ทำใช้งานมานานเกือบสิบปีแล้ว เห็นว่าน่าจะมีประโยชน์ และน่าจะลดค่าไฟฟ้าลงได้กว่าเดิมๆ อีกนิดหน่อย ยืดอายุ พวกอุปกรณ์ เพาเวอร์โมดูล
พอดูแล้วจะบอกว่า ง่ายๆ พื้นๆ ที่ผมทำใช้งานมานานแล้ว
ลองหาในกูเกิลก็ยังไม่เห็นมีใครทำใช้กัน ......
จึงขอนำมาเผยแพร่
การติดตั้ง เพิ่มเติม ต้องเป็นช่างเทคนิคนิดนึง หรือใครจะเอาไปให้ช่างติดตั้งให้ก็ได้
ใครที่เป็นช่างก็ยิ่งสบายเลย
หรือช่างติดตั้งแอร์ จะเอาไปเป็นตัวเพิ่มออบชั่นให้ลูกค้าก็ได้ ถ้าลูกค้าต้องการ
** อย่างที่รู้กันว่า แอร์ชนิดอินเวอเตอร์ ขณะทำงานจะมีการปรับรอบ กำลัง ตามสภาพ อากาศในห้อง การตั้งอุณหภูมิ รวมถึง อากาสภายนอกห้อง ...
เหล่านี้คือเงื่อนไข ที่ป้อนเข้า ecu ของแอร์ เพื่อให้ ecu ประมวลผล และสั่งให้คอมทำงานตามกำลังที่เหมาะสม
ดังนั้น ติดแอมป์มิเตอร์ เข้าไปตัวหนึ่ง ง่ายๆ ครับ
การเลือกขนาดของตัวแอมป์มิเตอร์ เลือกเรนจ์ที่เหมาะสม ขนาดตามต้อง
ในรูป ของผม ใช้ขนาด 30 แอมป์ เพราะผมใช้ แอร์ ญี่ปุ่น ไฟ 100 โวลต์ 2 ตัว ผ่านมิเตอร์ตัวนี้ เปิดใช้งาน สลับกัน หรือบางครั้ง เปิดพร้อมกันในภาวะที่ต้องการให้เย็นเร้ว หรือ โหลดในห้องเยอะๆ
จากการใช้งานจริง จะได้เ้ห็นว่า ตอนเปิดแอร์ใหม่ๆ ขณะที่ห้องยังไม่เย็น กระแสไฟฟ้าจะสูงเต็มที่ก่อน เพื่อเร่งความเย็นของระบบ
พอได้ความเย็น กระแสไฟจะลดลง
ทีนี้ก็จะเห็นว่า ที่เขาบอกมาว่าแอร์อินเวอเตอร์งานแบบนั้นแบบนี้ มันแบบไหนกัน ก็จะได้เห็นกันชัดๆ
...รวมถึง ตอนที่อยากประหยัดไฟฟ้า ถ้าเห็นว่ากระแสสูงไป ก็ปรับกระแสลงมาได้ด้วยการ ลดการปรับลดการตั้งอุณหภูมิลงมาอีก หรือลดสปีดพัดลมลงมา กระแสไฟฟ้าก็จะลดลงมากได้เช่นกัน ( อันนี้ที่บอกว่า ช่วยยืดอายุเพาเวอร์โมดูล ที่ไม่ต้องรับโหลดภาวะสุงสุดเต็มที่ต่อเนื่องนานเกินไป ซึ่งเพาเวอร์โมดูลตัวนี้ก็อุปกรณ์หลัก หัวใจ ราคาแพงมากด้วย )
นี้คือ ความฉลาด การออกแบบของแอร์แบบอินเวอเตอร์ ที่มีความสามารถเหนือแอร์ปกติๆทั่วไป
และ จะเห็นกระแสไฟฟ้า ตอนที่คอม.สตาร์ท ครั้งแรก ว่ากระแสไฟฟ้าจะค่อยๆ เพิ่มขึ้นๆ ทีละสเต็ปๆ ไม่กระชาก 5-6 เท่า แบบแอร์ทั่วไป
และไม่ตัดต่อ ๆ สลับกันตลอดเวลาในการใช้งาน ทั้ง 2 อย่างนี้นี้คือ 2 ส่วนหลักๆในการที่ทำให้แอร์อิน.. ประหยัดกว่าหลายสิบเปอเซนต์
รวมทั้งความนิ่งสบาย ของอุณหภูมิห้อง ไม่สวิงมาก จนรู้สึกร้อนๆ หนาวๆ ในบางครั้ง แบบแอร์ทั่วไป ....