จากรูปด้านบนคือต้องการหาว่าหลอด LED สว่างได้เต็มที่และไม่ขาด
ต้องจ่ายกระแสประมาณ 25-30mA ที่แรงดัน 2.8-3 V
ทดลองโดยการค่อยๆปรับแรงดันขึ้นเรื่อยๆ ให้ดูด้วยสายตาว่าจะสว่างที่สุดด้วยระดับไหน
สังเกตได้จากถ้าหลอดสีแดง สีจะแดงจ้าที่สุดและไม่เปลี่ยนเป็นสีส้ม ถ้าเปลี่ยนเป็นส้มคือหลอดจะขาดแล้ว
ซึ่งค่ากระแส และแรงดันที่อ่านได้จะขึ้นอยู่กับหลอด LED แต่ละชนิดแต่จะไม่แตกต่างกันมาก
จะอยู่ที่ 30mA แรงดัน 3V ถ้าให้ชัวร์ต้องเปิดอ่านดาต้าชีทของหลอด LED ชนิดนั้นๆเลย
หลังจากรู้ค่ากระแสและแรงดันที่ต้องจ่ายให้กับหลอดแล้ว ก็ต้องมาคิดต่อว่าเราจะต่อหลอดหลายๆหลอดเข้าด้วยกันอย่างไร
ถ้าต่อแบบอนุกรม กระแสที่ไหลในวงจรจะมีค่าเท่ากันนั่นคือ 30mA
หลอด LED สามารถทนแรงดันได้ถึงหลอดละ 3 โวลต์ถ้าต่ออนุกรมกัน 4 หลอดจะได้ 3x4 = 12V
เราสามารถต่อเข้าตรงๆกับไฟ 12V เลยก็ได้แต่โอกาสที่หลอดจะขาดเร็วมีมาก สาเหตุคือ
1. แหล่งจ่ายแรงดันอาจมีค่าไม่คงที่ ขึ้น-ลงได้
2. รอยต่อระหว่าง A-K ของหลอดรับแรงดันที่สูงมากทำงานเต็มประสิทธิภาพเกินไปทำใ้ห้อายุหลอดสั้นลง
ดังนั้นจึงต้องต่ออาร์เพื่อจำกัดกระแสให้กับหลอดไว้ จากตัวอย่างใช้ค่า 68โอห์ม ซึ่งจะจำกัดกระแสและแรงดัน
ที่จ่ายให้แต่ละหลอดไม่เกินค่าที่หลอดรับได้ และหลอดให้แสงสว่างได้เต็มที่ ดังนั้นการนำไปใช้งานจริง
ค่าของอาร์ที่จะนำมาต่อเพื่อจำกัดกระแสในวงจรควรคำนึงถึง
1. ความสว่างของหลอด LED แต่ละชนิด
2. จำกัดกระแสที่จ่ายให้กับหลอดไม่เกินที่หลอดจะรับได้
3. หลอด LED ขนาดเล็ก (3mm) จะขาดเร็วมาก อาจจะเนื่องจากสินค่าผลิตไม่ดี หรือรอยต่อของ A-K มีพื้นที่น้อย
ดังนั้นควรใส่อาร์ค่าเยอะเอาไว้กว่าหลอดขนาดใหญ่
ให้ลองเปลี่ยนค่าของอาร์ แล้ววัดกระแส วัดแรงดันตกคร่อมหลอดดู ถ้าไม่เกินที่หลอดรับได้
และแสงสว่างได้เต็มที่ ก็ให้ใช้อา์ร์ค่านั้น ส่วนมากที่เคยทำคือ 50 - 150 โอห์ม
ไม่ต้องขอโทษครับ ถามได้ไม่ต้องเกรงใจ พี่ๆบอร์ดนี้ใจดีทุกคน
ผมผ่านมาเจอผมก็ตอบ ถ้าตอบไม่ได้ผมก็ผ่าน