ชวนคนไทยถ่ายรูปจันทรุปราคาบางส่วน+ฝนดาวตกเพอร์เซอิดส์100ดวงต่อชั่วโมง
หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ชวนคนไทยถ่ายรูปจันทรุปราคาบางส่วน+ฝนดาวตกเพอร์เซอิดส์100ดวงต่อชั่วโมง  (อ่าน 1871 ครั้ง)
nongtop
ผู้ช่วย Admin
member
*****

คะแนน682
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1433


อีเมล์
« เมื่อ: สิงหาคม 07, 2017, 09:19:54 am »

หากอ่านบทความไม่พอดีกับจอมือถือ คลิ๊ก!!ดูเนื้อหาเกี่ยวข้อง> www.ubmthai.com เวอร์ชั่นสมาร์ทโฟน >> https://www.pohchae.com


สดร. ชวนติดตาม 2 ปรากฏการณ์ดาราศาสตร์ เดือนสิงหาคม 2560 ทั้งจันทรุปราคาบางส่วน และฝนดาวตกเพอร์เซอิดส์

เมื่อวันที่ 5 สิงหาคม 2560 เฟซบุ๊ก สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ Fan Page ได้มีการโพสต์ชวนประชาชนดู 2 ปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์ ได้แต่จันทรุปราคาบางส่วน ในเช้ามืดวันที่ 8 สิงหาคม เวลา 00.23-02.18 น. และคืนวันที่ 12 สิงหาคม จนถึงรุ่งเช้าวันที่ 13 สิงหาคม จะมี ฝนดาวตกเพอร์เซอิดส์ ตกประมาณ 100 ดวงต่อชั่วโมง ..

 
สดร. ชวนติดตาม 2 ปรากฏการณ์ดาราศาสตร์

เช้าตรู่ 8 ส.ค. เกิด #จันทรุปราคาบางส่วน และ คืน 12 ส.ค. ชมฝนดาวตกวันแม่ #ฝนดาวตกเพอร์เซอิดส์

สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) (สดร.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ชวนติดตาม 2 ปรากฏการณ์ดาราศาสตร์ต้นเดือนสิงหาคม 2560 ลุ้นฝนชม "จันทรุปราคาบางส่วน" 8 ส.ค. เวลาประมาณ 00.23-02.19 น. และ "ฝนดาวตกเพอร์เซอิดส์" หรือ ฝนดาวตกวันแม่ คืน 12 จนถึงรุ่งเช้า 13 ส.ค. แต่แสงจันทร์รบกวนค่อนข้างมาก หากไร้ฝน ชม 2 ปรากฏการณ์ได้ด้วยตาเปล่าทุกพื้นที่ทั่วไทย ภาคใต้มีลุ้นฟ้าใส หอดูดาวภูมิภาคสงขลา จัดเปิดฟ้า...ตามหาดาว ครั้งที่ 2 ชวนคู่แม่ลูกและผู้สนใจร่วมชมฝนดาวตกเพอร์เซอิดส์ พร้อมตั้งกล้องฯ ส่องวัตถุท้องฟ้า อาทิ ดาวเสาร์ ดาวพฤหัสบดี ณ ลานชมวิวนางเงือก หาดสมิหลา จังหวัดสงขลา คืน 12 ส.ค. 17:00-24:00 น. ฟรี !! ไม่มีค่าใช้จ่าย

นายศุภฤกษ์ คฤหานนท์ หัวหน้างานบริการวิชาการทางดาราศาสตร์ สดร. เปิดเผยว่า ช่วงต้นเดือนสิงหาคม 2560 มีปราฏการณ์ดาราศาสตร์ที่น่าติดตาม ได้แก่ ปรากฏการณ์ #จันทรุปราคาบางส่วน เช้ามืดวันที่ 8 สิงหาคม ตั้งแต่เวลาประมาณ 00.23-02.18 น. (ตามเวลาประเทศไทย) เกิดจากดวงจันทร์เคลื่อนผ่านเข้าไปในเงามืดของโลกบางส่วนทำให้มองเห็นดวงจันทร์เต็มดวงมีลักษณะเว้าแหว่ง สามารถสังเกตได้ในยุโรป เอเชีย ออสเตรเลีย แอฟริกา ทางตะวันออกในอเมริกาใต้ มหาสมุทรแอตแลนติก มหาสมุทรอินเดีย และแอนตาร์กติกา สำหรับประเทศไทยสามารถสังเกตเห็นได้ทั่วประเทศ

ปรากฏการณ์จันทรุปราคาบางส่วนในครั้งนี้ เริ่มตั้งแต่เวลาประมาณ 22:51 น. ของวันที่ 7 สิงหาคม ดวงจันทร์เข้าสู่เงามัวของโลก เกิดปรากฏการณ์จันทรุปราคาเงามัว แสงสว่างของดวงจันทร์จะลดลงเล็กน้อย สังเกตด้วยตาเปล่าได้ค่อนข้างยาก จนกระทั่งเวลาประมาณ 00:23 น. ของวันที่ 8 สิงหาคม ดวงจันทร์เข้าสู่เงามืดของโลก เกิดปรากฏการณ์จันทรุปราคาบางส่วน จะสังเกตเห็นดวงจันทร์เต็มดวง เว้าแหว่งไปทีละน้อย เงาโลกบังมากที่สุดประมาณร้อยละ 25 ของเส้นผ่านศูนย์กลางดวงจันทร์ ในเวลาประมาณ 01.21 น. จนสิ้นสุดปรากฏการณ์จันทรุปราคาบางส่วนในเวลาประมาณ 02.19 น. ดวงจันทร์จะกลับมาปรากฏเต็มดวง รวมเกิดจันทรุปราคาบางส่วนนานเกือบ 2 ชั่วโมง จากนั้นดวงจันทร์เข้าสู่เงามัวของโลกอีกครั้ง และสิ้นสุดปรากฏการณ์โดยสมบูรณ์ในเวลาประมาณ 03:52 น.

นายศุภฤกษ์ กล่าวเพิ่มเติมว่า ปรากฏการณ์จันทรุปราคาเกิดจากดวงอาทิตย์ โลก และดวงจันทร์โคจรมาอยู่ในแนวเดียวกัน มีโลกอยู่กลางระหว่างดวงดวงอาทิตย์กับดวงจันทร์ หากดวงจันทร์โคจรเข้าไปในเงามืดของโลกแค่บางส่วน เรียกว่า "จันทรุปราคาบางส่วน" หากดวงจันทร์โคจรเข้าไปอยู่ในเงามืดของโลกทั้งดวง เรียกว่า "จันทร์ทรุปราคาเต็มดวง" สำหรับจันทรุปราคาครั้งต่อไป จะเกิดขึ้นในวันที่ 31 มกราคม 2561 ซึ่งเป็นจันทรุปราคาแบบเต็มดวงและสามารถสังเกตเห็นได้ในประเทศไทย
อีกหนึ่งปรากฏการณ์ที่น่าติดตาม คือ ปรากฏการณ์ #ฝนดาวตกเพอร์เซอิดส์ หรือมักเรียกว่า ฝนดาวตกวันแม่ ในคืนวันที่ 12 สิงหาคม จนถึงรุ่งเช้าวันที่ 13 สิงหาคม คาดการณ์ว่าจะมีอัตราการตกสูงสุดประมาณ 100 ดวงต่อชั่วโมง มีศูนย์กลางการกระจายอยู่บริเวณกลุ่มดาวเพอร์เซอุส บนท้องฟ้าทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ สังเกตได้ด้วยตาเปล่า แต่เนื่องจากในวันดังกล่าวมีแสงจันทร์รบกวน ประกอบกับประเทศไทยอยู่ในช่วงฤดูฝนอาจทำให้สภาพท้องฟ้าไม่เอื้อต่อการสังเกตการณ์ฝนดาวตกมากนัก

ฝนดาวตกเพอร์เซอิดส์เกิดจากเศษฝุ่นละอองที่ดาวหางสวิฟท์-ทัตเทิล (109P/Swift-Tuttle) เหลือทิ้งไว้ในวงโคจรเมื่อ 25 ปีก่อน เมื่อโลกโคจรตัดผ่านเข้าไปในบริเวณที่มีเศษฝุ่นดังกล่าว จะดึงดูดเศษฝุ่นเหล่านี้เข้ามาในชั้นบรรยากาศ เกิดการลุกไหม้ เป็นแสงสว่างวาบบนท้องฟ้า ฝนดาวตกเพอร์เซอิดส์เป็นฝนดาวตกที่มีความสว่างเป็นอันดับสองรองจากฝนดาวตกลีโอนิดส์ มีสีสันสวยงาม สามารถสังเกตเห็นได้ในช่วงระหว่างวันที่ 17 กรกฏาคม - 24 สิงหาคมของทุกปี ประมาณวันที่ 12 - 13 สิงหาคม จะเป็นช่วงที่เกิดฝนดาวตกมากที่สุด นายศุภฤกษ์กล่าว

นายศุภฤกษ์ กล่าวต่อว่า เนื่องจากช่วงนี้ประเทศไทยอยู่ในช่วงฤดูฝน จึงต้องลุ้นกับสภาพอากาศซึ่งไม่เอื้อต่อการสังเกตการณ์ทางดาราศาสตร์ ยกเว้นทางภาคใต้ตอนล่างฝนตกค่อนข้างน้อย นับเป็นโอกาสดีของชาวใต้ที่จะได้ชื่นชมความสวยงามของฝนดาวตกเพอร์เซอิดส์ได้ดีกว่าภูมิภาคอื่น
สดร. โดย หอดูดาวเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา สงขลา จัดกิจกรรมเปิดฟ้า..ตามหาดาว ครั้งที่ 2 ชวนชมฝนดาวตกเพอร์เซอิด พร้อมตั้งกล้องโทรทรรศน์ส่องวัตถุท้องฟ้าที่น่าสนใจ อาทิ ดาวเสาร์ ดาวพฤหัสบดี บริเวณลานชมวิวนางเงือก หาดสมิหลา เทศบาลสงขลา จังหวัดสงขลา ในคืนวันที่ 12 สิงหาคม 2560 ตั้งแต่เวลา 17:00-24:00 น. เชิญชวนผู้สนใจเข้าร่วมฟรี !! ไม่มีค่าใช้จ่าย สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม โทร. 074-300868

เครดิตภาพ : ฝนดาวตกเปอร์เซอิดส์ วันที่ 13 สิงหาคม 2558 ณ ประเทศสหรัฐอเมริกา โดย มติพล ตั้งมติธรรม

ขอบคุณภาพและข้อมูลจาก เฟซบุ๊ก สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ Fan Page




บันทึกการเข้า

..กำลังหาเพื่อนร่วมเรียน+ปรึกษา..pre degreeนิติศาสตร์รามปี2ครับ


หาเงินหลักหมื่น/เดือนได้ไม่ยาก หากท่านชอบถ่ายภาพ..สนใจสมัครที่ shutterstockได้เลย..คลิ๊ก!!ครับ. Huh?
 

หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป: