หยุด อยาก ย่อม อยู่เย็น
หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: หยุด อยาก ย่อม อยู่เย็น  (อ่าน 6534 ครั้ง)
b.chaiyasith
แก้ปัญหาไม่ตกคุยกันเวลางานline:chiabmillion
.กลุ่มผู้มีน้ำใจงาม.
member
*

คะแนน650
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3008


ไม้ดีไม่ลอยน้ำมาไกล


อีเมล์
« เมื่อ: กุมภาพันธ์ 27, 2013, 03:07:14 pm »



“ทยาลุ”
ผู้ประดิษฐ์ภาพ “อย่าเห็นแก่ตัว” ที่เราคุ้นตา
รายละเอียด
“ทยาลุ” ผู้ประดิษฐ์วรรณรูปที่เราคุ้นตามากว่า 30 ปี เป็นสติ๊กเกอร์ คำว่า  “อย่าเห็นแก่ตัว”
เปิดตัวครั้งแรกอย่างเป็นทางการในงานนี้พร้อมหนังสือเล่มใหม่ “วรรณรูปไทยเชื่อมใจให้ถึงนิพพาน”


http://www.bookexpothailand.com/article_list.php?cat=AU&id=1110000083


บันทึกการเข้า

"CHIAB"
มนุษย์เราแต่ละคน  ต่างไม่รู้ว่ามาจากไหน  ไม่มีใครรู้จักกันมาก่อนเลย  แล้ววันหนึ่งก็มาพบหน้ากัน  สมมุติเป็นพ่อ  เป็นแม่  เป็นเมีย  เป็นสามี  เป็นลูก  อยู่ร่วมกัน  ใช้ชีวิตร่วมกัน และแล้ววันหนึ่ง  ก็แยกย้ายด้วยการ  "ตายจาก"  กันไปสู่  ณ  ที่ซึ่งไม่มีใครได้ตามพบ  คืนสู่ความเป็นผู้ไม่รู้ว่ามาจากไหน  ไปไหน  และคืนสู่ความเป็น  "คนแปลกหน้า"  ซึ่งกันและกันอนันกาลอีกครั้งหนึ่ง...และอีกครั้งหนึ่ง!?
ขอขอบคุณ คุณเปลว สีเงิน ที่ให้ข้อคิดดีๆ

b.chaiyasith
แก้ปัญหาไม่ตกคุยกันเวลางานline:chiabmillion
.กลุ่มผู้มีน้ำใจงาม.
member
*

คะแนน650
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3008


ไม้ดีไม่ลอยน้ำมาไกล


อีเมล์
« ตอบ #1 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 27, 2013, 03:17:42 pm »


ถอดภาพ เปลือยคำ กระตุก แก่นคิดจากผู้ให้กำเนิด วรรณรูป "อย่าเห็นแก่ตัว" ที่มีอะไรมากกว่าสติ๊กเกอร์สอนใจ
จากภาพคุ้นตาคนไทยเกือบทั้งประเทศ สติ๊กเกอร์พระพุทธรูปปางสมาธิซึ่งก่อตัวขึ้นจากข้อความสั้นๆ "อย่าเห็นแก่ตัว" วันนั้นถึงวันนี้ คำเพียงสี่พยางค์ในรูป ได้ทำหน้าที่รับใช้สังคมไทยและพระพุทธศาสนามากกว่าบริบทที่ใครๆ คุ้นเคย

 

รูปๆ คำๆ สู่อมตะ

 ย้อนกลับไปเมื่อหลายสิบปีก่อน เจริญ กุลสุวรรณ หนุ่มเลือดร้อนชาวร้อยเอ็ด ผู้ร่วมเดินขบวนเรียกร้องประชาธิปไตยในเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 มีผลงานทั้งบทกวี เรื่องสั้น และภาพวาดติติงสังคมอย่างเผ็ดร้อน ในนามปากกา เราส์ มหาราษฎร์ กระทั่งปี 2518 เขาหักหางเสือชีวิตเข้าสู่น่านนทีแห่งพระพุทธศาสนา และศึกษาธรรมะผ่านพุทธวาทะของท่านพุทธทาส อินทปัญโญ


 ด้วยวาทกรรมเพียงประโยคสั้นๆ "ความเห็นแก่ตัว เป็นบ่อเกิดของความชั่วทั้งปวง" มีพลังพิเศษบางอย่างผลักดันให้ เจริญ ตาสว่างด้วยแสงแห่งธรรม ความซาบซึ้งเอ่อปริ่มในดวงใจ ในที่สุดก็ต้านทานไม่ไหวต้องถ่ายเทออกเป็นผลงานแห่งแรงศรัทธา "วรรณรูป-อย่าเห็นแก่ตัว"


 เราส์ มหาราษฎร์ ผู้ดุดันก็กลายเป็น ทยาลุ ผู้อ่อนโยน


 "วาทกรรมของท่านพุทธทาสฯ ประโยคสั้นๆ แต่สามารถผลักให้หลายๆ อย่างในจิตใจผมระเบิดตูมออกมา ท่านบรรยายนับสิบปี ว่า ความเห็นแก่ตัวเป็นบ่อเกิดของความชั่วทั้งปวง ประโยคนี้เป็นประโยคอัศจรรย์ที่ยิ่งใหญ่มากในสังคมโลก พอได้ยินคำนี้ครั้งแรก ประโยคแบบนี้เราไม่เคยได้ยินมาก่อนแล้วท่านอธิบายเสียจนเราต้องคล้อย ความชั่วทั้งปวงไม่ว่าทางกาย วาจา ใจ ความชั่วนั้นจะเบียดเบียนตนเอง เบียดเบียนครอบครัว เบียดเบียนสังคมโลก รวมทั้งจักรวาลด้วย ไม่รอดพ้นจากความเห็นแก่ตัว"


 แต่แทนที่กวีซึ่งได้ชื่อว่าเป็นนายของตัวอักษรจะเลือกใช้บทกวีหรือเรื่องสั้นบรรยายประโยคธรรมนี้ เขากลับคิดหาวิธีถ่ายทอดด้วยแท่งชอล์คสั้นๆ ร่างลายเส้นบนกระดานดำไม้เก่า ขณะศึกษาธรรมะบนเกาะสมุย เพียงครึ่งชั่วโมง วรรณรูป-อย่าเห็นแก่ตัว ก็ปรากฏ โดยที่เขาไม่รู้เลยว่างานศิลปะประเภทนี้เรียกว่า "วรรณรูป"


 หลังจากนั้นวรรณรูปของ ทยาลุ ก็เริ่มเดินทาง ทำหน้าที่เตือนสติยังที่ต่างๆ


 แต่ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าที่ทางของ วรรณรูป-อย่าเห็นแก่ตัว ถูกบิดเบือนไปในทางอื่น แต่ เจริญ ก็ไม่ได้มองว่านี่เป็นเรื่องผิด


 จะไปอยู่บนกระจกรถ ผนังห้องน้ำ ในอุโบสถ หรือในรูปแบบที่ไม่คาดคิดว่าจากงานศิลปะบนกระดานดำจะกลายเป็นเครื่องรางของขลังผ่านการปลุกเสกจากเกจิขมังเวทย์ เมื่อเขาไปพบวรรณรูป-อย่าเห็นแก่ตัวถูกสร้างเป็นเหรียญพระเครื่องพระบูชาโดยบังเอิญที่วัดหลายแห่งในอยุธยาและสระบุรี นอกจากไม่ต่อต้านเขายังชื่นชมด้วย


 "อะไรก็ได้ที่ทำให้คนฉุกคิดขึ้นมาเพื่อตรวจสอบสิ่งที่ตนเองกำลังเสพ กำลังสื่อ คนที่สื่อต้องฉุกคิดว่าคุณสื่ออะไร คนที่เสพต้องฉุกคิดว่าคุณเสพอะไร สิ่งที่ทำมาแค่ให้เขาฉุกคิดได้ก็พอแล้ว บรรลุเป้าประสงค์แล้ว"


 ด้วยจุดประสงค์เพียงสิ่งเดียวที่ต้องการ ไม่ว่าจะถูกตีราคาในทางพาณิชย์หรือกำหนดคุณค่าในทางธรรม ถ้ามีคนเห็นเขาก็ร่วมยินดี


 ทว่ากว่าสามทศวรรษที่ วรรณรูป-อย่าเห็นแก่ตัว ปรากฏ สภาพสังคมก็ยังเสื่อมถอยลงทุกเมื่อเชื่อวัน ความเห็นแก่ตัวของมนุษย์ก็ยังคุกรุ่นในจิตใจไม่เสื่อมคลาย นี่แปลว่า การสื่อสารของ "อย่าเห็นแก่ตัว" ล้มเหลวหรือไม่

 เจริญ บอกด้วยรอยยิ้มว่า เขาไม่ได้คาดหวังว่าทุกคนต้องเข้าถึงสิ่งนี้หมด แม้แต่สิ่งที่ท่านพุทธทาสพูดมานมนาน ปัจจุบัน สภาพสังคมก็หาได้เปลี่ยนแปลงไม่ ถ้ามีคนไปถามท่านว่า ที่พูดมาเกือบชั่วชีวิต ตอบได้ไหมว่าสำเร็จกี่เปอร์เซ็นต์ ท่านก็คงตอบว่า "ตอบไม่ถูกแต่ที่แน่ๆ มันได้แพร่ไปสู่หลายซอกมุมของสังคม"


 "เหมือนที่พระอาจารย์พุทธทาสเคยสอนไว้ ทุกครั้งที่กระทบ ให้จบลงด้วยความฉลาด"


 ดังนั้นอาจไม่ผิดอะไรหากบางสิ่งจะอยู่ผิดที่ผิดทาง


 แต่อย่างน้อย แค่หนึ่งคนก็คุ้มแล้ว

 

 

กระตุกให้ฉุกคิด

จากจุดเริ่มต้นที่ต้องการกล่อมเกลาผู้คนให้หลุดจากกิเลส  เพื่อให้ผู้คนสบตากันด้วยความปราถนาดี หากแท้จริงแล้ว แกนกลางของรูปทรง และตัวอักษรยังสะท้อน "นัยยะ" จากญาติธรรมคนหนึ่ง ที่เดินผ่านบนทางสายนี้มามากกว่า 3 ทศวรรษ


 "ตอนนี้มนุษย์โลกมองตากันด้วยความมีอะไรแอบแฝง จะฉกฉวยผลประโยชน์ จะเอาให้ตาย จะทำลายให้พินาศ ต่างจากปู่ย่าตายายเรา ซึ่งสนิทแนบอยู่กับพุทธศาสนา มองตากันแบบ เขาคือเพื่อนมนุษย์"


 เพื่อนมนุษย์ - เพื่อนร่วมโลก เขามองว่า ความวิกฤติที่เกิดขึ้นวันนี้ เพราะเราล้อเล่นกับคำๆ นี้ มากเกินไป
 

"วันนี้เรามองอย่างนั้นกี่เปอร์เซ็นต์ เห็นเพื่อนมนุษย์เป็นเหยื่อบ้าง เป็นศัตรูบ้าง บางคนไม่เคยเจอกัน เห็นหน้ากันก็โกรธกันจะเป็นจะตาย ชิงชัง อยากทำลาย ดูหมิ่น ยังไม่ทันคุยกันเลยนะ ไอ้นี่คบไม่ได้ ตัดสินไปแล้ว เพราะเราไม่มีวัฒนธรรมปู่ย่าตายายไว้ในจิตของเรา ว่ามนุษย์ทั้งหลายคือเพื่อนของเรา อย่างน้อยก็เพื่อนร่วมเกิด แก่ เจ็บ ตาย"
 ภาพนี้ ส่วนหนึ่งก็เกิดมาเพื่อเหตุผลนั้น


 "ที่ บขส.โคราช มีสติ๊กเกอร์ 'มีสติ อย่าเผลอ' ติดอยู่ตรงหน้าห้องน้ำแล้ว (หัวเราะ) แค่นี้ก็พอแล้ว คิดเล่นๆ วันหนึ่งจะมีคนเข้าห้องน้ำนั้นเฉลี่ย ไม่ต่ำกว่า 50 คน ก็ได้เห็นภาพ ขณะทำภารกิจ ผมว่า อย่างน้อย เขาต้องได้คิดอะไรสักอย่าง เฮ้ย เราเคยมีสติไหม เราเคยเผลอไหม


 แอบคิดอยู่คนเดียวนะว่าวรรณรูปชุดนี้ ต่อไปมันจะมีปฏิกิริยา มันจะปลุกกระแสสังคม แต่ไม่เคยขยายความ วันหนึ่งข้างหน้าจะมีคนหยิบ 2 ภาพนี้ไปวิจารณ์คู่กับโมนาลิซ่า ภาพ 2 ชุด อะไรให้สติปัญญา ให้ดวงตามากกว่ากัน"

 แรงกระเพื่อมเบื้องต้นที่ทำให้เขารู้สึกแบบนั้น เห็นได้จากการที่ วันนี้ วัดบางแห่ง เริ่มใช้ วรรณรูปชุดนี้ ไปติดตั้งแทนพระพุทธรูปนั่นเอง


 "อย่างที่พระพุทธเจ้าบอกว่า ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นตถาคต พระพุทธเจ้าที่แท้คือ ตัวธรรมะ คือสติ ผู้ใดเห็นสติ เอาสติมาไว้ ผู้นั้นเห็นพระพุทธเจ้า ขณะเดียวกันก็เข้าถึงธรรมด้วย ขณะที่สังคมไทยคนเริ่มเห็นธรรมในรูปลักษณ์หนึ่ง"
 คุณค่า และความหมายของงานชิ้นเอกอย่าง "อย่าเห็นแก่ตัว" จึงสามารถตอบโจทย์ได้ 2 อย่าง ก็คือ ตัวชิ้นงาน (วรรณรูป) และคุณค่าทางธรรม


 "เช่น มีสติอย่าเผลอ มันก็ได้ อย่าเห็นแก่ตัว มันก็ได้ ตั้งสติก่อนสตาร์ท ซึ่งอีกไม่กี่วันก็จะออกเป็นสติ๊กเกอร์แล้ว ช่วงปีใหม่ ช่วงสงกรานต์ ชุดวรรณรูปนี้ก็จะกลายเป็นสติ๊กเกอร์ฮิตที่สุดชุดหนึ่ง"


 อย่างไรก็ตาม แกนกลางยังคงอยู่ที่ "อย่าเห็นแก่ตัว"


 "เพราะคนเห็นแก่ตัว สังคมโลกจึงเข้าสู่วิกฤติอย่างที่เราเห็น ตีกลับมาอีกด้านหนึ่ง ถ้าคนถ่ายถอนความรู้สึกเห็นแก่ตัวนี้ได้ สังคมก็จะเข้าสู่สันติสุขและสันติภาพ แค่นี้เอง แต่ส่วนจะทำด้วยวิธีใด เทคนิคใด สื่อใด  ไม่ใช่เรื่องใหญ่เลย
 

"ทุกศาสนาสอนเรื่องเดียวกันหมด ตรวจสอบแล้ว จริงด้วย คือสอนว่า อย่าเห็นแก่ตัว ถ้าศาสนาไหนไม่สอนอย่างนี้ถือว่าไม่ใช่ศาสนานะ ปู่ย่าของเราก็สอนเรื่องทานมา ข้าวปั้นหนึ่ง ซองผ้าป่า นั่นคือ อุบาย กุศโลบาย

 "แต่ ณ วันนี้ มันถูกแปลงไปเป็นรูป และความหมายอื่น ความจริงเขาสอนเรื่องนี้แหละ นิทานเรื่องพระเวสสันดรไม่ได้สอนเรื่องอะไรนะครับ สอนเรื่องอย่าเห็นแก่ตัวนี่แหละ เพียงแต่เข้าใช้ในรูปของคำว่าทาน - การขัดเกลา นั่นก็คือ ความเห็นแก่ตัว" ทั้งหมดคือสิ่งที่เขานำมาเปรียบเทียบ และทำความเข้าใจ


 ท้ายที่สุด ปัญญา การหลุดพ้น หรือนิพพานที่แต่ละคนจะก้าวข้าม นั่นเป็นสิ่งที่จะต้องประสบด้วยตนเองเท่านั้น
 

"ผู้ศึกษาพึงปฏิบัติ พึงเห็นได้ด้วยตนเอง ถามว่าต้องเชื่อพระอาจารย์พุทธทาสไหม ไม่เลยครับ แต่เราไม่ได้ดูถูก จำเป็นต้องเชื่อพระพุทธเจ้าไหม ไม่จำเป็น เชื่ออะไร เชื่อสิ่งที่เราเห็น เชื่อสภาวะที่เราประสบ ตรงนี้ต่างหาก


 ถึงตรงนี้ เราก็พบว่า ตอนนี้ชาวพุทธเรา เชื่อหลวงพ่อ เชื่อหลวงปู่ เชื่ออาจารย์ เชื่อคนอื่น แต่เชื่อตัวเองจริงๆ มีสักกี่คน เราต้องเข้ามาถึงตรงนี้ให้ได้ ข้ามมรณานุสติ ความตายเป็นสหาย หรือ ศัตรู  ความตายมันไม่ใช่ศัตรูเลย มันเป็นสหายที่มาพร้อมกับเราตั้งแต่ในท้องแม่ แล้วก็ตามเราไปจนลมหายใจสุดท้าย ไม่ว่าชีวิตใดก็ตาม จะต้องมีสหายตัวนี้ติดไปด้วยเหมือนกัน ถ้าเราไม่เข้าใจมัน เราก็จะกลัว แต่พอเราคุ้นเราก็อยู่กับเขา ที่สำคัญคือ ตายก่อนตาย วาทกรรมของปู่พุทธทาส มันถูกพิสูจน์ในหีบศพเหมือนกัน"


 กว่าสามทศวรรษนี้ พลังแห่ง "คำ" กับ "รูป'" ยังคงทรงอานุภาพ และจะเป็นเช่นนี้ต่อไปจนกว่า แรงศรัทธาในคุณงามความดีจะเสื่อมลง

Tags : วรรณรูป อย่าเห็นแก่ตัว
http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/life-style/lifestyle/20111010/412854/%E0%B8%9B%E0%B8%B4%E0%B8%94%E0%B8%97%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%AA%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B9%8A%E0%B8%81%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B9%8C--%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B9%80%E0%B8%AB%E0%B9%87%E0%B8%99%E0%B9%81%E0%B8%81%E0%B9%88%E0%B8%95%E0%B8%B1%E0%B8%A7.html
บันทึกการเข้า

"CHIAB"
มนุษย์เราแต่ละคน  ต่างไม่รู้ว่ามาจากไหน  ไม่มีใครรู้จักกันมาก่อนเลย  แล้ววันหนึ่งก็มาพบหน้ากัน  สมมุติเป็นพ่อ  เป็นแม่  เป็นเมีย  เป็นสามี  เป็นลูก  อยู่ร่วมกัน  ใช้ชีวิตร่วมกัน และแล้ววันหนึ่ง  ก็แยกย้ายด้วยการ  "ตายจาก"  กันไปสู่  ณ  ที่ซึ่งไม่มีใครได้ตามพบ  คืนสู่ความเป็นผู้ไม่รู้ว่ามาจากไหน  ไปไหน  และคืนสู่ความเป็น  "คนแปลกหน้า"  ซึ่งกันและกันอนันกาลอีกครั้งหนึ่ง...และอีกครั้งหนึ่ง!?
ขอขอบคุณ คุณเปลว สีเงิน ที่ให้ข้อคิดดีๆ
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป: