เขาตัดสินภาพถ่ายกันอย่างไร
หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: เขาตัดสินภาพถ่ายกันอย่างไร  (อ่าน 1518 ครั้ง)
nongtop
ผู้ช่วย Admin
member
*****

คะแนน682
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1433


อีเมล์
« เมื่อ: มีนาคม 23, 2017, 11:56:13 am »

เนื้อหาเกี่ยวข้องเวอร์ชั่นสมาร์ทโฟน   https://goo.gl/mIkVQj

  เพื่อความยุติธรรมและความถูกต้อง การตัดสินภาพถ่ายทุกประเภทจึงควรมีหลักการหรือมาตรการกันบ้าง อันได้แก่การยึดถือหลักการ 2 ประการดังจะกล่าวต่อไป นักถ่ายภาพที่สามารถปฏิบัติได้ครบถ้วน ผลงานของเขาย่อมมีโอกาสได้รับการคัดเลือก  

1.เนื้อหาของภาพ (Subject Matter) ภาพแต่ละภาพสามารถเล่าเรื่องด้วยตัวเองได้มากน้อยเพียงใดก็อยู่ที่ผู้ถ่ายภาพจัดวางเรื่องราวต่างๆ ให้ดูเด่นชัด ให้ผู้ชมภาพมีความเข้าใจและซาบซึ้งได้โดยง่าย ซึ่งเรื่องนี้ย่อมเป็นที่แน่นอนว่า ภาพบางภาพมีเรื่องราวดี บางภาพมีเรื่องราวด้อยกว่า การตัดสินจะยึดถือเรื่องนี้ให้เป็นเรื่องสำคัญอันดับแรก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ภาพที่แสดงเรื่องราวได้ตรงกับหัวข้อที่กำหนดไว้มากที่สุด จะได้รับการพิจารณาก่อน

2.การจัดองค์ประกอบ(Composition) ภาพทุกภาพไม่ว่าจะเป็นภาพถ่ายหรือภาพวาด ล้วนแต่มีองค์ประกอบภาพทั้งสิ้น ผู้ที่เข้าใจและเจนจัดในการจัดองค์ประกอบภาพให้ถูต้องและเหมาะสม จะสามารถทำให้ภาพมีความสมบูรณ์และน่าดูยิ่งขึ้น เรื่องขององค์ประกอบไม่ใช่เรื่องโบราณล้าสมัย เพราะทุกวงการศิลปะในปัจจุบัน ล้วนมีการยึดแนวจัดองค์ประกอบเพื่อให้ผลงานดูดีขึ้นทั้งสิ้น แม้แต่วงการภาพยนตร์ทั้งที่ฉายบนจอแก้ว และจอเงิน ล้วนพยายามจัดองค์ประกอบภาพเพื่อสร้างความประทับใจกับผู้ชมทั้งสิ้น หลักการจัดองค์ประกอบภาพ สมาคมได้สอดแทรกไว้ในวารสารสมาคมถ่ายภาพกรุงเทพแล้วทุกฉบับ และฟังคำวิจารณ์ภาพของคณะกรรมการตัดสินในวันกิจกรรมสังสรรค์ของสมาคมได้ทุกครั้ง  

3.แนวการสร้างสรรค์( Creation) เรื่องนี้นี่แหละที่เป็นเรื่องสำคัญ หากเห็นว่าการจัดองค์ประกอบภาพแบบเก่าๆ ดูล้าสมัยอยากจะหาวิธีสร้างสรรค์ให้ดูดีขึ้นก็ควรทำ ภาพถ่ายที่มีแนวการถ่ายภาพธรรมดา ๆ ย่อมจะสู้ภาพที่มีการสร้างสรรค์ที่เหนือกว่าไม่ได้ แต่การสร้างสรรค์ภาพด้วยการละทิ้งหลักการจัดองค์ประกอบภาพสิ้นเชิง จะไม่มีทางประสบความสำเร็จ เพราะศิลปะทุกแขนงยังต้องอาศัยองค์ประกอบที่ดีดังกล่าวมาแล้วข้างต้น แม้แต่ภาพ "นามธรรม" หรือ "Abstract" ก็ยังคงมีการจัดวางส่วนสำคัญของภาพให้เหมาะสม มีการจัดน้ำหนักของสีและการตัดกันของสี ตลอดจนจัดแสงแลเงาให้ดูดีตามวิถีทางของการจัดองค์ประกอบภาพทั้งสิ้น

4.ความประทับใจหรือสะเทือนอารมณ์ ( Impression ) ภาพถ่ายที่จะทำให้ประทับใจมีอยู่หลายแบบ เช่น ภาพที่ให้อารมณ์ต่างๆ อย่างเร้าใจภาพแสดงบรรยากาศ ภาพที่มีบุคลิกพิเศษและภาพที่มีลักษณะของเส้นสายด้วยลีลาที่อ่อนช้อยหรือรุนแรงสามารถโน้มน้าวให้ความซาบซึ้งใจแก่ผู้ชมภาพได้ เช่นภาพที่มีหมอกปกคลุม เป็นภาพที่แสดงบรรยากาศยามเช้า ให้ความรู้สึกหนาวเย็น เป็นต้น

5.เทคนิคการถ่ายทำ ( Technique in Taking Picture ) ได้แก่การใช้เทคนิคในการถ่ายภาพอย่างตรงไปตรงมาหรือใช้วิธีการซับซ้อนมากน้อยเพียงใดรวมทั้งรวมการให้แสงที่ชาญฉลาด เช่น ใช้วิธีถ่ายภาพย้อนแสงที่ทำให้เกิดมิติ สร้างความลึกให้แกภาพให้แสงมาจากด้านข้างทำให้ภาพไม่แบน มีรสชาติเข้มข้นพอๆ กันกับการถ่ายภาพย้อนแสง นอกจากนี้ การใช้เทคนิคสร้างภาพประเภท " High Key" (โทนสีอุ่น) คือภาพทีมีสีอ่อนและจางเป็นส่วนใหญ่บนแผ่นภาพ ย่อมทำให้ภาพสร้างอารมณ์แจ่มใส่ ร่าเริง ส่วนภาพประเภท "Low Key" (โทนสีเย็น) ที่มีแต่สีเข็มและดำเป็นส่วนใหญ่ ให้ความรู้สึกลึกลับ น่ากลัวหดหู่ เป็นเทคนิคที่เหมาะอย่างยิ่งสำหรับภาพขาว-ดำ ปัจจุบันนี้ นักถ่ายภาพจำนวนมากนิยมใช้ เทคนิคสร้างภาพให้ดูแปลกตาด้วยการใช้เลนส์มุมกว้างมากๆ บ้าง ใช้ระบบสร้างภาพ Infrared บ้าง ซึ่งเป็นเทคนิคที่ให้ผลดีไม่น้อย เมื่อใช้อย่างถูกกาลเทศะ

6.เทคนิคในการพิมพ์ภาพ ( Technigue in Printing) เรื่องนี้นับเป็นเรื่องสำคัญและยุ่งยากไม่น้อยเช่นกัน เพียบเท่ากับการให้สีในภาพเขียน หรือภาพวาดเหมือนกัน ถ้าภาพมีคุณภาพการพิมพ์ (Print Quality) ไม่ดี สีมัวหมองไม่แจ่มใสดูซูบซีดหรือกระด้าง จะทำให้ภาพหมดความหมาย เรื่องสีของภาพสียุคดิจิตอลเป็นเรื่องสำคัญจริงๆ เพราะผู้ถ่ายภาพไม่ได้ล้างอัดขยายภาพเองเหมือนในอดีต อีกทั้งคนส่วนใหญ่ในยุคดิจิตอลมักจะเป็นโรค "แพ้สี" เมื่อได้เห็นภาพที่มีสีฉูดฉาดบาดตาเป็นต้องถูกอกถูกใจ ทั้งๆ ที่รู้ดีว่าโดยความจริงตามธรรมชาติแล้ว จะไม่มีสีชนิดนั้นเกิดขึ้นมาได้เลย ผู้ที่มีเหตุผลเพียงพอจะไม่ได้ยอมรับสีที่ผิดเพี้ยนมากๆ เช่นนั้น ทางที่ดีควรพิมพ์สีที่ใกล้เคียงของจริงให้มากที่สุด มีความอิ่มตัวของสีที่ตรงกับความจริง คือแดงเป็นแดง เขียวเป็นเขียว จะเป็นภาพที่ดูสดใสและให้อารมณ์ตรงตามเรื่องราวของภาพมากกว่า หากจะตกแต่งสีให้อ่อนหรือแก่ไปบ้าง ก็ไม่ควรผิดเพี้ยนไปกว่าของจริงเกิน เปอร์เซ็น อย่างไรก็ตาม "ไม่มีคำว่าผิดสำหรับงานศิลปะ" บางทีภาพที่สีเพี้ยนๆ ก็มีโอกาสได้รับรางวัลกับเขาเหมือนกัน

7.การนำเสนอ ( Presentation ) การนำเสนอได้แก่การเตรียมขั้นตอนสุดท้ายของภาพที่จะนำออกสู่สายตาผู้อื่น ควรตกแต่งให้เรียบร้อย ริ้วรอยที่ไม่สมบูรณ์ขอให้มีน้อยที่สุดจะเป็นการดี เช่นจุดขาวเล็กๆ บนพื้นสีดำ หรือจุดดำเล็กๆ บนพื้นสีขาว อันเกิดมาจาดฝุ่นละอองที่ตัวกล้องหรือกระดาษอัดรูป หากมีก็ต้องซ่อนให้มิดชิดจนสังเกตเห็นได้ยาก ภาพทุกภาพควรมีขอบดำหรือขอบขาวเล็กๆ พองามโดยรอบทั้งสี่ด้าน เพื่อบังคับสายตาผู้ชมให้ดูแต่ภายใน มิใช่หลุดออกมานอกภาพ (มีโอกาสถูกลดคะแนนเพราะความบกพร่องในเรื่องนี้) การติดการ์ดก็ควรทำให้เรียบร้อย ไม่ควรใช่การ์ดที่มีสีฉูดฉาดอันจะเป็นการแย่งชิงสายตาไปจากสีของภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากเนื้อภาพมีสีด้วยกว่าการ์ด ภาพจะหมดคุณค่าทันที การ์ดที่เหมาะสำหรับติดภาพควรเป็นสีขาว สีดำหรือสีเทาสีใดสีหนึ่งเท่านั้น แต่สีเทาเป็นสีกลางที่น่าจะเหมาะสมที่สุด ติดได้ทั้งภาพสีและภาพขาว-ดำ เพราะแม้แต่ระบบวัดแสงของกล้องถ่ายภาพยังต้องใช้สีเทากลาง 18 เปอร์เซ็นต์ เป็นมาตรฐาน นอกจากนี้ หากเนื้อหาเรื่องของภาพแสดงความสดใส ความสนุกสนานร่าเริง ความแวววาวของพื้นน้ำและวัตถุขึ้นเงา ก็ควรพิมพ์ภาพบนกระดาษมัน เช่น ภาพทิวทัศน์ ภาพเด็กเล็ก ภาพรถยนต์และอื่นๆ ส่วนภาพเปลือกไม้ ภาพคนชรา ภาพที่ต้องการแสดงความหยาบกร้าน ก็ควรใช้กระดาษด้าน ส่วนขนาดของการ์ดที่ใช้ติดรูปขนาดต่างๆ ขนาดของการ์ดกับขนาดของรูปควรจะมีสัดส่วนอย่างไร ยังไม่มีผู้ใดกำหนดไว้เป็นมาตรฐานที่แน่นอน เอาเป็นว่าควรใช้ขนาดที่เหมาะสม เมื่อติดรูปแล้วไม่ทำให้ดูใหญ่หรือเล็กเกินไป แต่เท่าที่นิยมใช้กันอยู่ มักจะมีขนาดเทียมเท่าอัตรา 3:4 คือรูปขนาด 3 นิ้ว ก็ใช้การ์ด ขนาด 4 นิ้ว (เหลือพื้นที่การ์ดโดยรอบครึ่งนิ้ว) รูปขนาด 12 นิ้ว ก็ใช้การ์ด (12x4) / 3 = 16 นิ้ว ดังนี้เป็นต้น ความหนาของการ์ดก็เป็นเรื่องที่น่าพูดถึงเหมือนกัน หากใช้การ์ด "ฟีเจอร์บอร์ด" ไม่ควรให้มีความหนาเกิน 3 มม. (แค่ 2 มม.ก็ใช้ได้แล้ว) แต่การ์ดที่อ่อนปวกเปียกที่ไม่สามารถตั้งภาพได้ จะไม่ได้รับพิจารณา ไม่ว่าจะเป็นการจะเป็นการประกวดภาพภายในหรือการประกวดภาพถ่ายทั่วประเทศ  

ขอบคุณ http://www.bpsthai.org/BPS_Links/PhotoTechnic_L/Manosarae_L/Mano_L25.html



บันทึกการเข้า

..กำลังหาเพื่อนร่วมเรียน+ปรึกษา..pre degreeนิติศาสตร์รามปี2ครับ


หาเงินหลักหมื่น/เดือนได้ไม่ยาก หากท่านชอบถ่ายภาพ..สนใจสมัครที่ shutterstockได้เลย..คลิ๊ก!!ครับ. Huh?
 

หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป: