http://www.youtube-nocookie.com/v/DbAkn8NaLWI?fs=1&hl=en_US&color1=0x234900&color2=0x4e9e00&border=1กระบวนพยุหยาตราชลมารค เป็นกระบวนเสด็จพระราชดำเนินทางน้ำที่เป็นราชประเพณีไทยที่มีมาแต่โบราณ โดยมีหลักฐานชัดเจนตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาเรือในกระบวนมีการสลักโขนเรือ เป็นรูปสัตว์ในเทพนิยาย มีการจัดกระบวนหลายแบบ ที่รู้จักกันดีก็คือ "กระบวนพยุหยาตราเพชรพวง" ดังปรากฏใน ลิลิตพยุหยาตราเพชรพวง ลิลิตพรรณนากระบวนเรือ ประพันธ์โดยเจ้าพระยาพระคลัง(หน) เมื่อ พ.ศ.2430 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก โดยยึดถือตามแบบแผนเดิมแห่งกรุงศรีอยุธยา
ประเภทของการเห่เรือ สามารถจำแนกออกเป็น 2 ประเภทคือ
1.การเห่เรือหลวง (การเห่เรือในงานพระราชพิธี)
2.การเห่เรือเล่น (การเห่เรือเล่นของชาวบ้านในงานต่างๆ)
ในปัจจุบันการเห่เรือ ยังคงอยู่เฉพาะการเห่เรือหลวง ที่ใช้ในกระบวนพยุหยาตราชลมารค
สมัยกรุงรัตนโกสินทร์
ในตอนเสียกรุงครั้งที่๒ พม่าได้เผาทำลายเรือลงจนหมดสิ้น หลังจากนั้นเมื่อสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงกอบกู้เอกราชของไทยคืนมาได้ ก็ทรงสร้างเรือขึ้นใหม่ทั้งชุดแต่ส่วนใหญ่จะเป็นเรือที่ใช้ในการรบพุ่งทั้ง สิ้น เพราะในสมัยนั้นมีแต่การศึกสงคราม
ครั้นมาถึงสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช พระองค์ได้ทรงสร้างเรือขึ้นมาใหม่อีก ๖๗ ลำ ซึ่งมีทั้งเรือพระที่นั่ง เรือกระบวนปิดทอง เรือพิฆาตและเรือแซง ซึ่งเป็นเรือที่สำคัญๆ เป็นที่รู้จักมาจนเท่าทุกวันนี้
Credit :
http://www.baanpud.net/forum/viewtopic.php?f=28&t=917