ธรรมะ 9 ตา โดย ท่านพุทธทาสภิกขุ
หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ธรรมะ 9 ตา โดย ท่านพุทธทาสภิกขุ  (อ่าน 2879 ครั้ง)
kittanan_2589
.กลุ่มผู้มีน้ำใจงาม.
member
*

คะแนน630
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2363


NightBaron


เว็บไซต์
« เมื่อ: พฤศจิกายน 09, 2011, 03:17:23 pm »



โดย ท่านพุทธทาสภิกขุ

ท่านพุทธทาสเป็นคนช่างคิดช่างประดิษฐ์ ทั้งประดิษฐ์คำและประดิษฐ์ธรรม ประดิษฐ์คำ คำที่ท่านใช้เวลาอธิบายปีละคำนั้นเรียกว่า "ธรรมะ 9 ตา" มีดังนี้

1.   อนิจจตา คือความไม่เที่ยงไม่ยั่งยืน ความเปลี่ยนแปลงที่ปรากฏภายนอก (อัชฌัตตา ธัมมา)
2. ทุกขตา คู่กับอนิจจตา คือทนอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้ ย่อมแปรเปลี่ยนไปเป็นอย่างอื่นเสมอ เป็นความไม่สมบูรณ์บกพร่องอันเป็นเนื้อใน (พหิทธา ธัมมาป โดยอธิบายว่า ความบกพร่องความไม่สมบูรณ์ในตัวนั้นแหละ คือทุกขตา เมื่อบกพร่องไม่สมบูรณ์มันก็ย่อมเปลี่ยนในที่สุด (อนิจจตา) )
3. อนัตตตา คือ ความไม่มีตัวตน ความมิใช่ตัวตน อนัตตตา มีสองความหมายคือ

(1) ความไม่มีตัวตนถาวร (อาตมันถาวร) ดังที่ลัทธิฮินดูเชื่อกัน ว่าอาตมันเป็นสิ่งสัมบูรณ์ในตัวเอง ไม่มีการเปลี่ยนแปลง อยู่เป็นนิรันดร ส่วนที่เปลี่ยนคือร่างกาย ทฤษฎีตายแล้วไปเกิดใหม่เปรียบเสมือนคนที่ออกจากบ้านเก่าที่ถูกไฟไหม้ไปหาที่อยู่ใหม่ บ้านเป็นบ้านใหม่แต่คนยังคงเป็นคนเดิม ดังที่กฤษณะได้สอนอรชุนผู้ไม่อยากรบกับญาติพี่น้องของตนเพราะเกรงจะมีการฆ่าอีกฝ่ายหนึ่งเป็นบาป กฤษณะสอนว่า "ไม่มีผู้ฆ่าไม่มีผู้ถูกฆ่า" ดุจเอามีดฟันหยวกกล้วย เพราะอาตมันไม่มีใครฆ่าได้ พระพุทธศาสนาปฏิเสธแนวคิดอาตมันถาวรนี้ จึงเรียกว่าอนัตตตา

(2) ความมิใช่ตัวตน ในความหมายนี้ทรงแสดงไว้ในอนัตตลักขณสูตร ว่ารูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อันประกอบเข้าเป็นสัตว์บุคคลตัวตนเราเขานี้ มิใช่ตัวตนของใคร มันเกิดขึ้น ตั้งอยู่และดับไปตามธรรมดาของสังขาร เพราะถ้ามันเป็นของใครคนใดคนหนึ่ง เราสามารถบังคับหรือขอร้องให้มันเป็นอย่างนั้น อย่าไม่เป็นอย่างนั้นอย่างนี้ได้ แต่นี่หาเป็นเช่นนั้นไม่ จึงเชื่อว่า เป็นอนัตตตา

4. อิทัปปัจจยตา เป็นชื่อหนึ่งปฏิจจสมุปบาท หลักแห่งการเกิดขึ้นอาศัยกันของปัจจัยทั้งหลาย เมื่อเกิดสิ่งนั้น จึงมีสิ่งนี้ (Dependent Origination)

5. สุญญตา คือ ความว่างเปล่า ความศูนย์ คือสูญจากความมีตัวตน เวลาพระท่านพิจารณาสังขารโดยความเป็นสภาพศูนย์ หมายถึงพิจารณาเห็นความเป็นจริงว่า สิ่งที่เรียกว่าตัวตนเราเขา นั้นที่แท้ไม่มี มีเพียงการประกอบเข้าแห่งธาตุสี่ดินน้ำลมไฟเท่านั้นเอง เมื่อเห็นว่าว่างอย่างนี้แล้ว ท่านก็ไม่ยึดมั่นถือมั่น ดังที่หลวงพ่อพุทธทาสกล่าวว่าว่างจากตัวกูของกู

6. ธัมมัฏฐิตตา 7. ธัมมนิยามตา  คือ การที่สิ่งทั้งหลายเกิดขึ้น ตั้งอยู่และดับสลายไปเป็นกฎธรรมชาติหรือภาวะที่ยืนตัวเป็นหลักแน่นอนอยู่โดยธรรมดา เป็นกฎธรรมดาหรือกำหนดแห่งธรรมดา ไม่ขึ้นอยู่กับผู้สร้างผู้บันดาล ไม่ขึ้นอยู่กับการเกิดขึ้นของศาสดาหรือศาสนาใดๆ
ดังพุทธวจนะว่า "ไม่ว่าตถคตทั้งหลาย (พระพุทธเจ้าทั้งหลาย) จะเกิดขึ้นหรือไม่ก็ตาม กฎธรรมชาติ กฎธรรมดานั้นก็ยังอยู่"

8. ตถตา ความเป็นเช่นนั้นเอง ตถตา เป็นการอธิบายความที่สิ่งทั้งหลายเป็นเหตุปัจจัยแห่งกันและกัน เมื่อมีเหตุปัจจัยมันก็เกิดขึ้นดำรงอยู่และเป็นไปตามกฎธรรมดา เมื่อหมดเหตุปัจจัยมันก็ดับ การที่มันจะเกิด จะคงอยู่หรือจะดับไม่ได้ขึ้นอยู่กับการดลบันดาลของใคร ไม่ขึ้นอยู่กับการขอร้องอ้อนวอน หรือความต้องการของใคร เมื่อเหตุปัจจัยมันสุกงอมแล้ว ไม่อยากไปก็จำต้องไป เพราะทุกอย่างเป็นตถตา

9. อตัมมยตา เป็นสภาวของระดับจิตสุดท้ายสูงสุด กล่าวคือ เป็นระดับที่ไม่ยึดถือหรือยึดติดต่อสิ่งทั้งปวง เพราะทุกสิ่งเป็นผ่านพ้นความเป็นธรรมดา และเป็นเช่นนั้นเองแล้ว สภาวจิตที่เข้าถึงระดับนี้ คือ ระดับจิตของบุคคลที่ปฏิบัติโดยไม่ยึดติดต่อสิ่งใดใด เพราะเข้าใจด้วยหลักเหตุ และผลที่เกิดขึ้นของสิ่งทั้งปวง
สำหรับ การปฏิบัติ อตัมยตา คือการเก็บรายละเอียดปลีกย่อยที่จิตเข้าไปยึดถือไว้มาตั้งแต่เกิด จนสามารถปฏิบัติให้จิตสามารถหลุดพ้นได้อย่างสิ้นเชิง..

ที่มา ธรรมะออนไลน์


บันทึกการเข้า

หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป: