ธงชาติและตราแผ่นดิน
อิรัก (อาหรับ: العراق; เคิร์ด: عێراق) หรือชื่อทางการคือ สาธารณรัฐอิรัก (อาหรับ: جمهورية العراق; เคิร์ด: كؤماری عێراق) เป็นประเทศในตะวันออกกลาง ตั้งอยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันตกเฉียงใต้ มีพื้นที่ครอบคลุมส่วนใหญ่ของเมโสโปเตเมีย จุดสิ้นสุดทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของเทือกเขาแซกรอส และทิศตะวันออกของทะเลทรายซีเรีย
อิรักมีพรมแดนร่วมกับซาอุดีอาระเบียและคูเวตทางทิศใต้ ติดต่อกับตุรกีทางทิศเหนือ ติดต่อกับซีเรียทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ติดต่อกับจอร์แดนทางทิศตะวันตก และติดต่อกับอิหร่านทางทิศตะวันออก
อิรักได้จัดตั้งคณะผู้นำปัจจุบันเมื่อวันที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2547 หลังจากการบุกเข้าอิรักเมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ. 2546 นำโดยกองทัพสหรัฐฯ และอังกฤษเพื่อโค่นล้มประธานาธิบดีซัดดัม ฮุสเซนลงจากอำนาจ
สวนลอยบาบิโลน
ภูมิศาสตร์
อิรักมีพื้นที่ทั้งหมด 437,072 ตารางกิโลเมตร ทิศตะวันออกติดกับ อิหร่าน ทิศเหนือ ติดกับตุรกี ทิศใต้ติดกับคูเวต ทิศตะวันตกติดกับ ซีเรีย และจอร์แดน สภาพทางภูมิศาสตร์ของอิรัก เป็นทะเลทรายร้ออิรักยละ 40 ที่ราบสูง ยากแต่การทำการเกษตรทำให้อิรักต้องนำเข้าสินค้าภาคการเกษตรเช่น ข้าวสาลี ข้าวจ้าว ธัญพืช แต่อย่างไรก็ดี อิรักก็มีแม่น้ำไหลผ่าน 2 สาย คือ ไทรกิส ยูเฟรตีส ทำให้ยังพอมีความอุดมสมบูรณ์อยู่บ้าง
เชื้อชาติ
สังคมของอิรักเป็นสังคมหลากหลายชาติพันธุ์ เป็นเหตุมาจากพัฒนาการทางประวัติศาสตร์ที่เป็นแหล่งอารยธรรมมาหลายพันปี พลเมืองของอิรักที่นับถือศาสนาอิสลามนั้น ได้แบ่งเป็น 2 กลุ่มใหญ่ คือ มุสลิมชีอะห์(ร้อยละ 65) และ มุสลิมสุหนี่ (ร้อยละ 20) นอกจากนี้ยังมีชาวเคิร์ด อยู่ในบริเวณเคอร์ดิสถาน ชาวเคริ์ดในอริรักมีอยู่ประมาณ 3,700,000 คน นับว่าเป็นคนส่วนน้อยในอิรัก และเนื่องด้วยรูปแบบการปกครองที่ให้สิทธิของชนชาติอาหรับ และผูกขาดอำนาจทางเศรษฐกิจให้กับมุสลิมสุหนี่ ส่งผลให้ กลายเป็นปัญหาความขัดแย้งระหว่างศาสนา และชาติพันธุ์ในอิรัก ทั้งกับมุสลิมด้วยกันเองคือ สุหนี่และชีอะห์ และ ยังปัญหาความขัดแย้งระหว่างชาวคิร์ดกับรัฐบาลกลางของอิรัก เพื่อเรียกร้องสิทธิและความเท่าเทียมอีกด้วย
ขอขอบคุณ wikipedia.org