http://bit.ly/2IDglco
กาแฟขี้ชะมด หรือ
กาแฟชะมด (
อินโดนีเซีย:
Kopi Luwak, อังกฤษ:
civet coffee) หมายถึงเมล็ดกาแฟที่สัตว์กลุ่ม
ชะมดโดยเฉพาะคือ
อีเห็นข้างลาย (
Paradoxurus hermaphroditus) ได้กินและถ่ายออกมาแล้ว
นอกจากนั้นแล้ว ยังหมายถึงเครื่องดื่มกาแฟที่ทำมาจากเมล็ดกาแฟชนิดนี้ โดยที่คนอินโดนีเซียเรียกกาแฟชนิดนี้ว่า Kopi Luwak (โกปิ ลูวะก์) (ซึ่งคำว่า Kupi เป็น
ภาษาอินโดนีเซีย แปลว่า
กาแฟ ส่วนคำว่า Luwak หมายถึง
อีเห็นข้างลาย มีราคาซื้อขายที่สูงมาก เมื่อขายปลีกเป็นกาแฟปรุงสำเร็จถ้วยละ 500-1,500 บาท และขายเป็นเมล็ดกาแฟ กิโลกรัมละ 100,000 บาท (ราคาในประเทศไทย)
[embed]https://www.youtube.com/watch?v=KmpojAlcEL8[/embed]
ผู้ผลิตการแฟอ้างว่า วิธีการที่ให้กำเนิดกาแฟนี้ เพิ่มคุณภาพผ่านกลไกสองอย่างคือ การคัดเลือกเมล็ด และการย่อย คือ ชะมดจะเลือกกินเมล็ดกาแฟซึ่งมีคุณภาพที่ดีกว่า และกลไกการย่อยของชะมดอาจจะเพิ่มรสชาดของเมล็ดกาแฟ คือ ชะมดจะกินเมล็ดกาแฟพร้อมกับเนื้อเข้าไป และจะเกิดการหมักในทางเดินอาหาร
เอนไซม์ Protease ซึ่งช่วยย่อย
โปรตีนจะซึมเข้าไปในเมล็ด ทำให้เกิด
เพปไทด์ที่สั้นกว่าและจำนวน
กรดอะมิโนอิสระที่มากกว่า ส่วนเมล็ดจะผ่านระบบทางเดินอาหารของตัวชะมดจนกระทั่งถ่ายออกมา ซึ่งชาวไร่จะเก็บและนำผ่านกระบวนการผลิตต่อไป..
กาแฟขี้ชะมดเป็นกาแฟที่แพงที่สุดชนิดหนึ่งในโลกโดยมีราคาขายปลีกนอกประเทศไทยถึง 550 หรือ
US$700 ต่อกิโลกรัม ใกล้เคียงกับราคาของกาแฟงาดำ (Black Ivory coffee) ซึ่งเป็นกาแฟขี้ช้างผลิตในภาคเหนือของประเทศไทย ซึ่งมีราคาที่ 850 /
US$1100
ส่วนราคาที่จ่ายให้กับพ่อค้าคนกลางที่เก็บผลผลิตใน
ประเทศฟิลิปปินส์อยู่ที่ประมาณ
US$20 ต่อกิโลกรัม
[1] กาแฟขี้ชะมดเลี้ยง (พิจารณาว่า มีเกรดต่ำ) ใน
ซูเปอร์มาร์เก็ตใน
ประเทศอินโดนีเซียมีราคาเริ่มตั้งแต่
US$100 ต่อกิโลกรัม (ประมาณ 5 เท่าของเมล็ดกาแฟอาราบิก้าคุณภาพสูงที่ปลูกในพื้นที่) การจะซื้อกาแฟขี้ชะมดที่ไม่ได้เลี้ยงเป็นสิ่งที่ทำได้ยากในอินโดนีเซีย และการจะตรวจว่าเป็นของปลอมหรือไม่ยากยิ่งกว่านั้น เพราะว่า ไม่มีกฎหมายบังคับการใช้ชื่อสินค้าว่า "kopi luwak" และมีแม้แต่ตรากาแฟราคาถูกในพื้นที่ที่ใช้ชื่อว่า "Luwak", ซึ่งขายกาแฟมีราคาน้อยกว่า
US$3 ต่อกิโลกรัม
แต่บางครั้งจะมีการขายออนไลน์โดยหลอกว่าเป็นกาแฟขี้ชะมดของแท้
[embed]https://www.youtube.com/watch?v=tSJ9eI2Xz24[/embed]
กาแฟขี้ชะมดโดยมากจะผลิตบน
เกาะสุมาตรา เกาะชวา จังหวัดบาหลี และ
เกาะซูลาเวซี ใน
ประเทศอินโดนีเซีย
นอกจากนั้นแล้ว ยังมีการเก็บกาแฟจากชะมดป่าหรือชะมดเลี้ยงบนเกาะของ
ประเทศฟิลิปปินส์ (ซึ่งเรียกว่า
kape motit ในเขต Cordillera เรียกว่า
kape alamid สำหรับผู้ใช้
ภาษาตากาล็อก และ
kape melô หรือ
kape musang ในเกาะ
มินดาเนา) และใน
ประเทศติมอร์-เลสเต (ซึ่งเรียกว่า
kafé-laku)
ใน
ประเทศเวียดนาม กาแฟชะมดเรียกว่า
cà phê Chồn ซึ่งแปลเป็นภาษาอังกฤษว่า
Weasel coffee ซึ่งในที่ที่นิยม อาจจะผลิตโดยใช้สารเคมี
ส่วนในประเทศไทย เริ่มปรากฏไร่ผลิตกาแฟขี้ชะมดที่จังหวัด
กาญจนบุรี ตราด ชุมพร และ
เชียงราย
ที่มา https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B9%81%E0%..
https://www.shutterstock.com/g/sunisakang?page=6&search_source=base_gallery&language=en
หากอ่านบทความไม่พอดีกับจอมือถือ ดูเนื้อหาและคลิปวีดีโอที่เกี่ยวข้อง> w ww.ubmthai.com เวอร์ชั่นสมาร์ทโฟน >>คลิ๊ก!!
www.pohchae.com