การแก้อารมณ์หดหู่ หรือโมหะจริตกับวิตกจริต
หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: การแก้อารมณ์หดหู่ หรือโมหะจริตกับวิตกจริต  (อ่าน 1603 ครั้ง)
kittanan_2589
.กลุ่มผู้มีน้ำใจงาม.
member
*

คะแนน630
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2363


NightBaron


เว็บไซต์
« เมื่อ: มกราคม 20, 2011, 05:58:47 am »



เมื่อวันอาทิตย์ที่ 30 พฤษภาคม 2536 สมเด็จองค์ปฐมทรงมีพระเมตตาตรัสสอนไว้ มีความสำคัญดังนี้


1. “เจ้าจงหมั่นดึงอารมณ์ให้ช้าลงด้วยอานาปานสติ ควบคู่กับจับภาพพระในอก”

2. “ที่ยังหุนหันพลันแล่น เพราะอารมณ์จิตมันร้อน ใจเร็วเกินไปหน่อย ขาดความยับยั้งชั่งใจ ไม่มีอารมณ์ใคร่ครวญกามฉันทะ ปฏิฆะกระทบทีไร อารมณ์จึงเตลิดไปก่อนทุกที”

3. “นิสัมมะ กะระณัง เสยโย ยังอ่อนเกินไป สติไม่ไว รู้ไม่เท่าทันความคิด ต้องพยายามรู้ลมจับภาพพระ โจทย์จิตตนเองไว้เสมอ ๆ”

4. “เพ่งโทษความรักและความโกรธเข้าไว้เนือง ๆ แต่รู้ด้วยอารมณ์เบา ๆ สบาย ๆ”

5. “ให้พิจารณาขันธ์ 5 ของตนและบุคคลอื่นว่าในที่สุดก็ต้องตาย ขันธ์ 5 มีแต่ความเสื่อม สกปรกหมด ถ้าหากไม่ชำระจิตให้สะอาดดีแล้ว ก็ต้องจุติสู่ภพสู่ชาติกันอีกต่อไป จักมานั่งรัก นั่งโกรธขันธ์ 5 ของตนและบุคคลอื่น เพื่อประโยชน์อันใด เพราะขึ้นชื่อว่าขันธ์ 5 มันไม่เที่ยง เป็นเพียงธาตุ 4 อาการ 32 เข้ามาประชุมกันชั่วครั้งชั่วคราว ขันธ์ 5 ทุกรูปทุกนามเต็มไปด้วยความทุกข์ เต็มไปด้วยโทษ ยิ่งมัวเมาอยู่ในอารมณ์ราคะ ปฏิฆะมากเท่าไหร่ ก็ยิ่งต้องกลับมาเกิดพบกับขันธ์ 5 ที่เต็มไปด้วยโทษและทุกข์เช่นนี้อีก”

6. “การมีขันธ์ 5 กรรมที่ล่วงปัญจเวรทั้ง 5 (ละเมิดศีล 5) มาแต่อดีตชาติ ก็เข้ามาเล่นงานได้ตามวาระ ไม่มีใครอยากได้ขันธ์ 5 ที่เจ็บไข้ได้ป่วย เพราะกฎของกรรมเยี่ยงนั้น แต่สภาพจริง ๆ ของขันธ์ 5 ก็เป็นเยี่ยงนี้อยู่ตามปกติ เกิดเป็นทุกข์ เจ็บเป็นทุกข์ แก่เป็นทุกข์ ตายเป็นทุกข์ มีชีวิตอยู่ก็พลัดพรากจากของรักของชอบใจ มีการกระทบกระทั่งของอารมณ์เป็นต้นเหตุ”

7. “รวมความว่า ใน เมื่อเจ้าเบื่อไม่อยากมีขันธ์ 5 เจ้าก็สมควรเบื่ออารมณ์ราคะกับปฏิฆะ ที่ทำให้ต้องกลับมามีขันธ์ 5 ด้วย มองดูทุกข์ มองดูโทษของอารมณ์ทั้ง 2 นี้ด้วยตาปัญญาเถิด”

8. “กำหนดอานาปานัสสติให้จิตมีกำลัง มีสติทรงตัว แล้วกำหนดพิจารณารู้ทุกข์นั้นช้า ๆ”

9. “จงหมั่นกระทำประดุจเดียวกับการพิจารณาขันธ์ 5 คือ หมั่นแยกแยะอารมณ์ให้ละเอียดลงไปตามลำดับ หามูลเหตุให้ได้ว่า อะไรเป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดอารมณ์นั้น ๆ”

10. “อย่าคิดว่าง่าย รู้แล้วเป็นอันขาด เพราะกิเลส ตัณหา อุปาทาน อกุศลกรรม มันครอบงำบดบังจิตได้ง่าย ๆ นิวรณ์เข้ามาแทรกเมื่อไหร่ ปัญญาก็จักเห็นต้นเหตุที่เกิดอารมณ์นั้นมันก็หมดไป มองไม่เห็น และมักจักเกิดอารมณ์โง่ คือเข้าข้างตนเอง ปล่อยให้จิตตกเป็นทาสของอารมณ์ที่ถูกกิเลสนั้น ๆ เข้าครอบงำ ตัวอย่างที่เจ้าตกอยู่ในสภาพหดหู่ เศร้าหมอง คิดถึงท่านฤาษี ทั้ง ๆที่รู้ว่าไม่ดี แต่จิตก็ไม่มีปัญญาที่จักแก้ไขอารมณ์หลงนี้ให้หลุดปากจิตได้ แต่ถ้าทำตามขั้นตอนนี้ที่ตถาคตได้กล่าวมาแล้วนั้น ใช้ อานาปานัสสติคุมจิตให้มีสติแล้วมีกำลังดึงอารมณ์จิตให้ช้า พิจารณากำหนดรู้ทุกข์ รู้โทษของอารมณ์ หมั่นแยกแยะอารมณ์ให้ละเอียดลงไปตามลำดับ ในที่สุดเจ้าก็จักจากอารมณ์หดหู่เศร้าหมองนั้นได้ อารมณ์ใดเกิดก็ให้พิจารณาอารมณ์นั้น ด้วยจิตที่มีสติมีกำลัง ในที่สุดก็จักละอารมณ์เหล่านั้นลงได้ตามลำดับ”

11. “กำหนดรู้ให้มาก แต่อย่าทำอารมณ์จิตให้เครียด จงหมั่นอาศัยอานาปานัสสติ ยังจิตให้เข้าถึงฌาน อารมณ์จักเบา”

12. “สำหรับการพิจารณา ก็พยายามรักษาอารมณ์ให้อยู่ในขั้นปฐมฌานเข้าไว้ จิตจักมีกำลังระงับนิวรณ์ 5 และจักทำวิปัสสนาญาณไปด้วยดี” “ให้ใคร่ครวญคำสอนเรื่องอารมณ์นี้ให้มากๆ”



ในวันต่อมา พระองค์ก็ทรงพระเมตตามาตรัสสอนต่อ มีความสำคัญดังนี้


1. “พยายามตัดกรรมเข้าไว้ ใครจักทำอะไรก็ช่างเขา เจ้าอย่าเอาอารมณ์จิตไปผูกกรรมนั้นเข้าไว้ก็แล้วกัน” (สาเหตุก็เพราะเพื่อนของผมถูกกระทบจากพวกที่ไม่ปรารถนาดี จิตก็ยังหวั่นไหวอยู่มาก)

2. “มันเป็นของธรรมดา เพราะเจ้ายังไม่ใช่พระอรหันต์ เมื่อใดที่อารมณ์จิตมันไหว จักเป็นโมหะ วิตก หรือราคะ ปฎิฆะก็ตาม งมองเห็นโทษของการไหวไปในอารมณ์นั้น เพราะเวลานิ้จิตของเจ้าก็ถูกความทุกข์เข้าครอบงำ”

3. “อย่างการร่วมเพศเสพกาม เจ้าก็ได้เห็นแล้วว่า ร่างกายมีทุกข์ เพราะความเจ็บปวดเข้ามาเบียดเบียน แต่กามสัญญาเป็นธรรมารมณ์ที่เข้ามาเบียดเบียนจิต ให้เกิดความทุกข์เข้าครอบงำ”

4. “การกระทบกระทั่งทางกายเป็นความทุกข์ของร่างกาย การกระทบกระทั่งของจิตก็เป็นความทุกข์ของจิต มีความเจ็บปวดพอกัน เพราะเวทนาของกายไม่เที่ยง เวทนาของจิตก็ไม่เที่ยงเช่นกัน แต่ อารมณ์หลงยึดเวทนาทั้งทางกายและเวทนาของจิต มันไม่ยอมละ ไม่ยอมปล่อยวางเวทนานั้น จึงเป็นเหตุให้เวทนานั้น หวนกลับมาทำร้ายจิตได้เสมอ ๆ”

5. “จิตเกาะกรรมไม่ยอมปล่อย จึงตกเป็นทาสของอารมณ์โมหะ โทสะ ราคะอยู่เสมอ ๆ เจ้าเห็นทุกข์ เห็นโทษของอารมณ์ของตนที่เบียดเบียนตนเองอยู่หรือไม่” (ก็ยอมรับว่าเห็น)

6. “อย่าโทษบุคคลอื่นที่ทำเหตุมากระทบ กระทั่งร่างกายและอารมณ์จิตของเรา วินาทีนั้นผ่านไป ทุกอย่างก็อนัตตาแล้ว อย่ายึดถือเอามาเป็นธรรมารมณ์ทำร้ายจิตของตนให้บาดเจ็บต่อไปอีกเลย เคารพกฎของกรรมให้มาก ๆ”

7. “เอาคาถาว่ากันคุณไสยไว้บทหนึ่ง เป็นการเตือนจิตของตนไว้ อย่าไปยึดการกระทบกระทั่งทางร่างกายและจิตเอาไว้ด้วยคาถานั้น คือ “พุทโธ ธัมโม สังโฆ อัปปมาโณ ปัด-ตัด ทุกขัง อนิจจัง อนัตตา” แล้วระลึกถึงความอนัตตาเข้าไว้ เจ้าก็จักปลอดภัยจากคุณไสย และเตือนจิตให้ปลอดจากการกระทบกระทั่งทางร่างกายและจิตใจ” “ขอให้ใคร่ครวญให้ดี ๆ”


เมื่อพระองค์ทรงให้ใคร่ครวญให้ดีๆ จึงยกคาถาป้องกันคุณไสย ขึ้นมาเป็นธัมมวิจัย ดังนี้

พุทโธ ธัมโม สังโฆ อัปปมาโณ คุณของ พระพุทธ พระธรรม พระอริยสงฆ์ นั้นหาประมาณมิได้ ข้อนี้ทุกคนทราบดีอยู่แล้ว แต่ขออนุญาตเพิ่มเติม ดังนี้


1. ในโลกทั้ง 3 คือ มนุษย์โลก เทวโลกและพรหมโลก ไม่มีอะไรเหนือกว่าคุณธรรมข้อนี้ จึงสามารถปัดและตัดอำนาจอันมิชอบ หรือเป็นมิจฉาทิฏฐิของเหล่ามนุษย์ อมนุษย์ เทวดา ที่เป็นมิจฉาทิฏฐิ พรหมที่เป็นมิจฉาทิฏฐิได้โดยสิ้นเชิง

2. คุณธรรมทั้งสามนี้เที่ยงแล้ว หมายความว่าเป็นความดีที่ทรงตัว ไม่มีการเปลี่ยนแปลง จึงใช้เป็นเครื่องยึดถือได้ ไม่เป็นโทษ เป็นทุกข์และเป็นภัยกับผู้ยึด

3. คุณธรรมทั้งสามนี้อยู่เหนือกฎของไตรลักษณ์แล้ว คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ส่วนโลกทั้งสามนั้น ยังตกอยู่ภายใต้กฎของไตรลักษณ์

4. กฎของไตรลักษณ์คุมได้แค่ 3 โลกนี้ แต่คุมไปไม่ถึงแดนพระนิพพาน ซึ่งจิตของบุคคลผู้มีคุณธรรมของ พระพุทธ พระธรรมและพระอริยสงฆ์สมบูรณ์แล้วเท่านั้น จึงจะเข้าสู่แดนพระนิพพานได้อย่างถาวร

5. พระพุทธเจ้าและพระอรหันต์เท่านั้นที่ท่านไม่ยึด ไม่เกาะ ไม่ติดทุกสิ่งทุกอย่างในโลกทั้งสามแล้วอย่างเด็ดขาด ท่านเห็นโลกทั้งภายนอกและภายใน เป็นแค่สภาวะของธรรมหรือกรรม ซึ่งเกิดขึ้น ตั้งอยู่ แล้วก็ดับไปอยู่เช่นนั้นเป็นธรรมดา (เห็นไตรลักษณ์ขั้นละเอียดสูงสุด) ไม่มีอะไรทรงตัวหรือเที่ยงเลย ท่านจึงวางสมมุติธรรมเพื่อเข้าสู่วิมุตติธรรมได้

6. พระพุทธเจ้าและพระอรหันต์เท่านั้นที่มีอารมณ์เดียว คือสังขารุเบกขาญาณทรงตัวเป็นอัตโนมัติ ในทางโลกเรียกว่าอามรมณ์ช่างมัน อารมณ์สักแต่ว่า อุเบกขารมณ์ อารมณ์อากิญจัญญายตนะฌาน (โลกทั้งโลกที่สุดแล้วไม่มีอะไรเหลือ พังหมด อนัตตาหมด ใช้ยึดถืออะไรไม่ได้) บางท่านก็เรียกว่าอามรมณ์อนัตตา อารมณ์เหล่านี้ล้วนเป็นอารมณ์ดับความเกิด ซึ่งในทางปฏิบัติเริ่มมีตั้งแต่พระโสดาบัน แต่ยังหยาบและยังไม่ทรงตัว แล้วเริญขึ้นตามลำดับ จนถึงละเอียดสุด และทรงตัว จึงจะเกิดอารมณ์สังขารุเบกขาญาณที่สมบูรณ์ ละถาวร เป็นอัตโนมัติตอนที่เป็นพระอรหันต์

7. จากเหตุผลที่กล่าวมาแล้วนั้น คุณไสยทุกชนิดจึงไม่สามารถทำร้ายจิตท่านได้

8. สำหรับพวกเราที่ยังเป็นเสขะบุคคล ยังเป็นบุคคลที่ยังมีกิจที่จะต้องตัด ละ วางกิเลส ตัณหา อุปาทานและอกุศลกรรมอยู่จึงต้องใช้คาถาที่พระองค์ทรงเมตตามอบไว้ให้ป้องกัน ตัว(จิต) เมื่อว่าคาถาแล้ว ให้วางอารมณ์อยู่ในอารมณ์อนัตตาตามข้อที่ 6เป็น การชั่วคราว เพื่อให้จิตว่าง หรือพ้นจากอำนาของมารหรือกิเลสทั้งมวลได้ชั่วคราวเช่นกัน หากเราเป็นผู้ไม่ประมาทในธรรม หรือในความตาย หมั่นว่าคาถาป้องกันคุณไสยไว้ ก็เท่ากับเราซ้อมจิตของเราให้ทรงอยู่ในอารมณ์อนัตตา ในที่สุดจิตเราก็จะทรงตัว กลายเป็นฌานสมาบัติได้ เมื่อนั้นแหละอารมณ์สังขารุเบกขาญาณที่สมบูรณ์กะเกิดขึ้นกับเราได้โยมิต้อง สงสัย

9. พระองค์ทรงตรัสไว้ว่า “วันหนึ่ง ๆ ไม่มีใครมาทำร้ายเราได้มากเท่ากับอารมณ์จิตของเรา ทำร้ายจิตของเราเอง” พระธรรมประโยคนี้สามารถนำมาอธิบายผลของคาถาบทนี้ได้อย่างดีที่สุด เพราะหากใจของเราไม่ยึด ไม่ติด ไม่เกาะทุกสิ่งในโลก โยเฉพาะขันธโลก หรือร่างกาย หรือขันธ์ 5 และทุกอย่างที่เกี่ยวเนื่องด้วยร่างกายแล้ว ทุกอย่างก็เป็นอนัตตาหมด เพียงแค่ขณะจิตเดียวก็ผ่านไปก็เป็นอนัตตาแล้ว หรือเป็นอดีตธรรมแล้ว


ผม ก็เพียงแต่แค่คิดพิจารณาไปตามพระธรรมคำสั่งสอนของพระองค์เท่านั้น ของจริงยังไม่มีในตัวผม ผมจึงพูดง่าย เขียนและอธิบายได้ง่าย ๆ แต่พอนำไปปฏิบัติจริง ๆ ปรากฏว่า มันง่ายนิดเดียว






ที่มาของข้อมูล


หนังสือ ธรรมที่นำไปสู่ความพ้นทุกข์ (เล่ม 4)
โดยพระราชพรหมยานมหาเถระ (หลวงพ่อฤาษีลิงดำ วัดท่าซุง)
รวบรวมโดย : พล.ต.ท. นพ.สมศักดิ์ สืบสงวน


บันทึกการเข้า

หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป: