ขอศัพท์ที่เกี่ยว กับ ทางช่างมีมั้ยครับ
LSVคลังสมองออนไลน์ "ปีที่14"
พฤศจิกายน 23, 2024, 12:31:35 pm *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ขอศัพท์ที่เกี่ยว กับ ทางช่างมีมั้ยครับ  (อ่าน 10221 ครั้ง)
boysayan
member
*

คะแนน2
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 25


อีเมล์
« เมื่อ: กันยายน 16, 2012, 09:35:39 pm »

//ขอศัพท์ สำนวนเกี่ยวกับ ทางช่างหน่อยครับ แบบว่าใช้ในชีวิตประจำวันครับ เช่น ช่างไฟฟ้า


บันทึกการเข้า

Nattawut-LSV Team
E23IUY
.กลุ่มผู้มีน้ำใจงาม.
member
*

คะแนน808
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3581


อีเมล์
« ตอบ #1 เมื่อ: กันยายน 16, 2012, 09:47:46 pm »

ลองดูนี่ครับพอได้มั้ย
นิยามศัพท์ แนวปฏิบัติในการเดินสายและติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้า


1.1 ระบบแรงต่ำ (Low Voltage System) หมายถึง ระบบไฟฟ้าที่มีแรงดันระหว่างเฟส ไม่เกิน 750 โวลต์
 
1.2 ระบบแรงสูง (High Voltage System) หมายถึง ระบบไฟฟ้าที่มีแรงดันระหว่างเฟส เกิน 750 โวลต์
 
1.3 เครื่องใช้ไฟฟ้า (Appliance) หมายถึง เครื่องใช้ที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนรูปพลังงานไฟฟ้า เป็นพลังงานรูปอื่น เช่น พลังงานความร้อน พลังงานกล เพื่อประโยชน์ใช้สอยทั่วไป ที่ไม่ได้ใช้เพื่องานอุตสาหกรรมโดยตรง เช่น เตารีดไฟฟ้า เครื่องซักผ้า ฯลฯ
 
1.4 เครื่องอุปกรณ์ (Equipment) หมายถึง วัสดุ (Material) เครื่องประกอบ (Fitting) อุปกรณ์ (Device) เครื่องใช้ไฟฟ้า (Appliance) เครื่องกล (Machine) เครื่องมือ (Apparatus) ที่ใช้เป็นส่วนหนึ่งหรือส่วนต่อเนื่องกับการติดตั้งทางไฟฟ้า
 
1.5 อุปกรณ์ (Device) หมายถึง สิ่งที่มีอยู่ในระบบไฟฟ้า เพื่อใช้เป็นทางผ่านของกระแสไฟฟ้า แต่ไม่ได้ใช้พลังงานไฟฟ้าโดนตรง
 
1.6 แผงสวิตช์ (Switchboard) หมายถึง แผงเดี่ยวขนาดใหญ่หรือหลายแผงประกอบกัน ซึ่งใช้ติดตั้งอุปกรณ์ต่างๆ ได้ทั้งด้านหน้า และด้านหลังของแผงสวิตช์ เช่น สวิตช์ อุปกรณ์ป้องกัน บัส ฯลฯ โดยทั่วไป แผงสวิตช์จะเข้าถึงได้ ทั้งด้านหน้า และด้านหลัง
 
1.7 แผงจ่ายไฟ (Panelboard) หมายถึง แผงเดี่ยวหรือกลุ่มของแผงเดี่ยว ที่ออกแบบให้ประกอบร่วมกันเป็นแผงเดียว โดยติดตั้งอยู่ในตู้ติดผนัง และสามารถเข้าถึงได้เฉพาะด้านหน้าเท่านั้น ประกอบด้วย บัส อุปกรณ์ป้องกันกระแสเกิน อาจมีสวิตช์สำหรับควบคุมแสงสว่าง เครื่องทำความร้อน วงจรไฟฟ้ากำลัง
 
1.8 เมนสวิตช์ (Main switch) หมายถึง อุปกรณ์ปลด-สับวงจร ระหว่างสายเมนหลังมิเตอร์ของ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค กับสายวงจรของผู้ใช้ไฟ ประกอบด้วย เครื่องปลดวงจร และเครื่องป้องกันกระแสเกิน
 
1.9 สายเมน (Main service) หมายถึง สายไฟฟ้าที่ต่ออยู่ระหว่างมิเตอร์ของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคกับเมนสวิตช์
 
1.10 สายป้อน (Feeder) หมายถึง สายไฟฟ้าที่ต่ออยู่ระหว่างเมนสวิตช์กับเครื่องป้องกันกระแสเกินตัวสุดท้ายของวงจรย่อย
 
1.11 วงจรย่อย (Branch circuit) หมายถึง วงจรไฟฟ้า ระหว่างเครื่องป้องกันกระแสเกินตัวสุดท้าย ถึงจุดที่สามารถนำไฟฟ้า ออกมาใช้กับเครื่องอุปกรณ์ได้
 
1.12 การต่อลงดิน (Grounding) หมายถึง การต่อตัวนำไฟฟ้า (ทั้งจงใจหรืออุบัติเหตุ) ระหว่างวงจรไฟฟ้าหรือเครื่องอุปกรณ์กับดิน หรือตัวนำอื่นๆที่ฝังอยู่ในดิน
 
1.13 โหลดต่อเนื่อง (Continuous load) หมายถึง โหลดที่มีโอกาสมีค่ากระแสสูงสุดต่อเนื่อง ตั้งแต่ 3 ชั่วโมง ขึ้นไป
 
1.14 ขนาดกระแส (Ampacity) หมายถึง ปริมารณกระแสไฟฟ้าสูงสุดที่ตัวนำสามารถรับได้อย่างต่อเนื่องโดยไม่เสียหาย มีหน่วยเป็นแอมแปร์
 
1.15 พิกัดตัดกระแส (Interrupting rating) หมายถึง ค่ากระแสสูงสุดที่อุปกรณ์ปลดวงจรสามารถทำงานไดโดยไม่ชำรุด เมื่อทำงานที่แรงดันไฟฟ้าเต็มพิกัด
 
1.16 ปลดได้โดยอิสระ (Trip free) หมายถึง การที่สวิตช์สามารถปลดวงจรได้ แม้ว่า ด้าม มือจับ คันโยก หรือปุ่มบังคับสวิตช์อัตโนมัติ ยังอยู่ในตำแหน่งสับ
 
1.17 ทนสภาพอากาศ (Weatherproof) หมายถึง สภาพที่มีการสร้าง หรือการป้องกันไม่ให้สภาพอากาศ มีผลกระทบต่อการทำงาน หรือการใช้งานของเครื่องอุปกรณ์ เช่น ทนฝน กันฝน กันน้ำ แต่ไม่รวมถึงการกันฝุ่น กันอุณหภูมิสูง
 
1.18 เครื่องห่อหุ้ม (Enclosuer) หมายถึง สิ่งที่จัดทำขึ้นเพื่อห่อหุ้ม หรือผนังที่ล้อมรอบเครื่องอุปกรณ์ เพื่อป้องกันบุคคลมิให้สัมผัสกับส่วนที่มีไฟ หรือป้องกันเครื่องใช้ไฟฟ้า เครื่องอุปกรณ์ ไม่ให้เกิดความเสียหายทางการภาพ
 
1.19 การกั้น (Guard) หมายถึง การป้องกัน โดยใช้ที่กำบัง กล่อง ผนัง รั้ว ฯลฯ เพื่อมิให้บุคคลหรือวัตถุเข้าใกล้ หรือสัมผัสส่วนที่มีอันตรายได้
 
1.20 เปิดโล่ง (Exposed)

1.20.1 เมื่อใช้กบส่วนที่มีไฟฟ้า หมายถึง ส่วนที่มีไฟฟ้าสามารถสัมผัสหรือเข้าใกล้เกินระยะปลอดภัยโดยพลั้งเผลอ เช่น ส่วนที่มีการกั้นที่ไม่เหมาะสม ไม่แยกส่วน หรือไม่หุ้มฉนวน

1.20.2 เมื่อใช้กับวิธีการเดินสาย หมายถึง วิธีการเดินสายที่อยู่บนผิว หรือติดกับผิว หรืออยู่ด้านหลังของแผงที่ออกแบบให้เข้าถึงได้


1.21 ด้านหน้าปลอดภัย (Dead front) หมายถึง ไม่มีส่วนที่มีไฟฟ้าเปิดโล่งให้บุคคลสัมผัสได้ทางด้านที่เข้าปฏิบัติงาน
 
1.22 หุ้มฉนวน (Insulated) หมายถึง หุ้มด้วยฉนวนทางไฟฟ้า ที่มีความหนาและชนิดเหมาะสมกับสภาพการใช้งาน และขนาดของแรงดันไฟฟ้า
 
1.23 เข้าถึงได้ (Accessible)

1.23.1 เมื่อใช้กับเครื่องอุปกรณ์ หมายถึง สามารถเข้าถึงได้โดยไม่มีการป้องกันด้วยประตูที่ติดกุญแจ หรือการติดตั้งไว้บนที่สูง หรือด้วยวิธีการอื่น

1.23.2 เมื่อใช้กับวิธีการเดินสาย หมายถึง สามารถถอดหรือเปิดออกได้ โดยไม่ทำให้ส่วนของอาคารหรือสิ่งปกปิดชำรุด หรือหมายถึง ไม่ได้ถูกส่วนของอาคาร หรือสิ่งปกปิดปิดอย่างถาวร

1.24 ที่ซ่อน (Concealed) หมายถึง สภาพที่ไม่สามารถเข้าถึงได้ เพราะมีสิ่งก่อสร้างหรือส่วนของอาคารปิดอยู่ สายที่เดินในท่อสายถือว่าเดินในที่ซ่อน แม้ว่าจะสามารถเข้าถึงได้ โดยการดึงสายออกมา หรือรื้อท่อสายออก
 
1.25 ที่อันตราย (Hazardous Area) หมายถึง บริเวณที่อาจเกิดการลุกไหม้ หรือระเบิดได้ เนื่องจากมีก๊าซ ไอ ของเหลว ฝุ่น หรือเส้นใยที่ติดไฟได้
 
1.26 ดีมานด์แฟคเตอร์ (Demand Factor) หมายถึง อัตราส่วนระหว่าง ค่าความต้องการกำลังไฟฟ้าสูงสุดของระบบ หรือส่วนประกอบของระบบ กับโหลดรวมทั้งหมดที่ต่อกับระบบหรือส่วนของระบบที่ต้องการพิจารณา
 
1.27 โคอินซิเดนซ์แฟคเตอร์ (Coincident Factor) หมายถึง อัตราส่วนระหว่าง พลังงานไฟฟ้าสูงสุดที่ใช้ในช่วงเวลาหนึ่งของกลุ่มผู้ใช้ไฟ กับผลรวมของความต้องการพลังงานไฟฟ้าสูงสุด ของผู้ใช้ไฟแต่ละรายในกลุ่มนั้น ในช่วงเวลาเดียวกัน
 
1.28 ช่องเดินสาย (Raceways) หมายถึง ท่อหรือช่องทางที่ใช้ห่อหุ้มหรือยึดสายไฟฟ้า หรือบัสบาร์ เพื่อช่วยในการเดินสายไฟฟ้า เช่น ท่อร้อยสาย รางเดินสาย ฯลฯ
 
1.29 ท่อร้อยสาย (Conduit) หมายถึง ท่อสายที่มีลักษณะเป็นท่อกลม มีทั้งที่เป็นท่ออโลหะและท่อโลหะ เช่น ท่อพีวีซี ท่อพีอี ท่อโลหะชนิดบาง (EMT) ท่อโลหะชนิดหนาปานกลาง (IMC) ท่อโลหะหนา (RSC)
 
1.30 รางเดินสาย (Wireways) หมายถึง ท่อสายที่เป็นราง ทำจากโลหะหรืออโลหะ มีฝาเปิด-ปิดได้ อาจมีช่องระบายอากาศด้วยก็ได้
 
1.31 รางเคเบิล (Cable Trays) หมายถึง รางเปิดที่ใช้วางสายไฟฟ้า ทำด้วยวัสดุไม่ติดไฟ อาจเป็นรางแบบด้านล่าง เป็นขั้นบันได หรือด้านล่างปิดทึบ หรือด้านล่างมีช่องระบายอากาศ
 
1.32 บัสเวย์ (Busways)
หมายถึง ตัวนำเปลือยหรือหุ้มฉนวนที่ประกอบสำเร็จจากโรงงาน อาจออกแบบเป็นแผ่น ท่อ หรือแท่ง มีเครื่องห่อหุ้มเป็นโลหะ มีการต่อลงดิน

ที่มา
บันทึกการเข้า
Nattawut-LSV Team
E23IUY
.กลุ่มผู้มีน้ำใจงาม.
member
*

คะแนน808
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3581


อีเมล์
« ตอบ #2 เมื่อ: กันยายน 16, 2012, 09:53:00 pm »

คำศัพท์ทางไฟฟ้า
          ช่างไฟฟ้าทุกคนจะต้องเข้าใจคำจำกัดความทั่วไปของคำศัพท์ที่ใช้ในทางช่างไฟฟ้า เพื่อให้การสั่งวัสดุอุปกรณ์ และการอ่านรายละเอียดของวัสดุอุปกรณ์ของบริษัทผู้ผลิตอย่างมีประสิทธิภาพ ผู้สั่งและผู้อ่านจะต้องมีความคุ้นเคยกับภาษาที่ใช้ในทางช่างไฟฟ้าด้วย ดังนั้นจึงควรอ่านคำจำกัดความแต่ละคำอย่างระเอียดให้เข้าใจ และควรพลิกดูคำเหล่านี้ทุกครั่งเมื่อมีความจำเป็น นอกจากนี้ยังมีรายละเอียดเกี่ยวกับคำนิยามของคำศัพท์เหล่านี้เพิ่มเติมในท้ายเล่มของหนังสือเล่มนี้ด้วย
       พลังงาน (energy) : ความสามารถในการทำงาน
       กำลังม้า (horsepower) : หน่วยวัดการทำงานของเครื่องจักรกลพวกมอเตอร์และเครื่องยนต์ เราจะใช้อักษรย่อ HP หรือ hp แทน โดยทั่วไปกำลังม้านี้จะใช้บ่งบอกเอาท์พุทของมอเตอร์ไฟฟ้า
     ไฟฟ้า (electricity) : การเคลื่อนที่ของอิเล็กตรอนผ่านตัวนำไฟฟ้า
     ตัวนำไฟฟ้า (conductor) : สสารที่ยอมให้กระแสไฟฟ้าไหลผ่านตัวมันเองได้ง่าย
     ความนำไฟฟ้าหรือความเป็นสื่อไฟฟ้า (conductance) : ความสะดวกสบายต่อการไหลผ่านของกระแสไฟฟ้าในวงจร
     ฉนวนไฟฟ้า (insulator) : วัตถุที่มีคุณสมบัติด้านต้านทานการไหลของกระแสไฟฟ้า อาจจะกล่าวได้ว่าสสารนั้น ขัดขวางการเคลื่อนที่ของอิเล็กตรอน
     อำนาจแม่เหล็ก (magnetism) : คุณสมบัติอย่างหนึ่งของสสารที่แสดงอำนาจดึงดูดเหล็กได้
     ขั้วไฟฟ้า (polarity) : คุณสมบัติของประจุไฟฟ้าที่แสดงออกมา ซึ่งจะมีค่าเป็นบวกหรือเป็นลบ
     แม่เหล็กไฟฟ้า (electromagnet) : ขดลวดตัวนำไฟฟ้าที่แสดงอำนาจหรือคุณสมบัติทางแม่เหล็กเมื่อมีกระแสไฟฟ้า ไหลผ่านขดลวดนั้น
     ขดปฐมภูมิ (primary) : ขดลวดของหม้อแปลงไฟฟ้า ซึ่งต่ออยู่กับแหล่งจ่ายไฟฟ้าและรับพลังงาน นั้นก็คือด้านรับไฟฟ้าเข้าของหม้อแปลงไฟฟ้า
     ขดทุติยภูมิ (secondary) : ขดลวดของหม้อแปลงไฟฟ้าที่ติดอยู่กับโหลด (ภาระทางไฟฟ้า) โดยจะรับพลังงานด้วยหลักการเหนี่ยวนำทางอำนาจแม่เหล็กไฟฟ้าจากขดลวดปฐมภูมิไปสู่โหลดนั้นก็คือด้านจ่ายไฟออกของหม้อแปลงไฟฟ้า      กำลังไฟฟ้า (electric power) : อัตราการผลิตหรือใช้พลังงานทางทาวงไฟฟ้าในหนึ่งหน่วยเวลา
    วัตต์ (watt) : หน่วยวัดกำลังไฟฟ้า เราเรียนอักรย่อตัวพิมพ์ใหญ่ W แทน กำลังไฟฟ้ามีจะเป็นอักษรบอกพลังงานไฟฟ้าที่มีอุปกรณ์ไฟฟ้าแต่ละตัวในการทำงาน อย่างเช่น หลอดไฟ 1,000 วัตต์ เครื่องปิ้งขนมปัง 1,000 วัตต์
    กิโลวัตต์ (kilowatt) : หน่วยกำลังไฟฟ้าที่มีค่าเท่ากับ 1,000 วัตต์ เราใช้ตัวย่อว่า KW เพราะเหตุว่าในทางปฏิบัตินั้นโหลด หรือภาระทางไฟฟ้ามีจำนวนมากๆ จึงมีค่าวัตต์สูงๆ หน่วยวัตต์ซึ่งทำให้การเรียกหรือบันทึกค่ายุ่งยากและเสียเวลา เราจึงนิยมใช้กิโลวัตต์ซึ่งเป็นหน่วยที่ใหญ่ขึ้นนี้แทน และยังมีหน่วยใหญ่กว่ากิโลวัตต์อีกก็คือ เมกกะวัตต์ (megawatt) ซึ่งเท่ากับ 1,000 กิโลวัตต์ หรือเขียนย่อๆ ว่า 1 MW
    กิโลวัตต์ – ชั่วโมง (kilowatt – hour) : หน่วยวัดการใช้กำลังไฟฟ้าในเวลา 1 ชั่วโมง เราจำใช้อักษรย่อพิมพ์ตัวใหญ่ KWH แทน ปกติแล้วการใช้พลังงานไฟฟ้าตามบ้านจะวัดค่าออกจากเครื่องวัดพลังงาน (หรือที่เราเรียกกันว่า หม้อมิเตอร์) มีหน่วยเป็นกิโลวัตต์ – ชั่วโมง หรือที่เรียกกันว่า ยูนิต (unit) แล้วคิดราคาไฟฟ้าที่เราต้องจ่ายเท่ากับ จำนวนยูนิตที่เราต้องใช้คูณด้วยราคาไฟฟ้าต่อหนึ่งยูนิต
    ไฟฟ้ากระแสสลับ (alternating current) : ระบบไฟฟ้าที่ทิศทางการวิ่งของอิเล็กตรอนมีการสลับไปมาตลอดเวลา เราใช้สัญลักษณ์แทนด้วยอักษรตัวพิมพ์ใหญ่ AC และมักนิยมใช้เป็นระบบไฟฟ้าตามบ้าน อาคาร โรงงานทั่วๆ ไป
    ไฟฟ้ากระแสตรง (direct current) : ระบบไฟฟ้าที่อิเล็กตรอนมีการวิ่งไปทางเดียวกันตลอดเวลา และต่อเนื่องกัน มักจะพบว่าใช้กันอยู่ทั่วๆ ไป ก็คือ เครื่องชาร์จแบตเตอรี่ ถ่านไฟฉาย แบตเตอรี่รถยนต์เป็นต้น ใช้อักษรตัวพิมพ์ใหญ่ DC เป็นสัญลักษณ์แทน
    วงจรไฟฟ้า (circuit) : ทางเดินไฟฟ้าที่ต่อถึงกัน และไฟฟ้าไหลผ่านได้ดี
วงจรอนุกรมหรือวงจรอันดับ (series circuit) : วงจรไฟฟ้าที่มีทางเดินไฟฟ้าได้เพียงทางเดียว จากแหล่งจ่ายไฟฟ้าผ่านวงจรไฟฟ้าไปครบวงจรอีกขั้วของแหล่งจ่ายไฟ และในวงจรนี้อาจจะมีอุปกรณ์พวกฟิวส์ สวิตซ์ เซอร์กิต – เบรกเกอร์ โดยต่อเป็นวงจรอันดับเข้าไปเพื่อป้องกัน
    วงจรขนาน(parallelcircuit):วงจรไฟฟ้าที่มีทางเดินไฟฟ้าของกระแสไฟฟ้าผ่านได้มากกว่า 1 ทางเดินขึ้นไป และจะมีอุปกรณ์เช่นพวกเต้าเสียบหลอดไฟต่อขนานกัน และข้อดีของวงจรก็คือ ถ้าอุปกรณ์ตัวหนึ่งตัวใดไม่ทำงาน ขัดข้องหรือเสียขึ้นมา วงจรทางเดินไฟฟ้าจะไม่ขนาน ซึ่งตรงกันข้ามกับวงจรอนุกรม อุปกรณ์ในวงจรขนานตัวอื่นๆ

     วงจรเปิด (open circuit) : สภาวการณ์ที่ทางเดินไฟฟ้าเกิดขาดวงจร เกิดวงจร หรือไม่ตลบวงจรทำให้กระแสไฟฟ้าไหลไม่ได้
     วงจรลัด (short circuit) : สภาวการณ์ที่เกิดมีการลัดวงจรทางเดินของกระแสไฟฟ้า อันเนื่องมาจากรอยต่อของสายต่างๆ พลาดถึงกัน มีกระแสไฟฟ้ารั่วต่อถึงกัน เป็นต้น
     แอมแปร์ (ampere) : หน่วยการวัดค่าอัตราการไหลของไฟฟ้าที่ผ่านตัวนำ เราจะใช้อักษรย่อตัวพิมพ์ใหญ่ A หรือ amp แทน ปกติแล้วหน่วยแอมแปร์นี้นิยมใช้ระบุขอบของการใช้กระแสไฟฟ้าด้านสูงสุดในการทำงานของอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้านั้นอย่างปลอดภัย อย่างเช่น เต้าเสียบ 15 แอมแปร์ ฟิวส์ 30 แอมแปร์
     เฮิร์ตซ์ (hertz) : หน่วยความถี่มีค่าเป็นรอบต่อวินาที การที่อิเล็กตรอนวิ่งไปในทิศทางหนึ่งแล้ววกกลับมาสู่แหล่งจ่ายไฟฟ้าจากนั้นก็มีอิเล็กตรอนวิ่งออกมาจากแหล่งจ่ายไฟไปในทิศทางหนึ่งวกกลับมา โดยทิศทางการวิ่งของอิเล็กตรอนทั้ง 2 ครั้งวิ่งสวนทางกัน (หรือพูดอีกนับหนึ่งก็คือ วิ่งสลับไปสลับมานั้นเอง) เราเรียกว่า 1 รอบ ความถี่ของระบบไฟฟ้าบ้านเราใช้ความถี่ 50 เฮิร์ตซ์ ใช้สัญลักษณ์ HZ แสดงแทน
     โอห์ม (ohm) : หน่วยความต้านทานทางไฟฟ้าใช้สัญลักษณ์แทนด้วยตัวโอเมก้า ( ? ) ความต้านทานจะพยายามต่อต้านการไหลของกระแสไฟฟ้า ความต้านทานเป็นได้ทั้งผู้ทำงานให้หรือขัดขวางการทำงานให้ผู้ใช้ไฟ มันทำงานให้ในขณะที่ใช้มันเป็นฉนวนหรือใช้ควบคุมวงจร ตัวอย่างเช่น เทปพันสายไฟ เต้าเสียบที่ทำจากพลาสติก จะป้องกันอันตรายให้กับผู้ใช้ไฟได้ และใช้ความต้านทานแบบปรับค่าได้ (rheostat) ปรับความสว่างของหลอดไฟฟ้า แต่มันจะขัดขวางการทำงานเมื่อผู้ใช้ไฟ ใช้สายไฟเส้นเล็ก และยาวมากๆ หรือมีสนิมตามจุดสัมผัสต่างๆ ของตัวนำ จะเป็นสาเหตุของการเพิ่มค่าความต้านทาน ทำให้เกิดความร้อนมากเกินไป พร้อมทั้งเกิดการสูญเสียกำลังไฟฟ้าไปในสายตัวนำด้วย
   
  กฎของโอห์ม (Ohm’s law) : กฎที่ว่าด้วยความสัมพันธ์ระหว่างแรงดัน กระแส และความต้านทานในวงจรไฟฟ้า กฎนี้กล่าวว่า ค่ากระแสไฟฟ้า (I) จะเป็นสัดส่วนโดยตรงกับค่าแรงดันไฟฟ้า (E) และเป็นสัดส่วนผกผันกับค่าความต้านทาน (R)

I = E / R

     โวลต์ (volt) : หน่วยวัดแรงดันไฟฟ้า แรงดันไฟฟ้าหรือแรงดันที่ทำให้เกิดมีการเคลื่อนที่ของอิเล็กตรอนภายในตัวนำไฟฟ้า เราใช้ตัวย่อแทนแรงดันไฟฟ้าด้วย V, E หรือ EMF ปกติจะใช้ E และ EMF แทนแรงดันที่เกิดจากการเคลื่อนที่ของประจุไฟฟ้าหรือ electromotive force (ซึ่งเป็นอีกนิยามหนึ่งของคำว่า โวลต์) เช่นเดียวกับคำว่า แอมแปร์แรงดันซึ่งระบุไว้ที่ตัวอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าจะเป็นตัวกำหนดขอบเขตการใช้แรงดันไฟฟ้าขณะทำงานได้โดยปลอดภัย เช่น มอเตอร์ 220 โวลต์ เครื่องเป่าผม 110 โวลต์ เราจะต้องใช้อุปกรณ์ไฟฟ้ากับแรงดันไฟฟ้าตามที่ระบุไว้เท่านั้น
แอมมิเตอร์ (ammeter) : เป็นเครื่องวัดทางไฟฟ้าชนิดหนึ่ง ใช้วัดค่ากระแสไฟฟ้าที่ไหลในวงจรที่เราต้องการวัด โดยปกติเราจะใช้เครื่องมือนี้ต่ออนุกรมกับวงจรที่เราต้องการวัดค่ากระแส แต่ก็มีเครื่องมือวัดชนิดพิเศษที่ไม่ต้องต่อวงจรอันดับเข้ากับวงจรไฟฟ้านั้น จะได้กล่าวถึงในบทต่อๆ ไป
โอห์มมิเตอร์ (ohm meter) : เป็นเครื่องวัดทางไฟฟ้าชนิดหนึ่ง ใช้วัดค่าความต้านทานไฟฟ้าเวลาใช้จะต้องไม่มีการจ่ายไฟจากแหล่งจ่ายไฟใดในวงจรไฟฟ้านั้น
โวลต์มิเตอร์ (volt meter) : เป็นเครื่องมือวัดทางไฟฟ้าชนิดหนึ่ง ใช้วัดค่าแรงดันไฟฟ้า
มัลติมิเตอร์ (multimeter) : เป็นเครื่องมือวัดทางไฟฟ้าชนิดหนึ่งที่สามารถวัดค่าแรงดัน กระแสและความต้านทานได้ในเครื่องวัดตัวเดียวกัน
National Electric Code : เป็นหนังสือคู่มือรวบรวมข้อแนะนำและกฎข้อบังคับในการติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้าให้มีความปลอดภัย แม้ว่าจะมีเนื้อหามากมายแต่หนังสือคู่มือนี้ก็ไม่มีจุดมุ่งหมายสำหรับการสอน หรือใช้แก่บุคคลที่ไม่เคยผ่านการอบรมมาก่อน ส่วนของไทยเราก็มีคู่มือพวกนี้หลายแห่งด้วยกัน เช่น คู่มือของการไฟฟ้านครหลวง การพลังงานแห่งชาติ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ซึ่งหลักการและกฎข้อบังคับส่วนใหญ่ก็คล้ายๆ กับของ NEC (National Electric Code) ของต่างประเทศนั่นเอง
สวิตซ์อัตโนมัติหรือเซอร์กิตเบรกเกอร์ (circuit breaker) : เป็นอุปกรณ์ป้องกันที่ใช้จำกัดกระแสไฟฟ้าสูงสุดในวงจร เมื่อกระแสเกินค่าจำกัดเซอร์กิตเบรกเกอร์จะเปิดวงจรไม่ให้กระแสไฟฟ้าไหลสู่วงจรอีก จนกว่าจะกดปุ่มทำงานใหม่ ปัจจุบันใช้แทนสวิตซ์ฟิวส์กันมาก เนื่องจากสามารถต่อวงจรเข้าไปใหม่ได้ทันที ในขณะที่ฟิวส์ต้องสลับเปลี่ยนตัวใหม่เข้าไปแทน และยิ่งในระบบไฟฟ้า 3 เฟสด้วยแล้วถ้าเกิดขาดที่ฟิวส์เพียงเส้นเดียวเหลือไฟฟ้ามาแค่ 2 เฟสเท่านั้น อาจเกิดการเสียหายไหม้ขึ้นที่มอเตอร์ 3 เฟสได้ หลักการทำงานของเซอร์กิตเบรกเกอร์จะทำงานโดยอาศัยอำนาจแม่เหล็ก เมื่อมีกระแสไฟฟ้าในวงจรไหลเข้ามามากๆ สนามแม่เหล็กจะดึงสวิตซ์ให้ตัดวงจรออก และบางแบบจะมีตัวป้องกันกระแสเกินขนาดด้วยความร้อนต่อร่วมมาด้วยโดยอาศัยการที่มีกระแสไหลผ่านความต้านทานของตัว ไบเมตอลลิก (bimetallic) (ไบเมตอลลิก เป็นโลหะที่ขยายตัวเมื่ออุณหภูมิสูงขึ้นและหดตัวเมื่ออุณภูมิต๋ำลง) เมื่อกระแสไหลผ่านมากจะเกความร้อนมาก ตัวไบเมตอลลิกจะขยายตัวดึงให้สวิตซ์ตัดวงจรออก เราใช้ตัวอักษรย่อแทนเซอร์กิตเบรกเกอร์ด้วย CB
ฟิวส์ (fuse) เป็นอุปกรณ์ป้องกันที่ใช้จำกัดกระแสไฟฟ้าสูงสุดในวงจร เมื่อกระแสเกินค่าจำกัดฟิวส์จะเกิดความร้อนมากขึ้นจนกระทั่งหลอมละลายขาดจากกัน วงจรก็จะเปิด ฟิวส์จะต้องอย่างอนุกรมกับวงจร
หม้อแปลง (transformer) : เป็นอุปกรณ์ที่ใช้เปลี่ยนแรงดันไฟฟ้าให้สูงขึ้นหรือต่ำลง เพื่อให้ตรงกับแรงดันที่ใช้กับอุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆ เช่น มีเครื่องซักผ้าแรงดัน 110 โวลต์ แต่มีไฟฟ้าแรงดัน 220 โวลต์ เราก็ต้องใช้หม้อแปลงแรงดัน 220 โวลต์ ให้เป็นแรงดัน 110 โวลต์ จึงจะใช้เครื่องซักผ้าได้ นอกจากนี้เรายังนิยมใช้หม้อแปลงกับเครื่องติดต่อภายใน และระบบเสียงกริ่งเรียก เป็นต้น
เฟส (phase) : หมายถึงชนิดของระบบไฟฟ้าที่ใช้มีทั้งระบบ 1 เฟส 2 สาย แล 3 เฟส 4 สาย อุปกรณ์ไฟฟ้า 1 เฟส 2 สาย จะใช้ตามบ้านที่อยู่อาศัย ส่วนระบบไฟฟ้า 3 เฟส 4 สาย นิยมใช้กับธุรกิจใหญ่กับโรงงานอุตสาหกรรม
บันทึกการเข้า
boysayan
member
*

คะแนน2
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 25


อีเมล์
« ตอบ #3 เมื่อ: กันยายน 17, 2012, 01:13:08 am »

   ขอบคุณมากๆๆครับผม   แต่ยังไงขออีกนิดครับ เป็นศัพท์ อัง กฤษที่เกี่ยวกับเครื่องมืออุปกรณ์  เช่น ตั้งแต่ไขควง ฆ้อน ประแจ  มิเตอร์  สกรู สว่าน เครื่องตัด  เป็นต้น  ขอบคุณล่วงหน้าน๊ะครับผม//
บันทึกการเข้า
Nattawut-LSV Team
E23IUY
.กลุ่มผู้มีน้ำใจงาม.
member
*

คะแนน808
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3581


อีเมล์
« ตอบ #4 เมื่อ: กันยายน 17, 2012, 09:30:46 pm »

คุณ boysayan ลองดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่นี่ครับ
คลิกเลย
บันทึกการเข้า
boysayan
member
*

คะแนน2
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 25


อีเมล์
« ตอบ #5 เมื่อ: กันยายน 18, 2012, 02:20:15 am »

 //ขอบคุณ มากๆๆเลยครับคุณ  Nattawut-Lsv Team  เป็นความรู้มากๆๆเลยครับ  ตอนนี้ก้อได้ใช้ทุกวันอ่ะครับ ศัพท์ พวกนี้ ตอนนี้ก้อทำงานอยู่ต่างประเทศล่ะครับผม(แอฟริกาครับผม)
บันทึกการเข้า
Nattawut-LSV Team
E23IUY
.กลุ่มผู้มีน้ำใจงาม.
member
*

คะแนน808
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3581


อีเมล์
« ตอบ #6 เมื่อ: กันยายน 18, 2012, 07:54:45 am »

ด้วยความยินดีอย่างยิ่งครับ......    Cheesy
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1 RC2 | SMF © 2001-2006, Lewis Media

lsv2555Please follow the new website at https://www.pohchae.com

Valid CSS!