โดย...ประสิทธิชัย หนูนวล ผู้ประสานงานขาหุ้นปฏิรูปพลังงาน
คำถามที่สำคัญของอันดามันในขณะนี้คือ รัฐบาลจะแลกไหมระหว่างรายได้การท่องเที่ยวใน 6 จังหวัดอันดามัน มูลค่ากว่า 3 แสนล้านบาทต่อปี กับการได้มาซึ่งไฟฟ้า 800 เมกะวัตต์ด้วยการใช้ ถ่านหิน เป็นเชื้อเพลิงผลิตไฟฟ้า มาถึงวันนี้รัฐบาลต้องตอบคำถามตัวเองว่า จะบริหารประเทศภายใต้การยึดถือประโยชน์ของคนส่วนใหญ่ หรือจะตกเป็นทาส
พ่อค้าถ่านหินการสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินกระทบอย่างไรต่อการท่องเที่ยว และการเกษตร คงเป็นที่ประจักษ์กันทั้งโลกว่า
ถ่านหินเป็นหายนะภัยของมนุษยชาติ โดยรายงานของคณะกรรมการร่วมระหว่างรัฐบาล (IPCC) ซึ่งเลาขาธิการสหประชาชาติ ออกมาแถลงร่วมว่า ขอให้รัฐบาลทุกประเทศทบทวนการใช้พลังงานฟอสซิล เพราะผลทางวิทยาศาสตร์ออกมาชัดเจนว่า ฟอสซิลเป็นสาเหตุหลักของหายะทางด้านสิ่งแวดล้อม และการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
ยังไม่นับรวมรายงานวิจัยของนักวิชาการมหาวิทยาลัยฮาวาร์ด ประเทศสหรัฐอเมริกา และมหาวิทยาลัยสตุดการ์ด ประเทศเยอรมนี ซึ่งการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) มักอ้างเสมอว่า โรงไฟฟ้าถ่านหินในเยอรมนี เป็นโรงไฟฟ้าถ่านหินสะอาด ในขณะที่ประเทศเยอรมนี ประกาศเจตนารมณ์ชัดเจนว่า เขาจะเป็นประเทศแรกในโลกที่ใช้พลังงานสะอาด 100%
การเกิดขึ้นของโรงไฟฟ้าถ่านหินใน อ.เหนือคลอง จ.กระบี่ หนีไม่พ้นที่จะกระทบต่ออันดามันทั้งหมด ไม่เฉพาะทางทะเล แต่หมายถึงพื้นที่ทางการเกษตรด้วย!!
หากเราพิจารณารายงานวิจัยข้อมูลจากสถาบันวิศวกรรมศาสตร์และอาชีวเวชศาสตร์ ประเทศอเมริกา จะพบว่า ด้านความเป็นพิษ และผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ โรงไฟฟ้าถ่านหินระบายมลพิษทางอากาศสู่ชั้นบรรยากาศโลก ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อสุขภาพอย่างรุนแรง ได้แก่ ผลกระทบที่ทำให้อวัยวะเสียหาย ยังเป็นสาเหตุที่สำคัญต่อการเป็นมะเร็ง ทำให้เกิดการทำงานบกพร่องของประสาท และมีความสามารถในการส่งผลให้เป็นโรคหอบหืด โรคเกี่ยวกับปอด และโรคหัวใจ (USEPA 1998, USEPA 2011a; USEPA 2011b) โรงไฟฟ้าถ่านหินมีส่วนสำคัญทำให้ปรอทที่อยู่ในถ่านหินไปสะสมอยู่ในดิน และน้ำ บางรัฐพบว่า การเผาไหม้ของถ่านหินปริมาณ 70% ของปรอทสามารถอยู่ในน้ำฝน (Kealer et al., 2006) ปรอทสามารถสะสมอยู่ที่พื้นดิน อากาศ สู่ทางน้ำ ซึ่งอาจจะอยู่ในสิ่งมีชีวิตเล็กซึ่งๆ เป็นรูปแบบปรอทที่มีความพิษสูง EPA ระบุว่า การกระจายของฝุ่นเป็นสาเหตุของการเกิดโรคหัวใจ รวมถึงโรคหัวใจวาย และเป็นอันตรายต่อชีวิต ทำให้เป็นโรคทางเดินหายใจ และยิ่งไปกว่านั้นยังเกี่ยวข้องต่อระบบทางเดินหายใจ เช่น โรคภูมิแพ้ และเกี่ยวข้องต่อระบบการหายใจ มีผลต่อการพัฒนาการในการสืบพันธุ์ และมะเร็ง (USEPA 2009, CASAC 2010) ที่สำคัญรายงานดังกล่าวระบุว่า มลพิษทางอากาศที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพเมื่อถูกปล่อยมาสู่บรรยากาศ เมื่อเวลาผ่านไปหลายชั่วโมง มีบรรยากาศรวมถึงความเร็วลมช่วยจะสามารถแพร่กระจายไปได้ในรัศมี 15-30 ไมล์ และยิ่งไปกว่านั้น หากระยะเวลาผ่านไปนานขึ้น มลพิษทางอากาศที่เป็นอันตรายสามารถแพร่กระจายไปในระยะทางจาก 100 ถึง 1,000 ไมล์ ก่อนที่จะสลายไปในบรรยากาศ .. คำถามคือ เมื่อมีทางออกอื่นเรื่องการผลิตพลังงานไฟฟ้า ทำไม่รัฐจึงไม่ทำ กลับใช้เชื้อเพลิงที่ทำลายสิ่งแวดล้อม และสุขภาพของคน หรือเป็นเพราะนายทุนยังไม่สามารถสัมปทานดวงอาทิตย์ได้ใช่หรือไม่ พลังงานแสดงอาทิตย์จึงไม่ได้รับการสนับสนุนในประเทศไทย ..
http://www.1009seo.com/