คุณค่าสูงสุดสำหรับชีวิต
หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: คุณค่าสูงสุดสำหรับชีวิต  (อ่าน 1197 ครั้ง)
kittanan_2589
.กลุ่มผู้มีน้ำใจงาม.
member
*

คะแนน630
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2363


NightBaron


เว็บไซต์
« เมื่อ: พฤศจิกายน 09, 2011, 02:58:53 pm »

เมื่อสังคมเริ่มเปลี๊ยนไปสาธุชนคนดี เริ่มถอยหลังจากสิ่งที่เคารพสูงสุดคือ
พระรัตนไตร ความมั่นคงไม่ปรากฏในจิตใจ
ของชาวพุทธใช้ชีวิตหรือที่เรียกว่าปล่อยชีวิตไปวัน ๆ หนึ่งคิดแต่จะหาทรัพย์สินเงินทอง                 
หา รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ที่น่าปรารถนา จึงมีคุณค่าแห่งความเป็นคนเหมือนคน                   
ตกนรกทั้งเป็น  ครั้นพอมีใครมาเสนอเงินทองให้ก็จะรีบไป แสวงหาความสุขทันที
มักจะไปสอนไปแนะเยาวชนคนรุ่นหลังว่า อย่าไปบวชเลยอาจารย์บวชแล้วไม่ได้เรื่องหรอก
แต่น่าจะบอกด้วยว่า เมื่อครั้งอาจารย์บวชอยู่ อาจารย์ไม่เคยเชื่อเรื่องบาป บุญ คุณโทษ
ไม่เคยทำกิจวัตรของพระสงฆ์เลย
แถมมักพูดกันบวชแล้วกินแล้วนอนนั่งเล่น เพราะไม่หาความรู้                                                 
เมื่อไม่ได้อะไรเลยก็มาพูดทำให้คนรุ่นหลังหมดศรัทธาในศาสนา
การขาดการนับถือซึ่งไตรสรณคมน์ด้วยการไปนับถือศาสดาอื่นนี้ ก็น่ากลัวมาก
เพราะคนอย่างนั้นแน่นอนว่า เป็นคนไม่มีศาสนาพร้อมที่จะทำลายใครก็ได้                                 
เมื่อตนได้ผลประโยชน์
ส่วนบุคคลผู้ที่ประพฤติด้วยความไม่รู้ ความรู้ผิด ความสงสัย และความไม่เอื้อเฟื้อในพระรัตนตรัย สรณคมน์ไม่ขาดแต่เป็นความเศร้าหมอง
ความไม่รู้ คือ ไม่ศึกษาเล่าเรียนพระพุทธศาสนาคิดเอาเอง ปฏิบัติเอาเอง แล้วนำไปสั่งสอนผู้อื่น
ความรู้ผิด คือ เรียนพระปริยัติธรรมแต่ไม่เชื่อพระไตรปิฎก อรรถกถา ตั้งตัวเป็นศาสดา               
ตีความเอาตามความพอใจ
ความสงสัย คือ สงสัยว่าพระพุทธเจ้า พระธรรมและพระสงฆ์มีจริงหรือเปล่า
ทำบุญได้บุญจริงหรือเปล่า ทำบาปแล้วบาปจริงหรือเปล่า ชาติหน้ามีจริงหรือเปล่า                       
 นรกสวรรค์มีจริงหรือเปล่า เป็นต้น
ความไม่เอื้อเฟื้อ คือ ไม่ประพฤติต่อพระรัตนตรัยด้วยกายกรรม วจีกรรม และมโนกรรม
ที่ประกอบด้วยเมตตาคือความปรารถนาดี เช่นตัดเศียรพระพุทธรูป ทำลายโบสถ์ พระเจดีย์
ขโมยพระพุทธรูปไปขาย ประพฤติการไม่สมควรเช่นไปแสดงความรักทางกามราคะ
ตามบริเวณศาสนสถาน เช่น โบสถ์ และพระเจดีย์ เป็นต้น
ไม่เอื้อเฟื้อต่อพระธรรมคือคัดค้านพระธรรมว่าไม่สามารถจะให้คุณให้โทษได้จริง
ไม่ศึกษาเล่าเรียน ไม่สนใจฟังเมื่อมีการแสดงธรรมตลอดถึงการเหยียบย่ำทำลายหนังสือ
หรือสิ่งอื่นใดที่จารึกพระธรรม
ไม่เอื้อเฟื้อในพระสงฆ์ ด่าว่าพระสงฆ์ ยุยงให้แตกแยกกัน ไม่ทำบุญ
และขัดขวางผู้อื่นไม่ให้ทำบุญ เป็นต้น
พระรัตนตรัย คือ พระพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์ ทั้ง ๓ นี้ แยกจากกันไม่ได้
ต้องมีความสัมพันธ์เกี่ยวเนื่องกันอยู่เสมอ พระอรรถกถาจารย์ท่านอุปมาไว้ ดังนี้
๑. พระพุทธเจ้าเปรียบเหมือนดวงจันทร์ พระธรรมเปรียบเหมือนกลุ่มรัศมีที่มีความสว่างและ         
 เย็นตาเย็นใจของดวงจันทร์ พระสงฆ์เปรียบเหมือนสัตวโลกที่ได้รับความสุขสดชื่นจาก           
 แสงจันทร์นั้น ข้อนี้จะเห็นได้ชัดเจนว่าถ้ามีแต่ดวงจันทร์ไม่มีแสงจันทร์ คงไม่มีใครเห็นดวงจันทร์ว่าอยู่ที่ไหน หรือถ้ามีดวงจันทร์และมีแสงจันทร์ แต่ไม่มีสัตวโลก ก็คงไม่มีใครเห็นดวงจันทร์และได้รับผลประโยชน์จากดวงจันทร์ ดวงจันทร์กับแสงจันทร์จึงมีค่าเท่ากับไม่มีนั่นเอง
๒. พระพุทธเจ้าเปรียบเหมือนดวงอาทิตย์ พระธรรมเปรียบเหมือนแสงสว่างและความร้อนของดวงอาทิตย์ พระสงฆ์เปรียบเหมือนสัตวโลกที่ได้รับแสงสว่างและไออุ่นจากดวงอาทิตย์
๓. พระพุทธเจ้าเปรียบเหมือนก้อนเมฆ พระธรรมเปรียบเหมือนน้ำฝนอันเกิดจากก้อนเมฆ พระสงฆ์เปรียบเหมือนโลกพร้อมทั้งแมกไม้และกอหญ้าที่ได้รับความชุ่มชื้นจากน้ำฝน
๔. พระพุทธเจ้าเปรียบเหมือนสารถีผู้ชาญฉลาด พระธรรมเปรียบเหมือนอุบายวิธีสำหรับฝึกม้า พระสงฆ์เปรียบเหมือนม้าที่ได้รับการฝึกหัดไว้ดีแล้ว
๕. พระพุทธเจ้าเปรียบเหมือนผู้ชี้ทาง พระธรรมเปรียบเหมือนหนทางที่ถูก ที่ตรง และมีความปลอดภัย พระสงฆ์เปรียบเหมือนคนเดินทางผู้ถึงที่หมายแล้ว
๖. พระพุทธเจ้าเปรียบเหมือนผู้ชี้ขุมทรัพย์ พระธรรมเปรียบเหมือนขุมทรัพย์ พระสงฆ์เปรียบเหมือนคนที่ได้รับทรัพย์สมบัติไปใช้อย่างมีความสุข
พระมหาโมคคัลลานเถระ พระอัครสาวกเบื้องซ้าย ได้กล่าวกับมารที่เข้าไปหาพระพุทธเจ้า         
ด้วยประสงค์ร้าย เช่นครั้งเสด็จออกผนวชก็ไปห้ามไว้โดยอ้างว่า จักรรัตนะจะเกิดขึ้นภายใน ๗ วัน ท่านจะได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิอยู่แล้ว จะไปบวชทำไม เมื่อตรัสรู้แล้ว ก็ได้ไปทูลขอให้ เสด็จดับขันธปรินิพพาน แต่พระพุทธองค์ทรงห้ามปรามมารว่า ขอให้บริษัทของเรารู้ปริยัติ  ปฏิบัติ ได้เข้าใจธรรมนำไปใช้เป็นเสียก่อน เราจึงจะนิพพาน ต่อจากนั้นพระยามารก็ติดตาม         รังควานทั้งพระศาสดาและพระสาวกมาตลอดเวลา แม้แต่พระมหาโมคคัลลาเถระก็ถูก                   
รังควานด้วย ครั้งหนึ่ง พระเถระจึงได้กล่าวกับมารว่า
ไฟ ไม่ได้ตั้งใจเลยว่า เราจะเผาไหม้คนโง่ คนโง่ต่างหาก ที่เข้าไปหาไฟอันกำลังลุกโชน             
เขาเข้าไปหาไฟให้เผาไหม้ตัวเขาเอง
ดูก่อนมารผู้ใจบาป ไฉนท่านจึงเข้าไปหาพระตถาคต เหมือนคนโง่เข้าไปหาไฟเล่า
คนโง่เข้าไปหาพระตถาคต แทนที่จะได้บุญกลับได้บาป ซ้ำยังสำคัญผิดว่า ไม่เห็นจะบาปอะไร (น่าสงสารจริง ๆ).
ผู้ที่มีจิตใจศรัทธาเลื่อมใส และเคารพนับถือบูชา เชื่อมั่นพระธรรมคำสั่งสอนขององค์สมเด็จ         พระสัมมาสัมพุทธเจ้า แล้วปฏิบัติตามแม้ด้วยชีวิต ไม่ยอมให้สรณคมน์ขาดไป ย่อมได้รับผล             ที่น่าปรารถนา ดังที่พระพุทธองค์ตรัสไว้ว่า
ชนเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ถึงพระพุทธเจ้าเป็นสรณะ ชนเหล่านั้นละกายมนุษย์ไปแล้ว                     
จักไม่เข้าถึงอบายภูมิ จักทำหมู่เทพให้บริบูรณ์ (ได้ไปเกิดในสวรรค์)
บุคคลใด ถึงพระพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์ เป็นที่พึ่ง แล้วเห็นอริยสัจ ๔ คือ เห็นทุกข์  เหตุให้ทุกข์เกิด ความดับทุกข์ และมรรคมีองค์ ๘ อันประเสริฐ ซึ่งทำให้ถึงความดับทุกข์          ด้วยปัญญาอันชอบ สรณะนั้นของบุคคลนั้น เป็นสรณะที่ปลอดภัย เป็นสรณะอันสูงสุด                   เขาอาศัยสรณะนั้น ย่อมพ้นจากความทุกข์ทั้งปวงได้
จากพระพุทธพจน์ที่ได้ยกมานี้ เป็นการค้ำประกันจากองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าว่า               
ผู้ที่ถึงพระพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์ เป็นสรณะแล้วปลอดภัย
ส่วนจะพ้นจากความทุกข์ทั้งปวงได้นั้น ต้องเห็นอริยสัจ ๔ จะเห็นอริยสัจ ๔ ก็ต้องมีศรัทธา
และพระไตรสรณคมณ์เป็นที่เคารพสูงสุดนี้เอง

โดย  ธีร์ (tvb)


บันทึกการเข้า

หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป: