ตำราพิชัยสงครามของซุนวูเป็นหนึ่งในตำรายุทธศาสตร์การทหารเล่มหนึ่งที่เก่าแก่ที่สุดในโลก โดยนับได้ว่าเป็นตำราเล่มแรกและเล่มหนึ่งที่ประสบความสำเร็จอย่างสูงในเชิงยุทธศาสตร์ และมีอิทธิพลอย่างมหาศาลต่อแนวคิดทางการทหาร กลยุทธทางธุรกิจ และแนวคิดเรื่องอื่นๆ ทั้งในโลกตะวันออกและโลกตะวันตก ซุนวูถือเป็นบุคคลแรกที่ตระหนักในความสำคัญของตำแหน่งทางยุทธศาสตร์ ซึ่งจะได้รับผลกระทบทั้งจากเงื่อนไขเชิงรุกในด้านสภาพแวดล้อมทางกายภาพ และความคิดเชิงรับของฝ่ายคู่แข่งในสภาพแวดล้อมดังกล่าว เขาได้สอนว่า ยุทธศาสตร์ไม่ใช่เพียงการวางแผนกำหนดสิ่งที่จะลงมือทำเท่านั้น แต่ยังต้องการการตอบสนองอย่างรวดเร็วและเหมาะสมในการเปลี่ยนแปลง
เงื่อนไขในสถานการณ์ต่างๆ ด้วย
ตำราพิชัยสงครามซุนวู ซึ่งตกทอดมาถึงเดี๋ยวนี้มี 13 บรรพด้วยกัน ได้ประมวลหลักปรัชญาการต่อสู้และทฤษฎีการปกครองไว้อย่างครบครัน หนังสือเล่มนี้เบื้องโบราณสมัย
หลัง ๆ ต่อมา แม้ ขงเบ้ง, พระเจ้าถังไท้จงฮ่องเต้ ตลอดจนนักการทหารและนักการปกครองอันมีชื่อของจีนอื่น ๆ ก็ได้ถือเป็นตำราเล่าเรียนตลอดมา ชาวโลกก็นิยมว่าเป็นแม่บท
ของตำราวิชาการทหารซึ่งมีอายุเก่าแก่ที่สุดเล่มหนึ่ง ถ้อยคำสำนวนเดิมสั้น, รัดกุม, แน่นแฟ้น และเป็นคำยากด้วยเป็นคำโบราณ เท่าที่ทราบกันว่าได้แปลเป็นภาษาต่าง ๆ แล้ว มี ภาษาอังกฤษ, ฝรั่งเศส, ญี่ปุ่น, รัสเซีย, เชคโก, เยอรมัน ฯลฯ หลายภาษาด้วยกัน
บรรดาหนังสือแนวปรัชญาของจีน จำได้ว่ามีอยู่ไม่กี่เล่มที่ได้รับการยกย่องหรือถือว่าเป็น "คัมภีร์" เช่น คัมภีร์เหลาจื๊อ-ขงจื๊อ และ ตำราพิชัยสงครามของซุนวู ก็เป็นหนังสืออีกเล่มหนึ่งที่ถูกยกเป็น "คัมภีร์" เช่นกัน สิ่งที่อยากจะกล่าวถึงคุณความดีของ "ตำราพิชัยสงครามซุนวู" ก็คือภาษาหนังสือของ "ซุนวู" ถูกยกย่องว่าเป็นภาษาหนังสือที่ดีที่สุด มีทั้ง
ความเฉียบคม ดุเดือด เข้มแข็ง เด็ดขาด และลีลาที่สง่างามทางภาษา ซึ่ง โจโฉ ก็กล่าวยกย่องไว้มาก
ประการต่อมา-เนื้อหาซึ่งถือเป็นตำราพิชัยสงครามนั้น มีคุณค่าสูงส่งโดยปราศจากข้อสงสัย แม้ "ขงเบ้ง" ก็ยกย่องและยอมรับนับถือ บรรดาแม่ทัพนายกองและข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ของจีนจำนวน 13 คน ได้ทำ "หมายเหตุ" บรรยายหรือขยายความเพื่อให้คนรุ่นต่อมาได้เข้าถึงอย่างลึกซึ้ง หนังสือ "ตำราพิชัยสงครามชุนวู" เล่มนี้ยังได้ถูกอ้างอิงอย่างกว้างขวาง แม้แต่คำกราบบังคมทูลของขงเบ้งก็อ้างถึงว่า โจโฉมีความสามารถเทียบเท่าซุนวู
ขอขอบคณที่มาดีๆจาก th.wikipedia.org,stou.ac.th