TCAS หรือ Thai University Center Admission System
คือระบบการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาต่อในระดับมหาวิทยาลัย ซึ่งจะเริ่มนำมาใช้ในปีการศึกษา 2561 เป็นระบบที่ออกแบบโดยที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.)
TCAS มีขั้นตอนอย่างไร
ระบบ TCAS ที่ทาง ทปอ. ได้ประกาศออกมา มี 5 ขั้นตอน ดังนี้
1. คัดเลือกโดยการส่งแฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio)
ในรอบนี้จะพิจารณาจากผลงานของนักเรียนที่นำมาใส่ Portfolio ไม่มีการสอบข้อเขียน ซึ่งแต่ละมหาวิทยาลัยจะคัดเลือกนักเรียนจำนวนหนึ่ง อาจจะมีกาสัมภาษณ์หรือทดสอบทักษะเฉพาะทาง โดยการคัดเลือกในรอบนี้เป็นแค่การ Pre-screening เท่านั้น
2. สมัครโควตาแบบมีสอบข้อเขียน สำหรับนักเรียนในพื้นที่
ในรอบนี้จะเป็นการรับนักเรียนแบบโควตา สำหรับนักเรียนที่อยู่ในพื้นที่ หรือ รอบเขตการศึกษา ที่ทางมหาวิทยาลัยกำหนด ในขั้นตอนนี้ทางมหาวิทยาลัยสามารถจัดสอบเองได้เลย หรือจะใช้ข้อสอบส่วนกลาง อย่าง 9วิชาสามัญ หรือ GAT/PAT เพื่อคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษา
3. การรับตรงร่วมกัน
ในรอบนี้เป็นการสอบรับตรง ซึ่งโครงการรับตรงอย่าง กสพท. ก็รวมอยู่ในรอบนี้ด้วย โดยทาง ทปอ. จะเป็นส่วนกลางในการรับสมัครในรอบนี้ และทางมหาวิทยาลัยจะพิจารณาผลการคัดเลือก โดยผู้สมัครสามารถเลือกได้ 4 สาขาวิชา
4. การรับ Admission
ในรอบนี้ยังคงใช้เกณฑ์ในการคัดเลือกแบบ Admission โดยใช้องค์ประกอบของคะแนน อย่างเช่น GPAX, O-NET, GAT/PAT หรืออื่นๆ ซึ่งผู้สมัครสามารถเลือกได้ 4 สาขาวิชา
5. การรับตรงแบบอิสระ
ทางมหาวิทยาลัยสามารถใช้เกณฑ์การสอบที่จัดขึ้นเอง หรือการสอบวิชาเฉพาะ และส่งผลการคัดเลือกให้ทาง ทปอ.
เหมือนหรือแตกต่าง?
ทุกๆคนคงจะสงสัยว่ามันต่างกับการคัดเลือกที่ผ่านๆมายังไง ระบบTCAS มีการเพิ่ม Clearing-House เป็นระบบที่ใช้ในการยืนยันสิทธิ์ ซึ่งผู้ที่ผ่านการคัดเลือกในแต่ละรอบจะต้องกดยืนยันสิทธิ์เคลียริ่งเฮาส์ในการที่จะเข้าเรียนได้แค่คนละ 1 ที่ เท่านั้น ระบบนี้สร้างมาเพื่อไม่ให้ผู้ที่ผ่านการคัดเลือกหลายๆที่พร้อมกัน กันที่ ของคนอื่นนั่นเอง และยังสะดวกต่อทางมหาวิทยาลัยในการนับจำนวนคนอีก
สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม สามารถติดตามได้ที่เว็บไซด์ของ ทปอ. http://tcas61.cupt.net/ ซึ่งจะเปิดให้ใช้กันในวันที่ 2 มิถุนายน เวลา 18.00 น.
สรุป
ต่างจากระบบเดิมยังไงบ้าง ?
- การสอบของข้อสอบกลางทั้งหมดจะเลื่อนไปสอบหลังจากที่เด็กชั้น ม.6 เรียนจบการศึกษาแล้ว
- GAT/ PAT จัดสอบระหว่างวันที่ 24 27 กุมภาพันธ์ 2561
- O-NET จัดสอบระหว่างวันที่ 3 4 มีนาคม 2561
- 9 วิชาสามัญ จัดสอบระหว่างวันที่ 17 18 มีนาคม 2561
- กสพท. และวิชาเฉพาะของแต่ละมหาวิทยาลัย จัดสอบระหว่างวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 12 เมษายน 2561
- นอกจากนี้ยังมีการเพิ่ม ภาษาเกาหลี เป็นภาษาเพิ่มเติมในการสอบ PAT7 ความถนัดทางภาษาต่างประเทศด้วย
มีข้อดียังไงบ้าง ?
- เพิ่มโอกาสความเท่าเทียมในการเข้ามหาวิทยาลัย
- ลดปัญหาการกันสิทธิ์คนอื่น (กั๊กที่)
- ลดปัญหาความได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างคนรวยกับคนจน
- แก้ปัญหาวิ่งรอกสอบ เพราะระบบใหม่จะจัดช่วงเวลาการสอบหลังจากที่เด็กชั้น ม.6 เรียนจบการศึกษาแล้ว
รายละเอียดการคัดเลือก TCAS ทั้ง 5 รอบ (ปีการศึกษา 2561)
- รอบที่ 1 : การรับด้วยแฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio) โดยไม่มีการสอบข้อเขียน
- สำหรับ : นักเรียนทั่วไป นักเรียนที่มีความสามารถพิเศษ นักเรียนโควตา นักเรียนเครือข่าย
- ยื่นสมัครและคัดเลือกโดย : สถาบันอุดมศึกษา/ มหาวิทยาลัยโดยตรง
- ช่วงวันเปิดรับสมัคร และวันคัดเลือก :
- ครั้งที่ 1 : 1 ตุลาคม 2560 30 พฤศจิกายน 2560
- ประกาศผล : 22 ธันวาคม 2560
- ครั้งที่ 2 : 22 ธันวาคม 2560 28 กุมภาพันธ์ 2561
- ประกาศผล : 26 มีนาคม 2561
- รอบที่ 2 : การรับแบบโควตาที่มีการสอบปฏิบัติและข้อเขียน
- สำหรับ : นักเรียนที่อยู่ในเขตพื้นที่หรือภาค โควตาโรงเรียนในเครือข่าย และโครงการความสามารถพิเศษ
- คะแนนที่ต้องใช้ยื่น : GAT/PAT, 9 วิชาสามัญ
- ช่วงวันเปิดรับสมัคร และวันคัดเลือก : ธันวาคม 2560 เมษายน 2561
- ประกาศผล : 8 พฤษภาคม 2561
- ยื่นสมัครและคัดเลือกโดย : สถาบันอุดมศึกษา/ มหาวิทยาลัยโดยตรง
- รอบที่ 3 : การรับตรงร่วมกัน
- สำหรับ : นักเรียนที่อยู่ในโครงการ กสพท. (กลุ่มสถาบันแพทยศาสตร์แห่งประเทศไทย), โครงการอื่นๆ ตามที่มหาวิทยาลัยกำหนด
- ช่วงวันเปิดรับสมัคร และวันคัดเลือก : 9 13 พฤษภาคม 2561
- ประกาศผล : 8 มิถุนายน 2561
- การเลือกสอบ : สามารถสมัครสอบและเลือกได้ 4 สาขาวิชา โดยไม่มีลำดับ หมายความว่า 4 สาขาวิชา หรือ 4 มหาวิทยาลัยที่สมัครไปนั้นน้องๆ มีโอกาสผ่านการคัดเลือกทั้งหมด.. (แล้วค่อยเลือกมหาวิทยาลัยที่ต้องการศึกษาต่อในเคลียริ่งเฮาส์ของรอบที่ 3 อีกครั้ง) ซึ่งที่จะมีการจัดสอบร่วมกันในเวลาเดียวกัน โดยแต่ละมหาวิทยาลัยเป็นคนกำหนดเกณฑ์การคัดเลือกเอง
- รอบที่ 4 : การรับแบบ Admission
- สำหรับ : นักเรียนทั่วไป
- ช่วงวันเปิดรับสมัคร และวันคัดเลือก : 6 10 มิถุนายน 2561
- ประกาศผล : 13 กรฎาคม 2561
- การเลือกสอบ : สามารถสมัครสอบและเลือกได้ 4 สาขาวิชา โดยมีลำดับ (เหมือนปีที่ผ่านมา)
- รอบที่ 5 : การรับตรงแบบอิสระ (รอบเก็บตก)
- สำหรับ : นักเรียนทั่วไป
- ช่วงวันเปิดรับสมัคร และวันคัดเลือก : ภายในเดือนกรกฎาคม 2561
- การเลือกสอบ : สามารถสมัครสอบได้ตามความต้องการ โดยที่แต่ละมหาวิทยาลัยจะรับตรงด้วยวิธีการของมหาวิทยาลัยเอง
- ยื่นสมัครและคัดเลือกโดย : สถาบันอุดมศึกษา/ มหาวิทยาลัยโดยตรง
สำหรับเด็กซิ่ว
เด็กซิ่วสามารถสมัครได้ทุกรอบที่มีการเปิดรับสมัคร โดยจะต้องเป็นไปตามคุณสมบัติและระเบียบการที่มหาวิทยาลัยแต่ละแห่งระบุไว้
*เด็กซิ่ว = เด็กที่ลาออกจากการเป็นนิสิตนักศึกษาแล้วกลับมาเข้าระบบเพื่อแอดมิชชั่นใหม่
สำหรับเด็กอินเตอร์
กระทรวงศึกษาธิการเผยว่า เด็กที่จบจากโรงเรียนนานาชาติในประเทศไทย หรือ จบการศึกษาจากต่างประเทศ ไม่ต้องเทียบวุฒิการศึกษา โดยสามารถสมัครสอบ(ตามเกณฑ์ที่มหาวิทยาลัยกำหนด) ได้ 3 รูปแบบ คือ
- การสมัครในรอบที่ 1 : การรับด้วยแฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio) โดยไม่มีการสอบข้อเขียน
- อาจเป็นการยื่นคะแนนทางวิชาการ IELTS, TOEFL, SAT เป็นต้น และมีมีคุณสมบัติตามที่มหาวิทยาลัยกำหนด
- การสมัครในรอบที่ 3 หรือรอบที่ 5 : การรับตรงร่วมกัน, การรับตรงแบบอิสระ (รอบเก็บตก)
- โดยต้องมีการสอบเพิ่มเติม หรือมีคุณสมบัติตามที่มหาวิทยาลัยกำหนด
- การสมัครในรอบที่ 4 : การรับแบบ Admission
- โดยต้องมีคะแนนและใช้องค์ประกอบคะแนนตามที่กำหนด
สำหรับเด็กที่จะเข้ามหาวิทยาลัยราชภัฎ หรือ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล
นักเรียนที่ต้องการเข้าศึกษาในมหาวิทยาลัยราชภัฎ หรือ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล จะสามารถสมัครในรอบที่ 1-3 และรอบที่ 5 แต่จะไม่มีกาสอบรอบที่ 4 (Admission) เพราะว่าจะเป็นช่วงเปิดภาคเรียนของมหาวิทยาลัยทั้ง 2 กลุ่มแล้ว
ขอบคุณ http://campus.sanook.com/1385237/
https://www.google.com/search?q=tcas+%E0%B..
https://education.kapook.com/view194071.html
https://www.mangozero.com/thai-university-central-admission-system/