5 เรื่องน่าพิศวงของหน่วยความจำ มหัศจรรย์ของร่างกาย
LSVคลังสมองออนไลน์ "ปีที่14"
พฤศจิกายน 28, 2024, 11:30:43 pm *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: 5 เรื่องน่าพิศวงของหน่วยความจำ มหัศจรรย์ของร่างกาย  (อ่าน 2354 ครั้ง)
CIVIC"
ชุมชนคนรักอาชีพช่าง
member
*

คะแนน30
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 562


« เมื่อ: ตุลาคม 08, 2014, 02:27:24 pm »



มาคลี่คลายข้อสงสัยกับสิ่งพิศวงเกี่ยวกับความทรงจำที่คุณอาจไม่เคยรู้ แล้วจะรู้ว่าสมองของเรามหัศจรรย์แค่ไหน

          เคยสงสัยกันบ้างไหมว่า ..ทำไมบางสิ่งที่เราอยากจะจำให้ได้ถึงชอบลืมนัก หรือบางสิ่งที่เล็ก ๆ น้อย ๆ และไม่จำเป็นต้องจำก็กลับจำได้ บางเรื่องผ่านมานานแล้วแต่ก็ยังจำได้แม่น แต่กลับเรื่องที่เพิ่งเกิดไม่ถึงวัน กลับจำไม่ได้เสียแล้ว นั่นก็เป็นเพราะว่าสมองของเรามีความมหัศจรรย์ และความพิศวงมากมาย ซึ่งในปัจจุบันนี้ก็ยังไม่มีนักวิทยาศาสตร์คนไหนจะเปิดเผยความลับที่อยู่ภายในสมองของเราได้ทั้งหมด แต่วันนี้เราจะพาทุกคนไปพบกับความพิศวงบางอย่างของสมองที่คุณอาจไม่เคยรู้แต่ได้รับการพิสูจน์จากนักวิทยาศาสตร์แล้วที่เว็บไซต์ huffingtonpost.com ไปดูกันสิว่ามีอะไรบ้าง

  1. ประตูทำลายความทรงจำ

          คิดว่าหลายคนต้องเคยเป็นอย่างแน่นอน ที่เมื่อเวลาเราตั้งใจว่าจะเดินไปอีกห้องหนึ่งเพื่อทำบางสิ่ง แต่พอเราเดินผ่านพ้นประตูไปเท่านั้นล่ะ ก็ลืมไปเลยว่าจะมาทำอะไร ทั้ง ๆ ที่เพิ่งจะคิดไปเมื่อสักครู่นี้เอง นั่นก็เป็นเพราะว่าเจ้าประตูได้ทำลายความทรงจำเมื่อครู่ไปแล้วล่ะ.. อ๊ะ ๆ สงสัยใช่ไหมว่าทำอย่างไร ซึ่งนักจิตวิทยาแห่งมหาวิทยาลัยนอเตอร์เดม อย่าง Gabriel Radvansky ได้บอกให้เรารู้เกี่ยวกับเรื่องนี้เอาไว้ว่า เมื่อเราเดินผ่านประตู สมองของเราก็จะมองประตูว่าเป็นเขตแดนของเหตุการณ์ และจะแบ่งความทรงจำของเหตุการณ์นั้นออกไปจากสิ่งที่เกิดขึ้น ณ วินาทีนั้นอย่างสิ้นเชิง ซึ่งนั่นก็จะทำให้เรานึกเกี่ยวกับสิ่งที่อยู่อีกห้องหนึ่งไม่ค่อยออก เวลาที่เราเดินมาอีกห้องหนึ่งแล้วนั่นเอง



2. กิจกรรมบางอย่างลบความทรงจำ

          มันเป็นเรื่องน่าแปลกที่ว่ากิจกรรมบางอย่างสามารถส่งผลให้เราสูญเสียความทรงจำได้ชั่วคราวหรือไม่ก็ทำให้เราจำความทรงจำเหล่านั้นได้ไม่ชัดเจน ซึ่งภาวะนี้ถูกเรียกว่าโรคความจำเสื่อมชั่วขณะ โดยมีการรายงานว่า การมีเพศสัมพันธ์ก็คือกิจกรรมหนึ่งที่ทำให้ลืมความทรงจำไปชั่วขณะได้ นอกจากนี้ยังทำให้การรื้อฟื้นความทรงจำเป็นไปได้ยากอีกด้วย

          โรคความจำเสื่อมชั่วขณะนี้ไม่ร้ายแรงและไม่ใช่ปัญหา เพราะความทรงจำเหล่านั้นจะกลับมาในเวลาเพียงไม่กี่ชั่วโมง แต่มันก็จะไม่ชัดเจนเหมือนเก่า ซึ่งเมื่อทำการสแกนสมองของผู้ที่เป็นโรคนี้ก็ไม่ได้มีการพบความเสียหายของสมองหรือสัญญาณของโรคหลอดเลือดสมองแต่อย่างใด

  3. ความทรงจำของเราจะยังคงอยู่เสมอ แม้เราจะจำมันไม่ได้แล้ว

          ในปี 2013 มีการรายงานถึงกรณีน่าประหลาดเมื่อผู้หญิงคนหนึ่งได้เห็นภาพหลอนเกี่ยวกับเพลงที่เธอไม่รู้จัก แต่เรื่องอื่น ๆ กลับจำได้ ซึ่งนักวิทยาศาสตร์ได้อธิบายว่าผู้หญิงคนนี้มีแนวโน้มว่าจะเคยรู้จักเพลงนี้มาก่อน แต่ก็ลืมมันไป ซึ่งในความจริงแล้วความทรงจำไม่ได้หายไปไหน แต่แค่เพียงถูกเก็บเอาไว้ในรูปแบบอื่น ๆ ที่สมองเข้าถึงได้ แต่เราอาจไม่สามารถเข้าถึงมันได้ โดยเป็นไปได้ว่าสมองของเธออาจจะทำการแยกส่วนของความทรงจำเกี่ยวกับเพลง ๆ นี้เอาไว้ในรูปแบบอื่นที่ทำให้เธอไม่สามารถเข้าถึงได้



บันทึกการเข้า

CIVIC"
ชุมชนคนรักอาชีพช่าง
member
*

คะแนน30
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 562


« ตอบ #1 เมื่อ: ตุลาคม 08, 2014, 02:28:49 pm »




4. สมองถูกตั้งโปรแกรมให้ลืมเรื่องในวัยแรกเกิด

          เคยสังเกตกันหรือเปล่าว่าเราไม่สามารถจำเรื่องราวเมื่อตอนที่เรายังเด็กมากได้เลยสักนิด จะจำได้ก็ช่วงที่เข้าโรงเรียนอนุบาลแล้ว นั่นก็เป็นเพราะว่า ความทรงจำเหล่านั้นเป็นความทรงจำในช่วงวัยแรกเกิดซึ่งจะค่อย ๆ ลืมเลือนไปเมื่อเราโตขึ้น ซึ่งนักวิทยาศาสตร์ได้วิเคราะห์สาเหตุไว้ว่า เนื่องจากในช่วงแรกเกิดเรายังไม่มีทักษะทางภาษาจึงทำให้เราไม่สามารถจำสิ่งต่าง ๆ ในช่วงอายุนั้นได้ แต่งานวิจัยล่าสุดแสดงให้เห็นว่าที่เราไม่สามารถจำความทรงจำในช่วงปีแรก ๆ ของชีวิตได้นั่นก็เป็นเพราะว่าสมองได้เติบโตและพัฒนาหลังจากช่วงอายุวัยแรกเกิดจึงได้มีการสร้างเซลล์เพื่อลบความทรงจำในช่วงดังกล่าวไป เพื่อรองรับความทรงจำในช่วงที่โตขึ้นนั่นเอง

  5. การบาดเจ็บของสมองอาจเป็นสาเหตุของการเสียความทรงจำ

          มีการศึกษาพบว่าการสูญเสียความทรงจำอาจเกิดขึ้นได้เมื่อความทรงจำบางอย่างเกิดขึ้นในช่วงก่อนอาการบาดเจ็บที่สมอง ซึ่งความจำนั้นไม่นานพอที่จะทำให้สมองเก็บความทรงจำช่วงนั้นไว้ โดยส่วนใหญ่การสูญเสียความทรงจำจะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อสมองในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการจัดการ ดูแลรักษา และการเรียกคืนความทรงจำได้รับการบาดเจ็บ ซึ่งอาการเหล่านี้อาจนำไปสู่ภาวะความจำเสื่อมได้

          หนึ่งในกรณีศึกษาที่น่าสนใจนั่นก็คือผู้ป่วยคนหนึ่งที่ได้รับการรักษาโรคลมบ้าหมูด้วยการนำสมองส่วนฮิปโปแคมปัสออกไป สามารถรื้อฟื้นความทรงจำและสร้างความทรงจำใหม่ ๆ ได้ และอีกกรณีหนึ่งก็คือคนไข้ที่เกิดการติดเชื้อไวรัสในสมอง ทำให้เกิดภาวะสมองอักเสบ แต่ก็สามารถฟื้นฟูความทรงจำได้ใหม่เช่นเดียวกัน

          สมอง
ยังคงเป็นพื้นที่ส่วนที่มีความน่าพิศวงและความเร้นลับอีกมากมายที่รอให้นักวิทยาศาสตร์ทำการศึกษาเพื่อหาข้อพิสูจน์ ซึ่งไม่ว่าอย่างไรสมองก็ยังคงเป็นส่วนที่มีความสำคัญมากที่สุดในร่างกาย ดังนั้นเราจึงควรดูแลและบำรุงสมองอยู่เสมอด้วยการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์รวมทั้งการฝึกสมองต่าง ๆ นอกจากนี้ยังควรสังเกตความผิดปกติอีกด้วย หากรู้สึกจำอะไรไม่ค่อยได้ หรือรู้สึกว่าพฤติกรรมของตนเองเปลี่ยนไปโดยไม่มีสาเหตุ ก็ควรไปปรึกษาแพทย์ดีกว่า.. เพราะบางทีนั่นอาจจะเป็นสัญญาณของอันตรายบางอย่างที่เกิดขึ้นกับสมองได้

http://www.1009seo.com/
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1 RC2 | SMF © 2001-2006, Lewis Media

lsv2555Please follow the new website at https://www.pohchae.com

Valid CSS!