ระบบบังคับเลี้ยวของรถยนต์(1)
LSVคลังสมองออนไลน์ "ปีที่14"
พฤศจิกายน 27, 2024, 02:56:25 pm *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ระบบบังคับเลี้ยวของรถยนต์(1)  (อ่าน 4745 ครั้ง)
nongtop
ผู้ช่วย Admin
member
*****

คะแนน682
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1433


อีเมล์
« เมื่อ: เมษายน 26, 2017, 10:22:58 am »

หากอ่านบทความไม่พอดีกับจอมือถือ คลิ๊ก!!ดูเนื้อหาเกี่ยวข้อง>www.ubmthai.com เวอร์ชั่นสมาร์ทโฟน >> 
https://goo.gl/J3vb2U

  ระบบบังคับเลี้ยวเป็นระบบที่สำคัญมากในการขับขี่รถยนต์ ในอดีตการบังคับเลี้ยวนั้นเป็นการทำงานของระบบฟันเฟืองที่เราเรียกกันว่า RACK AND PINION แต่จริงๆแล้วยังมีการออกแบบการทำงานอีกมากมายของระบบเลี้ยวแต่วันนี้เรามาพูดถึง RACK AND PINION กันเพียงอย่างเดียวก่อน..stee-03   อย่างที่เห็นกันในรูปการเปลี่ยนแปลงทิศทางจากพวงมาลัยที่เป็นการหมุนจะส่งลงมายัง Pinion ที่เป็นเฟืองกลมให้ทำหน้าที่ขับ เฟืองตรง(สะพาน) Rack ที่ติดอยู่กับข้อต่อที่ส่งผลไปที่จุดเชื่อมต่อที่ทำหน้าที่ปรับองศาการเลี้ยวจึงทำให้เกิดการเปลี่ยนองศาของล้อขึ้น stee-04   หลักการได้เปรียบเชิงกลจึงได้นำเอามาใช้นั้นคือการปรับจำนวนฟันของ Pinion ให้เยอะขึ้นเพื่อจะเพิ่มอัตราทดในการหมุนพวงมาลัยทำให้หมุนพวงมาลัยน้อยลงแต่เพิ่มองศาล้อมากขึ้น.. ส่วนขนาดพวงมาลัยถึงจะไม่ได้ช่วยเรื่องการทดให้เลี้ยวด้วยรอบพวงมาลัยที่น้อยลงแต่ความกว้างของพวงมาลัยก็สามารถผ่อนแรงในการสาวพวงมาลัยได้แต่ก็ส่งผลให้มีความเทอะทะในการใช้งาน 2011_Mercedes_Benz_E_Class_W212_Engine10_Suspension_1 แต่ทั้งหมดนั้นก็ใช้ว่าจะหมุนพวงมาลัยได้สบายๆเพราะอย่าลืมว่าพวงมาลัยมีการเชื่อมต่อกับ โหลด อีกมากทั้งน้ำหนักของชุดเบรคและที่สำคัญคือน้ำหนักรถที่กดลงไปยัง 2 ล้อหน้า ด้วยเหตุนี้ระบบการหมุนเลี้ยวพวงมาลัยของรถสมัยก่อนจึงต้องใช้การออกแรงอย่างมากกว่าจะสามารถกลับรถได้แต่ละทีเราจึงให้นิยามมันว่า “พวงมาลัยเพาเยอร์” แต่ในปัจจุบันมีระบบทุ่นแรงอย่างระบบน้ำมันไฮโดรลิคมาช่วยที่เราเรียกกันว่า “พวงมาลัยเพาเวอร์” นั้นเอง stee-05     ระบบพวงมาลัยเพาเวอร์นั้น มีส่วนประกอบสำคัญอยู่คือ ปั่มน้ำมันเพาเวอร์ที่จะได้กำลังมาจากสายพานที่ต่อมาจากการหมุนของเครื่องยนต์, ลิ้นควบคุมเป็นตัวควบคุมปริมาณการไหลของน้ำมันไฮโดรลิคโดยจะมีแรงดันราวๆ 10 – 30 กิโลกรัม/ตารางเซนติเมตร เป็นส่วนใหญ่, กระปุกพวงมาลัยเป็นตัวกลางการจ่ายน้ำมันไฮโดรลิค power-steering-02 นี้เป็นภาพตัวอย่างการทำงานของระบบพวงมาลัยเพาเวอร์แบบโรตารี่ จะความคุมการจ่ายน้ำมันไฮโดรลิคด้วยวาล์วโรตารี่ที่ใส่ตอบสนองร่วมกับแกนพวงมาลัย แล้วส่งน้ำมันที่ได้รับแรงดันจากปั้มไปยังลูกสูบที่เป็นสูบสองทางเพื่อผ่อนแรงในการหมุนพวงมาลัยแบบเดิมๆ การออกแบบลูกสูบไฮโดรลิคนี้มีแนวคิดออกมาหลายอย่างในปัจจุบัน นี้จึงเป็นหลักการเบื้องต้นเท่านั้น.   เรียบเรียงจาก http://motorsolutionfm.com/%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%95%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%9E%E0%B8%B2%E0%B9%80%E0%B8%A7%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%9A/5309 http://cdn4.explainthatstuff.com  


บันทึกการเข้า

..กำลังหาเพื่อนร่วมเรียน+ปรึกษา..pre degreeนิติศาสตร์รามปี2ครับ


หาเงินหลักหมื่น/เดือนได้ไม่ยาก หากท่านชอบถ่ายภาพ..สนใจสมัครที่ shutterstockได้เลย..คลิ๊ก!!ครับ. Huh?
 

หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1 RC2 | SMF © 2001-2006, Lewis Media

lsv2555Please follow the new website at https://www.pohchae.com

Valid CSS!