Cannabisนัดสำคัญ...20 เมษา #วันกัญชาโลก
ขอเชิญเพื่อนกัญ..พบปะสังสรรค์
ขับเคลื่อนพลักดัน..เสรีกัญชาไทย
-----------------------------------------------------------
อ่าน พ.ร.บ.อนุทินแล้วมีข้อสงสัยว่า
กัญชาเป็นพืชหรืออาวุธสงคราม ?
ทำไม พ.ร.บ.ฉบับอนุทินจึงเขียน เช่นนี้
คำตอบมีเพียงหนึ่งเดียวคือ
โครงสร้างกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับมูลค่าเศรษฐกิจ
เกือบทุกฉบับในประเทศนี้มีปรัชญาเดียวคือ
ทำให้เสรีในหลักการแต่ควบคุมกำกับโดยกลไกต่างๆ
เพื่อกีดกัน"ประชาชน" แต่รองรับกลุ่มทุนใหญ่ เช่น
กฎหมายเบียร์ กฎหมายไฟฟ้า
สำหรับกัญชานั้นมีมุลค่าการตลาดหลายหมื่นล้านบาท
จึงต้องร่างกฎหมายตามปรัชญาดังกล่าว
ถึงแม้ว่ากัญชาจะไม่เป็นยาเสพติด
แต่กลไกที่ออกมาตาม พ.ร.บ.ของอนุทิน
กลับสร้างกลไกการควบคุมยิ่งกว่าตอนเป็นยาเสพติด
.
ทำไมอนุทินจึงทำเช่นนี้...
การปลดกัญชาออกจากยาเสพติด
ก็เพื่อทำให้การค้าทำได้โดยสะดวก
แต่โจทย์สำคัญคือจะทำอย่างไรให้มูลค่าทางการค้า
ตกอยู่ในมือคนกลุ่มเดียวได้อย่างไร
ฉะนั้นจึงออกกฎหมายมาควบคุม
พ.ร.บ.ของอนุทิน มี 45 มาตรา
ร้อยละ 90 เขียนถึงการควบคุมการผลิต
ส่วนการคุ้มครองผู้บริโภคพูดถึงเพียงมาตราเดียว
พ.ร.บ.อนุทิน ควบคุมอย่างไร
ขั้นแรกใครจะปลูกได้หรือไม่ ขึ้นอยู่กับ
รมต.สาธารณสุขออกประกาศ
หากใครมีคุณสมบัติตามประกาศ
จะต้องมีใบอนุญาตใบละ 50,000 บ.
หากแปรรูปด้วยต้องขออีกใบราคาใบละ 50,000 บาท
หากจะนำเข้าต้องจ่ายใบละ 100,000 บาท
จะส่งออกใบละ 10,000 บาท
หากจะขายภายในประเทศใบละ 50,000 บาท
ค่าคำขอครั้งละ 7,000 บาท
ค่าตรวจอาคารครั้งละ 50,000 บาท
แม้ว่าจะยังไม่มีประกาศกระทรวงแต่เดาได้เลยว่า
คุณสมบัติของผู้ที่ได้รับอนุญาตต้องไม่หยิ่งหย่อนไปกว่าก่อนหน้านี้
ที่ลงทุนแล้วเจ๊งกันมากมาย
เพราะกำหนดคุณสมบัติแบบที่ประชาชนทำไม่ได้
และ การอนุญาตนั้นได้เฉพาะเครือข่ายของ
พรรคการเมืองนี้เท่านั้น และ ใน พ.ร.บ.อนุทิน
หากถูกเพิกถอนใบอนุญาตต้องรอสามปีจึงจะขอใหม่ได้
อนุทินสร้างกลไกชนิดหนึ่งขึ้นมาใน พ.ร.บ. คือ
กลไกของผู้เชี่ยวชาญ อันนี้คือ
กลไกแห่งผลประโยชน์ทับซ้อนหากเทียบเคียงกับกฎหมายฉบับอื่น
เพราะผู้เชี่ยวชาญย่อมใช้ดุลพินิจ ที่จะให้ใครได้รับอนุญาต
หรือ วินิจฉัยว่าใครจะมีความผิด
ซึ่งผู้ที่กำหนดคุณสมบัติของผู้เชี่ยวชาญคือ
รมต.สาธารณสุข
ผู้เชี่ยวชาญคือคนชี้เป็นชี้ตาย
หากต้องการใบอนุญาตก็จ่ายใต้โต๊ะ
หากไม่อยากโดนกลั่นแกล้งก็จ่ายใต้โต๊ะ
หรือไม่ก็ต้องทำงานรับใช้กลุ่มทุนกัญชา
ที่สร้างตัวเองขึ้นมาระยะหนึ่งแล้ว
และเป็นที่มาของ พ.ร.บ.ฉบับนี้ด้วย
นอกจาก กลไกการอนุญาตที่แสนยากแล้ว
พ.ร.บ.ของอนุทินยังสร้างกลไกหนึ่งขึ้นมาเพื่อจัดการควบคุม คือ
ให้อำนาจ จนท.เข้า ตรวจค้น ยึด อายัด กัญชา กัญชง
ยึดเครื่องมือ อุปกรณ์ ฉลาก บรรจุภัณฑ์ ทุกชนิด
และหากว่า จนท.สงสัยว่า ใครจะยักย้าย ถ่ายเท
สามารถเข้าตรวจค้นได้โดยไม่ต้องมีหมายค้น
โดยให้ถือว่าการกระทำของ จนท.เหล่านี้เป็น
เจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา
กลไกเช่นนี้สร้างขึ้นมาเพื่อเป็นอาวุธในการทำลายคู่แข่ง
และ เป็นกลไกเพื่อเรียกรับผลประโยชน์...
ทั้งนี้เพราะรายได้ที่เกิดขึ้นทั้งหมดไม่ต้องนำส่งเป็นรายได้แผ่นดิน
ฉะนั้นเมื่ออ่านกฎหมายทั้ง 45 มาตราแล้ว
ทำการสรุปว่า พ.ร.บ.อนุทินนั้นเกิดขึ้นเพื่อควบคุม
ทางการค้าสำหรับมูลค่าหลายหมื่นล้าน
หากยังสงสัยเรื่องกฎหมายกัญชา ให้
กลับไปดูกฎหมายการผลิตเบียร์
เพราะเขียนจากรากฐานปรัชญาเดียวกัน นั่นคือ
ทำให้เสรีแล้วควบคุม ให้คนกลุ่มเดียวเท่านั้นที่สามารถทำได้
ประชาชนในภาคใต้ที่เข้าร่วมเวทีล้วนมีความเห็นร่วมกันว่า
ต้องล้ม พ.ร.บ.อนุทิน
พ.ร.บ.ฉบับอนุทิน ปฏิบัติกับกัญชาเหมือนกับอาวุธสงคราม
ทั้งที่มันคือพืชพื้นเมืองที่เป็นสิทธิ
ของประชาชนที่จะเข้าถึงได้ เหมือนกับ
พริกขี้หนู กะหล่ำปลี
............
ประชาชนในภาคใต้มีความเห็นว่า
กฎหมายกัญชาต้องอยู่บนฐานปรัชญา ดังนี้
1.ต้องเป็นกฎหมายส่งเสริม วิจัย พัฒนา ไม่ใช่กฎหมายควบคุม
2.กลไกที่ออกแบบต้องยึดหลักกระจายอำนาจ
ไม่ใช่ผูกขาดอำนาจที่ส่วนกลาง
3.ให้เน้นกลไกการคุ้มครองผู้บริโภคและให้เสรีการปลูกเหมือนพืชทั่วไป
การคุ้มครองผู้บริโภคให้ยึดถือตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง เช่น
นำกัญชาไปผลิตเป็นอาหารและยา
ต้องผ่านมาตรฐานองค์การอาหารและยา เป็นต้น
ส่วนการใช้กัญชาเพื่อสันทนาการให้เป็นหน้าที่
การกำหนดของคณะกรรมการระดับจังหวัด
4.การปลูกให้แจ้งที่องค์การบริหารส่วนท้องถิ่นโดยแต่ละท้องถิ่น
ให้ตั้งคณะกรรมการขึ้นมาชุดหนึ่งประกอบด้วย
หน่วยงานในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและภาคประชาชนในสัดส่วนที่เท่ากัน
โดยคณะกรรมการดังกล่าวมีหน้าที่สำหรับ
การรับจดแจ้งเท่านั้นไม่มีหน้าที่สำหรับการพิจารณาอนุญาต
5.ให้ส่งเสริมการพัฒนาพันธุ์กัญชาพื้นเมืองในแต่ละท้องถิ่น
โดยหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้องร่วมมือกับสถาบันวิชาการในท้องถิ่น
6.ให้มีคณะกรรมการระดับจังหวัดขึ้นมาชุดหนึ่งประกอบด้วย
หน่วยงานราชการ วิชาการ ภาคประชาชน ในสัดส่วนที่เท่ากัน
เพื่อทำหน้าที่ส่งเสริมให้เกิดการพัฒนารูปแบบการผลิต
การแปรรูป กัญชา กัญชง เพื่อการกระจายผลประโยชน์ให้เกิดขึ้นแก่ประชาชน
รวมทั้งการกำหนดพื้นที่การใช้กัญชาเพื่อสันทนาการในจังหวัดนั้นๆ
7.ในการนำเข้า ส่งออก ให้ขออนุญาตกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
8.การรวมกลุ่มของประชาชนเพื่อดำเนินกิจการ
เกี่ยวกับกัญชา กัญชง ให้เป็นไปตามกฎหมายเดิมที่มีอยู่
9.ห้ามจำหน่ายกัญชาแก่ บุคคลที่มีอายุต่ำกว่า 20 ปี สตรีตั้งครรภ์
สตรีให้นมบุตร หรือบุคคลอื่นตามประกาศ ยกเว้น
ผู้ประกอบอาชีพเวชกรรมที่มีใบอนุญาตสำหรับการรักษา
เราจะเดินทางรับฟังความเห็นต่อ ภาคกลาง ตะวันออก อีสาน เหนือ
และ รวมตัวกันทุกภาค วันที่ 20 เม.ย.นี้ที่ทำเนียบรัฐบาล
20 เมษา....เจอกันที่ทำเนียบรัฐบาล