โรคตาแห้ง..อันตรายผ่อนส่งของคนเล่นมือถือ-คอมพิวเตอร์
LSVคลังสมองออนไลน์ "ปีที่14"
พฤศจิกายน 23, 2024, 08:07:50 am *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: โรคตาแห้ง..อันตรายผ่อนส่งของคนเล่นมือถือ-คอมพิวเตอร์  (อ่าน 1034 ครั้ง)
nongtop
ผู้ช่วย Admin
member
*****

คะแนน682
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1433


อีเมล์
« เมื่อ: กรกฎาคม 06, 2017, 07:54:46 am »

หากอ่านบทความไม่พอดีกับจอมือถือ คลิ๊ก!!ดูเนื้อหาเกี่ยวข้อง>www.ubmthai.com เวอร์ชั่นสมาร์ทโฟน >> https://www.pohchae.com          คุณมีอาการเหล่านี้หรือไม่? แสบตา ระคายเคืองตา เหมือนมีเม็ดทรายในตา ตาแห้ง ตาแดงบ่อย ๆ ปวดตา ตาล้า สู้แสงสู้ลมไม่ได้ ตามัว น้ำตาไหลบางครั้ง ต้องกะพริบตาบ่อย ๆ เมื่อใช้คอมพิวเตอร์นาน ๆ แล้วปวดหัว ปวดตา ใส่คอนแทคเลนส์แล้วมีตาอักเสบบ่อย ๆ ถ้าคุณมีอาการดังกล่าวข้างต้น ควรจะไปตรวจกับจักษุแพทย์ ว่าคุณเป็นโรคตาแห้งหรือไม่ โรคตาแห้งมีผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตอย่างไร โรคตาแห้งทำให้ประสิทธิภาพในการทำงานลดลง เพราะเมื่อใช้สายตานาน ๆ เช่น จ้องจอคอมพิวเตอร์, แท็ปเล็ต หรือเล่นโทรศัพท์ ทำให้มีอาการแสบตา ระคายเคืองตา ดูภาพไม่ชัด บางครั้งต้องกะพริบตาบ่อย ๆ โรคตาแห้ง เป็นสาเหตุทางตาที่สำคัญของ Digital Eye Strain (กลุ่มอาการจากการใช้คอมพิวเตอร์ หรือ DES)   น้ำตาเทียม น้ำตาเทียมคืออะไร มีกี่ชนิด ใช้เป็นประจำแล้วมีอันตรายหรือไม่ น้ำตาเทียมเป็นสารหล่อลื่นที่มีคุณสมบัติช่วยให้ความชุ่มชื้นแก่ผิวตา ทดแทนน้ำตาตามธรรมชาติที่มีไม่เพียงพอ โดยแบ่งเป็น 2 กลุ่มใหญ่ คือ.. กลุ่มที่มีสารกันเสีย (Preservatives) ทำให้ยามีอายุ 1 เดือนหลังเปิดใช้ กลุ่มที่ไม่มีสารกันเสีย ซึ่งจะอยู่ในรูปแบบสารละลายที่บรรจุในหลอดบรรจุขนาดเล็กที่ใช้ได้ภายใน 1 วัน น้ำตาเทียมยังมีหลากหลายชนิดตามคุณสมบัติของสารเคมีที่เป็นส่วนประกอบ ซึ่งจะเหมาะกับภาวะตาแห้งที่มีความรุนแรงและสาเหตุที่แตกต่างกัน การใช้น้ำตาเทียมเป็นประจำ ไม่มีผลทำให้การหลั่งน้ำตาตามธรรมชาติลดลง แต่มีข้อจำกัดในการใช้ เช่น ถ้าเป็นชนิดที่มีสารกันเสีย ไม่ควรใช้บ่อยกว่า 4 ชั่วโมง เนื่องจากสารกันเสียอาจไปทำอันตรายผิวตา ทำให้ยิ่งใช้บ่อยยิ่งทำให้ระคายเคืองตามากขึ้น ซึ่งถ้าต้องการหยอดบ่อย ๆ ควรใช้ชนิดที่ไม่มีสารกันเสีย เนื่องจากมีความปลอดภัยแต่มักจะมีราคาแพง   ผู้เรียบเรียงบทความ ศาสตราจารย์ แพทย์หญิง สมสงวน อัษญคุณ ภาควิชาจักษุวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่


บันทึกการเข้า

..กำลังหาเพื่อนร่วมเรียน+ปรึกษา..pre degreeนิติศาสตร์รามปี2ครับ


หาเงินหลักหมื่น/เดือนได้ไม่ยาก หากท่านชอบถ่ายภาพ..สนใจสมัครที่ shutterstockได้เลย..คลิ๊ก!!ครับ. Huh?
 

หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1 RC2 | SMF © 2001-2006, Lewis Media

lsv2555Please follow the new website at https://www.pohchae.com

Valid CSS!