เล่าเรื่องภาพมงคล ๑๐๘ ประการในรอยพระพุทธบาทจำลอง
หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: เล่าเรื่องภาพมงคล ๑๐๘ ประการในรอยพระพุทธบาทจำลอง  (อ่าน 2333 ครั้ง)
kittanan_2589
.กลุ่มผู้มีน้ำใจงาม.
member
*

คะแนน630
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2363


NightBaron


เว็บไซต์
« เมื่อ: มกราคม 14, 2011, 05:36:13 am »





ภาพมงคล ๑๐๘ ที่ปรากฎอยู่บนรอยพระพุทธบาทจำลองนั้น เป็นภาพอะไรบ้างมีความหมายอย่างไร ดูเหมือนจะมีคนอธิบายไว้น้อยมาก ผมได้หาข้อมูลทั้งจากเว็บไซท์ และหนังสือ นั้นก็เห็นว่ามีใจความหลักๆ คล้ายๆกัน เพียงแต่การเรียงลำดับอาจคลาดเคลื่อนกันไปบ้าง ตามแต่ว่าจะนำภาพ รอยพระพุทธบาทของวัดใดมาเป็นต้นแบบ ซึ่งสำหรับผมคงไม่สำคัญในการจัดวางขนาดนั้น เพราะหากเราไปพบรอยพระพุทธบาทที่จัดวางต่างไป ก็อาจทำให้สับสนกันเปล่าๆ ผมจึงขอคัดลอกมาเฉพาะเนื้อหาที่ว่ามีภาพมงคลใดบ้าง ในรอยพระพุทะบาทจำลอง
ภาพสวรรค์และรูปพรหม มีประมาณ ๒๔ ภาพ (สวรรค์ ๖ ชั้น รูปพรหม ๑๖ ชั้น)
๑. รูปพรหมชั้นสูงสุด คือ อกนิฏฐาพรหม ชั้นที่ ๑๖
๒. รูปพรหมชั้นที่ ๑๕ คือ สุทัสสีพรหม
๓. รูปพรหมชั้น ๑๔ คือ สุทัสสาพรหม
๔. รูปพรหมชั้น ๑๓ คือ อตัปปาพรหม
๕. รูปพรหมชั้น ๑๒ คือ อวิหาพรหม
๖. รูปพรหมชั้น ๑๑ คือ เวหัปผลาพรหม
๗. รูปพรหมชั้น ๑๐ คือ อสัญญีสัตตพรหม (หรือ พรหมลูกฟัก)
๘. รูปพรหมชั้น ๙ คือ สุภกิณหาพรหม
๙. รูปพรหมชั้น ๘ คือ อัปปมาณสุภาพรหม
๑๐. รูปพรหมชั้น ๗ คือ ปริตตสุภาพรหม
๑๑. รูปพรหมชั้น ๖ คือ อาภัสสราพรหม
๑๒. รูปพรหมชั้น ๕ คือ อัปปมาณาภาพรหม
๑๓. รูปพรหมชั้น ๔ คือ ปริตตาภาพรหม
๑๔. รูปพรหมชั้น ๓ คือ มหาพรหมาพรหม
๑๕. รูปพรหมชั้น ๒ คือ พรหมปุโรหิตาพรหม
๑๖. รูปพรหมชั้น ๑ คือ พรหมปาริสัชชาพรหม
๑๗. เป็นชั้นเทวโลกแดนกามาวจรภูมิ เป็นแดนของเทพเทวดาสวรรค์ชั้นที่ ๖ เป็นสวรรค์ชั้นสูงสุด คือ ปรนิมมิตวสวัตตี
๑๘. สวรรค์ชั้นที่ ๕ คือ สวรรค์ชั้นนิมมานรดี
๑๙. สวรรค์ชั้นที่ ๔ คือ สวรรค์ชั้นดุสิตตา
๒๐. สวรรค์ชั้นที่ ๓ คือ สวรรค์ชั้นยามา
๒๑. สวรรค์ชั้นที่ ๒ คือ สวรรค์ชั้นดาวดึงสา
๒๒.สวรรค์ชั้นที่ ๑ คือ สวรรค์ชั้นจาตุมหาราชิกา
๒๓.สัญลักษณ์ของสวรรค์ดาวดึงส์นั้นตั้งอยู่บนยอดประธาน
๒๔.มีสวรรค์ชั้นจาตุมหาราชิกาอยู่บนยอดรองทั้ง ๔ ยอด ของเขาพระสุเมรุ อันเป็นแกนของจักรวาล
ภาพมงคลอื่นๆ
๑. ภาพพระแสงหอก (สันติ) เปรียบเสมือนพระอรหัตมรรคญาณและพระอรหัตผลญาณที่สามารถกำจัดหมู่มาร คือ กิเลสทั้งปวงได้ เรียกว่า ธรรมรัตนะหรือรัตนมงคล
๒. แว่นส่องพระพักตร์ (สิริวัจโฉ) มีความหมายว่า รัตนอุสภราช ซึ่งเป็นสิริมงคลทำให้เจริญได้โดยลำดับ เกิดขึ้นที่ฝ่าพระบาททั้งสอง ของพระพุทธเจ้า
๓. ดอกพุดช้อน (นันทิยาวัตตัง) ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเปรียบเสมือนพญาราชสีห์ บันลือสีหนาทยิ่งใหญ่ สีหราชนั้นทำพุทธสิริมงคลให้เจริญ
๔. สายสร้อย (โสวัตถิกัง) ท่าน อธิบายว่า เป็นรัตนะชื่อว่า รัตนโสตถิมงคล กล่าวคือ ผ้ารัตนบังสุกุลสามารถกำจัดเครื่องเศร้าหมองทั้งปวง รัตนโสตถิ มงคลเป็นใยแก้ว สามารถจะให้สำเร็จการชวนดูชวนเห็นแก่เทวดาและมนุษย์ได้ตามสมควร
๕. ต่างหู (วัฎฎังสกัง) ได้แก่การแทงตลอดมรรคผลด้วยวชิรญาณดุจการคล้องพวงดอกไม้แก้วให้เป็นสิริมงคลที่บ่า และศีรษะอันทำให้พระพุทธสิริคลเจริญ
๖. ถ้วยภาชนะ (วัทธมานัง) ได้แก่ ภาชนะทอง ชื่อว่าของที่รองรับน้ำนม เป็นสิ่งที่ทำให้พระพุทธมงคลเจริญได้ เกิดขึ้นที่ฝ่าพระบาททั้งสอง ของพระพุทธเจ้า
๗. ปราสาท (ปาสาโท) ชื่อว่า ปราสาทแก้วเป็นพระมหานิพพานนคร คือ รัตนปราสาท อันทำให้พุทธสิริมงคลเจริญ
๘. ขอช้าง (อังสุโส) ได้ชื่อเป็นขอแก้วเป็นอรหัตมรรคญาณและอรหัตผลญาณ ทำให้พุทธสิริมงคลเจริญ
๙. ซุ้มประตู (โตรณัง) ได้แก่ ประตูแก้วทั้ง ๒ คือ อรหัตมรรค และอรหัตผล เพื่อปิดประตูเมืองป้องกันกิเลส
๑๐. เศวตฉัตร (เสตัจฉัตตัง) เป็นเศวตฉัตรแก้ว อันทำให้พระพุทธสิริมงคลเจริญ
๑๑. พระขรรค์แก้ว (รัตนขัคคัง) คือ พระขรรค์แก้ว สามารถกำจัดกิเลสความเศร้าหมอง เป็นพุทธสิริมงคลที่เจริญ
๑๒. กำหางนกยูง (โมรหัตถัง) ได้แก่ พัดกำหางนกยูง ที่ตกแต่งสวยงาม ทำให้พระพุทธสิริมงคลเจริญ
๑๓. พระแท่นที่ประทับ (ภัททปิฎฐัง) ได้แก่ พระแท่นบัณธุกัมพลรัตนศิลาอาสน์ โคนต้นไม้ปาริฉัตตกะ (ไม้ทองหลาง ทองกวาว) ในภาพดาวดึงส์ เป็นสิริมงคลเจริญ
๑๔. พระมงกุฎ (อุณหิสัง) ได้แก่ มงกุฎแก้ว เป็นสิ่งทำให้สิริมงคลเจริญในโลกทั้งสาม
๑๕. เถาวัลย์แก้ว (รัตนวัลลี) เป็นพวงมาลัยแก้ว ให้เถาวัลย์ทองร้อยอย่างดีสวยงามมาก เป็นสิ่งที่ทำให้พุทธสิริมงคลเจริญ
๑๖. พัดแก้ววาลวิชชนี (มณิกาลวิชชนี) เป็นพัดขนทรายที่ทำด้วยจามรี เป็นของงดงามด้วยรัตนะทั้งปวง ทำให้พระพุทธสิริมงคลเจริญยิ่ง
๑๗. พวงดอกมะลิ (สุมนทามัง) พวงดวกมะลิแก้ว ใช้ด้ายทองคำผูกห้อยร้อยรัดอย่างดี เป็นเหมือนพระพุทธผู้ประเสริฐ ทำให้พุทธสิริมงคลเจริญ
๑๘. ดอกบัวแดง (รัตตุปปะลัง) ได้แก่ ดอกอุบลแก้วสีแดง ทำให้พุทธสิริมงคลเจริญ อันเกิดขึ้นที่ฝ่าพระบาททั้งสองของพระพุทธเจ้า
๑๙. ดอกบัวขาบ (นีลุปปะลัง) ได้แก่ ดอกอุบลแก้วสีเขียว ทำให้พุทธสิริมงคลเจริญ
๒๐. ดอกบัวขาว (เสตุปปะลัง) เป็นดอกบัวแก้วสีขาว เหมือนแก้วมณีและแก้วมุกดา ทำให้พุทธสิริมงคลเจริญ
๒๑. ดอกบัวหลวงชมพู (ปทุมัง) เป็นดอกบัวหรือปทุมแก้ว สีเหมือนแก้วมณี ทำให้สิริมงคลเจริญ
๒๒. ดอกบัวหลวงขาว (ปุณฑริกัง) เป็นดอกปทุมแก้วสีขาวเหมือนแก้วมุกดา ชื่อว่า บุณฑริกา ทำให้พุทธสิริมงคลเจริญ
๒๓. กระออมมีน้ำเต็ม (ปุณณมโฎ) หมายความถึง ภาชนะสำหรับรองรับน้ำนม ภาชนะแก้วมณีทำให้พุทธสิริมงคลเจริญ
๒๔. ถาดมีน้ำเต็ม (ปุณณจาฏิ) เป็นภาชนะถาดทองคำ สำหรับใส่เครื่องบูชาของเทวดา และมนุษย์ ย่อมเป็นที่พึ่งแห่งตน
๒๕. มหาสมุทรทั้ง ๔ (จตุสมุทโท) มีความหมายว่า ศีล ๔ อย่างเป็นสัจธรรม ๔ ประการ ให้สัตว์ได้บรรลุมรรคผลนิพพาน (อาจสร้างภาพ ๑ ถึง ๔ ภาพ)
๒๖. จักรวาล (จักกวาโฬ) หมายความว่า พระผู้มีคพระภาคเจ้าทรงมีพุทธญาณอันวิเศษ ทรงรู้นิสัยแห่งพระองค์ ชื่อว่าเป็นสัพพัญญุตญาณ
๒๗. ป่าหิมพานต์ (หิมวา) ชื่อว่าเป็นพระรูปกายของพระพุทธเจ้าที่มีพระฉวีวรรณดุจทอง สวยงามรุ่งเรืองเกินกว่ามนุษย์เทวดา
๒๘. ภูเขาสุเนรุ (สุเนรุ) ชื่อว่าเป็นพระรูปกายของพระพุทธเจ้าที่มิหวั่นไหวด้วยโลกธรรม ๘ ประการ ดังเช่นภูเขาสุเนรุ
๒๙. ดวงอาทิตย์ (สุริโย) คำนี้เป็นพระนามของพระพุทธเจ้าอย่างแท้จริง ทรงกำจัดความมืดมิด คือ กิเลสทั้งปวง
๓๐. ดวงจันทร์ (จันทิมา) เป็นชื่อว่า พระหฤทัยของพระผู้มีพระภาคเจ้าเย็นฉ่ำยิ่งนักเปรียบดังน้ำในมหาสมุทร ทรงมีเมตตาธรรมและเย็นเยือกดุจพระจันทร์
๓๑. ดวงดาว (นักขัตตา) เป็นชื่อว่า พระหฤทัยของพระผู้มีพระภาคเจ้าที่เย็นฉ่ำ และรุ่งเรืองส่องสว่างกระจ่างแจ้ง เหมือนดวงดาวนักขัตฤกษ์
๓๒. ทวีปใหญ่ทั้ง ๔ ประการ (จัตตาโรมหาทีป ๔) ความว่า ทวีปใหญ่ทั้ง ๔ เปรียบเสมือนสัจธรรม ๔ ประการ เป็นที่พึ่งของสัตว์ทั้งปวงดั่งองค์พระผู้มีพระภาคเจ้า (อาจสร้างภาพ ๑ ถึง ๔ ภาพ)
๓๓. ทวีปน้อย ๒,๐๐๐ ซึ่งเป็นบริวาร (ทวิสหัสสปริตตทีปปริวารา) มีความหมายถึงทวีปน้อยทั้ง ๒,๐๐๐ ที่เป็นบริวารของทวีปใหญ่ทั้ง ๔ เหมือนเป็นที่พึ่งของสัตว์ทั้งปวง
๓๔. พระเจ้าจักรพรรดิพร้อมด้วยข้าราชบริพาร (สปริวาโร จักกวัตติราชา) เปรียบเหมือนพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงเป็นใหญ่ในโลกทั้ง ๓ ฉันใด พระเจ้าจักรพรรดิก็ทรงมีบริวารของพระองค์ฉันนั้น
๓๕. สังข์ขาวทักษิณาวรรต (ทักขิณาวัฏฏเสตสังโข) พระ ผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงกุศลธรรมอันบริสุทธิ์แก่ชาวโลกทั้ง ๓ เพื่อให้เว้นจากธรรมที่ไม่บริสุทธิ์ คือ อกุศกรรมบถ ๑๐ ประการ ทรงเป็นผู้รุ่งโรจน์โชติช่วงด้วยพระสุรเสียงกึกก้องของพระองค์ เหมือนเสียงสังข์เสียงจักร เรียกว่า สังข์ขาวทักษิณาวัฎ
๓๖. ปลาทองคู่ (สวัณณมัจฉกยุคคะลัง) ความ หมายว่า เป็นพระอัครสาวกทั้งสองประดับเบื้องซ้าย เบื้องขวา ที่สมบูรณ์ด้วยปัญญาและฤทธิ์คือ พระสารีบุตรเถระ และพระมหาโมคคัลลานเถระ
๓๗. กงจักรคู่ (ยุคคละจักกัง) เป็นจักรแก้วชื่อว่า พุทธรัตนจักร คือ พุทธรัตนจักร สังฆรัตนจักร
๓๘. แม่น้ำใหญ่ ๗ สาย (สัตตมหาคังคา) เป็นมหาคงคาทั้ง ๗ หมายถึง สัมโพชฌงค์ทั้ง ๗ ประการ ที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้แล้ว ดุจมหาคงคาที่ไหลมาไม่ขาดสาย (อาจสร้างภาพ ๑ ถึง ๗ ภาพ)
๓๙. สระใหญ่ ๗ สระ (สัตตมหาสรา) อันเปรียบเสมือนอริยทรัพย์ ๗ ประการ ที่พระพุทธองค์ทรงแสดงไว้แล้วแก่สัตว์ทั้งปวง (อาจสร้างภาพ ๑ ถึง ๗ ภาพ)
๔๐. ภูเขาใหญ่ ๗ เทือก (สัตตมหาเสลา) หมายถึง วิญญาณฐิติ ๗ ประการ ที่พระพุทธองค์ทรงดำรงอยู่ในญาณวิสัยของพระองค์
(หมายเหตุ แม่น้ำใหญ่ ๗ สาย หรือ มหาคงคา ๗ ได้แก่ ชาติคงคา ยมุนาคงคา สรภูคงคา สุรัสดีคงคา อจิรดีคงคา มหิคงคา และมหานทีคงคา (อาจสร้างภาพ ๑ ถึง ๗ ภาพ)
ส่วนโพชฌงค์ ๗ คือ สติสัมโพชฌงค์ ธรรมวิจยสัมโพชฌงค์ วิริยสัมโพชฌงค์ ปิติสังโพชฌงค์ ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ สมาธิสังโพชฌงค์ อุเบกขาสัมโพชฌงค์
สระใหญ่ ๗ สระ คือ สระอโนดาต สระกมัณฑมุณฑะ สระรถกาละ สระกุณาละ สระฉัททันต์ สระมัณฑากินี และสระสีหปปาตะ
อริยทรัพย์ ๗ ประการ คือ ทรัพย์ คือศรัทธา ทรัพย์คือศีล ทรัพย์คือสุตะ ทรัพย์คือจาคะ ทรัพย์คือปัญญา ทรัพย์คือหิริ และทรัพย์คือโอตตัปปะ
ภูเขาใหญ่ ๗ เทือก มี ภูเขาคันธร ภูเขาอิสินธร ภูเขากรวิก ภูเขาสุทัสสนะ ภูเขาเนมินธร ภูเขาวินตกะ และภูเขาอัสสกัณณะ
วิญญาณฐิติ ๗ ประการ คือ อาวัชชนวิญญาณ ฉันนวิญญาณ ทัสสนวิญญาณ สัมปฏิจฉันวิญญาณ โผฏฐัพพนวิญญาณ ชวนะวิญญาณ และอาลัมพนวิญญาณ เรียกว่า วิญญาณฐิติ ๗ อย่าง
๔๑. พญาครุฑ (สุปัณณราชา) เป็นความหมายที่ว่า พระพุทธเจ้าทรงใช้พระวชิรญาณกำจัดกิเลส ๑,๕๐๐ เหมือนพญาครุฑกำจัดพญานาค ซึ่งเป็นคู่อริกัน
๔๒. พญาจระเข้ (สุงสุมารราชา) ใน ความหมายว่า พระพุทธเจ้าทรงดำรงอยู่ในพระสัพพัญญุตญาณ อันเป็นพระรูปกายของพระองค์เพื่อจะรักษาพระองค์และรักษาชาวโลกทั้ง ๓ ไว้มิให้ไปตกอบายภูมิทั้ง ๔ เหมือนพญาจระเข้ รักษาตนและหมู่ญาติของตนในเภสกลาวัน หรือสระบัวนั่นเอง
๔๓. ธงชัยธงแผ่นผ้า (ธชะปฏาณ) คือ ธงชัยแผ่นผ้าทอง ประดับด้วยธรรม คือ อรหัตมรรคญาณ และอรหัตผลญาณ ประดับด้วยเครื่องบูชาพระพุทธเจ้า
๔๔. พระเก้าอี้แก้ว (รัตนปาฏังกิ) เป็นความหมายถึงพระที่นั่งรัตนบัลลังก์ของพระพุทธเจ้า ใต้ต้นศรีมหาโพธิ์ที่ทรงตรัสรู้พระสัพพัญญุตญาณ
๔๕. พัดโบกทอง (สุวัณณจามโร) สุวรรณจามรเป็นพัดโบกทองคำ ประดับด้วยแก้ว ๗ ประการ สุวรรณจามรมี ๒ ชนิด คือ ทำด้วยขนหางจามรีกับทำด้วยผ้าและใบไม้ เป็นต้น
๔๖. ภูเขาไกรลาส (เกลาสปัพพโต) เปรียบเป็นภูเขาทองที่งดงามยอดยิ่งกว่าภูเขาใดๆ ดังพระพุทธเจ้าที่ทรงสมบูรณ์งดงามยิ่งนัก
๔๗. พญาราชสีห์ (สีหราชา) พระ พุทธองค์เปรียบดังพญาราชสีห์ ทรงประกอบด้วย พระเวสารัชชญาณ ๔ ประการ เสด็จเข้าไปกลางบริษัททั้ง ๔ เพื่อทรงแสดงสัจธรรม ๔ ด้วยพระพุทธลีลาอันงดงามยิ่ง เสมือนพญาราชสีห์ที่ประกอบด้วยบันลือสีหนาทของตน
ในบทสวดที่ว่า นโมตัสสะ เป็นเวสารัชชญาณ ภควโต เป็นเวสารัชชญาณ อรหโต เป็นเวสารัชชญาณ สัมมาสัมพุทธัสสะ เป็นเวสารัชชญาณ ดังนั้น คำว่า นโมพุทธธัสสะ นโมธรรมมัสสะ นโมสังฆฆัสสะ มีประโยชน์เพื่อกำจัดอันตรายทุกอย่าง
และบทสวดที่ว่า “หูลู หูลู หูลู สวาหายยะ” นั้น จึงมีความหมายว่าอันตรายทุกอย่าง เช่น ความมีโรคมาก มีทุกข์มาก มีความโศกเศร้ามาก มีศัตรูมาก มีความขัดข้องมาก มีภัยมาก เมื่อกล่าวขึ้นอันตรายทุกอย่างเหล่านี้ย่อมพินาศไปสิ้น ด้วยอานุภาพแห่งพระพุทธองค์ ดังเสียงบันลือสีหนาทนั่นเอง
๔๘. พญาเสือโคร่ง (พยัคฆราชา) พระ ผู้มีพระภาคเจ้าเปรียบเหมือนพยัคฆราชทรงประดับด้วยพระสัพพัญญุตญาณ พระองค์ทรงตรัสรู้พระญาณที่ ๑ คือ ปุพเพนิวาสานุสติญาณ (ระลึกชาติได้) ในปฐมยาม
ทรงตรัสรู้พระญาณที่ ๒ คือ ทิพพจักขุญาณ (ตาทิพย์) ในมัชฌิมยาม
ทรงตรัสรู้พระญาณที่ ๓ คือ อาสวักขยญาณ (ทำให้กิเลสหมดไป) ในปัจฉิมยาม
ญาณทั้ง ๓ อย่างนี้ จึงเป็นพระสัพพัญญุตญาณ
๔๙. พญาเสือเหลือง (ทีปิราชา) พระ พุทธเจ้าไม่ทรงยินดีในกามคุณทั้ง ๕ อันเป็นวิสัยในโลกทั้ง ๓ คือ พระองค์ไม่ทรงยินดีอะไรที่เกิดขึ้นในโลกทั้ง ๓ นี้ แต่พระองค์ทรงยินดีในนวโลกุตรญาณธรรม คือ พระสัพพัญญุตญาณ เพื่อประโยชน์ด้วยมรรคผลนิพพาน จึงได้รับพระนามว่า ทีปิราชา หรือพญาเสือเหลือง
๕๐. พญาม้าพลาหก (พลาหโกอัสสราชา) ม้าพลาหก ประกอบด้วยการก้าวเดินที่สง่า สวยงามกว่าสัตว์ชนิดใด พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ทรงประกอบไปด้วยพละกำลังมาก ทรงกำลังกายถึง ๑๐ ประการ สวยงามกว่าสัตว์ใดๆ ทั้งหมด จึงได้รับการถวายพระนามว่า พลาโหอัสสราชา คือ ม้าพลาหกนั่นเอง
๕๑. พญาช้างอุโบสถ (อุโปสโต วารณราชา) พระผู้มี พระภาคเจ้าไม่ทรงยินดีในอารมณ์วิสัยกามคุณ ๕ อะไรๆ ตลอดกาล แต่จะทรงยินดีอารมณ์พระนิพพาน อันเป็นนวโลกุตรญาณธรรม จึงได้รับการถวายนามเป็นช้างอุโบสถ หรืออุโบสโถวารณราชา
๕๒. พญาช้างฉัททันต์ (ฉัททันโตวารณราชา) พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงมีพระรัศมีมีพรรณ ๖ ประการ ประดับอยู่ทั่วพระวรกายของพระองค์
๕๓. พญานาควาสุกรี (วาสุกีอุรคราชา) พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประดับด้วยพระสัพพัญญุตญาณ พญากาลนาคราชได้ถวายอาสนะบัลลังก์แก้วของตนแด่พระองค์ ครั้งนั้นพระองค์ประทับนั่งเสวยวิมุติสุขเหนือบัลลังก์นั้น เพื่อประโยชน์เกื้อกูลแด่พญากาลนาคราช
วาสุกีอุรคราชา มี ๒ อย่าง คือ โลกิยราชา กับโลกุตรราชา
๕๔. พญาหงส์ (หังสราชา) มีความหมายว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ไม่ทรงยินดีโลกิยสาระ คือ เงินทองมีแก้ว ๗ ประการ เป็นต้น แต่พระองค์ทรงยินดีในโลกุตรธรรม คือ มรรคผลนิพพานจึงได้รับการถวายพระนามว่า หังสราชา
๕๕. พญาไก่เถื่อน พญาโคอุสภราช (พลกุกกุฏอุสภราชา) มี ความว่าเมื่อครั้งก่อนพระผู้มีพระภาคเจ้าเสวยพระชาติเป็นโคอุสภราช มีนามว่า สุมังคละ ไม่ทรงสนพระทัยศัตรูที่จะทำให้พระองค์หวั่นไหวกลางคัน คือ ทรงละศัตรูที่จะทำการประทุษร้ายพระองค์เสียแล้ว
ทรงสนพระทัยจะแสดงธรรมโปรดสัตว์ทั้งหลายเท่านั้น เพราะเหตุนี้พระองค์จึงได้รับการถวายพระนามว่า พลกุกกุฏอุสภราชา
๕๖. พญาช้างเอราวัณ (เอราวัณโณนาคราชา) มี ความว่า พระพุทธองค์ทรงตั้งอยู่ในอริยธรรม ทรงยินดีในศีลสาระ ดุจพญาช้างที่ตั้งอยู่ในอริยมรรค พระองค์จึงได้รับการถวายพระนามว่า เอราวัณโณนาคราชา คำว่า เอ เป็นการแสวงหา รา เป็นความยินดี เอรา จึงเป็นการค้นหาสาระในอริยธรรมอันยิ่งใหญ่ตลอดกาลเป็นเนืองนิตย์
๕๗. มังกรทอง (สุวัณโณมังกโร) เปรียบ ดังพระพุทธองค์ทรงมีความประพฤติที่กล้าแข็ง ในอรหัตมรรคญาณ และอรหัตผลญาณ คือ วชิรญาณ สามารถตัดกิเลสทั้งปวงได้ ประดุจเลื่อยเพชร จึงได้รับการถวายพระนามว่า สุวัณโณมังกโร
๕๘. แมลงภู่ทอง (สุวัณโณภมโร) พระพุทธองค์เปรียบดั่งผึ้ง เคล้าคลึงละอองเกสรใหม่จากดอกไม้ทั้งหลาย โดยไม่ทำลายต้นให้เสียหาย ประดุจที่ทรงคบหาบริษัท ๔ ทรงกำจัดมานะในใจของบริษัทเหล่านั้นให้ขาดได้ จึงได้รับการถวายพระนามว่า สุวัณโณ ภมโร
๕๙. ท้าวมหาพรหมสี่พักตร์ (จตุมุโขมหาพรหมา) พระ พุทธองค์ทรงประกอบไปด้วยพรหมวิหาร ๔ มีเมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา ทรงแสดงพรหมวิหารให้สัตว์ทั้งหลาย จึงได้รับการถวายพระนามว่า จตุมุโข มหาพรมหา
๖๐. เรือทอง (สวัณณนาวา) มีความหมายว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าเปรียบดังเรือทองที่ทรงช่วงสัตว์ทั้งหลายให้ข้ามมหาสมุทร อันลึกล้ำ คือ สงสาร ให้ไปถึงฝั่งคือ นิพพาน เรือทองจึงเป็นอรหัตมรรคญาณและอรหัตผลญาณ ฉะนี้
๖๑. บัลลังก์แก้ว ( รันตปัลลังโก) เป็นบัลลังก์แก้ว คือ รัตนบัลลังก์ที่โคนต้นพระศรีมหาโพธิ์ ที่พระพุทธเจ้าทรงกำจัดหมู่มารได้ด้วยอานุภาพบารมี ๑๐ ของพระงองค์
๖๒. พัดใบตาล (ตาลปัณณัง) ท่านหมายว่า ใบตาลแก้ว คือพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงแสดงเมตตาธรรมอันเยือกเย็นไว้ในหัวใจของชาวโลกทั้ง ๓ โลก ด้วยพระมหากรุณาของพระองค์
๖๓. เต่าทอง (สุวัณโณกัจฉโป) มีความหมายว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตัดกิเลสด้วยวชิรญาณ เพราะเหตุนี้พระองค์จึงได้รับการถวายพระนามว่า สุวัณโณกัจฉโป
๖๔. แม่โคลูกอ่อน (สุวัจฉกา คาวี) หมาย ถึง พระพุทธองค์ทรงแสดงโลกุตตรธรรม ๙ มีชื่อว่า อมตมหานิพพาน แก่ชาวโลกทั้ง ๓ ด้วยพระมหากรุณาของพระองค์ ดุจแม่โคที่มีใจเมตตารักลูกของตน
๖๕. กินนร (กินนโร) มีความหมายว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงประกอบด้วยพระมหากรุณาของพระองค์ ไม่ทรงเบียดเบียนสัตว์ทั้งหมด ด้วยเหตุนี้ พระองค์จึงได้รับการถวายพระนามว่า กินนโร
๖๖. กินนรี (กินนรี) พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงประกอบด้วยพระมหากรุณาไม่เบียดเบียนสัตว์อื่นๆ ทั้งหมด จึงได้รับการถวายพระนามว่า กินนรี
๖๗. นกการเวก (กรวิโก) พระ พุทธเจ้าทรงแสดงธรรม คือ มรรคผลนิพพาน คือ โลกุตตรธรรม ๙ แก่สัตว์ทั้งหลาย ด้วยพระสุรเสียงที่ไพเราะยิ่งนัก ดังนี้ พระองค์จึงได้รับการถวายพระนามว่า กรวิโก หรือ การะเวก
๖๘. พญานกยูง (มยุรราชา) มีความหมายถึง พระพุทธเจ้าทรงประกอบด้วยมหาปุริสลักษณะ ๓๒ ประการ และอนุพยัญชนะ ๘๐ ประการ ด้วยเหตุนี้ พระองค์จึงได้รับการถวายพระนามว่า มยุรราชา
๖๙. พญานกกระเรียน (โกญจราชา) หมาย ถึง การที่พระพุทธองค์ไม่ทรงเยียบถูกพื้นดิน เมื่อคราวเสด็จไปไกลๆ ทรงเหาะไปทางอากาศด้วยฤทธิ์ ดังนั้น จึงได้รับการถวายพระนามว่า โกญจราชา หรือ พญานกกระเรียน
๗๐. พญานกจากพราก (จากวากราชา) ด้วยที่พระพุทธเจ้าทรงบันลือสีหนาทใหญ่ที่ประกอบด้วยการแสดงธรรม คือ ทศพลญาณแก่ชาวโลกทั้ง ๓ เพื่อให้บรรลุมรรคผลนิพพาน พระองค์จึงได้รับการถวายพระนามว่า จากวากราชา คือ พญานกจากพราก
๗๑. พญานกพริก (ชีวัญชีวกราชา) หมาย ความถึง การที่พระพุทธเจ้าทรงปลดเปลื้องสัตว์ให้พ้นไปจากมิจฉาชีพ ให้เลี้ยงตนด้วยสัมมาชีพ พระองค์จึงได้รับการถวายพระนามว่า ชีวัญชีวกราชา คือ พญานกพริก นั่นเอง
มิจฉาชีวัง หมายความว่า สัตว์ทั้งหมดในโลกนี้ที่จะต้องไปอบายนรก ย่อมกระทำเวรกรรม ๕ ประการ คือ ฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิดในกาม พูดเท็จ ดื่มสุราเมรัย เวรกรรมทั้ง ๕ ประการ ที่สัตว์ทั้งหลายกระทำในโลกนี้ เรียกว่า มิจฉาชีพ
สำหรับสัมมาชีวัง หมายถึง สัตว์ทั้งหลายในโลกนี้ที่จะได้ไปสวรรค์ คือ ย่อมไม่ทำเวรกรรม ๕ ประการ คือ ไม่ฆ่าสัตว์ ไม่ลักทรัพย์ ไม่ประพฤติผิดในกาม ไม่พูดเท็จ ไม่ดื่มสุราเมรัย เวรกรรมทั้ง ๕ ประการนี้ ถ้าสัตว์ทั้งหลายในโลกนี้ไม่กระทำ เรียกว่า สัมมาชีพ
หากนำจำนวน ๒๔ มาบวกกับ ๗๑ จะได้เพียง ๙๕ ภาพ ยังขาดไป ๑๓ ภาพ จึงจะครบ ๑๐๘ แต่ความจริงแล้วหากนับรวมภาพทวีป มหาสมุทร สระใหญ่ ภูเขาใหญ่ ก็จะได้ครบ ๑๐๘ ภาพแล้วครับ
ตัวอย่างข้อมูลจากเว็บอื่น (Thaitownusa.com)




CREDIT : ภาพและเรื่องโดย พุฒิวงศ์ บุษบวรรษ


บันทึกการเข้า

พรเทพ-LSV team♥
รับติดตั้งจานดาวเทียม ลาดพร้าว บางกะปิ
Senior Member
member
*

คะแนน1453
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 12125

091-091-9196 ID LINE : tv59


เว็บไซต์
« ตอบ #1 เมื่อ: มกราคม 14, 2011, 07:36:58 am »

***************เอามาเพิ่มให้*****************
สมาขิกอาจจะสงสัยว่าทำไมลุงโฉลกรับเงินทำบุญเพียง ๑๐๘ บาท เหตุผลคือจำนวน ๑๐๘ เป็นตัวเลขมงคลครับ มีสัญลักษณ์ ๑๐๘ ลักษณะในรอยพระพุทธบาท บทสวดมนต์สรรเสริญพระพุทธคุณ ๕๖ คำ พระธรรมคุณ ๓๘ คำ พระสังฆคุณ ๑๔ คำ รวมเป็น ๑๐๘ คำ กำลังเทวดาเสวยอายุก็มี อาทิตย์ ๖ ปี จันทร์ ๑๕ ปี อังคาร ๘ ปี พุทธ ๑๗ ปี พฤหัส ๑๙ ปี ศุกร์ ๒๑ ปี เสาร์ ๑๐ ปี และ ราหู ๑๒ ปี รวมเป็น ๑๐๘ ปี แม้แต่สายประคำก็มี ๑๐๘ ลูก เงินบูชาขันครูของลุงโฉลกก็ ๑๐๘ บาท การทำบุญแต่ละครั้งของชมรมพวกเราจึงทำครั้งละ ๑๐๘ บาท เพื่อเป็นสิริมงคลของพวกเรา เงินได้มาอย่างบริสุทธิ์ ทำบุญด้วยเจตนาบริสุทธิ์ และผู้รับเป็นผู้ทรงศีล บุญนี้ย่อมมีอานิสงส์แห่งบุญอันยิ่งใหญ่แน่นอน ขออนุโมทนาบุญกับทุกคนด้วยความ

รูปสี
บันทึกการเข้า

หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป: