ฟิวส์หลอดแก้ว ในไขควงวัดไฟใช้ กี่แอมป์ ? คนขาย ไทยวัสดุ บอก ต้องใช้ 20-25 แอมป์..ผมเองยังไม่เคยเจอไขควงวัดไฟใช้ฟิวส์20-25 แอมป์ เคยเจอ
แต่บางรุ่นมีแท่งคาร์บอน์ทรงกระบอกกลมๆอัดหัวสปริงค์เพื่อกดอุปกรณ์ไว้ให้แน่นเท่านั้น ..
แต่บางทีผมอาจจะทิ้งงานซ่อมไปนาน10กว่าปี
หากมีไขควงวัดไฟใช้ฟิวส์ 20-25 แอมป์ จริง
เพื่อนช่างพบเห็นก็ช่วยกันมาโพส
ด้วยความขอบคุณยิ่งครับผม [/b]
-----------------------------------------
ถึงผมเอามาตั้งกระทู้
ผมเลย สงสัยไงว่า ? มัน มั่วหรือเปล่า
พนักงานขายในห้าง อยากทำยอด อยากขายโดย ให้ข้อมูลผิดๆกับลูกค้า
เจอบ่อยมากกับการซื้อสินค้าไม่ตรงปก
ยิ่งกับระบบไฟฟ้า ตายจริง ไม่มี ตัวแทน
----------------------------------------------------
เมื่อปลายไขควงวัดไฟสัมผัสกับตัวนำที่มีกระแสไฟฟ้า
กระแสไฟฟ้าจะไหลผ่านตัวต้านทาน
เพื่อทำการจำกัดกระแสให้ลดลงจนอยู่ในระดับ
ที่ไม่ทำให้เกิดอันตรายต่อผู้ใช้งาน
จากนั้นจึงไหลผ่านไปยังหลอดนีออน
ก่อนจะไหลต่อเนื่องไปยังร่างกายของผู้ใช้งาน
แล้วไหลลงพื้นเป็นอันครบวงจร
ทำให้หลอดนีออนสว่างขึ้นมาได้
และเป็นเหตุผลที่ระหว่างใช้งานไขควงวัดไฟต้องไม่ใส่รองเท้านั่นเอง
ภายในไขควงเช็คไฟประกอบไปด้วย
ปลายไขควง, ตัวต้านทาน, หลอดนีออน,สปริง และจุดสัมผัสทำจากโลหะ
ส่วนประกอบที่จำเป็นหรืออาจกล่าวได้ว่ามีแค่นี้ก็พอ
นั้นก็คือตัวต้านทานสำหรับจำกัดกระแสไฟฟ้า
และหลอดนีออนสำหรับแสดงสถานะเท่านั้น
ส่วนสปริงนั้นเอาไว้ดันให้อุปกรณ์
ที่บรรจุภายในแท่งไขควงแนบสนิทกันอยู่ตลอดเวลา
หลักการของไขควงเช็คไฟนั้นอาศัยค่าความต่างศักย์ของกระแสไฟฟ้า
นั่นก็คือกระแสไฟฟ้าจะไหลจากจุดที่มีศักย์มากไปยังที่ๆ มีศักย์น้อยกว่านั่นเอง
โดยเมื่อปลายไขควงสัมผัสกับตัวนำที่มีกระแสไฟฟ้า
กระแสไฟฟ้าจะไหลผ่านตัวต้านทาน
เพื่อทำการจำกัดกระแสให้ลดลงเหลือเพียง 0.1 ถึงประมาณ 0.2mA เท่านั้น
ทำให้ไม่เกิดอันตรายกับผู้ใช้
ซึ่งเท่ากับ 0.1157 mA (มิลลิแอมป์)
หรือ 0.0001157 A (แอมป์)
น้อยมากๆ จนไม่รู้สึก
แล้วจึงไหลผ่านไปยังหลอดนีออน
(หลอดนีออนจะใช้กระแสไฟฟ้าเพียงเล็กน้อยก็สว่างแล้ว)
ต่อไปยังร่างกายของผู้ใช้งานแล้ว
ไหลลงพื้นเป็นอันครบวงจร ทำให้หลอดนีออนติดสว่างขึ้นมานั่นเอง
สรุป : หลอดนีออนแบบฟิวส์ ตัวต้านทาน มี 0.0001157 A (แอมป์)