“ผณี” วีรสตรีไทยในสงครามโลกที่คนไทยไม่รู้จัก
มกราคม 05, 2025, 02:04:00 pm *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: “ผณี” วีรสตรีไทยในสงครามโลกที่คนไทยไม่รู้จัก  (อ่าน 498 ครั้ง)
eskimo_bkk-LSV team♥
.กลุ่มผู้มีน้ำใจงาม..
member
*

คะแนน1887
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 13885


ไม่แล่เนื้อเถือหนังพวก


อีเมล์
« เมื่อ: มกราคม 09, 2024, 08:59:43 am »


-----------------------------------------------------------------
“ผณี” วีรสตรีไทยในสงครามโลกที่คนไทยไม่รู้จัก
แต่ถูกยกย่องจากทั่วโลกเธอโด่งดังมากในต่างแดน
ในฐานะที่เธอช่วยเหลือชีวิต
เชลยสงครามโลกไว้เป็นจำนวนมาก
แต่น่าแปลกที่ในเมืองไทย
น้อยคนนักที่จะเคยได้ยินเรื่องของเธอ
ในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2
“ด.ญ.ผณี สิริเวชชะพันธ์” อายุได้ 14 ปี
กำลังเรียนอยู่ที่ ร.ร. ราชินี
ก็ถูกครอบครัวเรียกกลับมาที่กาญจนบุรีเพื่อหนีสงคราม
แต่เปรียบได้กลับหนีเสือปะจระเข้เลยนะ
เพราะตอนกลับไปถึงบ้าน เมืองกาญจน์นี่แหละ…
หนึ่งในบริบทที่เศร้าที่สุดของสงครามโลกครั้งที่ 2 ในประเทศไทย
ที่นั่นทหารญี่ปุ่นเข้าควบคุมทุกพื้นที่
มีการตั้งค่ายเชลยตามจุดต่างๆ เพื่อสร้างทางรถไฟข้าม
ไปยึดอินเดียผ่านไทยไปทางพม่า
ต้อนเชลยหลากหลายเชื้อชาติ
ทั้งเชลยชาวดัชท์ ออสเตรเลีย อังกฤษ อเมริกัน
มารวมกันเพื่อการนี้
คนญี่ปุ่นบอกไว้ว่าจะไม่ทำอะไรคนไทยหรอก
พวกเราเป็นพันธมิตรกันนี่นา
แต่ถ้าคุณเข้ามาขวางเมื่อไหร่
ก็ไม่ปล่อยไว้เหมือนกันนะ
2 แสนกว่าชีวิตถูกพรากไป
ระหว่างการสร้างทางรถไฟสายนี้
ด้วยการร่นระยะเวลาทำงานของญี่ปุ่น
จากเส้นทางที่ต้องใช้เวลาตามปกติถึง 5 ปี
พวกเขาทรมาณเชลยให้ทำทั้งวันทั้งคืนจนสำเร็จใน 14 เดือน!
สภาพเชลยนี่ไม่ต่างอะไรกับโครงกระดูกเดินได้
บางคนก็เป็นคอตีบ บิด อหิวาห์
บ้างก็ออกไปอึ๊แล้วก็ตายจมหลุมส้วมไม่กลับมาอีกเลย
ยารักษาโรค ญี่ปุ่นก็แทบไม่ประทานมาให้แพทย์ประจำค่าย
ทำงานได้แผลมาก็ค่อยๆ เป็นแผลเปื่อย เนื้อเน่า
ตายกันไปตามๆ กัน บางคนป่วยหรือทำงานช้า
ก็จะถูกยิงทิ้งให้เพื่อนดูเป็นอุทาหรณ์
…ณ จุดนั้น ญี่ปุ่นเกินขอบเขตคำว่า “มนุษยธรรม” ไปมากจริงๆ
แต่มีอยู่ครอบครัวหนึ่ง ครอบครัวของคุณบุญผ่อง
พ่อของคุณผณีนี่แหละ เลี้ยงชีพด้วยการทำร้านขายของชำ
ซึ่งต้องส่งของเข้าไปที่ค่ายเชลยเป็นประจำ
พวกเขาทนเห็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับเชลยเหล่านี้ไม่ได้
คุณบุญผ่องเลยร่วมมือกับแพทย์เชลยในค่ายชื่อคุณหมอดันล็อป
แอบซ่อนยาเข้าไปในเสบียงต่างๆ อย่างมิดชิด (คือยิ่งกว่าหนังสายลับ)
ปอกก้านส้มโอเพื่อสอดยาบ้าง
ซ่อนไว้ที่ตาข่ายเข่งสานบ้าง
ใส่ถุงมัดยางไว้ในแก้วแล้วเทโอเลี้ยงใส่ลงไปบ้าง
โดยให้คุณผณี ลูกสาวตัวน้อยๆ อายุเพียง 14 ปีเป็นนกต่อ
ด้วยความเป็นเด็กน่ารัก ทหารญี่ปุ่นจึงเอ็นดูเธอ
ไม่ค่อยจะตรวจตราเธอเท่าไหร่นัก
และด้วยความฉลาดหัวไว เธอจึงเรียนรู้ภาษาญี่ปุ่นได้ไวมาก
บางครั้งเธอก็หันเหความสนใจทหารญี่ปุ่น
ด้วยการร้องเพลงญี่ปุ่น เหล่าทหารก็เคลิ้มหยุดฟัง
ด้วยความคิดถึงบ้านเกิดเมืองนอน
ทหารญี่ปุ่นเริ่มคุ้นชินกับเธอ
เธอจึงเข้าออกค่ายเชลยเป็นว่าเล่น
แต่หารู้ไม่ว่า…รอบตะเข็บผ้าถุงของเธอนี่เต็มไปด้วย
ยารักษาเชลยทั้งนั้น พวกเขารู้ดีว่า
ถ้าทหารญี่ปุ่นจับได้เมื่อไหร่วาระสุดท้ายของพวกเขาจะมาถึงเมื่อนั้น
แต่ก็ยังไม่หยุดที่จะช่วยเหลือเชลยจนวินาทีสุดท้ายของสงคราม
เราประทับใจคำหนึ่งตอนสัมภาษณ์คุณผณี
เธอบอกว่า ถ้าเธอเดินช้าไปนิดนึง
เชลยจะตายไปคนนึงเลย ต้องรีบเดิน
เพื่อจะเอายาไปให้เค้าให้ไวที่สุด
หลังสงครามจบ คุณบุญผ่องถูกลอบยิง 1 ครั้ง
แต่ก็รอดมาได้ กองพันธ์ประเทศต่างๆ รีบส่งคนมาคุ้มกัน
ไม่ให้ฮีโร่ของพวกเขาต้องเป็นอะไรไป
เงินมากมายที่ให้เชลยยืมไปใช้ก่อนหลายส่วนก็ไม่ได้คืน
ทำเอาบริษัทของเขาเกือบล้มละลาย
รัฐบาลฝ่ายสัมพันธมิตรก็วิ่งโร่ช่วยส่งเงินส่งของมาให้เค้าหนุนกิจการ
เชลยหลายคนกลับมาเยี่ยมเขาพร้อมครอบครัว
ในขณะที่ชาวบ้านยังงงอยู่ว่าทำไมบ้านนี้มีทหารฝรั่ง
มาเยี่ยมเยียนมากขนาดนี้ คุณผณีเองก็ไม่ได้เล่าเรื่องนี้
ให้ใครต่อใครฟังเท่าไหร่
คุณอมรศรีลูกสาวของเธอเล่าว่าเธอยังรู้สึกผิด
เพราะเธอเองก็เป็นเพื่อนกับทหารญี่ปุ่นเหล่านั้น
ทุกคนดีกับเธอมาก ในขณะเดียวกันก็ทนเห็นพวกเขา
ทำสิ่งที่ผิดมนุษยธรรมขนาดนั้นไม่ได้
คงเป็นเรื่องที่ขัดแย้งอยู่ในใจเธอเหมือนกัน
เรื่องราวสิ้นสุดลงที่คุณบุญผ่องถูกขนานนามให้เป็น
“วีรบุรุษสิงโตเงียบ”
และเรื่องราวของพวกเขาก็เงียบจริงๆ
ไม่ได้ถูกเล่าขานต่อไปในหมู่คนไทยนัก
ในขณะที่เรื่องราวของแพทย์ทหารชาวออสเตรเลียที่ร่วมมือกัน
ถูกประโคมลงในบทเรียนจนคนออสเตรเลียทุกคนรู้จัก
คุณผณี ตำนานที่ยังหายใจอยู่คนนี้
เพิ่งจะสิ้นลมหายใจไปเมื่อไม่กี่ปีมานี้เอง
เราคิดว่าสิ่งที่เธอเคยทำไว้มันมากเกินกว่า
จะเงียบหายไปพร้อมตัวเธอ
การส่งต่อเรื่องนี้อาจไม่ได้ทำให้คนรู้จักเธอมากขึ้นมากมาย
แต่เราก็ยังอยากทำความระลึกถึงเธอ
สักครั้งหนึ่งด้วยการเขียนถึงเธอในห้วงเวลานี้

Cr: FOOFOO
ที่มา : บันทึกสยาม
        : เรื่องเล่าบันทึกโลก
 ping!


บันทึกการเข้า

หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1 RC2 | SMF © 2001-2006, Lewis Media

lsv2555Please follow the new website at https://www.pohchae.com

Valid CSS!