ภาษาลาวเบื้องต้น รับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
ถ้าหากภาษาเขมรเป็นภาษาที่มีอิทธิพลกับภาษาไทยที่สุด ภาษาลาวก็นับว่าเป็นภาษาที่มีความใกล้เคียงกับภาษาไทยที่สุดแล้ว คนไทยกับคนลาวสามารถติดต่อสื่อสารกันเข้าใจได้โดยง่าย แต่ถึงอย่างไร วันนี้เราจะมาเรียนรู้ภาษาลาวเพิ่มเติม เพื่อต้อนรับการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนกัน
ในข้อเท็จจริงนั้น ภาษาลาวจะใกล้เคียงกับภาษาอีสานของไทยมากที่สุด หรือพูดได้ว่าเป็นภาษาเดียวกัน แต่ต่างสำเนียงเท่านั้น ทั้งนี้ ภาษาลาวจะมีทั้งหมด 6 สำเนียงใหญ่ ๆ ได้แก่
1. ลาวเวียงจันทน์ เป็นภาษาลาวที่เป็นภาษาราชการ ใช้ในพื้นที่ เวียงจันทน์, บอลิคำไซ
2. ลาวเหนือ ใช้ในพื้นที่ หลวงพระบาง, ไซยะบุลี, อุดมไซ
3. ลาวกลาง ใช้ในพื้นที่ คำม่วน, สะหวันนะเขต
4. ลาวใต้ ใช้ในพื้นที่ จำปาสัก, สาละวัน, เซกอง, อัตตะปือ
5. ลาวตะวันตก เป็นภาษาลาวที่ใช้ในภาคอีสานประเทศไทย
6. ลาวตะวันออกเฉียงเหนือ ใช้ในพื้นที่ คำม่วน, สะหวันนะเขด
สำหรับตัวอักษรลาว มีทั้งหมด 27 ตัวด้วยกัน ซึ่งชาวลาวจะเรียกว่า พยัญชนะเค้า แล้วก็มีพยัญชนะควบอีก 6 ตัว รวมเป็น 33 ตัว ส่วนสระก็มีทั้งหมด 29 ตัวด้วยกัน ซึ่งทั้งหมดล้วนมีความคล้ายคลึงกับอักษรไทยมาก สาเหตุมาจาก อักษรไทยและลาวมีวิวัฒนาการมาจากอักษรเทวนาครี ซึ่งเป็นอักษรที่ใช้ในอินเดียทางตอนเหนือนั่นเอง
ด้านวรรณยุกต์ของลาว จะมีวรรณยุกต์ทั้งหมด 6 ระดับด้วยกัน ตามพื้นที่ของภูมิศาสตร์ ได้แก่
1. Low (เอก)
2. Mid (สามัญ)
3. High (ตรี)
4. Rising (จัตวา)
5. High Falling (ใกล้เคียงกับโท)
6. Low Falling (โท)
ปิดท้ายด้วยคำศัพท์เบื้องต้นของภาษาลาว ดังนี้
คำทักทาย เช่น
สวัสดี พูดว่า สะบายดี
ขอบคุณ พูดว่า ขอบใจ
ขอโทษ พูดว่า ขอโทด
ฉันรักเธอ พูดว่า ข้อยฮักเจ้า
คุณชื่ออะไร พูดว่า เจ้าชื่อหยัง
ฉันชื่อพัชรินทร์ พูดว่า ข้อยชื่อพัชรินทร์
เป็นอย่างไรบ้าง พูดว่า สะบายดีบ่
ลาก่อน พูดว่า ลาก่อน
โชคดี พูดว่า โชกดี
คำสรรพนาม เช่น
ฉัน พูดว่า ข้อย
คุณ, ท่าน พูดว่า เจ้า
ฉัน (พูดกับผู้ที่อาวุโสกว่า) พูดว่า เฮา
ตัวเอง, เธอ (พูดกับคนที่สนิทสนม) พูดว่า โต
พ่อตา แม่ยาย พูดว่า พ่อเถ้า แม่เถ้า
การซื้อของ เช่น
เป็นเงินเท่าไร พูดว่า ถึกเท่าได๋
แพงมาก พูดว่า แพงหลาย
ไม่แพง พูดว่า บ่แพง
ลดได้หรือไม่ พูดว่า ลุดได้บ่
นี่อะไร พูดว่า อันนี้แม่นหยัง
นั่นอะไร พูดว่า อันนั้นแม่นหยัง
กีฬา เช่น
เตะฟุตบอล พูดว่า เตะบาน
ชกมวย พูดว่า ตีมวย
ออกกำลังกาย พูดว่า แอบกาย
อาหาร เช่น
อาหารเช้า พูดว่า เข้าเซ้า
อาหารกลางวัน พูดว่า ข้าวสวาย
อาหารเย็น พูดว่า ข้าวแลง
อีกข้อมูลหนึ่งครับ
จริง ๆ ภาษาลาว คนไทยก็พอจะอ่านเดา ๆ กันได้ เพราะตัวอักษรและภาษา คล้ายกัน เพียงแต่ บางตัวอักษร ไม่เหมือนภาษาไทยเลยทำให้ เดาลำบาก
- เบื้องต้น อักษรลาวมี 26 ตัว ส่วนใหญ่ ก็เหมือนอักษรไทยมีบางตัวเท่านั้น ที่ ไม่เหมือน ที่บอกว่า
พยัญชนะลาว มี 26 ตัว บวกกับอีก 1 ตัวนั้น คือ ในภาษาลาวจะไม่มี เสียงผันลิ้น เป็นตัว ร. เช่น รถ ก็จะเขียน(และอ่าน) ว่า ลด
- บางคำที่คำไทยเขียน ร.เรือเช่น เรือน เรือ เขาก็จะใช้ ตัว ฮ.เฮือน (ตัวที่ 26 ที่อักษรเหมือน ร.เรือ) อ่านเป็น เฮือน หรือ เฮือ ไปเลย
- เมื่อก่อนนี้ ภาษาลาวก็มีตัวพยัญชนะ ร. ไว้เหมือนกันแต่จุดประสงค์ใหญ่ก็เอาไว้แทนตัว R ในภาษาอังกฤษหรือ เอาไว้ใช้สะกดชื่อคนไทย - ภาษาไทย เป็นหลักเท่าที่ทราบ ภาษาลาว มีใช้ตัว ร.แค่คำว่า ราชา ราชินี เท่านั้น
- ปี 1997 ได้มีการปฏิรูปภาษาลาวครั้งใหญ่โดยให้นำตัว ร. กลับมาใช้ใหม่ และได้สะสาง เปลี่ยนแปลง รูปแบบ การใช้ สระ ให้มีมาตรฐานคล้าย ๆ ภาษาไทย คือ
แต่ก่อนนี้ สระลาว เต็มไปด้วย สระลดรูป สระเปลี่ยนรูป ไปตามพยัญชนะที่สะกด แบบเฉพาะคำ เยอะมากก็ปรับเปลี่ยนมา ให้ใช้แบบของไทย ตัวอย่างเช่น เมื่อก่อน สระเอีย เช่นคำว่า เวียง จะเขียนเป็น ว. + สระลดรูป (ตัวคล้าย ๆ ร.เรือ แต่หางยาว) + ง.(แต่ก็ยังเขียนกันทั้ง 2 แบบอยู่)
- มีพยัญชนะลาวอีกตัวหนึ่ง ที่เป็นตัว ย. เหมือนกัน เพียงแต่มีหางไม่เท่ากัน ตัวแรกคือ ตัว ย.ยุง อันนี้ เสียงจะออกเป็น ย.แบบเดียวกับภาษาอีสาน ซึ่งครูภาษาไทย(บางคน)ที่ชอบอ้างว่า ภาษาไทย ออกเสียงได้ครบ ครอบคลุมหมดทุกเสียง จะไม่มีทางออกเสียง ย.ตัวนี้ได้เลย (ยกเว้นเป็นคนอีสาน)
- อีกตัวคือ ย.ยาหรือบางทีก็เรียกกันว่า ย.หางยาว ย. ตัวนี้ ออกเสียงแบบเดียวกับ ย.ยักษ์ ของไทยใช้เฉพาะกับคำที่เขียนว่า ยา และ ยาง เท่านั้น
ตัว ย.หางยาว นี้ นอกจากใช้เขียนคำว่า ยา และ ยาง แล้วยังเอาไว้ใช้ กับตัว อ.นำ ย. เช่น อย่า อยู่ อย่าง อยาก หรือ ห. นำ ย. เช่น หยาด หยาม
- สุดท้าย คือ สระลาว
เรียนรู้ภาษาลาว พยัญชนะล
ในภาษาลาวมีสระอยู่ตัวหนึ่ง ที่ทำให้ คนไทยเรา เป็นงงมาก รูปร่าง คล้าย ๆ ไม้หันอากาศกลับหัว บางทีก็มองคล้าย ๆ สระ อิ ไทย จริงๆ เจ้าตัวนี้ เป็น สระโอะ ลดรูป
- ยกตัวอย่างคำที่กำกับสระโอะ ในภาษาไทย จะลดรูปสระ ออกไปเลย เช่น คน ดง นม ลด ฯลฯ แต่ภาษาลาว จะลดรูปสระโอะ ลงมา แล้ใช้เจ้าตัวนี้ กำกับแทน ส่วนคำที่เขียน อ่านเป็นคำไทย เหมือนจะอ่านว่า "ถิม" นั้นจริง ๆ คือ คำว่า คน(ค. + สระโอะลดรูป + น.)
หากผิดพลาดประการใดก็ขออภัยอีกครั้งนะครับ