เกิด แก่้ เจ็บ ตาย
หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: เกิด แก่้ เจ็บ ตาย  (อ่าน 1440 ครั้ง)
kittanan_2589
.กลุ่มผู้มีน้ำใจงาม.
member
*

คะแนน630
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2363


NightBaron


เว็บไซต์
« เมื่อ: พฤศจิกายน 09, 2011, 03:01:56 pm »

อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต
เทวทูตวรรคที่ ๔ พรหมสูตร ข้อ ๔๗๐
ดูกร ภิกษุทั้งหลาย สกุลใดบุตรบูชามารดาบิดาในเรือนตน สกุลนั้นมีพรหม สกุลใดบุตรบูชามารดาในเรืนอตน สกุลนั้นมีบุพพาจารย์ สกุลใดบุตรบูชาบิดามารดาในเรือนตน สกุลนั้นมีอาหุไนยยบุคคล ดูกร ภิกษุทั้งหลาย คำว่าพรหมนี้เป็นชื่อของมารดาและบิดา คำว่าบุพพาจารย์นี้เป็นชื่อของมารดาและบิดา คำว่าอาหุไนยยบุคคลนี้เป็นชื่อของมารดาและบิดา ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะมารดาบิดามีอุปการะมาก บำรุงเลี้ยง แสดงโลกนี้แก่บุตรฯ

มารดาบิดาผู้อนุเคราะห์บุตร ท่านเรียกว่าพรหมบุพพาจารย์ และอาหุไนยยบุคคลของบุตร เพราะเหตุนั้นแหละ บุตรผู้มีปัญญาพึงนอบน้อมและสักการะมารดาบิดา ด้วยข้าว น้ำ ผ้า ที่นอน เครื่องหอม การอาบน้ำและการล้างเท้าทั้งสอง เพราะการบำรุงมารดาบิดานั้น บัณฑิตย่อมสรรเสริญบุตรนั้น บุตรนั้นละ [โลกนี้] ไปแล้ว ย่อมบันเทิงในสวรรค์

อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต
ปุตตสูตร ข้อ ๓๙
บุตรผู้เป็นสัปบุรุษ ผู้สงบ มีกตัญญูกตเวที เมื่อระลึกถึงบุพพคุณของท่าน จึงเลี้ยงมารดาบิดา ทำกิจแทนท่าน เชื่อฟังโอวาท เลี้ยงสนองพระคุณท่าน สมดังที่ท่านเป็นบุพการี ดำรงวงศ์สกุล บุตรผู้มีศรัทธา สมบูรณ์ด้วยศีล ย่อมเป็นที่สรรเสริญทั่วไป

พระสัทธรรม
เกิด แก่ เจ็บ ตาย
ผู้เลื่อมใสในพระพุทธเจ้าย่อมกราบไหว้บูชา สวดมนต์ ทำวัตร เป็นประจำ แล้วต้องฟังพระธรรมและพิจารณาพระธรรมด้วย ยิ่งฟังพระธรรมก็ยิ่งเห็นพระปัญญาคุณของพระผู้มีพระภาค เพราะพระธรรมที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงเป็น สัจธรรม เ็นธรรมที่มีจริง ซึ่งทุกคนสามารถพิสูจน์ได้ทันที โดยมิต้องตระเตรียมและรอคอยเลย พระธรรมรักษาผู้ประพฤติธรรม กุศลคุ้มครองให้พ้นทุกข์ภัย

ท่านเกิดมาชาตินี้เพียงเพื่อเห็น ได้ยิน ได้กลิ่น ลิ้มรส สัมผัส และคิดนึกถึงสิ่งที่เห็น คิดนึกถึงเสียงที่ได้ยิน คิดนึกถึงกลิ่น คิดนึกถึงรส คิดนึกถึงสิ่งที่กระทบสัมผัสตั้งแต่แก่จนตายเท่านั้นหรือ ควรรู้ว่าส่วนหนึ่งของชีวิตเป็นผลของกรรม และอีกส่วนหนึ่งเป็นการสะสมกรรมที่จะทำให้เกิดผลข้างหน้า ควรรีบสร้างกุศล เพราะไม่มีผู้ใดรู้ได้ว่าพรุ่งนี้อาจจากโลกนี้ไปก็ได้

สำหรับท่านที่ยังมีชีวิตอยู่ อย่างประมาทว่าท่านรู้แล้ว ควรฟังพระธรรมเพื่อทบทวนธรรมที่ท่านได้เรียนรู้ และควรพิจารณาธรรมนั้นบ่อย ๆ สอบสวนพิจารณาตัวเอง เตือนตัวเองให้สนใจศึกษาและฟังพระธรรมจนมีปัญญาเข้าใจในพระธรรมนั้น แล้วน้อมนำพระธรรมมาประพฤติปฏิบัติตามด้วยความนอบน้อม

สนทนาธรรมที่โรงแรมแม่น้ำแคว จังหวัดกาญจนบุรี
ทันทีที่เกิดมาก็เป็นผลของกรรมแล้ว ซึ่งแล้วแต่ว่าวิบากจิตประเภทใดทำกิจปฏิสนธิ ถ้าปฏิสนธิจิตเป็นอกุศลวิบาก คือเป็นผลของอกุศลกรรมก็เกิดในนรก เกิดเป็นเปรต เกิดเป็นอสุรกาย เกิดเป็นสุนัข เกิดเป็นเสือ เกิดเป็นไก่ เป็นต้น ถ้าเป็นผลของกุศลอย่างอ่อนมาก แม้เกิดเป็นมนุษย์อกุศลกรรมก็เบียดเบียน ทำให้มีรูปร่างพิการตั้งแต่กำเนิด ตาบอด หูหนวก เป็นต้น เมื่อเกิดมาแล้วก็ต้องเห็น ได้ยิน ได้กลิ่น ลิ้มรส กระทบสัมผัส และคิดนึก ขณะเห็นเป็นผลของกรรม ได้ยินก็เป็นผลของกรรม ได้กลิ่นก็เป็นผลของกรรม ลิ้มรสจะอร่อยหรือไม่อร่อยก็เป็นผลของกรรม กระทบสัมผัสสิ่งที่อ่อน แข็ง เย็น ร้อน ก็เป็นผลของกรรม ซึ่งเลือกไม่ได้ รูปร่างกายก็เกิดเพราะกรรมด้วย ทุกภพทุกชาติที่เกิดมาเห็น ได้ยิน ได้กลิ่น ลิ้มรส กระทบสัมผัส และคิดนึกถึงสิ่งที่เห็น คิดนึกถึงเสียงที่ได้ยิน คิดนึกถึงกลิ่น คิดนึกถึงรส คิดนึกถึงสิ่งที่กระทบสัมผัส ตั้งแต่เกิดจนตายก็เท่านั้นเอง ทุกชีวิตเป็นไปตามเหตุตามปัจจัย ทั้งสุข ทั้งทุกข์ ทั้งดีใจ ทั้งเสียใจ เกิดขึ้นเพียงชั่วขณะจิตแล้วก็ดับหมดไป ผู้ที่ไม่ใช่พระอรหันต์ ตายแล้วต้องเกิดแน่ แต่ว่าชาติต่อไปจะเกิดเป็นอะไร ถ้าเป็นผลของอกุศลกรรมก็เกิดเป็นสัตว์เดรัจฉาน เกิดในนรก เกิดเป็นเปรต เกิดเป็นอสุรกาย ถ้าเป็นผลของกุศลกรรมก็เกิดเป็นมนุษย์หรือเทพ

ส่วนหนึ่งของชีวิตเป็นวิบากคือผลของกรรม และอีกส่วนหนึ่งเป็นการสะสมกรรมที่จะทำให้เกิดผลข้างหน้า ขณะเห็น ได้ยิน ได้กลิ่น ลิ้มรส สัมผัส เป็นผลของกรรม ขณะคิดไม่ใช่ผลของกรรม จิตที่คิดมี ๒ อย่าง  คือ คิดีกับคิดไม่ดี ถ้าคิดดีก็สงเคราะห์ช่วยเหลือคนอื่น มีเมตตา กรุณา คิดในทางละคลายอกุศล ถ้าคิดไม่ดีก็คิดแต่นทางที่ไม่เป็นประโยชน์ ทำร้ายคนอื่นได้แม้เพียงคำพูด เช่น เวลาที่ฟังเรื่องอะไรมาแล้วไม่ไตร่ตรอง พลอยพูดตามไปโดยไม่รู้ความจริง คำพูดนั้นก็ทำให้ผู้อื่นเป็นทุกข์เดือดร้อนได้ ในขณะนั้นก็เป็นอกุศล อกุศลให้โทษตั้งแต่เริ่มคิด ตัวคนคิดเดือดร้อนเพราะอกุศลนั้นก่อนคนอื่น ดังนั้นต้องเห็นโทษของความคิดที่ไม่ดี พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ตรัสสอนว่า โลภะ ความยึดมั่น ความคิด ความผูกพันในทุกอย่างจะนำมาซึ่งความทุกข์ โทสะเป็นสภาพธรรมที่หยาบกระด้าง ประทุษร้ายทำลาย อกุศลทั้งหลายนั้นเกิดขึ้นเพราะความไม่รู้ ไม่รู้ว่าตัวเองมาจากโลกไหน ไม่รู้ว่าตายแล้วจะไปไหน วันหนึ่ง ๆ ทำอะไร เพราะอะไรก็ไม่รู้ ที่ทั่วโลกกำลังลำบากนั้นเพราะเป็นทาสของความรู้สึกที่เป็นสุขซึ่งเกิดเมื่อได้สิ่งที่พอใจ เมื่อได้สิ่งที่ต้องการมาแล้วก็แสวงหาสิ่งที่พอใจอื่น ๆ อีกไม่รู้จบ โดยไม่รู้ว่าแท้จริงรสอาการที่อร่อยก็ดับหมดไปแล้ว เสียงที่ไพเราะปรากฏนิดเดียวก็ดับหมดไปแล้ว ไม่มีใครเป็นเจ้าของสิ่งใดได้เลย เพราะทุกสิ่งเกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัยแล้วก็ดับหมดสิ้นไปอย่างรวดเร็ว ร่างกายที่แข็งแรงก็ป่วยไขได้ แม้ความป่วยไข้ วันหนึ่งก็หายเป็นปกติได้ ทุกอย่างไม่คงที

ขณะใดที่เป็นผลของกุศลก็อย่าคิดมากนัก ต้องเตรียมพร้อมที่จะรับอกุศลวิบากด้วยความไม่หวั่นไหว เวลานี้มีทุกข์กันมากก็เพราะความหวั่นไหวนั่นเอง ถ้ารู้ความจริงว่าทุกอย่างเป็นธรรมดา "ธรรมคือธรรมดา" เกิดก็ธรรมดา แก่ก็ธรรมดา เจ็บก็ธรรมดา ได้ลาภก็ธรรมดา เสื่อมลาภก็ธรรมดา ได้ชื่อเสียงหรือเสื่อมชื่อเสียงก็ธรรมดา มีใครบ้างไม่ถูกนินทา หรือว่ามีแต่คนเคารพนับถือตลอดเวลา

สภาพธรรมที่เกิดขึ้นแล้วดับไปนั้นเป็นทุกข์ คือ ไม่เที่ยง ไม่ยั่งยืน จิตเกิดขึ้นหนึ่งขณะแล้วก็ดับไป จิตขณะต่อไปก็เกิดขึ้นแล้วก็ดับไป สืบต่อกันไปเรื่อย ๆ ขณะได้ยินเสียงไม่ใช่ขณะเห็น ปัญญาต้องรู้ตามความเป็นจริงจึงจะไม่เห็นผิดว่าเป็นตัวตน ถ้ายังรวมกันทั้งเห็นกับได้ยินก็เป็นเรา เป็นตัวตน สภาพธรรมที่เกิดดับนั้น สิ้นที่สุด เร็วที่สุด เป็นสภาพธรรมที่มีจริงและละเอียดมาก ซึ่งพิสูจน์ได้ แต่ต้องฟังมาก ๆ ให้เข้าใจจริง ๆ ว่า "ทุกข์ตั้งแต่เกิด" เจ็บเป็นทุกข์ พลัดพรากจากสิ่งที่รักเป็นทุกข์ ประจวบกับสิ่งที่ไม่รักก็เป็นทุก์ โลภะเป็นเหตุนำมาซึ่งความทุกข์ ต้องการสิ่งใดแล้วไม่ได้ก็เป็นทุกข์ หวังว่าสิ่งนั้นจะเป็นอย่างนั้น แต่แล้วสิ่งนั้นก็ไม่เป็นอย่างที่หวังไว้ก็เป็นทุกข์ ดีที่สุดคือไม่หวัง เพราะทุกสิ่งที่มีเหตุปัจจัยก็จะต้องเกิดอยู่แล้ว ไม่ว่าจะหวังหรือไม่หวังก็ตาม แม้แต่เพียงหวังก็เป็นทุกข์แล้ว ฉะนั้น ถ้าไม่อยากทุกข์ก็อย่าหวัง เกิดมาเพื่อทำหน้าที่ทุกอย่างให้ดีที่สุด ไม่หวังอะไรตอบแทนเลยจากสิ่งที่ทำไปแล้วนั้น ถ้าเกิดผลดีก็ดี แต่ก็ไม่ได้หวังว่าจะต้องดีถึงขึ้นนั้นขั้นนี้ เมื่อทำดีที่สุดแล้วสบายใจ เพราะไม่ต้องเดือดร้อนว่าทำไม่ค่อยจะดี ฉะนั้น จึงทำทุกอย่างให้ดีที่สุดเพื่อกันความเดือดเนื้อร้อนใจ เมื่อทำดีที่สุดแล้ว อะไรจะเกิดก็เกิด ถ้าดีก็ดี ถ้าไม่ดีก็ช่วยไม่ได้ แล้วก็ไม่ได้ต้องการให้ใครมาชมด้วย เพราะถ้าทำดีแล้วหวังให้ใครชม ก็จะเป็นทุกข์อีกแล้วว่าอุตส่าห์ทำแทบตายไม่เห็นมีใครชมเลย กลายเป็นว่าทำดีเพื่อต้องการให้คนชม ฉะนั้นจะต้องไม่หวั่นไหวกับคำชมหรือคำติ ทำอย่างดีที่สุดแล้วไม่หวังเลยว่าอะไรจะเกิด ไม่ต้องแบกโลกเช่น ผู้ที่มีพี่น้องหลายคน ก็ไม่ต้องมานั่งคิดว่าพ่อแม่รักเราไหม รักเรามากเท่าพี่น้องคนอื่นไหม ถึงพ่อแม่ไม่รักเราแต่เรารักพ่อแม่ เราก็สบายใจ นอกจากพ่อแม่แล้วก็ยังมาถึงเพื่อนฝูงอีก ใครจะรักเราหรือไม่รักเรา ก็เรื่องของเขา เราไม่สนใจ แต่เราเป็นมิตรกับเขาและหวังดีต่อเขาเราก็สบายใจ เราไม่กังวัลถึงความไม่ดีของคนอื่น แต่เรามีหน้าที่ที่จะพัฒนาปรับปรุงเจริญปัญญาของเราเอง แล้วยังช่วยคนอื่นได้ด้วยการกระทำของเรา ด้วยคำพูดของเรา ด้วยความคิดของเรา คือเราไม่เป็นภัยกับใครเลย พอใครโกรธนิดหนึ่ง เรารู้เลยว่าเขาเป็นทุกข์ พอใครไม่ชอบใครนิดหนึ่ง เราก็รู้ว่าเขากำลังมีความทุกข์แน่ ๆ จากความไม่ชอบขณะนั้น ทุกอย่างไม่เที่ยง แล้วเราก็จะอยู่ในโลกนี้อีกไม่นาน เพราะฉะนั้นระหว่างมีชีวิตอยู่ก็ทำสิ่งที่เป็นประโยชน์ทั้งสองฝ่าย ไม่เอาความทุกข์ไปให้ใคร แล้วไม่เอาความทุกข์มาให้ตัวเราด้วย กว่าจะเป็นตัวเราคนนี้ เราสะสมมาแล้วกี่ชาติ แม้แต่การนั่ง การนอน การยืน การเดินของแต่ละคนก็ต้องสะสมมา ซึ่งในชาตินี้ก็สะสมมาตั้งแต่เด็ก

เมื่อกรรมที่จะทำให้ผลในชาตินี้ยังมีอยู่ก็ยังตายไม่ได้ ต่อให้ทำอย่างไรก็ตายไม่ได้ โดยมากนั้นทุกข์ใจเกิดต่อจากทุกข์กาย เวลาป่วยไข้ไม่สบายก็ห่วงกังวล ความเจ็บป่วยนั้นเปรียบเหมือนการถูกแทงด้วยลูกศรดอกที่ ๑ แต่ความทุกข์ใจ ความวิตก ความห่วงกังวลเปรียบเหมือนลูกศรดอกที่ ๒ ที่แทงซ้ำตรงแผลเก่าแผลก็เหวอะหวะมากขึ้น แล้วจะกทุกข์ร้อนเพิ่มขึ้นอีกเท่าไหร่ ทุกข์กายนั้นหนีไม่พ้น เพราะมีกายก็ต้องมีทุกข์ ยุงกัดเจ็บ เมื่อไม่เดือดร้อน ลูกศรดอกที่ ๒ ก็ไม่มี มีแต่ดอกที่ ๑ เมื่อเปรียบความห่วง ความกังวลเป็นลูกศรดอกที่ ๒ ก็จะเห็นชัดว่าไม่น่าจะให้ถูกแทงด้วยลูกศรดอกที่่ ๒ ซ้ำอีก ทุกข๋กายเกิดขึ้นก็รักษาพยาบาล ไม่ต้องไปวิตกกังวลเพิ่มขึ้นอีก ความกังวลไม่มีประโยชน์อะไรเลย เป็นเรื่องยาวที่ไร้สาระซึ่งไม่ทำให้อะไรดีขึ้น เมื่อเจ็บป่วยก็รักษา จะเสียเวลาเป็นป่วงเป็นกังวลให้เป็นทุกข์เดือดร้อนทำไม

เวลาเราสุข ก็รู้ว่าความรู้สึกสุขเป็นอย่างไร เวลาคนอื่นเป็นสุขก็สุขอย่างนั้นแหละ เวลาเราโกรธ ความรู้สึกเป็นอย่างไร คนอื่นโกรธก็รู้สึกอย่างนั้นแหละ ความรัก ความขัง ของทุกคนก็เหมือนกันหมด ถ้าเอาชื่อของทุกคนออกหมดก็มีแต่สภาพธรรมที่เกิดขึ้นแล้วก็ดับไป เป็นธาตุชนิดหนึ่ง ๆ จิตก็เป็นธาตุชนิดหนึ่ง เราเรีนเรื่องธาตุหลายอย่าง ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุลม แต่จิตเป็นธาตุพิเศษซึ่งเป็นธาตุรู้ และเป็นธาตุที่วิจิตรเหลือเกิน ความคิดของคนแตกแขนงไปไม่มีวันจบ เพราะจิตเป็นธาตุที่ช่างรู้ ช่างคิด จึงไม่ใช่ว่าเรารู้จักใจของเราดี จนกว่าจะได้ฟังพระธรรมมากขึ้นและพิจารณาจนจิตของเราเปิดเผยออกมาให้รู้ความจริงแท้จิงจิตใจได้ ไม่ใช่ดูแต่การกระทำอย่างเดียวเท่านั้น ฉะนั้นจึงมีสติอีกขั้นหนึ่ง คือขณะระลึกรู้สภาพจิตใจของตนเอง แต่จะต้องเป็นคนตรงจึงจะรู้ได้ ผู้ที่จะศึกษาธรรมจริง ๆ นั้นต้องเป็นคนตรง ต้องตรงจริง ๆ จึงจะไม่เอนเอียง คือไม่เข้าข้างตัวเอง ธรรมต้องเป็นธรรมตามความเป็นจริง เช่น การให้ทานจริง ๆ นั้นไม่ใช่เพือหวังผลตอบแทน ไม่ใช่ให้เพื่อหวังให้เขารักใคร่ ไม่ใช่ให้เพือหวังว่าวันหลังเขาจะให้ตอบ การให้ทานนั้นต้องเป็นจิตใจที่จะสะอาดปราศจากอกุศล จิตเกิดดับเร็วมาก เดี๋ยวเป็นอกุศล เดี๋ยวเป็นกุศล ไมใช่ว่าจะเป็นกุศลตลอดเวลา หรือไม่ใช่ว่าจะเป็นอกุศลตลอดเวลา "กุศล" เป็นสภาพธรรมที่ดีงาม เป็นเหตุให้เกิดผลที่ดี "อกุศล" เป็นสภาพธรรมที่ไม่ดี เป็นโทษ เป็นเหตุให้เกิดผลไม่ดี เมื่อไม่ฟังพระธรรมก็ไม่รู้ความจริงของสภาพธรรม ความรู้ก็มีหลายขั้น ความรู้ขั้นได้ยินได้ฟังพระธรรม เป็นความรู้ขั้นที่ไม่สามารถดับความเห็นผิดและอกุศลทั้งหลายได้ เป็นเพียงความรู้ขั้นละคลายความไม่รู้จากการที่ไม่เคยได้ยินไดัฟังเท่านั้น

เรื่องความโกรธกับความไม่โกรธนั้น ถ้าสะสมปัญญามาก็จะรู้ว่า "ไม่โกรธดีกว่า" แต่ถ้าไม่ได้สะสมปัญญามาก็คิดว่าต้องโกรธ ต้องโต้ตอบ จะให้คิดเท่่าไรก็คิดไม่ออกว่าไม่โกรธดีกว่าโกรธ ฉะนั้นจึงต้องพิจารณาให้เห็นโทษของอกุศล และเห็นประโยชน์ของกุศล แล้วอบรมเจริญกุศลเพิ่มขึ้น ลองดูคนที่เรารู้จัก บางคนจิตใจดี เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ช่วยเหลือคนนั้นบ้างคนนี้บ้าง ไม่พูดว่าร้ายใครเลย และทำให้คนที่เข้าใจผิดกันเข้าใจกันและสมัครสมานกลมเกลียวกันได้ มีการกระทำที่เป็นกุศลศีล คือการประพฤติสิ่งที่เป็นประโยชน์ทางกาย ทางวาจา แต่บางคนก็ตรงกันข้าม มีแต่เรื่องริษยา เรื่องโกรธ นึกถึงแต่ความไม่ดีต่าง ๆ มีความประพฤติทางกาย ทางวาจา ซึ่งไม่เหมาะไม่ควร ทำห้คนอื่นเดือดร้อน พูดคำที่ไม่นึกถึงคนฟัง ซึ่งถ้าเราเป็นคนฟังก็จะรู้สึกว่าไม่ชอบฟังคำอย่างนี้ แต่เมื่อเป็นคนพูดก็ลืมคิด และไม่รู้ว่าขณะนั้นก็เป็นอกุศล

"ทาน" การให้นั้นเกิดขึ้นเป็นครั้งคราว คนที่ตระหนี่มากก็ยากที่จะให้ได้ จิตที่ให้ทานเป็นกุศลเป็นจิตที่ดีงาม เป็นปัจจัยให้เกิดกุศลวิบากคือผลที่ดี พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ในพระสูตรว่า "ถ้าผู้ใดรู้ผลของทานเหมือนเรารู้แล้วไซร้ ผู้นั้นย่อมไม่บริโภคก่อนที่จะให้ทานเลย" อย่างคนในบ้านเราที่อยู่ด้วยกัน ทุกคนชอบอาหารรสอร่อย ถ้าเรามีอาหารรสอร่อยแล้วเราบริโภคคนเดียว รู้สึกเหมือนกับจะติดคอ เพราะรู้ว่าคนอื่นก็อยากจะลิ้ม อยากจะชิมอาหารอร่อย ๆ ด้วย ฉะนั้น ถ้าแบ่งให้เขาตั้งแต่แรก ก็สุขใจทั้งเราทั้งเขา ไม่ใช่เก็บไว้หลาย ๆ วันจนเกือบจะเสียแล้วจึงเอามาให้เขา เพราะถึงอย่างไรเราก็จะให้ ก็ให้ตั้งแต่ยังมีรสอร่อย ดึกว่าให้เมื่อค้างแล้วหรือเก่าแล้ว ควรคิดถึงความรู้สึกที่กลับกัน คือถ้าเราเป็นผู้รับ เวลาได้รับสิ่งที่ดี ก็รู้สึกเป็นสุขโสมนัสฉันใด คนอื่นก็ฉันนั้น การให้ทานเป็นสิ่งที่ดีงาม เป็นกุศล เพราะขณะที่ให้นั้นจิตใจอ่อนโยน ถ้าคนรับเป็นคนที่เคยไม่ชอบเรา หรือเป็นศัตรูกับเรา เมื่อได้รับสิ่งซึ่งมาจากไมตรีจิตของเรา เขาก็ย่อมจะเกิดความรู้สึกที่อ่อนโยนและมีความเป็นมิตรด้วย แม้เราไม่หวังผลว่าจะให้เขารักเรา แต่ก็รู้ว่าการให้เป็นทางที่จะทำให้ใจคนอ่อนลงและเกิดกุศลได้ เพียงคำพูดเพราะ ๆ ที่เกิดจากกุศลจิตก็ทำให้คนฟังสบายใจ และใจของผู้พูดขณะนั้นก็อ่อนโยนด้วย การเป็นคนอ่อนโยน อ่อนน้อมนั้นทำให้ละคลายความสำคัญตน ความทนงตน หรือความเย่อหยิ่ง ซึ่งไม่ดีเลย และกุศลนั้นก็ไม่ใช่มีแต่ทานอย่างเดียว ทานเป็นกุศลขั้นต้น ถ้เราให้เขา แล้วเบียดเบียนเขาโดยใช้วาจาที่ทำให้เขาเสียใจ เขาก็ไม่อยากจะได้สิ่งที่เราให้ หรืออาจจะช้ำใจเกินกว่าจะรับสิ่งที่เราให้ ถ้าเราให้ด้วยกิริยาที่ไม่สมควร หรือด้วยวาจาที่ทำให้ผู้รับไม่อยากจะรับ ก็เท่ากับว่าให้ไปด้วยความดูหมิ่น ให้ด้วยความไม่เต็มใจ ฉะนั้นแม้การให้แก่คนขอทานถ้าเป็นผู้ที่รู้จักกุศลจิต ก็จะให้ด้วยกิริยาที่ไม่ใช่โยนทิ้งลงไป แต่จะวางลงอย่างดี ยิ้มแย้มแจ่มใส และอาจจะมีคำพูดหรือกิริยาอาการที่ำให้เขาสบายใจ ไม่มีกายวาจาที่แสดงการดูหมิ่นดูแคลนเลยทั้งสิ้น

"ศีล" คือ ความประพฤติทางกาย วาจา มี ๓ อย่าง คือ การงดเว้นทุจริต ๑ การอ่อนน้อมต่อผู้่ที่ควรอ่อนน้อม ๑ การสงเคราะห์ช่วยเหลือผู้อื่น ๑ แต่ว่าทั้ง ๆ ที่มีการให้ทาน มีศีล และสงเคราะห์ช่วยเหลือผู้อื่น แต่จิตใจก็ยังเร้าร้อน เป็นทุกข์ ฉะนั้นจึงมีกุศลอีกขั้นหนึ่ง คือ มีปัญญาเห็นโทษของอกุศลจิต ซึ่งแม้ว่ายังไม่มีการกระทำทุจริตใด ๆ ทางกาย ทางวาจา แต่ใจก็เป็นทุกข์เดือดร้อนเพราะอกุศล จึงต้องสะสมอบรมปัญญาให้เห็นโทษของอกุศลจริง ๆ พระธรรมที่ได้ฟังและพิจารณาแล้วย่อมสะสมอยู่ในจิต ทำให้พิจารณารู้ว่าก่อนจะหลับจิตเป็นกุศลหรืออกุศล ก่อนจะหลับนั้น คิดอะไร ถ้าคิดเรื่องโลภะก็ไม่มีวันจบสักที คิดเรื่องโทสะก็ขุ่นเคืองทั้ง ๆ ที่สิ่งนั้นยังไม่มาถึงก็ขุ่นเคืองเสียก่อนแล้ว แต่ถ้าคิดในสิ่งที่ดีว่าจะทำอะไรบ้างที่เป็นประโยชน์ของผู้อื่น ใจก็สบาย

ความโกรธจะบรรเทาลงได้ด้วยอะไร ก็ด้วยธรรมที่ตรงกันข้ามกับความโกรธ คือ เมตตา ความเป็นเพื่อน ความหวังดี ความเกื้อกูล คำว่า "เมตตา" นั้น ภาษาไทยใช้คำว่า "มิตร" คือ เพื่อน คำว่าเพื่อนนั้นลึกลงไปถึงความไม่หวังร้ายต่อผู้ที่เราเป็นเพื่อนด้วย เมื่อเราเป็นเพื่อนกับใครเราจะไม่แข่งดี หรือไม่แม้คิดที่จะแข่งดีกับเพื่อนผฃ ถ้าคิดแข่งดีกับใครขณะใด ขณะนั้นไม่มีความเป็นเพื่อนกับผู้นั้น เพราะเพื่อนจะต้องสนับนุนส่งเสริมเกื้อกูลกันตลอดไป พิจารณารู้ได้ว่าจิตขณะใดเป็นเพื่อนกับใคร เช่น เวลารับประทานอาหารด้วยกันก็เป็นเพื่อน แต่พอถึงเวลางงานก็ไม่ใช่เพื่อนเสียแล้วก็เป็นได้

ปฏิบัติธรรมในชีวิตประจำวันคืออบรมเจริญกุศล ให้เพิ่มขึ้น แต่ละคนต้องการสุข เกลียดทุกข์ มีโลภะ โทสะ โมหะ เหมือนกัน แต่ว่าใครมีศรัทธาฟังพระธรรม ใครอบรมจิตใจให้สูงขึ้นซึ่งจะเป็นทางพ้นไปจากความทุกข์ที่เกิดจากกิเลส เพราะคนที่มีกิเลสนั้นเป็นทุกข์ ขณะใดเป็นทุกข์ก็รู้ได้ว่าเพราะมีกิเลส ทุกข์มากก็เพราะมีกิเลสมาก ทุกข์น้อยก็เพราะมีกิเลสน้อย จะไม่มีทุกข์เลยก็ต้องดับกิเลสหมด เวลาที่ผู้อื่นทำกุศล เรายินดีกับเขาไหม อนุโมทนาในกุศลจิตของเขาไหม หรือว่าเฉย ๆ ถ้าเราเฉย ๆ ไม่อนุโมทนา เมื่อตายไปแล้วใครทำกุศลก็ยังเฉย ๆ ไม่อนุโมทนาอยู่นั่นแหละ ซึ่งก็เหมือนกับชาตินี้ที่ไม่อนุโมทนา แต่ถ้าชาตินี้เห็นใครทำดีก็ยินดีด้วย อนุโมทนาด้วย เมื่อคนตายไปและรู้ว่าใครทำดีก็อนุโมทนา จิตของผู้ที่อนุโมทนาเป็นกุศลจิต ไม่ใช่ว่าคนอื่นจะเอากุศลไปให้ได้ ผู้ใดอนุโมทนาจิตของผู้นั้นเป็นกุศล เหมืนอกับชาตินี้ ขณะนี้ เพียงแต่ว่าชาติหน้านั้นเป็นภพภูมิที่มองไม่เห็น ซึ่งก็แล้วแต่ว่าจะเกิดที่ภพภูมิไหน ถ้าเกิดเป็นเปรตหรือเทวดา รู้ได้ก็อนุโมทนาได้ แต่ก็ต้องขึ้นอยู่กับว่าจะเกิดกุศลจิตอนุโมทนาหรือไม่


ธรรมรักษา ขอให้เจริญในธรรมทุกท่าน อนุโมทนาครับ...

ที่มา ธรรมะออนไลน์



บันทึกการเข้า

หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป: