วัคซีนและการป้องกันมะเร็ง เกร็ดความรู้คู่สุขภาพ
มกราคม 23, 2025, 05:18:16 am *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: วัคซีนและการป้องกันมะเร็ง เกร็ดความรู้คู่สุขภาพ  (อ่าน 1405 ครั้ง)
eskimo_bkk-LSV team♥
.กลุ่มผู้มีน้ำใจงาม..
member
*

คะแนน1887
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 13885


ไม่แล่เนื้อเถือหนังพวก


อีเมล์
« เมื่อ: ธันวาคม 08, 2023, 01:35:30 pm »


1. วัคซีนคืออะไร
2. วัคซีนกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายได้อย่างไร
3. วัคซีนมะเร็ง คืออะไร
4. วัคซีนป้องกันมะเร็งได้อย่างไร
5. มีวัคซีนป้องกันมะเร็งที่ได้ผ่านการรับรองในการใช้ในสหรัฐอเมริกาหรือไม่
6. เชื้อจุลินทรีย์สัมพันธ์กับมะเร็งหรือไม่
7. วัคซีนรักษามะเร็งทำงานอย่างไร
8. องค์การอาหารและยาให้การรับรองวัคซีนรักษามะเร็งแล้วหรือยัง
9. วัคซีนชนิดไหนที่อยู่ระหว่างการทดลองทางคลินิก
10. วัคซีนมะเร็งสร้างขึ้นมาอย่างไรและใช้แอนติเจนชนิดไหน
11. มีสารอื่นๆ ที่สามารถนำมาใช้ผลิตวัคซีนได้หรือไม่
12. Adjuvants คืออะไร และมันใช้ในการสร้างวัคซีนมะเร็งอย่างไร
13. ผลข้างเคียงของวัคซีนมะเร็งมีอะไรบ้าง


ข้อความสำคัญ

    วัคซีนกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันธรรมชาติของร่างกายให้สามารถต่อสู้กับการติดเชื้อ
และป้องกันอันตรายที่อาจเกิดภายหลังการติดเชื้อบางชนิด
หรือความผิดปกติบางชนิด รวมถึง เซลล์มะเร็ง
    วัคซีนมะเร็งบางชนิด หรือที่รู้จักกันในชื่อของ
วัคซีนป้องกันมะเร็งได้ออกแบบมาเพื่อ
ป้องกันการเกิดมะเร็งในคนปกติส่วนวัคซีนมะเร็งอื่นๆ ได้แก่
วัคซีนรักษามะเร็ง มักใช้รักษามะเร็งที่เกิดขึ้นแล้ว
    องค์การอาหารและยาของสหรัฐอเมริกา
ได้รับรองวัคซีนสองชนิดที่ใช้ป้องกันมะเร็ง ได้แก่
วัคซีนไวรัสตับอักเสบบี ซึ่งทำให้เกิดมะเร็งตับหากมีการติดเชื้อแบบเรื้อรัง
และวัคซีนป้องกันการติดเชื้อ
human papillomavirus สายพันธุ์ 16 และ 18 ซึ่งสัมพันธ์
กับการเกิดมะเร็งปากมดลูกถึง 70%
    วัคซีนรักษามะเร็งได้ถูกออกแบบมาเพื่อรักษามะเร็ง
โดยกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย ให้จดจำและกำจัดเซลล์มะเร็ง
ในปัจจุบันองค์การอาหารและยายังไม่รับรองการใช้วัคซีนเพื่อรักษามะเร็ง
    ประสิทธิภาพของวัคซีนรักษามะเร็งยังยากที่จะพัฒนา
เนื่องจากมะเร็งสามารถหลบซ่อนจากระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย
และทำให้ภูมิคุ้มกันของร่างกายอ่อนแอลงและไม่สามารถต่อสู้กับมะเร็งได้
    นักวิจัยกำลังอยู่ในขั้นตอนของการพัฒนาวัคซีน
    สำหรับรักษามะเร็งหลายชนิดและทดสอบทางคลินิก
    ผลข้างเคียงของการฉีดวัคซีนจะแตกต่างกันในผู้ป่วย
แต่ละคนและแตกต่างกันตามชนิดของวัคซีน
ส่วนใหญ่ผลข้างเคียงที่พบก็ค่อนข้างน้อย
และมักจะเป็นเพียงการอักเสบที่บริเวณตำแหน่งที่ฉีด

1. วัคซีนคืออะไร

วัคซีนคือ ยาที่ใช้กระตุ้นภูมิคุ้มกันตามธรรมชาติของร่างกาย
ให้สามารถปกป้องร่างกายจากสิ่งแปลกปลอม
ที่รุกล้ำเข้ามาซึ่งเป็นสาเหตุให้เกิดโรคหลายชนิด
ผู้บุกรุกเหล่านี้มักจะเป็นจุลินทรีย์ซึ่งมองเห็นได้ด้วยกล้องจุลทรรศน์
จุลินทรีย์เหล่านี้ยังรวมถึงแบคทีเรีย ไวรัส พยาธิ และเชื้อรา

ระบบภูมิคุ้มกันนั้นประกอบด้วย อวัยวะ, เนื้อเยื่อ
และเซลล์พิเศษที่มีหน้าที่ปกป้องร่างกาย
เมื่อจุลินทรีย์เข้ามาบุกรุกร่างกายระบบภูมิคุ้มกันก็จะสังเกตได้ว่า
มันเป็นสิ่งแปลกปลอมและทำลายมันทิ้งไป
โดยการจดจำนี้จะช่วยป้องกันไม่ให้เกิดการติดเชื้อซ้ำในภายภาคหน้า
วัคซีนก็ใช้ข้อดีในจุดนี้ในการกระตุ้นการตอบสนองเช่นกัน

วัคซีนทั่วไปมักประกอบด้วยจุลินทรีย์ที่ไม่ก่อโรคแล้ว
โดยอาจถูกฆ่าหรือทำให้อ่อนแอลง หรืออาจเป็นส่วนใดส่วนหนึ่งของจุลินทรีย์
ที่ไม่สามารถก่อโรคได้แต่สามารถกระตุ้นให้การตอบสนองของระบบภูมิคุ้มกันได้
เมื่อระบบภูมิคุ้มกันพบกับสารเหล่านี้หลังการฉีดวัคซีน
ก็จะมีการตอบสนองต่อมันเกิดขึ้น โดยพยายามกำจัดออกจากร่างกาย
และพัฒนาการจดจำสารเหล่านี้ วัคซีนเหล่านี้
จะสามารถสร้างการจดจำให้กับระบบภูมิคุ้มกัน
ให้ตอบสนองต่อจุลินทรีย์เหล่านี้รวดเร็วขึ้นหากมีการติดเชื้อซ้ำในอนาคต

บทบาทของระบบภูมิคุ้มกันในการต่อสู้
กับจุลินทรีย์ที่ก่อโรคได้ถูกค้นพบมานานแล้ว
นักวิทยาศาสตร์ยังพบว่าระบบภูมิคุ้มกัน
สามารถป้องกันร่างกายจากความเสียหาย, โรค, เซลล์ผิดปกติ รวมถึงเซลล์มะเร็งด้วย

2. วัคซีนกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายได้อย่างไร

เม็ดเลือดขาวมีบทบาทสำคัญในระบบภูมิคุ้มกัน
โดยเซลล์เหล่านี้จะทำหน้าที่ป้องกันร่างกาย
จากจุลินทรีย์ที่ก่อโรคและเซลล์ผิดปกติ

เม็ดเลือดขาวบางชนิดมีหน้าที่ลาดตระเวน, ตรวจหาสิ่งแปลกปลอมที่เข้ามา, โรค,
เซลล์ที่เสียหายหรือเซลล์ที่ตาย เซลล์เม็ดเลือดขาวเหล่านี้
จะสร้างภูมิคุ้มกันทั้งแบบจำเพาะและไม่จำเพาะและระดับภูมิคุ้มกัน

เม็ดเลือดขาวชนิดอื่นๆ หรือที่เรียกว่า lymphocyte มีหน้าที่ป้องกันร่างกาย
แบบจำเพาะ จากจุลินทรีย์, โรค หรือเซลล์ที่ผิดปกติ
โดยกลุ่มของเม็ดเลือดขาวที่สำคัญในการตอบสนอง
ต่อระบบภูมิคุ้มกันก็คือ B เซลล์ และ Cytotoxic T เซลล์ (cell-killing)

B เซลล์จะสร้างแอนติบอดี้ ซึ่งก็คือโปรตีนขนาดใหญ่
และหลั่งออกจาก B เซลล์ จะไปจับ หยุดการทำงานและช่วยในการทำลายสิ่งแปลกปลอม
ที่เข้ามาหรือเซลล์ที่ผิดปกติ วัคซีนที่ป้องกันโรคส่วนใหญ่
รวมถึงวัคซีนที่ป้องกันไวรัสตับอักเสบบี และ human papilloma virus (HPV)
จะกระตุ้นการสร้างแอนติบอดี้ที่ไปจับเป้าหมายจำเพาะหรือจุลินทรีย์
และยับยั้งการติดเชื้อส่วน Cytotoxic T cells หรือที่เรียกว่า killer T cells
จะช่วยฆ่าเชื้อหรือเซลล์ที่ผิดปกติโดยการหลั่งสารพิษ
หรือทำให้เซลล์เกิดการทำลายตัวเอง

ส่วน lymphocyte และ leukocyte ก็จะมีบทบาทในการสนับสนุน
ให้ B เซลล์และ Killer T เซลล์ทำงานได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
เซลล์ที่ช่วยปรับสมดุลการทำงานของทั้ง B เซลล์และ Killer T
เซลล์จะรวมถึง helper T cells และ dendritic cells
ซึ่งจะช่วยกระตุ้นให้ Killer T
เซลล์สามารถจดจำปฎิกริยาที่เกิดขึ้นได้

วัคซีนรักษามะเร็งทำงานโดยกระตุ้นการทำงานของ B เซลล์และ Killer T เซลล์
และทำให้มันจดจำและเกิดปฎิกริยาต่อต้านต่อมะเร็ง
โดยการสารโมเลกุลบางชนิดที่เรียกว่า แอนติเจน เข้าไปสู่ร่างกายมักจะโดยการฉีด
แอนติเจนคือสารที่กระตุ้นการตอบสนองของระบบภูมิคุ้ม
แอนติเจนยังสามารถสร้างได้จากโปรตีนหรือโมเลกุลอื่นๆที่พบที่ผิวหรือในเซลล์

จุลินทรีย์จะสร้างแอนติเจนซึ่งจะบอกระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย
ว่ามันเป็นสิ่งแปลกปลอมต่อร่างกายและควรจะทำลายมันในทางตรงข้าม
เซลล์ปกติในร่างกายยังมีแอนติเจนที่สามารถบ่งชี้ได้ว่า
มันไม่ใช่สิ่งแปลกปลอม แอนติเจนของร่างกายเอง
จะช่วยบ่งบอกว่ามันเป็นเซลล์ปกติและไม่จำเป็นต้องต่อต้าน

เซลล์มะเร็งจะสร้างแอนติเจนทั้งสองชนิด
ทั้งชนิดที่เป็นของร่างกายซึ่งก็มีความคล้ายคลึงกับเซลล์ปกติ
และมีแอนติเจนของเซลล์มะเร็ง แอนติเจนที่สัมพันธ์กับเซลล์มะเร็งเหล่านี้
จะบ่งบอกว่ามันเป็นเซลล์ผิดปกติ,แปลกปลอม
และทำให้เกิดการต่อต้านจาก B เซลล์และ Killer T cells ได้

เซลล์มะเร็งเองอาจสร้างแอนติเจนของร่างกายจำนวนมาก
ซึ่งแอนติเจนที่มากผิดปกตินี้จะถูกมองจากระบบภูมิคุ้มกันว่า
เป็นสิ่งแปลกปลอมและอาจเกิดกระตุ้นให้เกิดการตอบสนองได้

3. วัคซีนมะเร็ง คืออะไร

วัคซีนมะเร็งคือยาในกลุ่มของสารที่เรียกว่า
สารกระตุ้นการเปลี่ยนแปลงทางชีวภาพ ซึ่งออกฤทธิ์โดยการกระตุ้น
และสะสมภูมิคุ้มกันของร่างกายให้สามารถต่อสู้กับการติดเชื้อได้
วัคซีนมะเร็งมีสองชนิดใหญ่ๆ คือ

    วัคซีนป้องกันการเกิดมะเร็ง ซึ่งจะช่วยป้องกันการเกิดมะเร็งในคนปกติ
    วัคซีนที่ใช้รักษามะเร็ง จะช่วยรักษามะเร็งที่เป็นอยู่เดิม
    โดยเสริมความเข้มแข็งของระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย

วัคซีนที่ใช้ป้องกันมะเร็งนั้นประสบความสำเร็จในการพัฒนาแล้ว
จะมีขายในสหรัฐอเมริกา แต่วัคซีนที่ใช้รักษามะเร็งนั้น
ยังอยู่ในขึ้นตอนของการพัฒนา


4. วัคซีนป้องกันมะเร็งได้อย่างไร

วัคซีนป้องกันมะเร็งมีจุดมุ่งหมายคือป้องกันการติดเชื้อที่เป็นสาเหตุ
และอาจนำไปสู่การพัฒนาไปเป็นมะเร็งได้โดยมันอาจจะคล้ายคลึงกับวัคซีน
พื้นฐานทั่วไปซึ่งช่วยป้องกันการติดเชื้อ เช่น หัด, โปลิโอ
ทั้งวัคซีนป้องกันมะเร็งและวัคซีนทั่วไปจะประกอบด้วย
แอนติเจนซึ่งมาจากตัวเชื้อ ทำให้ระบบภูมิคุ้มกันสามารถจดจำมันง่ายขึ้น

5. มีวัคซีนป้องกันมะเร็งที่ได้ผ่านการรับรองในการใช้ในสหรัฐอเมริกาหรือไม่

ในปี 2006 องค์การอาหารและยาสหรัฐอเมริกา ได้ยอมรับวัคซีน Gardasil
ซึ่งป้องกันการติดเชื้อไวรัส HPV 2สายพันธุ์ คือ 16 และ 18 ซึ่ง 70 % ของผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูก
มีการติดเชื้อชนิดนี้ โดย 17 ชนิดที่เหลือของ HPV นั้นพบได้ในผู้ป่วยอีก 30 %
ที่เป็นมะเร็งปากมดลูก Gardasil ป้องกัน HPV types 6 และ 11 ซึ่งพบถึง 90 %
ในคนที่ป่วยเป็นหูดที่อวัยวะเพศ อย่างไรก็ดี ไวรัส HPV ทั้งสองชนิด
ไม่ได้ทำให้เกิดมะเร็งปากมดลูก
ในปี 2008 องค์การอาหารและยาสหรัฐอเมริกา
ได้รับรองการใช้ HPV วัคซีนป้องกันการติดเชื้อหูด
ชนิดที่สัมพันธ์กับอวัยวะเพศและช่องคลอด

Gardasil ซึ่งผลิตโดยบริษัท Merck นั้นทำมาจาก HPV แอนติเจนซึ่งเป็นโปรตีน
โปรตีนเหล่านี้ถูกใช้ในห้องทดลองเพื่อสร้างสิ่งที่คล้ายคลึงกับชิ้นส่วนของไวรัส
ซึ่งสัมพันธ์กับการติดเชื้อ HPV สายพันธุ์ที่ 6, 11, 16 และ 18
โดยทั้งสี่ชนิดนี้ถูกใช้ในการสร้างวัคซีน เนื่องจาก Gardasil
มีเป้าหมายในการทำลายไวรัสทั้ง 4 ชนิดนี้ เราจึงเรียกมันว่า Quandrivalent vaccine
ในทางตรงข้ามกับวัคซีนทั่วไป ซึ่งมักประกอบด้วยเชื้อที่ถูกทำให้อ่อนกำลังลง
ชิ้นส่วนของไวรัสที่อยู่ใน Gardasil ไม่ทำให้เกิดการติดเชื้อ
อย่างไรก็ดี มันคงความสามารถที่จะกระตุ้นให้เกิด
antibodies ต่อ HPV ชนิดที่ 6, 11, 16 และ 18

วัคซีน HPV ได้ถูกพัฒนาขึ้นโดยบริษัท GlaxoSmith line
ภายใต้ชื่อ Cervarix ถึงแม้ว่า Cervarix จะได้รับการรับรองในยุโรป
แต่ยังไม่ผ่านการรับรองจากองค์การอาหารและยาของสหรัฐอเมริกา
ให้ใช้ในอเมริกา โดย Cervarix นั้นเป็น bivalent vaccine
ซึ่งประกอบด้วยสิ่งที่คล้ายคลึงกับชิ้นส่วนของไวรัส
ของ HPV ชนิดที่ 16 และ 18 ดังนั้นมันจึงป้องกันเฉพาะ
HPV สองชนิดนี้เท่านั้น

คนทั่วไปจะได้ประโยชน์จากวัคซีนที่ต่อต้านเชื้อ HPV ชนิดที่ 16 และ 18
จากการลดความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งปากมดลูก, มะเร็งช่องคลอด
และมะเร็งที่อวัยวะเพศ มีหลักฐานสนับสนุนว่าการติดเชื้อ
เรื้อรังของไวรัสชนิดใดชนิดหนึ่งในสองตัวนี้
ลจะสัมพันธ์กับการเกิดมะเร็งที่ทวารหนัก,
อวัยวะเพศชาย และ มะเร็งช่องปากด้วย

องค์การอาหารและยาสหรัฐอเมริกา
ได้รับรองวัคซีนป้องกันการติดเชื้อมะเร็งชนิดอื่นๆ อีก คือ
วัคซีนป้องกันการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี(HBV)
การติดเชื้อ HBV เรื้อรังจะทำให้เกิดมะเร็งตับ วัคซีน HBV
ได้รับรองครั้งแรกในปี 1981 ซึ่งเป็นวัคซีนป้องกันมะเร็งตัวแรก
ที่ประสบความสำเร็จในการพัฒนาและการตลาด
ในปัจจุบัน เด็กส่วนใหญ่ในสหรัฐอเมริกา
ได้รับการฉีดวัคซีนป้องกัน HBV ตั้งแต่แรกเกิด

6. เชื้อจุลินทรีย์สัมพันธ์กับมะเร็งหรือไม่

นักวิทยาศาสตร์เชื้อว่าจุลินทรีย์เป็นสาเหตุหรือเป็นปัจจัย
ทำให้เกิดมะเร็ง 15-25 % ของมะเร็งที่เกิดขึ้นในแต่ละปี
ซึ่งตัวเลขเหล่านี้ในประเทศพัฒนาแล้วพบว่าต่ำกว่าประเทศกำลังพัฒนา
The International agency for Research on Cancer (IARC)
ได้จัดเชื้อจุลินทรีย์สองสามกลุ่มเป็นสารก่อมะเร็ง
รวมถึง HPV และ HBV โดยการติดเชื้อเหล่านี้ เช่น
แบคทีเรีย, ไวรัส และพยาธิ และความสัมพันธ์กับ
การก่อมะเร็งเป็นดังในตาราง

----------------------------------------------------------
7. วัคซีนรักษามะเร็งทำงานอย่างไร

วัคซีนรักษามะเร็งได้ถูกออกแบบมาเพื่อรักษามะเร็งที่เกิดขึ้นแล้ว
โดยมันจะชะลอหรือหยุดการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็ง
ทำให้เกิดการลดขนาดของก้อนมะเร็ง, ป้องกันการกลับเป็นซ้ำของมะเร็ง
หรือ กำจัดเซลล์มะเร็งที่ไม่ถูกฆ่าโดยการรักษาวิธีอื่นๆ เช่น
 การผ่าตัด ฉายแสง หรือให้ยาเคมีบำบัด

ในการพัฒนาประสิทธิภาพของวัคซีนนั้นจำเป็น
จะต้องทราบถึงกลไกของระบบภูมิคุ้มกันในการกำจัดเซลล์มะเร็ง
หากระบบภูมิคุ้มกันไม่สามารถมองเห็นเซลล์มะเร็งว่า
เป็นสิ่งอันตรายหรือแปลกปลอมต่อร่างกายคล้ายกับพวกจุลินทรีย์แล้ว
มันก็จะไม่มีการตอบสนองต่อต้านมะเร็งเกิดขึ้น

มีเหตุผลหลายประการที่ระบบภูมิคุ้มกันไม่สามารถจดจำเซลล์มะเร็งได้
เหตุผลสำคัญก็คือ เซลล์มะเร็งมักประกอบด้วยแอนติเจนของเซลล์ร่างกายปกติ
ร่วมกับแอนติเจนของเซลล์มะเร็ง นอกจากนี้เซลล์มะเร็งบางครั้ง
ยังสามารถเปลี่ยนแปลงพันธุกรรมทำให้แอนติเจนของเซลล์มะเร็งเองหายไปได้
และสุดท้าย เซลล์มะเร็งสามารถสร้างสารเคมีสื่อไปยังระบบภูมิคุ้มกัน
เพื่อกดภูมิต้านทานต่อมะเร็งที่สร้างจาก killer T เซลล์
ด้วยเหตุผลนี้ ถึงแม้ว่าระบบภูมิคุ้มกันจะสามารถจดจำการเจริญเติบโตของมะเร็งได้
แต่มันก็มักจะไม่ถูกทำลายโดยระบบภูมิคุ้มกัน

8. องค์การอาหารและยาให้การรับรองวัคซีนรักษามะเร็งแล้วหรือยัง

องค์การอาหารและยาสหรัฐอเมริกายังไม่ได้ให้การรับรองวัคซีนที่ใช้รักษามะเร็งไม่ว่าชนิดใด

การผลิตวัคซีนรักษามะเร็งที่มีประสิทธิภาพนั้นยากและท้าทายมากกว่าการผลิตวัคซีนป้องกันมะเร็ง
โดยการเกิดประสิทธิภาพของวัคซีนนั้นจะต้องบรรลุวัตถุประสงค์สองประการ
อันแรก คล้ายคลึงกับวัคซีนทั่วไปและวัคซีนป้องกันมะเร็งคือ
สามารถกระตุ้นภูมิคุ้มกันและชี้นำให้มันกำจัดเป้าหมายได้
 อย่างที่สองคือ ระบบภูมิคุ้มกันที่ถูกกระตุ้นโดยวัคซีน
จะต้องแข็งแรงพอที่จะเอาชนะเซลล์มะเร็ง

9. วัคซีนชนิดไหนที่อยู่ระหว่างการทดลองทางคลินิก

วัคซีนป้องกันการติดชื้อHPV และวัคซีนรักษามะเร็ง2-3 ชนิดอยู่ในขั้นตอน
ของการศึกษาทางคลินิกวัคซีนบางชนิดเป็นเป้าหมายสำคัญของการรักษามะเร็ง ดังนี้

    วัคซีนรักษามะเร็ง: มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ,
มะเร็งสมอง, มะเร็งเต้านม, มะเร็งปากมดลูก, มะเร็งไต,
มะเร็งเม็ดสีผิว,มะเร็ง multiple myeloma, มะเร็งเม็ดเลือดขาว,
มะเร็งปอด, มะเร็งตับอ่อน, มะเร็งต่อมลูกหมาก
    วัคซีนป้องกันมะเร็ง: มะเร็งปากมดลูก

10. วัคซีนมะเร็งสร้างขึ้นมาอย่างไรและใช้แอนติเจนชนิดไหน

นักวิทยาศาสตร์สร้างวัคซีนป้องกันมะเร็งมาจากแอนติเจนของจุลินทรีย์ที่ก่อให้เกิดมะเร็ง
วัคซีนป้องกันมะเร็งที่ได้รับการรับรองจากองค์การอาหารและยาของสหรัฐอเมริกา
ในปัจจุบันทำมาจากแอนติเจนของ HBV และ HPV บางชนิด
โดยแอนติเจนเหล่านี้ก็คือโปรตีนประกอบเป็นเปลือกนอกของไวรัส
เนื่องจากเราใช้เพียงบางส่วนของจุลินทรีย์เท่านั้นมาสร้างเป็นวัคซีน
ผลลัพธ์ของวัคซีนก็คือป้องกันการติดเชื้อและไม่ทำให้เกิดการก่อโรค

นักวิจัยยังพยายามสังเคราะห์แอนติเจนในห้องปฎิบัติการเพื่อใช้ในการสร้างวัคซีน
โดยแปรรูปโครงสร้างทางเคมีของแอนติเจนเพื่อกระตุ้น
การตอบสนองทางระบบภูมิคุ้มกันให้ตอบสนองมากขึ้น
กว่ากว่าใช้แอนติเจนธรรมดา

โดยในทางเดียวกันกับวัคซีนป้องกันมะเร็ง วัคซีนที่ใช้รักษามะเร็ง
ก็สร้างมาจากแอนติเจนของเซลล์มะเร็งทั้งทางตรงหรือโดยการดัดแปลง
โดยแอนติเจนที่ได้รวมถึง โปรตีน, คาร์โบไฮเดรต (น้ำตาล),
ไกลโคโปรตีน หรือ ไกลโคเปปไทด์ ซึ่งมีคาร์โบไฮเดรตและโปรตีน
เป็นส่วนประกอบ และ gangliosides ซึ่งประกอบด้วยคาร์โบไฮเดรตและไขมัน

วัคซีนมะเร็งยังสามารถสร้างจากเซลล์มะเร็งที่อ่อนแอหรือถูกทำให้ตายแล้ว
และมีแอนติเจนที่เฉพาะบางชนิด โดยเซลล์เหล่านี้อาจมาจากตัวผู้ป่วยเอง
(เรียกว่า autologous วัคซีน) หรือ อาจมาจากผู้ป่วยมะเร็งคนอื่นๆ
(เรียกว่า allogenic วัคซีน)

วัคซีนมะเร็งชนิดอื่นๆ สามารถใช้โมเลกุลของ deoxyribonucleic acid(DNA)
หรือ ribonucleic acid (RNA) ที่ประกอบด้วยด้วยโครงสร้างทางพันธุกรรมที่มี
cancer associated antigen โดยเราสามารถฉีด DNA หรือ RNA
แบบเดี่ยวๆ เข้าไปในร่างกายของของผู้ป่วยโดยเรียกว่าเป็น “naked nucleic acid” vaccine
หรือนักวิจัยอาจใส่ DNA หรือ RNA เข้าไปในไวรัสที่ไม่ก่อโรค
หลังจาก naked nucleic acid หรือไวรัสได้ถูกฉีดเข้าสู่ร่างกาย DNA หรือ RNA ก็จะถูก

นำเข้าสู่เซลล์ ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของการสร้าง tumor associated antigens
นักวิจัยหวังว่าเซลล์ร่างกายจะสร้าง tumorassociated antigens
ได้เพียงพอที่จะก่อให้เกิดการตอบสนองของระบบภูมิคุ้มกัน

นักวิทยาศาสตร์ได้ค้นหา cancer-associated antigens
ซึ่งมีจำนวนหนึ่งซึ่งถูกใช้ในการทดลองวัคซีนรักษามะเร็งแอนติเจน
บางชนิดพบร่วมในมะเร็งหลายชนิด
และที่เหลืออาจจำเพาะต่อมะเร็งบางชนิด

    แอนติเจนที่สัมพันธ์กับมะเร็งมากกว่าหนึ่งชนิด คือ

    - Carcinoembryonic antigen(CEA): glycoprotein
ที่พบในชิ้นส่วนตัวอ่อนและในมะเร็ง รวมถึงมะเร็งลำไส้ใหญ่,
มะเร็งกระเพาะ, มะเร็งตับอ่อน, มะเร็งเต้านม
และมะเร็งปอดชนิด non small cell

    - Cancer/testis antigens อย่างเช่น NY-EST-1
กลุ่มของโปรตีนที่พบในเชื้ออสุจิ และมะเร็งหลายชนิด
รวมถึง melanoma, มะเร็งรังไข่, มะเร็งโคนลิ้นและคอ,
มะเร็งสมอง, มะเร็งปอด, มะเร็งลำไส้และมะเร็งเต้านม

    - Mucin-1(MUC1): glycoprotein พบในเยื่อบุชั้นนอกของ
mucus-producing epithelial cells
(เซลล์ที่ประกอบขึ้นเป็นผิวหนังและเป็นเยื่อบุอวัยวะภายใน)
และเซลล์มะเร็งหลายชนิดรวมถึงมะเร็งเต้านม,
มะเร็งต่อมลูกหมาก, มะเร็งลำไส้ใหญ่, มะเร็งตับอ่อน
และมะเร็งปอด Sialyl Tn (STn) เป็นคาร์โบไฮเดรตแอนติเจน
ที่สัมพันธ์กับ mucin-1 ที่ถูกใช้ในการวัคซีนรักษามะเร็ง

    - Gangliosides เช่น GM3 และ GD2 : โมเลกุลที่พบอยู่ที่เยื่อบุชั้นนอก
ของมะเร็งบางชนิด เช่นmelanoma, neuroblastoma,
มะเร็งปอดชนิด small cell และมะเร็งเนื้อเยื่ออ่อน

    - p53 protein: โปรตีนที่ถูกสร้างโดย tumor suppressor gene TP53
การเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรม(mutation) ของ TP 53
ทำให้เกิดการสูญเสียการทำงานของ p53 โปรตีน ซึ่งเป็นความผิดปกติที่พบบ่อยที่สุด
ในมะเร็งที่พบในมนุษย์ การเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรมของ p53
โปรตีนมักจะพบสะสมในเซลล์มะเร็งซึ่งทำให้ p53 เป็นเป้าหมายสำคัญของวัคซีน

    - HER 2/neu protein(ERBB2): โปรตีนชนิดนี้พบว่ามีการแสดงบทบาท
หรือมีการสร้างมากผิดปกติในมะเร็งเต้านม, มะเร็งรังไข่ และมะเร็งอื่นๆอีก 2-3 ชนิด
โดยหากมีการแสดงบทบาทที่ผิดปกติของHER2/neu
จะสัมพันธ์กับภาวะที่มีความรุนแรงของโรคมากขึ้นและผลการรักษาที่แย่ลง
การรักษาโดยใช้monoclonal antibody ต่อ HER2/neu โดยตรง
ที่เรียกว่า Trastuzumab ได้รับการพิสูจน์แล้วว่ามีประสิทธิภาพดี
ในการรักษามะเร็งเต้านมที่มีการแสดงบทบาทที่ผิดปกติของโปรตีนชนิดนี้

    แอนติเจนที่จำเพาะต่อมะเร็งชนิดเดียว คือ

    - A mutant form of the epidermal growth factor receptor (EGFRvIII):
เป็นโปรตีนที่ผิดปกติและทำให้ไม่สามารถควบคุมการเจริญเติบโต
ของมะเร็งที่พบใน glioblastoma (มะเร็งสมองชนิดหนึ่ง)
แต่ไม่พบในเนื้อสมองปกติ

    - Melanocyte/melanoma differentiation antigen เช่น
tyrosine, MARTI และ gp100: โปรตีนที่พบในเซลล์ melanocyte
(เซลล์ที่ทำหน้าที่สร้างเม็ดสีที่ผิวหนังและตา)
ที่เจริญเต็มที่แล้ว และในเซลล์มะเร็งผิวหนังmelanoma

    - Prostate specific antigen (PSA): โปรตีนชนิดนี้มักถูกสร้างขึ้น
      ในเซลล์มะเร็งต่อมลูกหมากมากกว่าเซลล์ต่อมลูกหมากปกติ

    - Idiotype (Id) antibodies: แอนติบอดี้ที่ถูกสร้างจาก cancerous B cells
ที่ให้แอนติเจน เป็น markersสำหรับโรคอย่างเช่น
multiple myeloma และ lymphoma บางชนิด Id
แอนติบอดี้ยังมีความจำเพาะในผู้ป่วยมะเร็งแต่ละรายด้วย

11. มีสารอื่นๆที่สามารถนำมาใช้ผลิตวัคซีนได้หรือไม่

มีนักวิจัยได้ใช้เซลล์ในระบบภูมิคุ้มกันและผลิตภัณฑ์จากมัน
เช่น แอนติบอดี้ที่สร้างขึ้นในห้องปฎิบัติการเพื่อสร้างวัคซีนมะเร็ง ยกตัวอย่าง เช่น

    Dendritic cells และ Costimulatory molecules:
นักวิทยาศาสตร์ใช้เม็ดเลือดขาวชนิดที่เรียกว่า dendritic
เซลล์เพื่อสร้างเซลล์มะเร็ง dendritic เซลล์มีพลังในการกระตุ้นการตอบสนอง
ของระบบภูมิคุ้มกัน โดยกระบวนการและการนำเสนอcancer-associated
แอนติเจนต่อ T cell และ B cell และการสร้างโมเลกุลที่กระตุ้นคุณสมบัติ
ในการฆ่าเซลล์ชนิดอื่นๆ ของkiller T เซลล์ ในการสร้าง
autologous dendritic-cell vaccines นักวิจัยมักจะเก็บ dendritic cells
จากเลือดของผู้ป่วยมะเร็งและนำไปเพาะในห้องทดลองและประกอบร่วมกันกับ
cancer associated antigens Dendritic cells อาจถูกนำมาประกอบกับแอนติเจนโดยตรง
หรืออาจจะถูกนำแอนติเจนเข้าโดยการใช้ไวรัสที่มีรหัสพันธุกรรมที่มี DNA, RNA
หรือสารพันธุกรรมในการสร้างแอนติเจน หลังจากที่ DNA,RNA หรือ
สารพันธุกรรมได้เข้าสู่ dendritic cells ก็จะมีการสร้างและผ่านกระบวนการ
ในการแสดงแอนติเจนบนผนังเซลล์ จากนั้นนักวิจัยก็จะฉีดสาร antigen-presenting cells
เข้าสู่กระแสเลือดของผู้ป่วย ในร่างกาย เมื่อ dendritic cells
ปะทะกับ killer T cells และเซลล์ในระบบภูมิคุ้มกันอื่นๆ
ก็จะมีการสร้างภูมิคุ้มกันต่อต้านมะเร็ง
    นักวิจัยได้สร้าง costimulatory molecules สังเคราะห์
โดยสร้างจาก dendritic เซลล์ และเติมมันลงในวัคซีนที่ใช้รักษาเพื่อ
เพิ่มความแข็งแกร่งให้กับการตอบสนองต่อ killer T-cell costimulatory molecules
ที่ใช้ในวัคซีนรักษารวมถึง ICAM-I, B7.1, และ LFA-3
โดยเมื่อนำมาใช้ร่วมกันในวัคซีน โมเลกุลเหล่านี้จะถูกเรียกว่า TRICOM
    Idiotype (Id) Vaccine: B cell ปกติและชนิดที่เป็นมะเร็งอย่างเช่น
ที่ถูกสร้างโดย multiple myeloma และ lymphoma บางชนิด
แต่ละชนิดจะสร้าง แอนติบอดี้ 1 ชนิด ในผู้ป่วยที่เป็น B cell cancer
จะมีแอนติบอดี้จำเพาะเรียกว่า idiotype (Id) แอนติบอดี้
ซึ่งสามารถให้แอนติเจนจำเพาะสำหรับโรคของผู้ป่วยได้ Id
แอนติบอดี้ยังสามารถใช้ในการสร้างวัคซีนจำเพาะบุคคลหรือ autologous vaccine
โดยเมื่อฉีดเข้าไปในผู้ป่วยปริมาณมาก Id antibodies
จะสามารถกระตุ้นการตอบสนองของระบบภูมิคุ้มกัน
ซึ่งเป็นเป้าหมายสำคัญในการทำลายของ cancerous B cells

12. Adjuvants คืออะไร และมันใช้ในการสร้างวัคซีนมะเร็งอย่างไร

แอนติเจนและสารที่กล่าวถึงในคำถามที่ 10 มักจะไม่เพียงพอสำหรับ
การผลิตวัคซีนมะเร็งที่มีประสิทธิภาพ นักวิจัยได้เพิ่มส่วนผสมอื่นๆที่เรียกว่า adjuvants
ในวัคซีนที่ใช้รักษามะเร็ง โดยสารเหล่านี้จะกระตุ้นการตอบสนอง
ของระบบภูมิคุ้มกันที่เกิดจากการได้รับ antigen
เข้าไปให้มากขึ้นผู้ป่วยที่ได้รับวัคซีนมะเร็ง
อาจได้รับการฉีด adjuvants ต่างหากอีกครั้ง

Adjuvants ที่ใช้ในการทำวัคซีนมะเร็งมาจากหลายแหล่ง
บางชนิดได้จากจุลินทรีย์ เช่น bacterium bacillus Calmette-Guerin (BCG)
ซึ่งโดยปกติแล้วใช้ทำวัคซีนต่อต้านเชื้อวัณโรค ก็อาจนำมาใช้เป็น adjuvants ได้
สารที่ถูกสร้าง โดยแบคทีเรีย เช่น Detox B ก็มีการนำมาใช้
ผลิตภัณฑ์ชีวภาพบางอย่างที่ได้จากสารที่ไม่ใช่จุลินทรีย์ก็อาจนำมาใช้ได้ตัวอย่าง
เช่น keyhole limpet hemocyanin (KLH) ซึ่งเป็นโปรตีนขนาดใหญ่ที่ได้จากสัตว์ทะเล
แอนติเจนที่จับกับKLH จะเพิ่มความสามารถในการกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกัน
สารที่ไม่ได้มาจากสิ่งมีชีวิตบางอย่าง เช่น emuldified oil montanide ISA-51
ก็ใช้เป็น adjuvants ได้

นักวิทยาศาสตร์ยังสามารถใช้ cytokine ชนิดธรรมชาติหรือสังเคราะห์เป็น adjuvants ได้ cytokine คือ
สารที่เป็นผลิตธรรมชาติจากเม็ดเลือดขาวที่ควบคุมและทำให้เกิดสมดุลของระบบภูมิคุ้มกัน
Cytokines บางชนิดอาจเพิ่มบทบาทของ B cells หรือ killer T cells
ขณะที่ cytokines อื่นๆอาจกดการทำงานของเซลล์เหล่านี้ cytokines
มักจะถูกใช้ในวัคซีนรักษามะเร็งและให้ร่วมกัน รวมถึง
interleukin 2(aldesleukind), interferon alpha(INF-a)
และ gralulocyte-macrophage colony-stimulating factor
(GM-CSF or sargramostim)

13.ผลข้างเคียงของวัคซีนมะเร็งมีอะไรบ้าง

วัคซีนที่ใช้ป้องกันหรือรักษามะเร็งมักจะค่อนข้างปลอดภัย
เมื่อเทียบกับวัคซีนทั่วไป อย่างไรก็ดีผลข้างเคียงของวัคซีนมะเร็ง
อาจจะพบได้หลากหลายขึ้นกับสูตรของวัคซีน
และในแต่ละบุคคลก็อาจแตกต่างกัน

ผลข้างเคียงที่พบได้บ่อยที่สุดของวัคซีนมะเร็งคือ
มีการอักเสบบริเวณที่ฉีดยา รายงานอาการที่พบคือ
แดง, ปวด, บวม,ร้อนบริเวณที่ฉีด, คัน และบางครั้งอาจมีผื่นขึ้นได้

ในบางรายอาจมีอาการคล้ายเป็นไข้หวัดใหญ่
หลังได้รับวัคซีน รวมถึง ไข้, หนาวสั่น, อ่อนเพลีย, เวียนศีรษะ,
คลื่นไส้หรืออาเจียน, ปวดกล้ามเนื้อ, ปวดศีรษะ และบางครั้ง
อาจรู้สึกหายใจขัดได้ ความดันโลหิตอาจมีการเปลี่ยนแปลงได้

ปัญหาร้ายแรงอื่นๆ ที่ได้รับรายงานพบในคนจำนวนน้อยที่ได้รับวัคซีนมะเร็ง
ซึ่งปัญหาเหล่านี้อาจจะหรืออาจจะไม่ได้เกิดจากวัคซีนก็ได้
ปัญหาที่ได้รับรายงานยังรวมถึง หอบหืด, ไส้ติ่งอักเสบ,
อักเสบในอุ้งเชิงกราน และภาวะภูมิแพ้ต่อระบบภูมิคุ้มกันของตัวเอง
รวมถึงข้ออักเสบและ systemic lupus erythematosus

วัคซีนก็อาจคล้ายคลึงกับยาอื่นๆที่มีผลต่อระบบภูมิคุ้มกันก็คือ
อาจทำให้เกิดผลที่ไม่พึงประสงค์จากยากที่อาจทำให้เสียชีวิตได้
ตัวอย่างเช่น การแพ้อย่างรุนแรงจากส่วนประกอบบางอย่าง
ในวัคซีนที่เกิดขึ้นหลังได้รับวัคซีน
อย่างไรก็ดีปฎิกริยาเหล่านี้ค่อนข้างพบได้น้อยมาก

โค๊ด:
https://www.chulacancer.net/health-tips-groupview.php?gid=216


บันทึกการเข้า

eskimo_bkk-LSV team♥
.กลุ่มผู้มีน้ำใจงาม..
member
*

คะแนน1887
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 13885


ไม่แล่เนื้อเถือหนังพวก


อีเมล์
« ตอบ #1 เมื่อ: ธันวาคม 08, 2023, 01:54:08 pm »

จากการเสวนาวิชาการ Chula the Impact ครั้งที่ 7 เรื่อง
“ความก้าวหน้าวัคซีนรักษามะเร็งเฉพาะรายบุคคล นวัตกรรมแห่งความหวังของสังคมไทย”
ซึ่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจัดขึ้น
เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 10 กุมภาพันธ์ 2565 ณ ห้อง 111 อาคารมหาจุฬาลงกรณ์
เพื่อนำเสนอความคืบหน้าล่าสุดของนวัตกรรมการรักษาโรคมะเร็งด้วยวัคซีน
โดยศูนย์ความเป็นเลิศด้านภูมิคุ้มกันบำบัดมะเร็ง
คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
และโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย

ศ.ดร.บัณฑิต เอื้ออาภรณ์ อธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  ได้วางยุทธศาสตร์ในการเป็นมหาวิทยาลัยนวัตกรรมชั้นนำ
ที่มุ่งสร้างสรรค์องค์ความรู้และผลผลิตจากงานวิจัย ตลอดจนสร้างบัณฑิตที่เป็นนวัตกร
เป็นผู้นำสร้างสรรค์สังคมไทยในปัจจุบันและอนาคต จุฬาฯ
มุ่งส่งเสริมให้ผลงานวิจัยจุฬาฯ เชื่อมโยงกับประชาชนคนไทยและประชาคมโลก
เพื่อขับเคลื่อนให้จุฬาฯ เป็นมหาวิทยาลัยระดับชาติที่ก้าวสู่
ความเป็นนานาชาติอย่างเต็มภาคภูมิ

โครงการแพทย์จุฬาฯ พัฒนางานวิจัยภูมิคุ้มกันบำบัดมะเร็ง
เป็นหนึ่งในโครงการวิจัยขนาดใหญ่ของจุฬาฯ เป็นความร่วมมือระหว่างหลายคณะ สถาบัน
และโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย โดยได้รับการสนับสนุนจากกองทุนศตวรรษที่ 2 ของจุฬาฯ
ช่วยขับเคลื่อนให้งานวิจัยของจุฬาฯ ก้าวกระโดด หลุดพ้นจากกับดัก
งานวิจัยที่ตามหลังต่างประเทศ ที่สำคัญคือเป็นงานวิจัยที่นำไปใช้ได้ผลจริง
เกิดผลกระทบต่อสังคมในเชิงบวก งานวิจัยนี้ได้รับความร่วมมือบริจาค

จากประชาชนจำนวนมาก ช่วยลดปัญหาในเชิงสาธารณสุข
และสังคมสูงวัยที่ปัจจุบันมีจำนวนผู้ป่วยเป็นมะเร็งจำนวนมาก

รศ.นพ.ฉันชาย สิทธิพันธุ์ คณบดีคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
และผู้อำนวยการโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย กล่าวว่า
คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ  และโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์   
มีความมุ่งมั่นในการแก้ปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศ
โดยเฉพาะอย่างยิ่งโรคมะเร็งที่เป็นสาเหตุในการเสียชีวิตอันดับหนึ่งของคนไทย
โดยมีการสร้างโครงสร้างพื้นฐานเพื่อสนับสนุนและถ่ายทอดงานวิจัยมาสู่การทดลอง
รักษาผู้ป่วยโดยเร็วที่สุด นำไปสู่การขยายขีดจำกัดในการให้บริการและรองรับผู้ป่วยได้อย่างเพียงพอ
อย่างไรก็ตาม การลงทุนเพื่อพัฒนางานวิจัยด้านภูมิคุ้มกันบำบัดมะเร็ง
คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จำเป็นต้องใช้เงินทุนสูงมาก
จึงได้มีโครงการเพื่อขอรับการสนับสนุนเพื่อการวิจัยด้านการรักษามะเร็ง
ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากภาคเอกชนและประชาชนอย่างต่อเนื่อง

“มะเร็งถือเป็นปัญหาทางสาธารณสุขที่สำคัญที่สุดของประเทศไทย
จากสถิติมีผู้ป่วยที่เสียชีวิตจากโรคมะเร็งไม่ต่ำกว่าแสนรายต่อปี
และมีผู้ป่วยเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ศูนย์ความเป็นเลิศด้านภูมิคุ้มกันบำบัดมะเร็ง
คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ได้ดำเนินการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับโรคมะเร็งครบวงจร
ตั้งแต่การวินิจฉัย รักษาโรงมะเร็ง ตลอดจนการดูแลติดตามผลหลังการเป็นโรค
สิ่งสำคัญที่สุดคือการป้องกันและวินิจฉัยให้เร็ว
ถ้าพบในระยะแรกๆ มีโอกาสสามารถหายขาดได้”

รศ.ดร.นพ.วิโรจน์ ศรีอุฬารพงศ์ หัวหน้าศูนย์ความเป็นเลิศทางการแพทย์โรคมะเร็งครบวงจร
โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย กล่าวว่า
ปัจจุบันการให้ยารักษามะเร็ง มีแนวทางหลัก 3 วิธี คือ 

ยาเคมีบำบัด เป็นการรักษาที่ค่าใช้จ่ายไม่สูง
มีประสิทธิภาพปานกลาง และอาจมีผลข้างเคียงที่มาก

ยามุ่งเป้า เป็นการให้ยารักษาที่จำเพาะต่อการกลายพันธุ์ของมะเร็ง
มีประสิทธิภาพจำเพาะเฉพาะในรายที่มีการกลายพันธุ์ตรงกับตัวยา
อาการข้างเคียงมักจะไม่รุนแรงเมื่อเทียบกับยาเคมีบำบัด  และ

ภูมิคุ้มกันบำบัด ซึ่งมีทั้งการรักษาแบบการให้
ยาแอนติบอดีและการใช้เซลล์บำบัด
ทั้งสองแนวทางนี้ได้รับการอนุมัติให้ใช้รักษาผู้ป่วย     
ไม่จำเพาะกับชนิดมะเร็ง ส่วนใหญ่มีผลข้างเคียงน้อย

ปัจจุบันโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
และศูนย์ความเป็นเลิศด้านภูมิคุ้มกันบำบัดมะเร็ง
ได้มีการวิจัยและพัฒนาการรักษาโรคมะเร็งด้วยภูมิคุ้มกันบำบัด
มุ่งเน้นพัฒนาการรักษาใน 3 วิธีคือ
เซลล์บำบัดมะเร็ง
วัคซีนรักษามะเร็งเฉพาะบุคคล
และยาแอนติบอดีต้านมะเร็ง (ยาภูมิต้านมะเร็ง)
ซึ่งภูมิคุ้มกันบำบัดทั้ง 3 วิธีนี้มีจุดเด่นที่แตกต่างกัน
สามารถใช้รักษาร่วมกัน และใช้ร่วมกับการรักษามะเร็ง
ด้วยวิธีการอื่นๆ ได้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการรักษา

“มะเร็งเป็นความผิดปกติของเซลล์ในร่างกาย
ปัจจุบันมีการรักษาโดยการผ่าตัด การฉายรังสี และรักษาด้วยยา
รวมทั้งมีการวิจัยและพัฒนามุ่งเน้นการรักษาที่เฉพาะเจาะจง
ไปในรายบุคคลให้มีความแม่นยำมากขึ้น
ปัจจุบันการรักษาด้วยภูมิคุ้มกันบำบัดเป็นนวัตกรรมใหม่
ที่คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ อยู่ในขั้นตอนการวิจัยในผู้ป่วยโรคมะเร็ง
เป้าหมายในอนาคตจะมีการทดสอบในวงกว้างต่อไป
” รศ.ดร.นพ.วิโรจน์ กล่าว

อ.นพ.ไตรรักษ์ พิสิษฐ์กุล หัวหน้าศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาเชิงระบบ
คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ เผยถึงโครงการพัฒนาวัคซีนรักษามะเร็งเฉพาะบุคคลว่า
ทีมวิจัยได้พัฒนาวัคซีนรักษามะเร็งเฉพาะบุคคลมาตั้งแต่ปี 2560
จนถึงขั้นตอนทดสอบทางคลินิกระยะที่ 1 ให้กับอาสาสมัคร
ตั้งแต่เดือนมกราคม 2564 นับเป็นการทดสอบทางคลินิกครั้งแรก
ในประเทศไทยและในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

การผลิตวัคซีนเฉพาะบุคคลนี้ต้องใช้ข้อมูลการกลายพันธุ์ที่ตรวจพบในผู้ป่วยรายนั้น
เพื่อกระตุ้นให้เกิดการสร้างภูมิคุ้มกันที่จำเพาะต่อการกลายพันธุ์ของมะเร็ง
เนื่องจากมะเร็งของผู้ป่วยแต่ละคนมีการกลายพันธุ์ส่วนใหญ่ที่ต่างกัน
การผลิตวัคซีนจึงต้องทำครั้งละ 1 ราย เพื่อให้เกิดการกระตุ้นภูมิคุ้มกัน
ที่จำเพาะและมีประสิทธิภาพไว้ต่อสู้กับโรคมะเร็ง
ในการให้วัคซีนรักษามะเร็งเฉพาะบุคคล เริ่มต้นด้วยการนำชิ้นเนื้อมะเร็ง
จากผู้ป่วยมาถอดรหัสพันธุกรรม เพื่อตรวจหาการกลายพันธุ์ที่พบในชิ้นเนื้อมะเร็งเท่านั้น
ซึ่งไม่พบในเซลล์ปกติของร่างกาย และนำข้อมูลการกลายพันธุ์
มาผลิตเป็นชิ้นส่วนของโปรตีนของมะเร็งที่กลายพันธุ์
ขนาดเล็ก ที่มีเพียงข้อมูลการกลายพันธุ์แต่ไม่สามารถก่อโรคได้
โดยไม่มีการฉีดเซลล์มะเร็งเข้าในร่างกาย แต่อย่างใด
หลังฉีดวัคซีน เม็ดเลือดขาวชนิด antigen presenting cells
จะกินชิ้นส่วนโปรตีนกลายพันธุ์ที่ผลิตไว้ และกระตุ้นเม็ดเลือดขาวชนิด
ทีเซลล์ให้รู้จักการกลายพันธุ์ของมะเร็งมากขึ้นอย่างจำเพาะ
ดังนั้นวัคซีนนี้จึงเป็น

“วัคซีนรักษามะเร็ง” ไม่ใช่วัคซีนป้องกันมะเร็ง

ในต่างประเทศ เช่น ที่มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด
มีการศึกษาพบว่าการใช้วัคซีนรักษามะเร็งเฉพาะบุคคลร่วมกับ
การให้ยาแอนติบอดีที่ช่วยเสริมการทำงานของภูมิคุ้มกัน
สามารถเพิ่มประสิทธิภาพการรักษาให้สูงขึ้นได้

“การทำวัคซีนเฉพาะบุคคล ถ้าประเทศไทยสามารถทำเอง
จะได้ทั้งราคาที่ถูกลงและมีความเฉพาะบุคคลสูง
ทำให้เกิดการเข้าถึงนวัตกรรมวัคซีนนี้ได้มากขึ้น
สามารถลดต้นทุนการนำเข้าจากต่างประเทศได้มากกว่าครึ่งหนึ่ง
ของราคาในปัจจุบัน” อ.นพ.ไตรรักษ์กล่าว

ระยะเวลา 1 ปีที่ผ่านมา ทีมวิจัยได้ทดสอบวัคซีนรักษามะเร็ง
เฉพาะบุคคลกับอาสาสมัครผู้ป่วยมะเร็งระยะที่ 4 จำนวน 4 ราย
แบ่งเป็นผู้ป่วยมะเร็งผิวหนังชนิดเมลาโนมา (melanoma) 3 ราย
และมะเร็งไต 1 ราย พบว่าการฉีดวัคซีนมีความปลอดภัย
พบผลข้างเคียงน้อย เช่น มีอาการปวดตรงจุดที่ฉีดวัคซีน
ไม่พบผลข้างเคียงรุนแรง และหลังจากการฉีดวัคซีน 3 สัปดาห์
พบว่าการตอบสนองทางภูมิคุ้มกันในผู้ป่วยทั้ง 4 ราย
ดีขึ้นอย่างชัดเจน และเป็นการตอบสนองทางภูมิคุ้มกัน
ที่มีความจำเพาะต่อชิ้นส่วนการกลายพันธุ์ของผู้ป่วยมะเร็งรายนั้น

นอกจากนี้ ทีมวิจัยได้ตรวจติดตามการตอบสนองทางพยาธิวิทยาในผู้ป่วย 1 ราย
โดยประเมินการกระจายตัวของเม็ดเลือดขาวชนิดทีเซลล์ในชิ้นเนื้อมะเร็ง
พบว่ามีการเปลี่ยนแปลงที่ชัดเจน โดยก่อนฉีดวัคซีน
ตรวจพบเซลล์เม็ดเลือดขาวอยู่บริเวณรอบนอกก้อนมะเร็งเป็นหลัก
หลังได้รับวัคซีนพบว่าเม็ดเลือดขาวมีการเปลี่ยนแปลง ตอบสนองในทางบวก
มีการกระจายตัวเข้าไปในชิ้นเนื้อมะเร็งมากขึ้น
ปัจจุบันผู้ป่วยรายนี้อาการคงที่หลังได้รับการรักษา
ด้วยวัคซีนมะเร็ง และตรวจติดตามเป็นเวลา 9 เดือน

อ.นพ.ไตรรักษ์เผยถึงเป้าหมายอีก 4 ปีข้างหน้าว่า
หากมีการพิสูจน์ประสิทธิภาพของวัคซีนได้ 
ทีมวิจัยจะเดินหน้าเข้าสู่การทดสอบทางคลินิกระยะถัดไป
โดยเริ่มเปิดให้บริการในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย
เมื่องานวิจัยสามารถพิสูจน์ถึงประสิทธิภาพและความปลอดภัย
จะดำเนินการขึ้นทะเบียน ในขณะเดียวกัน ศูนย์ความเป็นเลิศด้านภูมิคุ้มกันบำบัดมะเร็ง
ได้ทำการวิจัยและพัฒนายา

แอนติบอดีรักษามะเร็ง (ยาภูมิต้านมะเร็ง)
คู่ขนานกันไป ปัจจุบันอยู่ในขั้นตอนการผลิตในโรงงาน

โดยจะเริ่มการทดสอบในสัตว์ทดสองในปี 2565
และเริ่มการทดสอบทางคลินิกในผู้ป่วยมะเร็งในปี 2566 ในต่อไป
ซึ่งหากการพัฒนาวัคซีนรักษามะเร็งเฉพาะบุคคล
และยาแอนติบอดีประสบผลสำเร็จ จะสามารถใช้การรักษาทั้ง 2 วิธีควบคู่กัน
เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการรักษามะเร็งให้ดีขึ้น
และส่งผลต่อราคาที่ผู้ป่วยสามารเข้าถึงการรักษาได้

ทั้งนี้ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย
ได้ดำเนินการสร้างห้องปลอดเชื้อพิเศษเพื่อการผลิตเซลล์และวัคซีนรักษามะเร็ง
เฉพาะบุคคลเพิ่มเติมในอาคารบูรณาการวิจัยใหม่ร่วมกับอาคารรักษาพยาบาล
ที่เน้นการดูแลผู้ป่วยโรคมะเร็งอย่างครบวงจร
รวมกันเป็น
“ศูนย์บูรณาการวิจัยและรักษาโรคมะเร็งของโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย”

ซึ่งคาดว่าจะสร้างแล้วเสร็จในเดือนกุมภาพันธ์ 2567
โค๊ด:
https://www.chula.ac.th/news/64312/

โค๊ด:
https://www.facebook.com/watch/?v=2094349840771842
บันทึกการเข้า
eskimo_bkk-LSV team♥
.กลุ่มผู้มีน้ำใจงาม..
member
*

คะแนน1887
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 13885


ไม่แล่เนื้อเถือหนังพวก


อีเมล์
« ตอบ #2 เมื่อ: พฤษภาคม 15, 2024, 07:06:37 am »

อาจารย์ปูชนียบุคคลทางวิทยาศาสตร์ของประเทศไทย
ที่ไม่ใช่ จุฬา ส่งข่าวมาว่า
อยากให้ตรวจสอบถามโครงการที่ทำ Crowdfunding
ขอบริจาคจากประชาชนอย่างต่อเนื่อง เพื่อหา 
PD1 /PDL1 monoclonal Ab ซึ่งได้เงินบริจาคหลายร้อยล้าน
ว่าผลเป็นอย่างไร เงินหมดไปเท่าไรครับ ?
“ผมเคยพูดไว้แล้วว่า
จุฬาขอบริจาคแบบ aggressive มากๆ  ทำให้คนที่ไม่บริจาค เหมือนกับทำผิด
และยังบอกไว้ด้วยว่า  ถ้าไม่สำเร็จ
ก็จะทำให้สังคมไม่เชื่อถือนักวิจัยอีกต่อไป !”
นี่เป็นการประชาสัมพันธ์ให้คนบริจาคตั้งแต่ 4 ธันวาคม 2018
และจนกระทั่งถึงปัจจุบัน 2024 ยังไม่มีรายงานความก้าวหน้าอะไรทั้งสิ้น
และขณะเดียวกันจะจับมือกับ องค์การเภสัชกรรม
เพื่อทำโครงการต่อ ในขณะที่ได้เงินบริจาคไปน่าจะหลายร้อยล้าน
แต่ไม่มีใครตรวจสอบเลย


(และยังมีโครงการรักษามะเร็งด้วยกระบวนการ CAR-T cell อีก ซึ่งเป็นการระดมทุนเช่นเดียวกัน)

-------------------------------------------------------------------------

จะมีการแถลงข่าวประชาสัมพันธ์
โครงการรักษามะเร็งวันที่ 15 พฤษภาคม 2567
โดยร่วมทุนกับองค์การเภสัชกรรม
ที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์
เป็นสิ่งที่ประชาชนต้องสนใจเพราะมีการรับบริจาคมา ห้าถึงหกปีแล้ว
และความคืบหน้าเป็นอย่างไร
การพัฒนาเป็นการก๊อปปี้แบบเดียวกับที่ทำวัคซีนโควิด
โดยก๊อปจากไฟเซอร์และวัคซีนวัคซีนโควิดของจุฬา
ได้ประกาศเลิกทำแล้วในเดือนพฤษภาคม 2567 นี้
ใช้เงินไปเกือบ 1000 ล้านบาท
และยังมีเรื่องยาพ่นจมูก chula Covi-trap ซึ่งโฆษณาประชาสัมพันธ์ มากมาย
โดยทำจากแอนติบอดีที่เฉพาะเจาะจงกับสายพันธุ์
โดยที่โควิดเปลี่ยนสายพันธุ์ไปเรื่อยเรื่อย ลักษณะดังดังกล่าว
ได้รับเงินทุนบริจาคหรือไม่อย่างไร
และได้ผลเพียงใดเมื่อเทียบกับยา พ่นจมูกแบบปกติ
ที่ขายอยู่หลายยี่ห้อ ที่กันไม่ให้เชื้อโรคเกาะติดที่ผนังจมูก
และลำคอเท่านั้นและราคาถูกกว่า
โดยไม่ได้ขอบริจาคจากประชาชน
••• ต้องมีกรรมการภายนอกตรวจสอบ
ทั้งทางวิชาการการใช้เงินมีใครที่ได้รับเงินไปบ้าง

โค๊ด:
Cr: https://www.facebook.com/thiravat.h

 Sad
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1 RC2 | SMF © 2001-2006, Lewis Media

lsv2555Please follow the new website at https://www.pohchae.com

Valid CSS!