ต้นไผ่ เป็นพืชที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้แทบทุกส่วน จึงเหมาะอย่างยิ่งที่เกษตรกรจะปลูกไผ่เป็นพืชเสริมรายได้ ถ้าเราต้องการจะปลูกไผ่เป็นพืชแซมเสริมรายได้ใน สวนปาล์ม จะทำได้หรือไม่..?
หลายๆ ท่านอาจจะคิดว่า ไผ่กับปาล์ม ไม่น่าจะปลูกร่วมกันได้ เพราะเป็นพืชตระกูลเดียวกัน ระดับรากที่ใช้หากินก็อยู่ในระดับหน้าดินเหมือนๆ กัน
แต่สำหรับผม...ถ้าเราเข้าใจเรื่องพืชหลัก...! พืชรอง...และ พืชเสริมรายได้ เราก็จะเข้าใจว่า...ทั้งปาล์มและไผ่สามารถอยู่ร่วมกันได้ ภายใต้การจัดการสวนอย่างถูกวิธี
!ทั้งนี้ การจัดการสวนไผ่ในสวนปาล์มควรมีวิธีการจัดการอย่างถูกวิธี ต้องแยกก่อนว่าเราจะให้พืชตัวไหนเป็นพืชหลัก พืชตัวไหนเป็นพืชรอง หรือ แค่จะปลูกเพื่อเสริมรายได้ เพื่อที่ไผ่จะไม่ส่งผลกระทบต่อการให้ผลผลิตของต้นปาล์ม
วิธีการปลูกและการจัดการสวนไผ่ในสวนปาล์ม1. การเลือกพันธุ์ไผ่พันธุ์ไผ่ที่เหมาะสมจะนำมาปลูกแซมในสวนปาล์ม คือ
ไผ่ในตระกูลตงทั้งหมด ตงลืมแล้ง กิมซุง ตงศรีปราจีน ซางหม่น ฟ้าหม่น หม่าจู ปักกิ่ง เก้าดาว และ อื่นๆ เนื่องจากไผ่เหล่านี้มีลำต้นสูง เวลาที่ปาล์มโต 20 ปีไปแล้ว ไผ่จะสามารถพุ่งขึ้นไปรับแสงได้ แต่สวนปาล์มของผมเลือกปลูกไผ่ตงลืมแล้ง (กิมซุง) เพราะดูแลง่าย และ สามารถต่อยอดอาชีพสร้างรายได้อีกหลายทาง
2. การเตรียมต้นพันธุ์เป็นที่รู้กันว่าการปลูกไผ่เป็นพืชแซม เรื่องการรับแสงจะด้อยกว่าปกติ เพราะฉะนั้นเพื่อให้ไผ่เติบโตได้เร็ว ควรเตรียมต้นพันธุ์ให้สมบูรณ์เต็มที่ ควรเป็นต้นพันธุ์ที่อนุบาลเอาไว้อย่างน้อย 60 วัน เพื่อให้ไผ่เตรียมแตกหน่อในถุง หลังปลูกไผ่จะตั้งลำได้เร็ว
3. การดูความเหมาะสมของอายุและขนาดต้นปาล์มโดยส่วนตัว เราสามารถปลูกไผ่แซมช่วงปาล์มอายุกี่ปีก็ได้ แต่หัวใจสำคัญ คือ การจัดการแสง โดยการจัดการขนาด และ ความสูงของกอไผ่ ให้เหมาะกับขนาดต้นปาล์ม
- ถ้าปลูกตอนต้นปาล์มเล็ก ให้คุมความสูงของลำไผ่ไม่เกิน 3 เมตร เว้นลำไม่เกิน 3 ลำ
- ถ้าปาล์มโตแล้ว (ปาล์ม 8 ปีขึ้นไป) ให้คุมความสูงลำไผ่ 4-5 เมตร เว้นลำกอละ 4-5 ลำ ที่สวนผมปลูกไผ่เป็นพืชแซมตอนที่ปาล์มมีอายุ 8 ปี4. ระยะห่างระหว่างกอไผ่การเว้นระยะกอไผ่ให้คำนึงถึงระยะต้นปาล์มเป็นหลัก หากปาล์ม 9x9 เมตร สามารถปลูกไผ่ระยะห่าง 3-4 เมตร ถ้าผู้ปลูกวางแผนจะปลูกพืชอื่นแซมเพิ่มอีก เช่น ตะเคียน พยูง มะฮอกกานี ให้ปลูกไผ่ระยะ 6 เมตร เพื่อต่อไปจะได้ปลูกพืชแซมระหว่างไผ่เพิ่มเติมได้อีก
จำนวนต้นพันธุ์ที่ใช้ปลูกต่อไร่ ผู้ปลูกต้องประเมินด้วยตัวเอง ว่าท่านต้องการปลูกห่างเท่าไหร่ หากสวนปาล์มแปลงใหญ่จะปลูกให้ห่าง 9 เมตร สลับฟันปลากับต้นปาล์มก็ได้
5. การเตรียมหลุมปลูกให้ขุดหลุมขนาดประมาณ 1x1 ฟุต ลึก 1 ฟุต รองก้นหลุมด้วยขี้ไก่ 1 ขันอาบน้ำ
6. การปลูกให้ใช้ต้นพันธุ์ที่แข็งแรงเท่านั้นอายุกล้าอย่างน้อยควรไม่น้อยกว่า 60 วัน โดยให้ปลูกตรงๆ หันทรงพุ่มของต้นพันธุ์ไปทางทิศตะวันออกเพื่อรับแสงช่วงเช้า
ฤดูกาลที่เหมาะสมปลูกไผ่ คือ ปลายฤดูฝน และ หน้าหนาว เพราะไผ่จะพักตัวในช่วงแรกเพื่อสะสมสารอาหาร เมื่อเข้าต้นฤดูฝนปีถัดไป ไผ่จะตั้งกอได้เร็ว ไม่ต้องกลัวเรื่องติดแล้ง เพราะการปลูกไผ่เป็นพืชแซมไผ่จะไม่ได้รับแดดโดยตรง ต้นพันธุ์จึงผ่านแล้งได้
หากผู้ปลูกไม่มีเวลาเอาใจใส่ดูแล ให้ปลูกช่วงต้นฤดูฝน เพราะไผ่จะได้แข็งแรงก่อนเข้าหน้าแล้ง
7. การดูแลช่วงไผ่ยังเล็กให้ดูแลเรื่องวัชพืชรอบโคนต้น และ ควรใส่ปุ๋ยบำรุงบ้างตามสมควร (ช่วงแรกเน้นสูตรเสมอ 15-15-15) มีขี้ไก่ก็สามารถใส่ได้เรื่อยๆ
8. การจัดการกอไผ่เมื่อไผ่เริ่มตั้งลำให้เว้นลำที่สมบูรณ์ จำนวนลำไผ่ให้พิจารณาจากขนาดต้นปาล์มเป็นหลัก ถ้าปาล์มอายุเกิน 8 ปี หรือมีทรงต้นสูงเกิน 2 เมตร สามารถเว้นลำ 4 ลำ สางแต่งกอให้โปร่ง คุมความสูงของไผ่ให้อยู่ต่ำกว่าทรงพุ่มต้นปาล์มเสมอ
9. การให้หน่อการปลูกไผ่ในสวนปาล์ม ไผ่จะเริ่มให้หน่อประมาณ 1-2 ปี ขึ้นอยู่กับขนาดของต้นปาล์ม (ปาล์มโตแสงน้อยไผ่ก็จะโตช้า แต่เมื่อไผ่โตแล้ว ไผ่ก็สามารถให้หน่อได้ตามปกติ)
10. อัตราการให้หน่อขึ้นอยู่กับการดูแลเป็นหลัก หากดูแลดีหน่อมีขนาด 1.5-3 กิโลกรัมต่อหน่อ ผู้ปลูกที่มีระบบน้ำสามารถทำไผ่นอกฤดู เพื่อจำหน่ายได้ในราคาสูง ด้วยการสางแต่งกอให้โปร่ง ช่วงเดือนตุลาคม ถึง พฤศจิกายน และ ใส่ปุ๋ย ใส่ขี้ไก่ ให้น้ำสม่ำเสมอ เพื่อกระตุ้นให้ไผ่แตกหน่อช่วงหน้าแล้ง
11. ราคาการจำหน่ายช่วงนอกฤดูราคาหน่อจะอยู่ที่ 30-50 บาท ช่วงที่ไผ่ป่าออกช่วงฤดูฝน ราคาจะอยู่ที่ 10-25 บาท ราคาขึ้นอยู่กับความสามารถในการหาตลาด และ การจับกลุ่มกันของผู้ปลูกไผ่เป็นหลัก
12. ประโยชน์จากไผ่ไผ่สามารถจำหน่ายได้ทุกส่วน ตั้งแต่หน่อไม้ , ลำอ่อนที่แตกกาบสามารถนำมาทำกระบอกข้าวหลาม , ลำแก่อายุ 3 ปี สามารถส่งร้านเฟอร์นิเจอร์ , สามารถนำมาเผ่าทำถ่านไบโอชาร์ , กิ่งไผ่สามารถนำมาทำกิ่งพันธุ์จำหน่ายเป็นรายได้เสริม , น้ำที่ได้จากต้นไผ่ดีต่อสุขภาพช่วยสลายนิ่ว , สร้างความร่มรื่นสามารถต่อยอดเป็นที่เที่ยวเชิงเกษตร , รากไผ่ที่สานกันแน่นช่วยป้องกันการกัดเซาะหน้าดิน , ใบไผ่ที่ย่อยสลายเป็นปุ๋ยอินทรีย์อย่างดี
13. การทำไผ่ให้ยั่งยืนให้เน้นการทำแบบผสมผสาน เพื่อให้เกิดความมั่นคงทางรายได้ เน้นการจำหน่ายตลาดในชุมชมเป็นหลัก ที่สำคัญควรจับกลุ่มกันเพื่อมีอำนาจในการต่อรองราคา และ ควรหมั่นศึกษาความรู้เพิ่มเติมเพื่อต่อยอดอาชีพ
14. ประโยชน์จากการเกื้อกูลไผ่เป็นพืชที่ซับน้ำได้ดี เพราะฉะนั้นการปลูกไผ่ในสวนปาล์มจะเป็นเสมือนการกระจายถังน้ำไว้ทั่วทั้งสวน เพื่อให้ต้นปาล์มได้แบ่งน้ำไปใช้ในช่วงหน้าแล้ง
15. การจัดการเรื่องปุ๋ยไผ่และปาล์มเป็นพืชที่หากินผิวดิน มีระบบรากใกล้เคียงกัน แต่ทว่าดูดกินธาตุอาหารหลักคนละตัวกัน
ไผ่เน้นไนโตรเจน ส่วนปาล์มเน้นโพเทสเซียม ด้วยเหตุนี้เขาจึงอยู่ร่วมกันได้
ไผ่เมื่อโตแล้วไม่จำเป็นต้องให้ปุ๋ยก็ได้ ขอเพียงมีขี้ไก่ใส่ให้เขาสม่ำเสมอ เขาก็อยู่ได้ และ สามารถให้ผลผลิตต่อเนื่อง
ขี้ไก่ เป็นสิ่งที่ปาล์มโปรดปราน เพราะฉะนั้นการใส่ขี้ไก่ให้กอไผ่ ปาล์มก็จะได้รับอานิสงส์ไปด้วยในตัว16. การจัดการกอไผ่หากต้องการเลิกอาชีพเสริมการทำไผ่ในสวนปาล์ม เราสามารถติดต่อกับร้านรับซื้อต้นไม้ขุดล้อม ให้เขามาเหมาขุดแบบยกกอ โดยราคากอขึ้นอยู่กับขนาดและฟอร์มกอ
รู้แบบนี้แล้วก็ปลูกไผ่กันเถอะครับ อย่าได้คิดไปเองว่าไผ่ไม่สามารถปลูกแซมในสวนปาล์ม เพราะนอกจากผมที่ปลูกแล้วได้ผลดี ยังมีเพื่อนเกษตรกรรุ่นใหม่อีกหลายราย ที่ปลูกไผ่เสริมรายได้ในสวนปาล์มแล้วได้ผลดีผมไม่ใช่คนแรกที่ปลูกไผ่ในสวนปาล์ม แต่ผมทดลองด้วยตัวเองแล้วว่า...เขาอยู่ด้วยกันได้อย่างเกื้อกูล...ณ วันนี้ ยังไม่พบว่ามีผลกระทบต่อปาล์มในทางลบ
#ข้อควรระวัง! ไผ่เป็นพืชที่โตไวมาก การปลูกไผ่ในสวนปาล์มจะทำแบบละเลยไม่ได้!...ไม่อย่างนั้นไผ่จะพุ่งยอดสูงขึ้นไปบังแสงต้นปาล์ม ส่งผลกระทบกับการให้ผลผลิตของต้นปาล์มได้ เพราะฉะนั้นการคอยควบคุมความสูงของลำไผ่จึงเป็นหัวใจของคนที่จะปลูกไผ่เป็นพืชแซมในสวนปาล์ม
ด้วยเหตุนี้ผู้ที่จะปลูกไผ่เป็นพืชแซมเสริมรายได้ในสวนปาล์ม จึงจำเป็นต้องศึกษาข้อมูลอย่างรอบคอบ ก่อนตัดสินใจปลูกไผ่ในสวนปาล์ม ไม่อย่างนั้นจะเป็นภาระตามมาภายหลังได้
พี่ๆ เพื่อนๆ ที่สนใจจะทำ...สวนไผ่เสริมรายได้ในสวนปาล์มให้ได้ผลและเกิดรายได้จริง! สามารถเข้ามาศึกษาเรียนรู้ได้ที่สวนไผ่อาบู ผมยินดีถ่ายทอดความรู้แบบหมดเปลือกครับผม
สวนไผ่อาบู ตั้งอยู่ใน อ.ท้ายเหมือง จ.พังงา โดย บุญชู สิริมุสิกะ ชายหนุ่มที่ทิ้งอาชีพวิศวกรในเมืองหลวง กลับสู่บ้านเกิด ที่มีรากฐานอาชีพจากสวนยางและสวนปาล์ม แน่นอนว่าเป้าหมายของเขาไม่ใช่อยู่ที่เงินทอง หากแต่แสวงหาความยั่งยืนและความสุข
ปัจจุบัน บุญชู คือผู้เชี่ยวชาญด้านการปลูกไผ่ในสวนยางและสวนปาล์ม มีรายได้หลายทาง ซึ่งมากกว่าเงินเดือนวิศวกร และยังกลายเป็นแหล่งศึกษาเรียนรู้ด้านการปลูกไผ่ที่มีชื่อเสียงของ จ.พังงา มีคนเข้าไปศึกษาดูงานไม่ขาดสาย ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ สวนไผ่ อาบู
www.1009seo.com