดยดี มีเมตตาปรารถนาประโยชน์สุขเป็นที่ตั้ง คราวเกิดเรื่องกัน เกิดชังกันยอมแพ้เสีย ถ้ามีเรื่องยอมแพ้กันต่างคนต่างยอมแพ้เสียข้างหนึ่ง เรื่องจะยุติลงได้ การยอมแพ้นั้นในสายตาของทางโลกอาจหาว่าเป็นคนที่ขี้ขลาดตาขาว แต่ในสายตาของนักปฏิบัติธรรมกลับให้เกียรติว่าเป็นผู้ชนะดังที่ท่านว่า แพ้เป็นพระชนะเป็นมาร แพ้แบบพระชนะแบบมาร ชาวพุทธที่ดีแท้ต้องรู้จักให้อภัยซึ่งกันและกัน เพราะการให้อภัยเป็นการให้ที่ลงทุนน้อย แต่กำไรมากมาย การให้อภัยจัดเป็นทานชั้นยอด เหนือกว่าทานใด ๆ ผู้ที่มีน้ำใจให้อภัยเป็นนิตย์ ย่อมมีชีวิตสูงค่าซึ่งชาวโลกเรียกว่าพระผู้ใจประเสริฐ หรือในด้านหนึ่งเรียกว่า อภัยทาน เป็นเภสัชขนานเอกที่จะไถ่ถอนความอาฆาตพยาบาทจองเวรให้หลุดพ้นจากจิตใจได้ เพื่อให้ชีวิตประสบสุขสมหวัง ฉะนั้นสามีภรรยาจึงควรฝึกฝนตนเองให้รู้จักอภัยแก่กันด้วยการเจริญกรรมฐาน แผ่เมตตาให้กัน การให้อภัยจะเกิดได้ง่ายย่อมต้องอาศัยขันติความอดทน การกำหนดเวทนากรรมฐานอดทนทุกด้าน เป็นรากฐานแห่งกรรมฐาน ขันติมีประโยชน์มากมายดังกล่าวมา จึงขอเชิญท่านอุบาสกอุบาสิกาทั้งหลาย เจริญกรรมฐานได้ช่วยกันปลูกขันติธรรมให้งอกงามไพบูลย์ในอาณาจักรของจิตใจอย่าได้หยุดยั้ง จงบำเพ็ญกุศลให้สมความมุ่งมาดปรารถนา ก็ชี้แจงแสดงมาพอสมควรแก่เวลาแล้ว ขอทุกท่านพุทธบริษัท ทั้งบรรพชิตและคฤหัสถ์ อุบาสก อุบาสิกาโดยทั่วหน้ากัน จงประสบแต่ความสุขความเจริญ ให้อภัยไม่มีแพ้ไม่มีชนะแก่ท่านผู้ใดแล้ว ขอสร้างตนให้เป็นความสุขอย่างกลาง ๆ ให้อภัยโทษให้อภัยทาน หนักนิดเบาหน่อยให้อภัยซึ่งกันและกัน ไม่มีเรื่องตลอดไปจนกระทั่งตาย อยู่ด้วยขันติวิธีเจริญรุ่งเรืองวัฒนาสถาพรโดยทั่วหน้ากัน ขอทุกท่านจงเจริญไปด้วย อายุ วรรณะ สุขะ พละ ปฏิภาณ อำนาจ และสมบัติ นึกคิดสิ่งหนึ่งประการใดสมความมุ่งมาดปรารถนาด้วยกันทุกรูปทุกนาม ณ โอกาสบัดนี้เทอญ.

 

          วันพระครั้งนี้ได้มีบริษัทห้างหุ้นส่วน จำกัด ที่ท่านเคยมาโดยคุณโยมดาวเหลียง รัศมีเจริญ และครอบครัว ญาติทั้งหลาย ดังที่ทายกทายิกาสร้างพรมปูศาลาหอประชุม พร้อมด้วยเครื่องพุ่ม พุ่มนี้ก็หลายปีมาแล้วก็ไม่ได้เปลี่ยน คุณโยมดาวเหลียงก็ยังทำบุญประจำเดือนทุกเดือน สามหมื่นถึงสี่หมื่นบาท เป็นค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าอาหารการบริโภคให้ผู้ปฏิบัติธรรม พระสงฆ์องค์เจ้า โดยไม่ได้หวังผลตอบแทนใด ๆ  ก็ขออนุโมทนาแก่คุณโยมดาวเหลียงด้วย อาตมาเหมือนกันชอบทำบุญ ปีนี้ก็เจริญพรว่าตั้งแต่ปี ๓๙ ไม่นับเรื่องเงินก่อสร้าง ได้ให้ทุนการศึกษาทั้งในประเทศทั้งนอกประเทศ ๒๔ ล้าน รวมกับที่ถวายสมเด็จพระเทพฯ เพื่อพระราชทานให้มูลนิธิชัยพัฒนา ๗,๕๐๐,๐๐๐ บาท เราสวดธรรมจักรทุกวันที่ ๙ ของเดือนตลอดมา ถวายวัวในหลวง ๒๐๐ ตัว ถวายรถจิ๊ปสมเด็จพระเทพฯ เพื่อทรงอนุเคราะห์ตำรวจตระเวนชายแดน ๑ คัน ล้านกว่าทั้งเครื่องอุปกรณ์ทั้งหมด ทุกอย่างรวมแล้วล้านห้าหมื่นบาท ถวายทุนไปช่วยเด็กชายแดน ๓,๓๐๐,๐๐๐ ไปถวายสมเด็จพระเทพฯ มาเมื่อสองวันมานี้

          พี่น้องที่รักทั้งหลายเพียงตั้งใจเราก็ได้บุญแล้ว ตั้งใจจะสวดธรรมจักร ๒ ปี เพื่อถวายในหลวง ก็ได้มีผู้มาร่วมทำบุญถึง ๗ ล้าน หม่อมเจ้าสุภัทรดิศ ดิศสกุล หม่อมอรพินท์ทราบข่าวมาว่า หลวงพ่อจะไปถวาย ท่านก็มาร่วมบริจาค ๑,๓๐๐,๐๐๐ บาท ได้ถวายผ่านสมเด็จพระเทพฯ แล้วโดยให้เฝ้าเป็นการส่วนพระองค์ แล้วรุ่นก่อนเราก็ไปบริจาคให้โรงพยาบาลมูลนิธิสมเด็จย่าทั้งหมด ๒-๓ แสน

          อาตมารู้สึกดีใจมากที่เราไปรับช่วยสร้างศูนย์เวฬุวัน ขอนแก่น ๓ ครั้ง สร้าง ๓ ปีเสร็จ อบรมเด็กได้แล้ว ๒-๓ ร้อยคน ศาลาราคา ๕.๕ ล้าน ก็จะเสร็จ ทอดกฐินก็มีพญานาคมาช่วยเรา เพราะว่าข้างศูนย์นั้นมีบ่อ มีถ้ำพญานาค ฝนตกมาน้ำไหลลงบ่อไม่มีเต็ม เข้าไปในถ้ำพญานาค ไปอยู่โน่นหนองคาย แม่น้ำโขง ท่านได้ช่วยเราตลอดมา

          ท่านทั้งหลาย จะทำบุญนี่อยากให้สมใจ ปีนี้จะสร้างส้วม ๑๐๐ ห้อง อยากจะทำให้สบายใจไม่มีเงินไม่เป็นไร เดี๋ยวรอที่พึ่งที่อื่นได้ อาตมามีแต่ให้ มีแต่ช่วยเท่านั้น อาตมาซื้อที่ ๒๑ ไร่ ให้เขาทำถนนเดินกันเข้าศูนย์ปฏิบัติธรรม ดร. อำนวย วีรวรรณ อดีตรองนายกรัฐมนตรีก็ช่วยราดยางให้เสร็จแล้ว รพช. เขาก็ช่วยทำถนน ชาวบ้านดีอกดีใจ นักเรียนบางโรงเรียนที่อยู่มหาสารคามที่ติดยาเสพติด ได้เข้ามาปฏิบัติที่ศูนย์นี้แล้ว

          อาจารย์ดาวเรือง ศิริลักษณ์ สอนพระพุทธศาสนาที่อุทัยธานี เคยเป็นคริสต์ ต่อมา ผอ.ให้สอนวิชาพระพุทธศาสนา มาปฏิบัติกรรมฐานที่วัดนี้ กลับไปสอนได้ดีมาก อาตมาช่วยทำห้องจริยธรรมให้เด็ก ม. ๑ ถึง ม.๖ สวดมนต์ไหว้พระที่อุทัยธานีไปถามดูได้

          อาตมามีแต่ให้ ยิ่งให้ยิ่งได้ ยิ่งหวงยิ่งอด หมดก็ไม่มา เราไม่หวง เราไม่อด หมดก็มาเรื่อย ๆ อาตมาไปขอนแก่นมา เอาเงินที่มีอยู่ในย่ามนิดหน่อยไปสร้างธนาคารข้าวสาร โยมคณะกรรมการจะเห็นด้วยไหม อาตมาลงไปนี่เทย่ามให้เลย มีเท่านี้เอง แสนกับหมื่นหนึ่งตั้งธนาคารข้าวสาร ธนาคารเก็บข้าวก็จะได้ไว้เลี้ยงกัน อาตมาชอบให้ ชอบเลี้ยง เหมือนแขกมาบ้านเราก็ต้องเลี้ยงอาหาร เมื่อสมัยโบราณอาตมาเป็นเด็กต้องยกเชี่ยนหมากก่อน กล่องยาสูบกล่องบุหรี่นี่คนโบราณ เอายามามวนเส้นยังจำได้ แล้วก็ตักน้ำให้แขกที่มาบ้านเรา ถ้าได้เวลากินข้าวต้องหาข้าวเลี้ยงอย่าให้บอก ถ้ามาตอนเช้าก็เลี้ยงอาหารเช้า มาตอนกลางวันก็เลี้ยงอาหารกลางวัน มาตอนเย็นก็เลี้ยงอาหารเย็น นี่คนไทย เดี๋ยวนี้คนไทยประเภทนี้หายไป เห็นแก่ตัวกันมากขึ้น เวลาไปบ้านเขาละเขาต้อนรับ เวลาเขามาบ้าน...ไม่ดูหน้าดูตาเลย ไม่รู้ไม่ชี้ ไม่ได้มีการต้อนรับขับสู้ดูความงามแต่ประการใด คนไทยขาดประเพณีไทย พระพุทธเจ้าสอนให้ช่วยต้อนรับโอภาปราศรัย พระบางวัดบางองค์นี่ไปฉันบ้านเขาบ่อย เขาถวายบ่อย แต่เวลาเขามาวัดตัวเองไม่เคยทักเลย ผ่านหน้ากุฏิยังไม่ทัก มีหลายแห่งเท่าที่ไปเห็นมา องค์นี้เคยไปกินข้าวบ้านเขาบ่อย เขาผ่านมาน่าจะทักสักคำ โยมมาธุระอะไรหรือ มาอย่างไร ให้เขาชื่นใจ ทักทายปราศรัยกันหน่อยก็จะชื่นใจนะ

          ขอญาติโยมที่ร่วมทำบุญกุศลอยู่ขณะนี้ โปรดอนุโมทนาสาธุการ โยมดาวเหลียง ยังมีเจตนาดีเป็นมหากุศล ทั้งครอบครัวบุตรหลาน และบรรดาญาติทั้งหลาย ที่มีส่วนร่วมอนุโมทนาสาธุการในโอกาสนี้ด้วย ขออำนาจคุณพระศรีรัตนตรัย บุญกุศลทั้งหลายโปรดประทานพร ขอให้ทุกท่านจงเจริญรุ่งเรืองในธรรมสัมมาปฏิบัติในหน้าที่ทุกท่าน และทุกท่านเจริญไปด้วย อายุ วรรณะ สุขะ พละ ปฏิภาณธนสารสมบัติ นึกคิดสิ่งหนึ่งประการใดสมความมุ่งมาดปรารถนาด้วยกันทุกรูป ทุกนาม ณ โอกาสบัดนี้เทอญ

๗ มกราคม ๒๕๔๐
 

บันทึกการเข้า
ช่างเล็ก(LSV)
Administrator
member
*

คะแนน1346
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 18843


คิดดี ทำดี ชีวิตมีแต่สุข


อีเมล์
« ตอบ #6 เมื่อ: พฤษภาคม 27, 2007, 08:16:49 pm »



พระราชสุทธิญาณมงคล ๑ ธันวาคม ๒๕๔๒
ขออนุโมทนาสาธุการแก่บรรดาญาติธรรม ผู้ปฏิบัติธรรมในพระพุทธศาสนา สร้างความดีถวายเป็นพระราชกุศลบรมบพิตรพระราชสมภารเจ้า ในช่วงจังหวะเวลาอันสมควรเช่นนี้ การปฏิบัติธรรม 7 วัน 7 คืน เพื่อหาเส้นทางของชีวิตให้ได้ การมาสร้างความดีถวายเป็นพระราชกุศลนั้นน้อยคนจะระลึกได้ ทำกันโดยที่ว่าแลกเปลี่ยนกันเท่านั้น สร้างความรู้ก็หามีไม่ ไปทำบุญตักบาตรวัดโน้นวัดนี้ ทัวร์บุญกันมากหลายแล้วก็ว่าได้บุญ ข้อเท็จจริงไม่ใช่ น่าจะเดินเส้นทางของชีวิตให้ถูกต้อง สร้างความดีของใครของมันให้เกิดปัญญาให้ได้ ในเมื่อเกิดปัญญาแล้วถึงจะเกิดข้อคิดในเส้นทางของชีวิตได้ ความเป็นอยู่ของชีวิตก็จะดีขึ้น จะเป็นประโยชน์แก่ตัวเองมาก

วันนี้อาตมาจะพูดในเรื่องการพัฒนาภูมิปัญญาของพระพุทธเจ้าที่สอนเรา ให้เราต่ออายุตรงไหนบ้าง การเจริญกรรมฐานเป็นการแก้ปัญหาชีวิตได้อย่างไร ทำไมไม่แก้ให้ตรงกับปัญหา ไปแก้ปัญหาด้วยการหาพระสะเดาะเคราะห์ เด็กรุ่นใหม่เรียนปริญญาโทปริญญาเอกก็ยังเชื่อเรื่องแบบนี้ เป็นที่น่าเสียดายเวลาที่มีประโยชน์มากที่สุด
 
เส้นทางชีวิตนี่ของใครของมันนะญาติโยม เราจะไปเดินเส้นเขาก็ไม่ได้ ต่างคนต่างเดิน แต่ก็ทำงานร่วมกันได้ หาความถูกต้องเอามาอย่าหาความถูกใจ ก็คือใช้หลักธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้า ทำงานร่วมกันได้แน่นอน แต่เราก็หาความถูกต้องร่วมกันยังไม่ได้ น่าเสียดายที่เราไม่เข้าใจตัวเราเองและเข้ากับใครเขาไม่ได้ น่าจะปรับตัวได้แล้ว เหมือนอย่างรับประทานอาหาร รสเปรี้ยวหวานมันเค็มไม่เหมือนกัน ก็สามารถรับประทานร่วมวงเดียวกันได้ ต่างคนต่างเติม ถ้าเรามีธรรมะของเส้นทางชีวิตถูกต้องแล้ว จะไม่มีปัญหาเลย
 

การเจริญพระกรรมฐานเป็นบทความของชีวิต คือเส้นทางของชีวิตแท้ๆ ต่างคนต่างเดิน เดินคนละเส้นทาง แต่ทำไมหนอจึงไม่ใช้หลักธรรมดำเนินวิถีชีวิตเล่า พระพุทธเจ้าสอนเน้นเรื่อง ภูมิ เป็นอันดับแรก คือกรรมฐานนี่เอง กรรมฐานทำให้คนเกิดปัญญา พิจารณาละเอียดอ่อนด้วยปัญญา ยกตัวอย่างปัญญาของคนโบราณ สร้างศาลาการเปรียญสำหรับทำบุญและเรียนหนังสือ ไม่มีฝา ลมเข้าทั้งสี่ด้าน ไม่ร้อน บ้านทรงไทยมีห้องรับแขก เรียกว่าหอนั่ง เป็นที่โล่งไม่มีฝา ลมเข้าทั้งสี่ด้านเย็นสบาย คนละสมัยกับปัจจุบันนี้ นี่คือภูมิปัญญาของคน

เมื่อสมัยอาตมาเป็นเด็ก เขามีงานกันจะให้พวกสาวๆ ที่มาช่วยงานนอนในห้อง พวกผู้ชายนอนข้างนอก เพราะผู้หญิงเวลานอนหลับไม่มีสติเป็นภาพที่ไม่น่าดู พระพุทธเจ้าท่านละเอียดอ่อนมากได้กำหนดพระวินัย เวลาพระจะจำวัดให้เข้ากุฏิ ไม่ให้นอนข้างนอกเป็นอาบัติโทษ ต้องจำวัดที่มุมบังให้เรียบร้อย ถ้าหากว่าพระท่านเจริญกรรมฐาน ไม่ใช่พระบวชใหม่ จะหลับก็กำหนดพองหนอยุบหนอ ตั้งสติไว้แล้วหลับไปด้วยกัน จะรู้ภายในเลยว่าพลิกตัวกี่ครั้ง แต่ภายนอกไม่รู้

ผู้ปฏิบัติกรรมฐานทำให้ได้หน่อยได้ไหม หายใจยาวๆ ค่อยๆ จับว่าจะหลับตอนไหน ก่อนจะหลับมันจะเผลอ มันจะเพลิน เพลินแล้วเผลอแวบไปเลย จับไม่ค่อยได้ ถ้าเรามีสติครบวงจรจะจับได้ เพลินก่อนแวบดับลงไป มันจะดิ่งลงไป ข้างนอกไม่รู้ อายตนะ ธาตุ อินทรีย์ไม่รับสัมผัส แต่ข้างในรู้ จะพลิกตัวกี่ครั้งก็รู้ ถ้าจิตตกกังวลเอาจิตมาตั้งไว้ที่ลูกกระเดือก หายใจยาวๆ ถ้าสมาธิดีจะหลับทันที หลับแล้วจิตจะเลื่อนลงไปที่พองยุบ มันจะบอก และข้างในรู้หมด แต่ข้างนอกไม่รับสัมผัส

ถ้าสติยังไม่พอ แต่สมาธิดี กำหนดพองหนอ ยุบหนอ มันจะวูบไปตอนพอง ถ้าวูบไปตอนยุบแสดงว่าสติใช้ไม่ได้เลย เวลานอนให้กำหนดไปเรื่อยๆ ตั้งสติไว้ครบวงจร ถ้าทำได้สักครั้งได้หมด กำหนดยืนหนอ 5 ครั้งก็เหมือนกัน ถ้าทำได้สักครั้งได้หมด

เรานั่งฝึกกำหนด พองหนอ ยุบหนอ ก่อนจะนอน ถ้ากำหนดพองหนอ ยุบหนอได้จังหวะแล้ว จิตออกจะรู้ ถ้าไม่ได้จังหวะจิตออกจะไม่รู้เลย บางทีกำหนดพองหนอ ยุบหนอ จิตไปคิดถึงคนโน้นบ้าง คนนี้บ้าง จิตหนึ่งก็พองหนอ ยุบหนอ อีกจิตหนึ่งก็คิดไปเรื่อยๆ เราทราบหรือไม่ว่าจิตออกไปตอนไหน ถ้าขาดสติจะจับไม่ได้ ถ้าสติดีครบวงจรจะจับได้เลย

การเจริญสติปัฏฐานสี่ทำให้จิตมีสติได้มาก ถ้าสมาธิมากกว่าสติ กำหนดพองหนอ ยุบหนอ จิตออกไปแล้ว พองหนอ ยุบหนอ มันจะเพลิน สติน้อยนี่จะเพลิน เพลินแล้วจะเผลอตัว เผลอแวบเดียวจิตออกไปคิดแล้ว จิตหนึ่งก็ยังอยู่ ผู้ปฏิบัติต้องสังเกตตรงนี้ ถ้าหากว่าเราสติดีครบวงจร จิตจะออก มันจะเพลินก่อน แวบไปแล้ว ถ้าขาดไม่ติดตามนะ ไม่กำหนดรู้หนอนะ รับรองจิตพองหนอ ยุบหนอ จิตหนึ่งคิด หลายอย่างรวมกันเลยในเวลาเดียวกัน สมาธิดี แต่สติไม่เกิด คิดตั้ง 5-6 อย่างรวมเป็นอันเดียว อย่างนี้ใช้ไม่ได้

เมื่อนั่งแล้วมานอน ถ้าสติครบวงจร หลับจะรู้เลยว่าหลับตอนพองหรือตอนยุบ มันจะบอกทันที มันจะเพลินนะ เพลินแล้วตั้งสติไว้ มันก็จะไม่หลับ พอสติครบวงจร แวบ พองหายไปเลย แล้วจะไม่รู้ข้างนอก ตา หู จมูก ลิ้น จะไม่รับสัมผัส จะไม่รับแขก แขกที่มาเยือนเราคือ รูป เสียง กลิ่น รส ปิดประตูแล้ว แขกไม่มา แต่อายตนะภายในรู้แน่ รู้ข้างในว่าเราจะพลิกตัวกี่ครั้งรู้หมด และตั้งสัจจะว่าข้าพเจ้าจะตื่นตีสี่ พอถึงตีสี่ปับสัมผัสทันที หูจะสัมผัสก่อน ขอให้ผู้ปฏิบัติจับไว้ให้เป็นหลัก จะรู้ได้เลย ถ้าผู้ปฏิบัติไม่สังเกต ปล่อยไปตามอัธยาศัย ถึงเวลาก็เดินจงกรมแล้วก็นั่ง ไม่มีทางที่จะรู้รายละเอียด จะไม่เข้าใจด้วย
 
การพัฒนาปัจจุบัน หมายถึงเรามานั่งกรรมฐานพัฒนาความรู้ รู้เวทนา รู้กายในกาย รู้เวทนาในเวทนา กายใน กายนอก มันปวดเมื่อยเหลือเกิน กำหนด ปวดหนอ ปวดหนอ กายนอกปวดมาก ที่เราต้องกำหนดเพื่อจะรู้กายใน เรียกว่ากายทิพย์ คือกายที่มีรูป นาม ขันธ์ห้า เป็นอารมณ์ มีสติครบวงจร พอมีสติดีแล้วจะรู้เลยว่า เวทนานี่ เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป จิตก็คลายอุปาทาน ไม่ยึด กายปวดจะหายไปเลย เพราะเราไม่ได้ไปจับมัน อันนั้นเป็นสมถะ ไม่ใช่วิปัสสนา พอเรารู้จริงแล้วเป็นพระไตรลักษณ์ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา พระไตรลักษณ์ก็คือวิปัสสนา รู้เหตุการณ์ที่เกิดขึ้น รู้ของจริง ของจริงเรียกว่าวิปัสสนา ของไม่จริงคือการศึกษา เรียกว่าสมถะ ถือบัญญัติ เป็นอารมณ์ ถ้าเราจับได้นะ มีสติครบ เรียกว่า กายในกาย
 

เวทนาในเวทนาคืออะไร ปวดหนอ ปวดหนอ กำหนดไป อย่าเลิกนะ ปวดหนอเป็นสมถะ ถือบัญญัติเป็นอารมณ์ ความปวดเป็นอารมณ์ แต่เวทนาบังคับไม่ได้ มันเกิดเอง บังคับมันไม่ได้จะทำอย่างไร ก็ตั้งสติไว้ ปวดหนอ ยิ่งปวดหนัก อย่าหนี ศึกษาต่อไป พอศึกษาพบของจริงแล้ว เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป เป็นพระไตรลักษณ์ อนิจจังเอ๋ยไม่เที่ยงเป็นทุกข์ จับทุกข์เป็นอนัตตา อนัตตาแปลว่าศูนย์ เป็นความจริงแล้ว ก็เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป ไม่มีอะไรคงที่ คงวา คงศอก นั่นคือพระไตรลักษณ์ รูป นาม ขันธ์ห้า เป็นอารมณ์ พระไตรลักษณ์เป็นวิปัสสนา

ที่เราเดินจงกรมนี่เป็นสมถะทั้งนั้น ขวาย่างหนอ ยึดบัญญัติเป็นอารมณ์ ซ้ายย่างหนอ เป็นสมถะ พอจับจิตได้ จิตมีกี่ดวง จิตขวาและจิตซ้ายเป็นคนละดวงแล้ว เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป พอขวาย่างหนอ จิตนี่ดับ ซ้ายย่างหนอ จิตเกิดใหม่แล้ว อ๋อ ขันธ์ห้า รูปนามเป็นอารมณ์ แยกรูปแยกนามได้ถึงจะเป็นวิปัสสนา ผู้ปฏิบัติต้องเข้าใจแยก ถ้าแยกได้ถึงจะรู้ว่าอะไรเป็นอะไร

ถ้าเราแยกรูปนามกันไม่ออก จะไม่รู้ว่าดีหรือชั่วเป็นประการใด ถ้าเราแยกออกจะรู้ว่าดีหรือชั่ว นั่นคือรูปนามขันธ์ห้าเป็นอารมณ์นั่นเอง อะไรเป็นรูป อะไรเป็นนาม เสียงเป็นอะไร หูเป็นอะไร คนละอันแท้ๆ เรากลับรับเสียงไม่ดีเข้ามา ถ้าจิตดีมีปัญญา จะไม่เอาเสียงชั่วมาไว้ในใจ จะไม่เก็บความโกรธไว้ในใจเลย ถ้าเกิดโกรธขึ้นมาทำอย่างไร กำหนดโกรธหนอที่ลิ้นปี่ กำหนดให้ได้ เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป ความโกรธหายไปเลย เป็นการขัดเกลากิเลสของตนที่มันเกิดขึ้น ณ บัดนี้ เป็นข้าศึก เป็นศัตรูของเราอย่างชัดเจน

การปฏิบัติกรรมฐานเป็นการกำจัดศัตรูที่เกิดขึ้นมาในตัวเราให้เบาบางลงไป ถ้าผู้ปฏิบัติทำได้นะ นี่ปวด เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป เท่านี้เองนะ ถ้าแยกไม่ได้ มันจะปวด รู้จริงถึงจะเป็นพระไตรลักษณ์ รู้ไม่จริงเป็นอัตตา หาได้เป็นอนัตตาไม่ จะเป็นพระไตรลักษณ์ได้อย่างไร ในเมื่อเป็นพระไตรลักษณ์ไม่ได้มันก็ต้องปวดอย่างนี้ทุกครั้ง เพราะเวทนาอยู่เป็นประจำ

กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน กายในกาย จับกายภายในให้ได้ทั้งนอกทั้งใน เวทนาในเวทนาคือจิตนี่เอง ไม่ไปยึดอุปาทาน เรียกว่าในเวทนา จิตในจิต จิตมีความคิด จิตมีปัญญา ปัญญาในตัว ปัญญาภายนอก นี่คือจิตในจิต จิตเป็นธรรมชาติต้องคิดอ่านอารมณ์ รับรู้อารมณ์ไว้ได้เป็นเวลานานเหมือนเทปบันทึกเสียง ไม่มีตัวตนให้คลำ เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป จิตมีตั้ง 121 อารมณ์ ถ้าจับได้ เป็นจิตในจิต

ตัวอยากคือเจตสิก อยากดื่มน้ำ อยากทานอาหาร เจตสิกอาศัยหทัยเดียวกันเกิด มีหลายอย่าง ถ้าเรารู้จิตในจิตเกิดขึ้น คือเจตสิก ตัวหทัยอยากหยิบมันก็เป็นตัวอยาก ถ้าเราตั้งสติดีแล้ว รู้หยิบน้ำไปดื่ม ตั้งสติไว้ จิตในจิตก็เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และก็ดับไป จิตเป็นธรรมชาติและกระแสไฟดังที่กล่าวมา
 
 
 

ธรรมในธรรม กุศล อกุศล กุศลคืออะไร อกุศลคืออะไร จะบอกออกมาชัดเจนมาก นั่นแหละเป็นภาคปฏิบัติโดยเฉพาะ ถ้าผู้ปฏิบัติไม่เน้นตรงนี้ จะไม่รู้อะไรเลยนะ จะผ่านไปอย่างน่าเสียดาย เห็นด้วยปัญญาเสียหน่อยได้ไหม สมาธิดี สติดี จะรู้ เข้าใจ ตัวรู้นั้นรู้จริง เข้าใจจริง แปลว่า รู้กาละ เทศะ กิจจะลักษณะ เป็นภูมิปัญญา

อาตมากล่าวอยู่เสมอ คิดหนอกำหนดตรงลิ้นปี่นี่ หายใจยาวๆ ถ้าหากว่าสติครบวงจร จะคิดออกมาเลย แปลว่าคิดออกมาได้ด้วยวงจรโดยอ่านหนังสือไม่ต้องมีตัว มันจะไหลออกมาทันที เรียกว่าตัวปัญญา ปัญญารอบรู้สิ่งที่เคยรู้ สิ่งที่ไม่เคยรู้ สิ่งที่เคยรู้ที่จะต้องแก้ไขปัญหา คิดหนอ รู้หนอที่ลิ้นปี่ เมื่อสมัยอาตมาคอหัก สติอยู่ที่ลิ้นปี่ มันอยู่ตรงนี้ แต่อาตมาไม่รู้ว่าปากพูดหรืออะไรพูด มันไม่รู้สึก แต่รู้สึกขึ้นมาตรงที่ลิ้นปี่ ผู้ปฏิบัติอย่าทิ้งตรงนี้นะ

เมื่อเกิดความโกรธกำหนดโกรธหนอ โกรธหนอ ที่ลิ้นปี่ พยายามอย่าฝากความโกรธความแค้นเคืองไว้ มันจะเป็นอารมณ์ค้าง ตอนเช้าจะไม่เกิดประโยชน์เลย ต้องแก้ไขขณะปัจจุบัน เรียกว่าภูมิปัจจุบัน

ถ้าเสียใจ เราปล่อยความเสียใจไว้มันจะเน่า เขาเรียกว่าสิ่งแวดล้อมเสีย พระพุทธเจ้านี่ยอดเลยสอนสิ่งแวดล้อม ต้องบำบัดน้ำเน่าในหัวใจก่อน นี่คือกรรมฐาน เป็นภูมิปัญญาที่กำจัดสิ่งแวดล้อมเสียในตัวออก พูดกับฝรั่งต้องพูดตรงนี้ นี่แหละพระพุทธเจ้าสอนชัด สิ่งแวดล้อมคืออะไร กำจัดน้ำเน่าออกจากหัวใจเสียให้ได้ ความเสียหายของชีวิต โลภ โกรธ หลง เป็นน้ำเสียที่หัวใจ มันเน่า แถมริษยาอีก ถ้ากำจัดน้ำเน่าตรงนี้ออกได้ อย่างอื่นดีหมด นี่คือกรรมฐาน

ญาติโยมทำกรรมฐานอย่าหวังผลไปสวรรค์นิพพาน เอาพื้นฐานนี่ก่อนได้ไหม บางคน เสียงหนอ มึงด่ากูหรือ วิ่งออกไปเลย พูดอยู่แค่นี้ยังไม่พอ จะออกไปฟังให้ใกล้ๆขึ้นอีก โกรธหนอ โกรธหนอ มึงด่ากูหนอ กูจะต้องตบมึงก่อนหนอ ถ้ากำหนดได้จะมีไปตบเขาไหม จะมีเรื่องไหม กำจัดน้ำเน่าออกเสีย

กรรมฐานทำให้เกิดปัญญา ปัญญาแปลว่ารอบรู้ทุกอย่าง รู้สิ่งที่มีประโยชน์และไม่มีประโยชน์ รู้กาละ เทศะ กิจจะ ลักษณะ รู้จักเด็ก รู้จักผู้ใหญ่ รู้สิ่งที่เป็นไปได้ตามความเป็นจริง รอบรู้อย่างนั้น และรู้บาป รู้บุญ รู้คุณ รู้โทษ อย่างนี้เรียกว่าตัวปัญญาพื้นฐาน

เห็นหนอ เห็นด้วยปัญญา อย่าไปเห็นด้วยกิเลส ถ้าเราขาดสติปัญญาจะเห็นเป็นกิเลสหมด จะมองคนในแง่ร้าย จะไม่มองคนในแง่ดีเลย ถ้าเรามีปัญญาดี สติครบวงจร 80% จะมองคนดีหมด จะไม่มองคนในแง่ร้าย เพราะทุกคนที่นั่งนี่มีดีทั้งหมด ไม่ใช่มีเสียทั้งหมด ถ้าคนมีจิตดีจะมองคนในแง่ดีก่อน ถ้าจิตเสีย จิตเน่า จะมองคนไม่ดีหมด

พระพุทธเจ้าสอนให้เกิด ภูมิรู้ อันดับหนึ่ง การเจริญกรรมฐานเป็นการศึกษาความรู้ รู้เส้นทางของชีวิต อ่านตัวให้ออก บอกตัวให้ได้ ใช้ตัวให้เป็น จะได้เห็นตัวตาย จะได้คลายทิฏฐิ จะได้ดำริชอบ จะได้ประกอบกุศล ได้ผลอนันต์ เป็นหลักฐานสำคัญ เอาตราชั่งขึ้นมาดู เอาตราชูขึ้นมาชั่ง ไม่ใช่มานั่งกรรมฐานไปสวรรค์นิพพานนะ

การเจริญกรรมฐานไม่มีทางจบ ไม่ใช่วิชาการ ถ้าใครบอกจบก็เป็นพระอรหันต์ จะบังอาจเกินไป เรียนความรู้วิชาการจบตามหน่วยกิตเท่านั้น แต่ความดีให้กันมันมีหมดหรือ มันไม่มีทางหมด ถ้าพูดประสบการณ์กับปัญหาต่างๆไม่มีทางจบ มันเป็นหน่วยกิตของชีวิต

ภูมิรู้เกิดจากการดำเนินกิจกรรมของคนที่ต้องสร้าง 4 ประการ ได้แก่
1. 1. สิ่งที่ต้องเรียนให้รู้
2. 2. สิ่งที่ต้องละความชั่วทั้งหมด
3. 3. สิ่งที่ทำให้แจ้งถึงใจ
4. 4. สิ่งที่ต้องพัฒนา


กิจกรรมทั้งสี่ประการนี้เป็นกรรมฐานเบื้องต้น เรียกว่าภูมิรู้ เมื่อมีภูมิรู้แล้วสามารถแสดงพฤติกรรม ให้คนอื่นเขาเห็นได้ แยกความดี ความชั่วออกไป แล้วแสดงให้คนอื่นเขาเห็น ด้วยการเดิน ยืน นั่ง นอน คู้เหยียด เหยียดขา คนอื่นเขาเห็นดีชั่วประการใด จะบอกได้ชัดเจน พฤตินัย แปลว่าประสบการณ์ด้วยตนเอง เรียกว่าเส้นทางของชีวิตนำมาเขียนเป็นวิทยานิพนธ์ได้ สอนอนุชนรุ่นหลังต่อไป เรียกว่าพฤตินัย นี่คือกรรมฐานทั้งนั้นเลย แล้วทำไมแยกไปสวรรค์ ไปนิพพาน น่าจะปฏิบัติพื้นฐานนี้ให้ได้ก่อน
 

อาตมาพูดอยู่เสมอว่า เดินตามกฎจราจรของชีวิต เรียกว่าเส้นทางของชีวิต ถึงจะถูกต้อง จะเกิด 5 ภูมิ ได้แก่ ภูมิรู้ ภูมิธรรม ภูมิฐาน ภูมิปัญญา และภูมิปัจจุบัน

ภูมิรู้ ได้แน่นอน เรียกว่ากิจกรรมต้องสร้าง แสวงหาความรู้ทุกอย่าง ต้องละทุกอย่าง ละแล้วยังไม่พอ ต้องทำให้แจ้งถึงใจ เรียกว่ากายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต ธรรมในธรรม นั่นคืออะไร ทำให้แจ้ง รู้แจ้งด้วยตนของตนเอง รู้แจ้งในอริยสัจสี่ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค หาเหตุที่มาของทุกข์ได้ และดับทุกข์ได้ด้วย รู้จริง รู้เข้าใจ รู้แจ้งแทงตลอดในสัจธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้า

แจ้งถึงใจนี่เป็นปัจจัตตัง ของใครของมัน อย่าไปเอาความรู้ของคนอื่นมา เป็นทิฏฐิมานะของคน จริตของคนไปเอาของเขามาไม่ได้ ความรู้เรียนทันกันได้ แต่โดยนิสัยปัจจัยเรียนทันกันไม่ได้ เป็นกฎแห่งกรรมจากการกระทำของตน ทำให้แจ้งถึงใจได้จากการนั่งกรรมฐาน รู้เฉพาะตัวของท่านเอง คนอื่นไม่รู้หรอก นี่แหละท่านจะแก้ไขปัญหาของท่านได้เอง

ความรู้เรียนทัน เป็นดอกเตอร์ด้วยกันได้ จะเรียนวิชาอะไรก็ตาม คณิตศาสตร์ หรือ วิทยาศาสตร์ หรือ รัฐศาสตร์ จะเรียนวิชาไหนได้เหมือนกัน แต่ความดีของตัวเองที่จะแก้ปัญหาของชีวิตได้ไม่เหมือนกัน ต้องฝึกเอง ปฏิบัติเอง คือความดีส่งเสริมวิชาการให้ดีขึ้น เรียกว่าความรู้คู่กับความดี เป็นการพัฒนาภูมิรู้

ภูมิรู้คู่ความดีคือพัฒนาธรรม ภูมิธรรมเกิดขึ้นแล้ว ภูมิฐานก็เกิดขึ้น ฐานะจะดีมีปัญญา จะแก้ไขปัญหาได้ มีภูมิธรรมแล้วเกิดอะไร ที่แก้ไขปัญหาได้เพราะมีภูมิปัญญา ภูมิปัญญาเกิดขึ้นแล้วจะเกิด ภูมิปัจจุบัน เอาปัจจุบัน อดีตเป็นความฝัน ปัจจุบันเป็นความจริง อนาคตไม่แน่นอน ที่ผ่านมานี่เป็นความฝันทั้งหมด อย่าไปคิดมัน นี่เป็นภูมิปัจจุบัน เป็นข้อสุดท้าย
 

ขอให้นักกรรมฐานทั้งหลายถือปัจจุบันเป็นหลัก เรื่องเก่าอย่ารื้อฟื้น เรื่องของคนอื่นอย่านำมาคิด กิจที่ชอบทำ ไปฟื้นฝอยหาตะเข็บ หยิกเล็บมันจะเจ็บเนื้อ อาตมาจึงเขียนขึ้นมาเป็นประสบการณ์ว่า ไปไหนปากอย่าไว ใจอย่าเบา เรื่องเก่าอย่ามารื้อฟื้น เรื่องของคนอื่นอย่านำมาคิด กิจที่ชอบทำ อนาคตไม่แน่นอน อย่าจับให้มั่น คั้นให้ตาย ผิดหวังจะเสียใจ

เห็นหนอ โปรดส่งกระแสจิตทางหน้าผาก อุณาโลมา ปจชายเต พระพุทธรูปสมัยสุโขทัยจะมีตัว อุ ที่อุณาโลม เข้าหลักกับของอาตมาที่ได้จากขอนแก่น อุ ตัวนี้ อยากเรียนรู้ถามหญิงคันหูก อยากทำถูกถามเด็กเลี้ยงควาย คนสามบ้านกินน้ำบ่อเดียว เดินทางเดียวอย่าเหยียบรอยกัน นะอยู่หัว สามตัวอย่าละ นะอยู่ที่ไหนตามเอามาให้ได้ มะอะอุมาจากไหน สามตัวอย่าละมาจากไหน ศีล สมาธิ ปัญญา มะอะอุ อุอะมะ คือธาตุทั้งสี่ ศีล สมาธิ ปัญญา ได้จากขอนแก่น หลวงพ่อในป่าขอนแก่นบอกไว้ชัดเจนมาก

ยืนหนอ 5 ครั้ง ท่านบอกว่า กรรมฐานต้องแปลว่า เกศา โลมา นขา ทันตา ตโจ ตโจ ทันตา นขา โลมา เกศา เบื้องต่ำตั้งแต่ปลายผมลงไป เบื้องบนตั้งแต่ปลายท้าขึ้นมา ท่านถามว่า เธอบวชอุปัชฌาย์ให้กรรมฐานหรือเปล่า ถ้าไม่ได้กรรมฐานท่านจะไม่ให้ห่มผ้าอย่างนี้ ทำให้ได้หน่อยได้ไหม ถ้าได้แล้ว เห็นคนเดินมา เห็นหนอ มันจะสัมผัสบอก แขกที่มาเยือนเรานิสัยไม่ดี แขกคนนี้อย่านับถือ อย่าคบค้าสมาคม จะไปไม่รอด พอเห็นปับ สัมผัสเลย

ขอฝากนักกรรมฐานไว้ด้วยเป็นปัจจัตตัง ของใครของมัน ไม่ได้อยู่ในหนังสือ ต้องได้จากการปฏิบัติขึ้นมา ถ้าได้แล้วจะได้ตลอดไป พอเห็นปับ มันจะบอกยี่ห้อ คนนี้คบได้หรือไม่ได้ แล้วเราจะรู้โดยปัจจัตตังว่า คนนี้เคยเป็นญาติกับเราไหม มันจะบอกชัด คนนี้เป็นศัตรูกับเรา ในเมื่อเป็นศัตรูกับเราแล้วแก้อย่างไร ก็แผ่เมตตาให้เป็นมิตรกับเรา อย่าไปเป็นศัตรูกับเขาเลย นี่วิธีแก้ หลวงพ่อในป่าบอกให้ทั้งนั้น จงแผ่เมตตาให้ศัตรูเป็นมิตรกับเรา เรารักกันอย่ารักด้วยกิเลส จงมองคนด้วยเมตตา ปรารถนาดีต่อกัน เราจะได้ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน อย่ามองคนในแง่ร้าย นี่คือกรรมฐาน
 

ญาติโยมที่มาปฏิบัติขอให้ทำตามนี้ แล้วเอาของดีถวายพระราชกุศล บรมบพิตรพระราชสมภารเจ้าให้จงได้ ขอเน้นหลักนี้ให้แน่น อนาคตอย่าจับให้มั่น คั้นให้ตาย อันนี้เรียกว่าภูมิปัจจุบัน นั่งกรรมฐานนี้ให้ได้ภูมิปัจจุบันเป็นข้อสุดท้าย ถ้าโยมไม่มีภูมิรู้ ไม่มีภูมิธรรม ไม่มีภูมิฐาน ไม่มีภูมิปัญญา ภูมิปัจจุบันจะไม่รู้เรื่อง ปัจจุบันคือเดี๋ยวนี้ คนเราถ้ามี 5 ภูมิ รับรองรู้จักนิสัยกัน จะไม่แหนงแคลงใจต่อกันเลย พี่จะรักน้อง น้องจะรักพี่ สร้างความดีให้พ่อแม่ จะไม่โกงกัน จะไม่แย่งสมบัติกันแน่

กรรมฐานสามารถต่ออายุได้ ขอให้ญาติโยมทั้งหลายโปรดพิจารณาเดี๋ยวนี้ว่า เมื่อสมัยโบราณอาตมาบวชใหม่ๆ เขานิมนต์พระไปสวดต่อนาม พ่อแม่เขาป่วย นิมนต์พระไปสวดให้ฟัง อาตมาก็เป็นพระบวชใหม่ไม่รู้ก็สวดไป ได้บ้างไม่ได้บ้าง ถามสมภารว่าต่อนามเป็นอย่างไร สมภารบอกว่าถ้าเราสวดแล้วเขาฟื้นจะมีชื่อเสียง แต่ถ้าเราไปสวดแล้วเขาตาย จะไม่มีใครมานิมนต์อีก อาตมาก็พยายามสวด นึกในใจขอให้เขาฟื้นหน่อยเถอะ เขาก็เกิดฟื้นขึ้นมา
 

ไปสวดต่อนามก็คือไปสอนกรรมฐาน อวิชา ปัจย สังขารา มีรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ปัญจักขันธา รูปักขันโธ สวดคิริมานนท์สูตร ที่พระอานนท์สวดถวายพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าอาพาธ หายได้ ทั้งๆที่พระพุทธเจ้าเป็นยอดในโลกยังต้องรับฟัง ไปสวดต่อนามก็คือไปสวดสอนกรรมฐานนั่นเอง คนป่วยฟังรู้เรื่อง พนมมือฟัง สวดสอนกรรมฐานและสวดสติปัฏฐานสี่

สรุปใจความว่า การเจริญกรรมฐานเป็นการต่ออายุต่อนามของเราเอง ไม่ต้องไปหาหมอต่ออายุ ไม่ต้องไปหาหมอดูสะเดาะเคราะห์ใดๆ โบราณเขาบอกว่า หากเคราะห์หามยามร้ายสร้างพระเข้าตัว เลยจำผิดเป็นสร้างพระเท่าตัว สร้างถวายกันเกะกะศาลาเขาไปหมด สร้างพระเข้าตัวคือเอาพระมาไว้ในใจนี่ คือนั่งเจริญกรรมฐาน อายุมั่นขวัญยืน ต่ออายุได้ ขอให้เข้าใจให้ถูกต้องด้วย
 
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป: