มารวมข้อมูล แอปเปิล กันเถอะ
LSVคลังสมองออนไลน์ "ปีที่14"
พฤศจิกายน 26, 2024, 03:29:06 am *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: มารวมข้อมูล แอปเปิล กันเถอะ  (อ่าน 4938 ครั้ง)
worathep-LSV team
.กลุ่มผู้มีน้ำใจงาม.
member
*

คะแนน712
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 5066


รุ่งเรืองอิเล็กทรอนิกส์


อีเมล์
« เมื่อ: มกราคม 29, 2007, 01:24:25 pm »

               
         
 
 
 
แอปเปิล
 
   
   


แอบเปิลเป็นไม้ผลเมืองหนาวประเภทผลัดใบ ซึ่งมีแหล่งกำเนิดทางยุโรป แหล่งปลูกที่สำคัญ ๆ ของโลกคือทวีปอเมริกา ยุโรปทางแถบเอเซียก็มี เช่น โซเวียต จีน ญี่ปุ่นรวมทั้งออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ด้วย สำหรับประเทศไทยนั้นเพิ่งจะถูกนำเข้ามาปลูกไม่กี่ปีนี้เอง ลักษณะต้นและใบ เป็นไม้เนื้อแข็ง รูปร่างของยอดที่เจริญเต็มวัยจะแตกต่างไปตามชนิดและตามพันธุ์ โดยทั่วไปต้นแอปเปิลมีรูปร่างเกือบเป็นทรงกลม แต่บางพันธุ์ก็มีลักษณะสูงชลูด บางพันธุ์ก็มีลักษณะเป็นพุ่มแจ้ ใบเป็นใบเดี่ยวเขียวสลับกันและขอบเป็นหยัก ผลคล้ายชมพู่มีรอยเป็นปุ๋มทางด้านขั้นและก้นผล แต่ไม่ลึกนักมีสีผิวต่างกันตั้งแต่สีเหลืองคล่ำจนถึงน้ำตาลแดงเข้ม เนื้อมักจะมีสีขาวหรือขาวนวลซึ่งมีลักษณะหยาบ แอปเปิลเป็นพืชในสกุล Rosaceae มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Malus domestica 
 
 
 
สภาพดินฟ้าอากาศ
แอปเปิลเป็นไม้ผลเมืองหนาวที่ต้องการอากาศหนาวเย็นอันยาวนานโดยจะทำให้ระยะพักตัวยุติลง โดยอุณหภูมิที่เหมาะสมคือ 60-85 องศาฟาเรนไฮต์ ถ้าอุณหภูมิต่ำกว่า 20 องศาฟาเรนไฮต์ จะเป็นอันตรายต่อระบบรากอย่างรุนแรง สำหรับดินที่เหมาะสมกับการปลูกแอปเปิลควรเป็นดินร่วนปนทรายมีความเป็นกรด-ด่างประมาณ 5.0-6.8 แต่แอปเปิลไม่ชอบดินที่มีน้ำขังบริเวณราก
 
 
 
 
พันธุ์แอปเปิล
พันธุ์แอปเปิลมีประมาณ 2,000 พันธุ์ แต่ที่ดีและนิยมปลูกมีเพียง 4 พันธุ์ คือ
1. พันธุ์แอนนา เป็นพันธุ์ที่ผสมขึ้นมาในประเทศอิสราเอลเมื่อผลแก่จัดจะมีสีเหลืองสดขนาดใหญ่ปานกลาง รูปผลค่อนข้างยาว
2. พันธุ์ เอน เชเมอ ผลค่อนข้างกลมขนาดเล็กว่า แอนนา เล็กน้อย สีเหนืองจัด ทั้ง 2 พันธุ์นี้ปลูกที่ดอยอ่างขางเริ่มจะให้ผลแล้ว
3. พันธุ์ โรม บิวตี้ เป็นพันธุ์ที่ปล่อยละอองเรณูหลังจากที่ออกช่อดอกเร็วที่จะสามารถรับเชื้อได้ ดังนั้น พันธุ์นี้จึงไม่มีประโยชน์ที่จะใช้เป็นตัวถ่ายละอองเรณูแก่พันธุ์อื่น ๆ ได้
4. พันธุ์ แกลนด์ อเลกเซนเตอร์
 
 
 
 
การขยายพันธุ์
การขยายพันธุ์แอปเปิลทำได้หลายวิธี เช่นการติดตา ตัดกิ่ง วิธีการทำก็เริ่มจากเตรียมต้นตอ ซึ่งอาจจะได้มาจากการตอนหรือปักชำ แต่มีวิธีการเตรียมต้นตอซึ่งจะได้จำนวนมากและระยะเวลารวดเร็วก็คือ ทำโดยปลูกแอปเปิลลงไปก่อน แล้วตัดต้นแอปเปิลให้เหลือแต่ตอ ตอจะแตกกิ่งก้านสาขาออกมามากมาย เราจึงใช้ดินกลบโคนต้น กิ่งเหล่านั้นก็จะแตกรากออกมา เมื่อรากออกดีแล้วก็ทำการขุดย้ายเอาไปปลูกต่อไป ต้นตอที่ใช้ในประเทศไทยคือพันธุ์ เอ็ม เอ็ม 106 ซึ่งเป็นพันธุ์ที่ค่อนข้างแคระและสามารถขยายพันธุ์ได้ง่ายและรวดเร็ว นอกจากนี้ก็ยังมีไม้ป่าที่ใช้เป็นต้นตอได้ดี เช่น มะขี้หนู กล้วยฤาษี ก่อ เป็นต้น
 
 
 
 
การปลูกและการปฏิบัติดูแลรักษา
การปลูกแอปเปิลมีระบบการปลูกเป็น 2 แบบ คือ
1. ระบบสี่เหลี่ยมผืนผ้า
2. ระบบแนวระดับ
              ในระบบสี่เหลี่ยมผืนผ้าจะปลูกต้นไม้เป็นมุมฉากต่อกันอยู่แต่ละมุมของสี่เหลี่ยมผืนผ้า เหมาะสำหรับปลูกไม้แซมทำให้พรวนดินได้ 2 ทาง สะดวกในการดูแลรักษา และต้นแอปเปิลจะได้รับแสงแดดมากที่สุด
ส่วนระบบแนวระดับจะปลูกตามแนวระดับทางเดียวและมักจะคดเคี้ยวไปตามระยะทางห่างกันอีกด้านเป็นระยะจำกัด ระบบนี้ช่วยลดการสึกกร่อนของดินเหมาะกับพื้นที่ที่เป็นเนินเขาหรือที่ลาดชัน
 
 
 
 
การให้ปุ๋ย
จะให้ประมาณ 2 ครั้งต่อปี โดยในช่วงเริ่มออกดอกจะให้สูตร 13-13-21 และในช่วงหลังเก็บเกี่ยวและตัดแต่งจะให้สูตร 15-15-15 ส่วนอัตราที่ใช้ก็แล้วแต่ขนาดและอายุของการเจริญเติบโต วิธีการให้ปุ๋ยก็ทำโดยพรวนดินบริเวณรอบทรงพุ่มแล้วโรยปุ๋ยลงบนบริเวณที่พรวน จากนั้นก็ให้น้ำตามลงไป
สำหรับวิธีการต่าง ๆ ที่จะช่วยให้แอปเปิลมีดอกและผลก็มีการศึกษาทดลองกันมากมาย เช่น ในประเทศอินโดนีเซียใช้การโน้มกิ่งและปลิดใบ เพื่อบังคับให้ตาแตก จากวิธีนี้จะทำให้แอปเปิลออกผลได้ 2 ครั้งต่อปี
 
 
 
 
การตัดแต่งกิ่ง
การตัดแต่งกิ่งจะนิยมทำกันในช่วงที่ต้นแอปเปิลพักตัวคือในฤดูหนาว ซึ่งในช่วงนี้เป็นช่วงที่แอปเปิลทิ้งใบจะสะดวกในการตัดแต่งกิ่งมาก
 
 
 
 
การปลิดผล
เมื่อแอปเปิลติดผลมากเกินไปก็จะทำให้ได้ขนาดผลที่เล็กและอาจเป็นอันตรายแก่ต้นได้ เพราะใช้อาหารจากต้นมาก ดังนั้น จึงต้องมีการปลิดผลออกบ้าง โดยคำนึงถึงความแข็งแรงของต้น กิ่งและใบ โดยปกติแล้วใบที่จะปรุงอาหารมาเลี้ยงผลไม่ควรต่ำกว่า 40 ใบต่อ 1 ผล
 
 
 
 
การห่อผล
แอปเปิลที่ปลูกอยู่เราใช้กระดาษห่อผลตั้งแต่เมื่อผลยังมีขนาดเล็กอยู่ทั้งนี้ก็เพื่อป้องกันแมลงที่อาจจะมาเจาะผลทำลายและการห่อผลยังช่วยให้สีผลแอปเปิลสวยสดกว่าด้วย
 
 
 
 
การปลูกพืชคลุมดิน
ในการทำสวนแอปเปิลมีความจำเป็นต้องทำในที่ที่มีอากาศเย็นหรือสภาพภูเขาสูง สิ่งที่จำเป็นคือพืชคลุมดิน โดยจะช่วยลดการชะล้างหน้าดินและยังช่วยเก็บความชุ่มชื่นของดินให้อยู่ได้นานทำให้ดินมีความอุดมสมบูรณ์เพิ่มขึ้นด้วย พืชที่ใช้ได้ดีบนดอยอ่างขางคือ เดสโมเดียมเป็นพืชตระกูลถั่วสามารถเจริญเติบโตได้ดี
 
 
 
 
โรคและแมลง
การปลูกแอปเปิลในเมืองไทยขณะนี้มีศัตรูที่สำคัญ คือ นก ซึ่งจะจิกผลแอปเปิลให้เกิดตำหนิเสียหาย ส่วนศัตรูอื่น ๆ เช่นโรคและแมลงก็มีบ้างแต่ยังไม่ทำความเสียหายมากนัก
 
 
 
 
การเก็บเกี่ยว
แอปเปิลที่ปลูกในประเทศไทยคือที่ดอยอ่างขาง จะเริ่มออกดอกประมาณเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ และจะเริ่มเก็บผลได้ประมาณต้นเดือนมิถุนายน การเก็บต้องระมัดระวังให้มีการกระทบกระเทือนน้อยที่สุด เพื่อป้องกันการชอกช้ำเสียหายอันจะทำให้ราคาต่ำได้ หลังจากเก็บแล้วก็นำบรรจุหีบเพื่อส่งตลาดต่อไป
 
 
 
 
ประโยชน์
แอปเปิลเป็นไม้ผลที่นิยมรับประทานผลสด ราคาจำหน่ายก็สูงประมาณ 12-15 บาท นอกจากนี้ยังสามารถเอาไปทำ ไซเดอร์ และบางพันธุ์ยังนำไปทำอาหารคาวหวานได้หลายชนิดเช่น ไพน์ แยม เป็นต้น
 
 
 
 
การเตรียมดิน ก็เหมือนกับการปลูกไม้ผลทั่วไป โดยขุดหลุมขนาด 1x1x1 เมตร กองดินดินบนไว้กองหนึ่ง และดินชั้นล่างไว้อีกกองหนึ่ง นำปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอกเก่า ๆ เทใส่ลงไปขนาดพอ ๆ กับกองดินบน ผสมคลุกเคล้าให้เข้ากันจากนั้นจึงค่อยเอาดินล่างกลบลงไปให้มีระยะสูงกว่าปากหลุมเล็กน้อย นำต้นตกลงปลูกได้แล้วกลบดินบริเวณโคนต้นให้แน่นพอควร 
 
 
 
ฤดูกาลที่ปลูก ควรทำในขณะที่อยู่ในช่วงพักตัว คือช่วงฤดูหนาว ซึ่งในช่วงนี้ต้นพืชจะได้รับการกระทบกระเทือนจากการขุดย้ายน้อยที่สุด 
 
 
 
   
   
 
 
 
 
 


บันทึกการเข้า

รับซ่อม TV-computer                    มี TV มือสองขาย  
รับสอนซ่อม-ประกอบคอมพิวเตอร์      มีจอมอนิเตอร์มือสองขาย
ซ่อม อัพเกรด ประกอบคอมฯ             มีคอมพิวเตอร์มือสองขาย
รับติดตั้ง วางระบบแลน อินเตอร์เน็ต
ราคาคุยกันได้ โทร 02-6934724

หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1 RC2 | SMF © 2001-2006, Lewis Media

lsv2555Please follow the new website at https://www.pohchae.com

Valid CSS!