โมลาส (Molasses) คืออะไร
LSVคลังสมองออนไลน์ "ปีที่14"
พฤศจิกายน 22, 2024, 02:09:57 am *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: โมลาส (Molasses) คืออะไร  (อ่าน 3505 ครั้ง)
ช่างเล็ก(LSV)
Administrator
member
*

คะแนน1346
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 18843


คิดดี ทำดี ชีวิตมีแต่สุข


อีเมล์
« เมื่อ: ตุลาคม 29, 2016, 11:36:03 am »

โมลาส(Molasses)หรือ กากน้ำตาล คืออะไร?



โมลาส (Molasses) มีรากศัพท์มาจากคำว่า “Melaco” ในภาษาโปรตุเกสหรือที่คนไทยเรียกกันว่า “กากน้ำตาล”

 กากน้ำตาลเป็นของเหลวลักษณะเหนียวข้นสีน้ำตาลดำ ที่เป็นผลพลอยจากการผลิตน้ำตาลทราย ซึ่งไม่สามารถจะตกผลึกน้ำตาลได้อีก เป็นเนื้อของสิ่งที่ไม่ใช่น้ำตาลที่ละลายปนอยู่ในน้ำอ้อย ซึ่งประกอบด้วยน้ำตาลซูโครส น้ำตาลอินเวอร์ท (invert sugar) และสารเคมี เช่น ปูนขาว ที่ใช้ในการตกตะกอนให้น้ำอ้อยใส






  ในการผลิตน้ำตาลทรายขาวแต่ละครั้งจะให้โมลาสมีสีและความเข้มข้นต่างกัน โมลาสที่มีสีอ่อนจะมีน้ำตาลอยู่มากกว่า จึงมีรสหวานกว่าโมลาสที่มีสีเข้ม ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับปริมาณน้ำตาลที่ถูกสกัดออกและวิธีการอันเนื่องมาแต่กรรมวิธีการผลิต

   โมลาส หรือ มอลาสเซส หรือน้ำเหลืองน้ำตาล มีประโยชน์ต่อร่างกายเป็นอย่างมาก เพราะประกอบด้วย วิตามิน บี 1 บี 2 บี 3 บี 5 และวิตามินบี 6 อินโนซิตอล โคลีน โปแตสเซี่ยม แคลเซี่ยม เหล็กและแมกนีเซียม


 


  กากน้ำตาลมีระดับพลังงานระดับต่ำถึงปานกลางขึ้นอยู่กับปริมาณของน้ำที่มีอยู่ในกากน้ำตาล มีโพแทสเซียม และมีปริมาณน้ำในระดับสูง ทำให้เกิดเชื้อราได้ง่าย กากน้ำตาลแบ่งได้หลายชนิด


กากน้ำตาลจากอ้อย : เกิดจากกรรมวิธีการผลิตน้ำตาลทรายจากอ้อยโดยเริ่มจากการนำอ้อยเข้าหีบได้น้ำอ้อย กรองเอากากออกจากน้ำอ้อยแล้วเคี่ยวน้ำอ้อยจนได้ผลึกของน้ำตาลทรายตกตะกอนออกมา แยกผลึกน้ำตาลทรายด้วยหม้อปั่น ผลพลอยได้จะมี ขี้ตะกอน กากอ้อย และ กากน้ำตาล

กากน้ำตาลจากหัวบีท : เป็นผลพลอยได้จากการผลิตน้ำตาลจากหัวบีท

กากน้ำตาลจากส้ม : น้ำตาลที่ได้จากส้มมีกลิ่นและรสต่างจากกากน้ำตาลอ้อย

กากน้ำตาลจากข้าวโพด : กากน้ำตาลจากข้าวโพด มีน้ำตาลมากกว่า 48 เปอร์เซ็นต์ หวานและหอมกว่าน้ำตาลอ้อย

กากน้ำตาลจากไม้ : เป็นผลพลอยได้จากอุตสาหกรรมกระดาษ



การนำไปใช้

1) เป็นวัตถุดิบในการผลิตสุราและเอทานอล (โดยผ่านกระบวนการหมักด้วยยีสต์)

2) ใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตผงชูรส

3) ใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตโปรตีน (Lysine) ในอาหารสัตว์

4) ใช้ผสมอาหารสัตว์ เพื่อเพิ่มรสชาด

5) ใช้ทำน้ำสกัดชีวภาพ ใช้บำบัดน้ำเสีย ทั้งในครัวเรือน และอุตสาหกรรม





โมลาส (กากน้ำตาล) ที่ดีดูยังไง?

1. ต้องมีลักษณะเหนียว ข้น ไม่ผสมน้ำ

2. ไม่มีกลิ่นเหม็นเปรี้ยว บูด

3. มีค่าความหวานหรือ % TSAI ไม่ต่ำกว่า 50% , ค่า Brix ไม่ต่ำกว่า 80%

4. ซื้อจากแหล่งที่เชื่อถือได้ ดีที่สุดคือมาจากโรงงานผู้ผลิตโดยตรง



ประโยชน์ของโมลาส โดยทั่วๆไป

โมลาสมีเกลือแร่เหล็กสูง และแร่เหล็กในโมลาสจัดเป็นเกลือแร่ธรรมชาติ จึงง่ายต่อการดูดซึมเข้าร่างกายกับจะไม่ทำให้กระเพาะหรือท้องไส้ปั่นป่วนอีกด้วย ผู้ที่ต้องการเกลือแร่เหล็กบางราย ปรากฎว่าไม่สามารถรับประทานธาตุเหล็กที่เป็นอาหารเสริมชนิดเม็ดได้เพราะทำมีอาหารท้องผูกทั้งๆที่ร่างกายต้องการ ในรายอย่างนี้ควรรับประทานโมลาสแทน ซึ่งจะช่วยได้อย่างดี
โมลาสใช้เป็นยาระบายที่ให้ผลดี

วิตามินบี 1 ในโมลาสป้องกันและรักษาโรคเหน็บชา ป้องกันอ่อนเพลีย ป้องกันการซึมเศร้า ตลอดจนป้องกันโรคเส้นประสาทอักเสบ โรคหลอดโลหิตแดงแข็งตีบหรือโรคเกี่ยวกับระบบประสาทมัลติเปิ้ลสเคลอโรซีส (Multiple sclerosis)

กรดนิโคตินิค หรือวิตามินบี 3 หรือไนอะซีน ในโมลาส อันเป็นส่วนหนึ่งในวิตามินบีรวม สามารถป้องกันไม่ให้เกิดโรคเพลลากร้า (Pellagra) หรือโรคผิวหนังเป็นจ้ำๆ สีม่วงช้ำ เนื่องจากร่างกายไม่สามารถเปลี่ยนทริพโตฟาน (Tryptophan) ให้เป็นไนอะซีน (วิตามินบี 3) ได้

วิตามินบี 6 หรือ ไพริด็อกซิน
มีบทบาทสำคัญในการเผาผลาญโปรตีนในร่างกาย ซึ่งถ้าขาดวิตามินชนิดนี้จะทำให้เกิดโรคผิวหนังและเส้นประสาทอักเสบ ซึ่งในเด็กอาจขาดวิตามินนี้ได้ง่าย ดังนั้นถ้าให้เด็กรับประทานโมลาสจะช่วยได้ ในสตรีที่รับประทานยาคุมกำเนิด หรือผู้มีปัญหาก่อนถึงกำหนดมีประจำเดือน พบว่าต้องการวิตามินบี 6 มากขึ้น (โมลาสที่ได้จากหัวผักกาดแดง ไม่มีวิตามินบี 6)

กรดแพนโทเธ็นนิค หรือวิตามินบี 5 อันเป็นส่วนหนึ่งของวิตามินบีรวมจะช่วยต่อสู้ความเครียดได้ดีขึ้น ผู้ที่ขาดกรดแพนโทเธ็นนิคจะมีอาการอารมณ์หงุดหงิด ชอบหาเรื่องทะเลาะวิวาท เศร้าซึม มักเครียด มักเวียนศีรษะ เหน็บชา โมโหง่าย การรับประทานโมลาสจะช่วยเพิ่มกรดแพนโทเธ็นนิคในร่างกายและลดอาการเหล่านี้ได้

โมลาส มีอิโนสิตอล และโคลีนเป็นจำนวนมาก วิตามินบีทั้งสองชนิดนี้จะช่วยละลายไขมันที่เกาะติดอยู่ตามผนังหลอดเลือดแดงจึงช่วยการไหลเวียนของโลหิตได้ดีขึ้น การที่ร่างกายขาดโคลีนจะทำให้มีไขมันติดค้างอยู่ในตับมาก ตับทำงานไม่เต็มที่ จึงทำให้เป็นโรคตับแข็ง

โปแตสเซี่ยม พบในโมลาสซึ่งจำเป็นต่อการทำงานของหัวใจ ถ้าขาดเสียซึ่งโปแตสเซี่ยม จะทำให้หัวใจเต้นไม่สม่ำเสมอ อ่อนเพลีย และสมองไม่อยากทำงาน ผู้ที่มีอาการท้องร่วงเรื้อรังควรจะนึกถึงการขาดโปแตสเซี่ยมไว้เสมอ

แคลเซี่ยม มีความจำเป็นต่อร่างกายมากโดยเฉพาะเด็กๆ ซึ่งกำลังเจริญโตในโครงสร้างของกระดูกและฟันในผู้สูงอายุ แคลเซี่ยมยังมีความจำเป็นอยู่มากเพราะต้องใช้ในการบำรุงและซ่อมแซมส่วนสึกหรอของกระดูก
ในสตรีมีครรภ์ แม่ในระยะให้นมเด็ก และเด็กที่อยู่ในวัยกำลังเติบโตมีความจำเป็นต้องได้แคลเซี่ยมมากกว่า คนธรรมดา ซึ่งถ้าขาดแคลเซี่ยมจะทำให้กระดูกคด กระดูกนิ่ม กระดูกพรุน กระดูกหักง่าย

เกลือแร่เหล็ก ในโมลาสช่วยป้องกันโรคโลหิตจาง ช่วยให้เม็ดโลหิตมีสีแดง สมบูรณ์และทำงานอย่างมีประสิทธิภาพเต็มที่ควรใส่ใจไว้ด้วยการขาด วิตามินบี 12 ทำให้โลหิตจางได้เช่นกัน

แมกนีเซียม สารอาหารชนิดนี้จะพบในโมลาสเสมอ การที่ร่างกายขาดแคลเซี่ยมอาจเกิดกับผู้ที่เป็นโรคพิษสุราเรื้อรัง หรือผู้ที่มีต่อมพาราไทรอยด์ผิดปกติ และจะมีอาการคล้ายคลึงกับผู้ที่ขาดโปแตสเซี่ยมกับจะทำให้เกิดอาการซึมเศร้า สั่นและมีอาการชัก
นอกจากนี้โมลาสยังใช้แก้ปัญหาสุขภาพได้อีกหลายอย่าง เช่น ลำไส้ใหญ่อักเสบ โรคผิวหนังตามมือและตามเท้า ให้นำโมลาสมาล้างมือล้างเท้า ผู้ป่วยไซนัสให้น้ำโมลาสผสมน้ำแล้วนำมาล้างจมูกแก้เนื้อเยื่ออักเสบและใช้น้ำยาล้างปาก ผู้ป่วยเป็นแผลมีหนองไหล หรือโรคไพโอเรีย (Pyorrhea) ใช้โมลาสเพื่อรักษาแผล ทำให้แผลหายเร็ว


โมลาสคนก็กินได้

   ปกติแล้วรับประทานประมาณ 1 ช้อนโต๊ะ แต่สำหรับผู้ที่ยังไม่ชินกับรสของโมลาส ควรเริ่มด้วยครึ่งช้อนชาก่อน โดยผสมในอาหารหรือเครื่องดื่มแล้วจึงค่อยเพิ่มขึ้นเรื่อยๆทีละน้อยจนได้ปริมาณ 1 ช้อนโต๊ะ รสของโมลาสจะมีรสหวานปนขม เพราะน้ำตาลได้ถูกสกัดไปเกือบหมดแล้ว ไม่ควรรับประทานโมลาสเปล่าๆ ผู้เขียนรับประทานโดยใช้โมลาสผสมกับน้ำมะนาว แล้วเติมน้ำผึ้งลงไปด้วยจะได้รสที่สดชื่นทั้งเพิ่มความอร่อยขึ้นอีกมาก แต่บางคนชอบผสมกับน้ำอุ่น แล้วจิบทีละน้อย

  วิธีที่นิยมรับประทานกันมากและง่ายที่สุดคือ ผสมทำเค้ก ทำขนมปัง มิลค์เชค น้ำเชื่อม ขนมเหนียว น้ำปลาหวาน รับประทานกับสะเดา น้ำปลาหวานรับประทานกับมะม่วง มะกอก ใช้ผสมกับน้ำเมี่ยงคำ หรือผสมกับซีเรียลรับประทานเป็นอาหารเช้า





ขอบคุณ
http://www.108kaset.com/goat/index.php/topic,230.0.html


บันทึกการเข้า

หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1 RC2 | SMF © 2001-2006, Lewis Media

lsv2555Please follow the new website at https://www.pohchae.com

Valid CSS!