ข้อสังเกตความล้มเหลวของการศึกษาไทย
เคยมีคนไปถามบิล เกตส์ เจ้าของบริษัท Microsoft ว่า
ให้เขาเลือกคนเก่งที่สุดในบริษัทของเขาออกมาสัก 10 คน
บิลเกดส์เลือกคนเก่งของบริษัทเขาออกมา
ปรากฎว่า ในบรรดา 10 คนที่เลือกมา
เป็นชาวเอเชีย 8 คน
เป็นชาวตะวันตก 2 คน
ชาวเอเชียแยกเป็นชาวจีน 4 คน
อินเดีย 2 คน
ญี่ปุ่น 1 คน
เกาหลี 1 คน
ส่วนชาวตะวันตกที่ บิลเกตส์เลือก
เป็นยุโรปซะ 1 คน
อเมริกา 1 คน
การเลือกคนเก่งของบิลเกตส์คราวนี้สื่ออะไรได้หลายๆอย่าง
เพราะระบบการเรียนการสอนของชาวเอเชีย
สอนให้เด็กมีการแข่งขันกันอย่างหนัก
เพื่อคัดเลือกเด็กเก่งสอบเข้ามหาวิทยาลัย
ในขณะที่ระบบมหาวิทยาลัยทางตะวันตกใช้ระบบ Admission
ประเทศในแถบเอเชียตะวันออก เช่น จีน เกาหลี ญี่ปุ่น
ยังใช้ระบบสอบแข่งขันเข้ามหาวิทยาลัย
อย่างไม่เปลี่ยนแปลงตั้งแต่ในอดีตจนถึงปัจจุบัน
ประเทศไทยก็เคยใช้ระบบนี้ในรุ่นของพวกผม
แล้วค่อยๆกลายพันธ์เป็นระบบ Admission ตามอย่างตะวันตก
ผมว่า ปัญหามันเริ่มเกิดขึ้นตั้งแต่นักการศึกษา
เข้ามาวุ่นวายกับการจัดระบบการศึกษา
และ ระบบการสอบเข้ามหาวิทยาลัย
เพื่อจะยกวิทยฐานะของตนเอง
หรือ เพื่อธุรกิจแอบแฝงที่มากับการศึกษา
ตัวอย่างที่เป็นรูปธรรมสมัยผมสอบเข้าคณะสถาปัตยกรรม
ซึ่งมีวิชาบังคับต้องสอบเข้าแค่ 3 วิชา คือ เลข ฟิสิกส์ และ อังกฤษ
แล้วไปสอบความถนัดทางศิลป
ซึ่งส่วนใหญ่แล้วนักเรียนหญิงจะสอบเข้าคณะนี้ได้น้อยมาก
ไม่เกิน 20 คน เนื่องจากสอบวิชาคำนวณสู้นักเรียนชายไม่ได้
จนมีนักการศึกษาหัวดีแนะนำให้สอบวิชาบังคับ คือ
ภาษาไทย สังคมศาสตร์เพิ่ม
ก่อนที่จะไปสอบวิชาประจำคณะ
ในปีแรกนักเรียนหญิงเข้าคณะสถาปัตยกรรมได้เกือบครึ่งหนึ่งของนักเรียนชาย
เพราะได้คะแนนจากวิชาท่องจำ
แต่ขอโทษครับระบบการศึกษามันเริ่มมีปัญหาแล้ว
เพราะแสดงว่า การสอนในระดับชั้นประถมและมัธยมของเรา
ไม่ช่วยให้เด็กไทยใช้ภาษาไทยเป็น
การเรียนรู้สังคมไม่วางรากฐานตั้งแต่ยังเป็นเด็กนักเรียน
จนต้องนำเอาวิชาพวกนี้มาสอบคัดนักเรียน
ที่แย่กว่าเริ่มมีโรงเรียนกวดวิชาเปิดขึ้นมาเพื่อมาหากินกับนักเรียน
จนอาจารย์บางคนไม่ใส่ใจในการสอน
เพียงเพื่อจะหารายได้เพิ่มจากการสอนพิเศษพุ่งเป็นดอกเห็ด
จนเด็กๆสอบเข้ามหาวิทยาลัยไม่ได้เริ่มกดดันตัวเอง
หาทางออกในทางที่ผิด เช่นการทำร้ายตัวเอง หรือ ฆ่าตัวตายดังที่เห็นเป็นข่าว
แล้วนักการศึกษาอีกนั่นแหละที่ไปเห็นตัวอย่างระบบ Admission จากทางฝากตะวันตก
ซึ่งรับเด็กจากผลเฉลี่ยทางการศึกษา
ซึ่งคิดว่า จะทำให้เด็กไม่เครียดเกินไปในการสมัครเข้ารียนมหาวิทยาลัย
อยู่ที่ความขยันและตั้งใจของนักเรียนที่จะไขว่คว้าทางการศึกษา
แต่ประเทศไทยก็คือประเทศไทย
โรงเรียนแต่ละแห่งมาตรฐานการเรียนการสอนต่างกัน
กลายเป็นอาจารย์เป็นผู้แจกเกรดให้นักเรียน
เพื่อให้นักเรียนของโรงเรียนไม่เสียเปรียบแก่โรงเรียนอื่นๆ
กลายเป็นการแจกเกรดสะเปะสะปะ
จนหามาตรฐานในการคัดนักเรียนเข้ามหาวิทยาลัยไม่ได้
ทำให้เกิดเป็นการสอบเพื่อเก็บคะแนนสะสม
เพื่อหาค่าเฉลี่ยที่เหมาะสมดังที่เห็นอยู่ในปัจจุบัน
และไม่รู้สอบอะไรกันเยอะหนักหนาจนคนรุ่นผมตามกันไม่ทัน
กลายเป็นภาระของผู้ปกครอง แล้วธุรกิจที่ตามมาไม่เคยหายไปไหน ก็คือ
โรงเรียนกวดวิชาที่ต้องไปจองที่เรียนกันข้ามปี
ทำให้อาจารย์บางคนเป็นเศรษฐีได้ภายในแค่ 2-3 รุ่น
ของนักเรียนที่เตรียมตัวสอบเข้ามหาวิทยาลัย
ปัญหาของนักการศึกษาอีกอย่าง คือ
การให้ปริญญาตรีเกลื่อนเมืองสำหรับนักศึกษาในหาวิทยาลัยต่างๆ
จนไม่เป็นที่ยอมรับของบริษัทเอกชนต่างๆในไทย
แต่ที่ผมรับไม่ได้ คือ ให้ปริญญาผิดประเภท
เพราะนักการศึกษาอยากยกวิทยฐานะของตัวเอง
และช่วยลูกศิษย์ของตน ขอยกวิชาชีพของผมเป็นตัวอย่าง
ธรรมดานักศึกษาอาชีวะที่จบการเขียนแบบจากอุเทนถวาย
หรือ ก่อสร้างดุสิต จะได้วุฒิ ปวส.
หลังจากนั้นไปเรียนต่อมหาวิทยาลัยในคณะสถาปัตย์คุรุบัณฑิตสักสองปี
จบออกมาก็จะได้ปริญญาตรีสถาปัตย์สาขาคุรุบัณฑิต
เด็กเหล่านั้นเก่งในเรื่องเทคนิคการก่อสร้างและเขียนแบบก่อสร้างได้ดี
ผิดจากเด็กที่เรียนจบโดยตรงจากคณะสถาปัตยกรรม
ซึ่งสอนเรื่องการออกแบบแต่เด็กจะด้อยเรื่องการเขียนแบบก่อสร้าง
และเทคนิคการก่อสร้าง ซึ่งธรรมดาเด็กที่จบจากอาชีวะจะเป็น Buddy
หรือครูให้เด็กที่จบจากคณะสถาปัตยกรรมโดยตรงในเรื่องการเขียนแบบก่อสร้าง
ปัญหาที่เกิดและเรื้อรังมาถึงทุกวันนี้
คือเด็กที่จบจากอาชีวะเมื่อมารับปริญญาตรีเป็นสถาปัตย์บัณฑิต
ไม่มีใครอยากมานั่งเขียนแบบ เพราะรู้สึกว่า
ตัวเองเป็นสถาปนิกออกแบบงานได้ ซึ่งออกแบบสู้เด็กที่เรียนมาทางด้านสถาปัตยกรรมโดยตรงก็ไม่ได้
ส่วนเด็กที่เรียนสถาปัตยกรรมโดยตรงก็เขียนแบบก่อสร้าง
สู้เด็กจบจากอาชีวะไม่ได้ ทำให้ประเทศไทยขาดบุคลากรที่มีทักษะในการเขียนแบบก่อสร้างเป็นอันมาก
และขอโทษเป็นที่ต้องการของบริษัทออกแบบจากทั่วโลก
เพราะเด็กไทยเขียนแบบได้ดีมากในย่านเอเชีย
สิ่งที่ผิด ก็คือ การให้ปริญญาตรีสถาปัตย์แก่เด็กอาชีวะ
แทนที่จะให้ปริญญาตรีด้านเทคนิคก่อสร้างซึ่งเป็นสื่งที่เด็กพวกนี้ถนัด
เหมือนกับปริญญาเทคนิคการแพทย์ที่ทางแพทยสภา
ให้กับคนที่จบมาเพื่อรองรับช่วยเหลืออาชีพแพทย์
คนพวกนี้มีความรู้เรื่องแพทย์ แต่ไม่ใช่หมอ
แต่มีความถนัดในเครื่องมือของแพทย์ช่วยวิเคราะห์วิจัยให้หมอ
ที่เล่ามาทั้งหมดเพื่อจะบอกว่า
ถึงเวลาแล้วที่การศึกษาไทยต้องมาทบทวนบทบาทตนเองครับ
โดยเฉพาะนักการศึกษาที่ไปเห็นระบบการศึกษาของตะวันตกแล้วเห็นว่าดี
แต่มาใช้กับเมืองไทยกลับล้มเหลว
เพราะการสั่งสอนเด็กให้เติบโตและวัฒนธรรมของตะวันตกต่างกับเราโดยสิ้นเชิง
เมื่อไหร่ที่เด็กของเรามีความรับผิดชอบต่อตัวเอง
ตั้งแต่เด็กระบบตะวันตกอาจจะเหมาะสมกับเรา
แต่การที่เราเลี้ยงลูกแบบไข่ในหิน ขนาดอายุ 30 ปี
ยังต้องให้พ่อแม่ดูแล ระบบตะวันตกที่นำมาใช้จะล้มเหลวสิ้นเชิง
ผมไม่ทราบว่า การศึกษาของประเทศไทยจะไปทางไหน
แต่ระบบสอบคัดเลือกคนเก่งเข้ามหาวิทยาลัยที่ประเทศต่างๆในเอเชียใช้
ผมคิดว่า ยังมีมนต์ขลังอยู่ ไม่งั้นจะเห็นความรุ่งโรจน์ของเอเชียในขณะนี้หรือ
โดยประเทศจีนการคัดเลือกคนเก่งของเขา
สามารถพิสูจน์ได้จาการเจริญเติบโตของประเทศจีนในตอนนี้
หรือไม่ต้องดูไกล ประเทศเวียดนามที่กำลังเติบโตเท่าเทียมไทย
หรือ แซงไทยไปแล้วก็ใช้ระบบการสอบนี้
อย่ากลัวว่า ระบบการศึกษาที่เราเคยใช้ไม่ดี หรือ สร้างความผิดหวังให้เด็กที่สอบเข้าไม่ได้
เพราะถ้าคุณเป็นชาวพุทธ การสอบเข้าไม่ได้อาจเป็นพรหมลิขิต
เพื่อให้เด็กที่สอบไม่ติดเหล่านั้นแสวงหาแนวทางที่แตกต่างก็ได้
หรือ ทำให้เด็กเหล่านั้นเข้าใจชีวิต ว่า
ชีวิตไม่โรยด้วยดอกกุหลาบ
เพื่อทำให้ชีวิตของเด็กเหล่านั้นแกร่งขึ้นเพื่อเป็นกำลังพัฒนาประเทศ ครับ
Credit
http://www.oknation.net/blog/jui880/2010/07/31/entry-1