อยากทราบการวัด fet IRFZ44n ว่าดีหรือเสีย
LSVคลังสมองออนไลน์ "ปีที่14"
พฤศจิกายน 22, 2024, 01:34:21 am *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: อยากทราบการวัด fet IRFZ44n ว่าดีหรือเสีย  (อ่าน 12791 ครั้ง)
TAWA
member
*

คะแนน6
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 136


« เมื่อ: สิงหาคม 05, 2012, 08:26:11 pm »

กราบเรียนท่านอาจารย์และผู้รู้ ผมห่างเหินจากการซ๋อมมานานเลยลืมวิธีการวัด Fet เบอร์ IRFZ44n
ว่าดีหรือเสีย ขอความกรุณาด้วยครับเพราะผมเริ่มดำเนินกิจการใหม่เริ่มซ่อม เครื่องสำรองไฟชุดแรก  13 ตัว
อาการใส่ แบตเตอรี่ใหม่ช๊อตเกือบทุกตัวแต่ถอด Fet ออกมาวัดไม่เป็นแล้วครับลืมจริงๆ ครับ
ลูกน้องก็ไม่มี กลุ้มใจกับความจำตัวเองจริงๆ ครับ

        ตอบทาง Email ก็ได้ครับ E: mail    prabom31@gmail.com

   ขอขอบพระคุณล่วงหน้าด้วยครับ


บันทึกการเข้า

Nattawut-LSV Team
E23IUY
.กลุ่มผู้มีน้ำใจงาม.
member
*

คะแนน808
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3581


อีเมล์
« ตอบ #1 เมื่อ: พฤศจิกายน 16, 2012, 10:35:15 pm »

ป่านนี้คงจะรู้วิธีวัดแล้วมั๊งครับ 

การวัดมอสFET


การทำงานของมอสเฟทเป็นแบบการอินดิวส์หรือเหนี่ยวนำสนามไฟฟ้า การวัดจะไม่ได้ผล หากมีสนามไฟฟ้าตกค้าง ก่อนทำการวัดมอสเฟททุกครั้งจะต้องชอร์ตสนามไฟฟ้าภายในตัวมอสเฟททิ้งให้หมดก่อน โดยใช้วิธีการชอร์ตขาทั้ง 3 เข้าหากัน

การวัดหาขาเกต


1. ให้ตั้งมิเตอร์ไปที่ย่านการวัดค่าความต้านทานเรนจ์ Rx1K หรือ Rx10K
2. ให้ทำการวัดขาของเฟททีละคู่จนครบ 6 ครั้ง จะพบว่ามีขาอยู่ 1 คู่ ที่ไม่ว่าจะวัดอย่างไรก็จะมีค่าความต้าน   
    ทานขึ้น นั่นหมายความว่าขาคู่นั้นคือขา D กับขา S
3. ส่วนขาที่เหลือคือขา G เพราะมอสเฟทถูกสร้างให้ G เป็นขาลอย คือไม่มีการต่อขาเกตเข้ากับเนื้อสารใดๆ
   เลย ดังนั้นเมื่อวัดเทียบกับขาอื่นๆ เข็มมิเตอร์จึงไม่ขึ้น

การวัดหาขาเดรนและซอร์ส

1. ให้ตั้งมิเตอร์ไปที่ย่านการวัดค่าความต้านทานเรนจ์ Rx1K หรือ Rx10K
2. วัดคร่อมไปที่ขา D และขา S เข็มมิเตอร์จะขึ้น จากนั้นให้ย้ายสายวัดสายใดสายหนึ่งไปแตะที่ขา G
3. จากนั้นให้นำสายวัดที่ไปแตะที่ขา G นำกลับมาจับที่ขาเดิม แล้วสังเกตุเข็มของมิเตอร์

        -  หากค่าความที่วัดได้มีค่าลดลงจากเดิมจนเข้าใกล้ศูนย์ แสดงว่าขานั้นคือขา D
        -  หากค่าความที่วัดได้มีค่าเพิ่มขึ้นจากเดิม แสดงว่าขานั้นคือขา S

การหาชนิดของมอสเฟท

เมื่อทราบขาของมอสเฟตแล้วว่าขาใดคือขา D และขา S ให้สังเกตุสายของมิเตอร์ที่วัด

1.  ในกรณีที่วัดมอสเฟทชนิด เอ็น-แชนแนล
-   ขั้วบวกของมิเตอร์ (สายสีดำ) จะจับอยู่ที่ขา D ส่วนขั้วลบของมิเตอร์ (สายสีแดง) จะจับที่ขา S

2.  ในกรณีที่วัดมอสเฟทชนิด พี-แชนแนล
     -    ขั้วบวกของมิเตอร์ (สายสีดำ) จะจับอยู่ที่ขา S ส่วนขั้วลบของมิเตอร์ (สายสีแดง) จะจับที่ขา D

การวัดมอสเฟทว่าดีหรือเสีย

ลักษณะอาการเสียของมอสเฟทมีอยู่ 3 แบบ

1. โครงสร้างภายในชอร์ทถึงกัน
           ลักษณะแบบนี้เมื่อเราทำการวัด 6 ครั้งจะมีมากกว่า 1 คู่ที่เข็มของความต้านทานแสดงค่าออกมา (เข็มของมิเตอร์ขึ้นมากกว่า 1 คู่ )

2. โครงสร้างภายในขาด
           ลักษณะแบบนี้เมื่อเราทำการวัด 6 ครั้งจะไม่มีคู่ใดเลยที่มีค่าความต้านทานแสดงให้เห็น (เข็มมิเตอร์ไม่แสดงค่าความต้านทานขึ้นเลย)

3.  โครงสร้างภายใน(Bias)บกพร่อง
           - ให้วัดคร่อมที่ขา D และขา S  1 ครั้ง จนเข็มมิเตอร์ชี้ค่าความต้านทานขึ้น
           - จากนั้นนำสายวัดที่ขา D มาแตะที่ขา G แล้วนำกลับไปแตะที่ขา D อีกครั้ง
           - ให้สังเกตุเข็มมิเตอร์ ถ้าค่าความต้านทานมีค่าลดลงจากเดิมจนมีค่าเข้าใกล้ศูนย์ จากนั้นเข็มมิเตอร์ค่อยชี้ค่าความต้านทานเพิ่มขึ้นจนเข้าใกล้ค่าเดิม แสดงว่ามอสเฟทนั้นดี   แต่ถ้าแตะที่ขา G แล้วค่าความต้านทานไม่เปลี่ยนแปลง แสดงว่ามอสเฟทตัวนั้นโครงสร้างการไบอัสภายในเสีย


การทำงานของมอสเฟทเป็นแบบการอินดิวส์หรือเหนี่ยวนำสนามไฟฟ้า การวัดจะไม่ได้ผล หากมีสนามไฟฟ้าตกค้าง ก่อนทำการวัดมอสเฟททุกครั้งจะต้องชอร์ตสนามไฟฟ้าภายในตัวมอสเฟททิ้งให้หมดก่อน โดยใช้วิธีการชอร์ตขาทั้ง 3 เข้าหากัน
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1 RC2 | SMF © 2001-2006, Lewis Media

lsv2555Please follow the new website at https://www.pohchae.com

Valid CSS!