รู้จักอาหารข้นแพะ-วัว....ผิวถั่วเหลืองอัดเม็ด.
LSVคลังสมองออนไลน์ "ปีที่14"
พฤศจิกายน 22, 2024, 12:34:09 am *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: รู้จักอาหารข้นแพะ-วัว....ผิวถั่วเหลืองอัดเม็ด.  (อ่าน 1636 ครั้ง)
nongtop
ผู้ช่วย Admin
member
*****

คะแนน682
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1433


อีเมล์
« เมื่อ: พฤศจิกายน 15, 2017, 05:00:27 pm »




หากอ่านบทความไม่พอดีกับจอมือถือ คลิ๊ก!!ดูเนื้อหาเกี่ยวข้อง> w ww.ubmthai.com เวอร์ชั่นสมาร์ทโฟน >> www.pohchae.com
.
.
        ผิวถั่วเหลืองอัดเม็ด มีโปรตีน 11-12% ลักษณะของผิวถั่วเหลืองอัดเม็ด ผิวถั่วเหลืองอัดเม็ด เป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้จากกระบวนการผลิตกากถั่วเหลืองชนิดกระเทาะผิวซึ่งกำลังเป็นที่นิยมในการเลี้ยงสัตว์ โดยทั่วไปแล้วผิวถั่วเหลือง เป็นวัตถุดิบอาหารที่มี.. -โปรตีน 11-12% -ไขมัน 1.5% -เยื่อใย 36% และเป็นเยื่อใยที่สัตว์ย่อยได้ดีเพราะประกอบด้วยเพคติน 30% และเฮมิเซลลูโลส 50% ของเยื่อใยทั้งหมด สัตว์สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ อีกทั้งผิวถั่วเหลืองยังมีปริมาณสารลิกนินระดับต่ำจึงทำให้การย่อยได้ของผิวถั่วเหลืองดีขึ้นด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งสัตว์กระเพาะรวม สำหรับการใช้ผิวถั่วเหลืองในสูตรอาหารแพะรุ่น-ขุน ช่วยทำให้แพะมีการเติบโตและมีประสิทธิภาพการใช้อาหารตามปกติแต่จะมีคุณภาพซากดีขึ้น ในขณะที่การใช้ในอาหารแม่แพะอุ้มท้องจะช่วยป้องกันการท้องผูก ทำให้มีมูลมีลักษณะนิ่ม ส่วนการใช้ในอาหารแพะจะใช้เป็นได้ทั้งอาหารข้นและอาหารหยาบพร้อมกันโดยให้การเติบโตและให้น้ำนมดี กระสอบบรรจุผิวถั่วเหลืองอัดเม็ด ประมาณ50ก.ก. ลักษณะของกากถั่วเหลืองที่ไม่ควรนำมาใช้เลี้ยงสัตว์คือ 1. มีความชื้นสูง กากถั่วเหลืองที่มีความชื้นสูงจะมีลักษณะจับกันเป็นก้อน มีขนาดไม่แน่นอน และเกิดเชื้อราได้ง่าย 2. ดิบหรือไหม้ ซึ่งเป็นผลจากการให้ความร้อนในขบวนการเผาไหม้ กากถั่วเหลืองดิบ หรือสุกไม่ดีพอ จะมีสีซีด กลิ่นเหม็นเขียว จับตัวกันเป็นก้อน สาเหตุมาจาก.. - ความร้อนที่ให้แก่เมล็ดถั่วเหลือง เพื่อการระเหยน้ำ และความร้อนที่เกิดจากแรงอัด เพื่อสกัดน้ำมันในขบวนการสกัดน้ำมันโดยใช้แรงอัด ต่ำกว่าอุณหภูมิที่กำหนด - ความร้อนที่ใช้เพื่อระเหย Solvent ออกจากกากถั่วเหลืองในขบวนการสกัดน้ำมัน โดยใช้ Solvent ต่ำกว่าอุณหภูมิที่กำหนด กากถั่วเหลืองประเภทนี้จะมีสาร Trypsin Inhibitor ค่อนข้างสูง และยังมีเอ็นไซม์ยูรีเอสเหลืออยู่ค่อนข้างสูง กากถั่วเหลืองที่เหมาะสำหรับใช้เลี้ยงสัตว์ ควรจะมีค่า Urease Index (pH) อยู่ในช่วง 0.02–0.2 ซึ่งจากการตรวจสอบตัวอย่างกากถั่วเหลือง โดยกองควบคุมคุณภาพอาหารสัตว์ กรมปศุสัตว์พบว่า ตัวอย่างกากถั่วเหลืองจำนวน 98 เปอร์เซ็นต์ มีค่า pH อยู่ในช่วง 0–0.25 ส่วนตัวอย่างกากถั่วเหลืองที่ค่อนข้างดิบมีค่า pH สูงกว่า 0.25 มีเพียง 2 เปอร์เซนต์ เท่านั้น   ขอบคุณ http://www.108kaset.com/goat/index.php/topic,257.0.html


บันทึกการเข้า

..กำลังหาเพื่อนร่วมเรียน+ปรึกษา..pre degreeนิติศาสตร์รามปี2ครับ


หาเงินหลักหมื่น/เดือนได้ไม่ยาก หากท่านชอบถ่ายภาพ..สนใจสมัครที่ shutterstockได้เลย..คลิ๊ก!!ครับ. Huh?
 

หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1 RC2 | SMF © 2001-2006, Lewis Media

lsv2555Please follow the new website at https://www.pohchae.com

Valid CSS!