กรรมร่วมกันมาแต่อดีตชาติ
หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: กรรมร่วมกันมาแต่อดีตชาติ  (อ่าน 1235 ครั้ง)
kittanan_2589
.กลุ่มผู้มีน้ำใจงาม.
member
*

คะแนน630
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2363


NightBaron


เว็บไซต์
« เมื่อ: ธันวาคม 25, 2010, 08:23:10 am »



กรรมที่ทำร่วมกันมาแต่อดีตชาติ


คำว่า กรรมร่วมกันมาแต่อดีตชาติ หมายความว่าอย่างไร

เพราะ บางคนพ่อแม่ดี แต่ลูกไม่ดี บางคนครอบครัวดี แต่มีบริวารนำความเดือดร้อนมาให้ บางคนลูกดีแต่บุพพการีไม่ดี

ถ้าจะถือว่าชาติก่อนมีความสัมพันธ์กับชาตินี้ ก็จะต้องหมายความว่า
พ่อ แม่ พี่ น้อง เพื่อนฝูง ที่เคย พัวพันกันมา จะต้องไปพบกันทุกชาติเช่นนั้นหรือ จึงมีการกล่าวถึงคำว่า "ทำกรรมร่วมกันมา"

คำว่า "กรรมร่วมกันมาแต่อดีตชาติ" เป็น คำที่หมายถึงคนสองคน หรือสองฝ่ายเคยทำอะไร ร่วมกันมา จะเป็นทางดีก็ได้ ทางไม่ดีก็ได้
เช่น เคยทำบุญร่วมกันมา เคยร่วมปล้นฆ่าคนมาด้วยกัน เป็นต้น

การกระทำที่ทำร่วมกันอย่างนี้แหละ ที่เรียกว่า “กรรมร่วมกันมา”
ถ้าเป็นกรรมในชาติก่อนๆ ก็เรียกว่า เป็นกรรมในอดีตชาติ ความจริงมิใช่ เพราะกรรมเท่านั้นที่จะส่งผลให้มา พบกันในชาตินี้
แม้เวรที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งผูกกันไว้ หรือผูกไว้ทั้งสองฝ่าย ก็เป็นเหตุส่งให้มาพบกันในชาตินี้ได้เหมือนกัน
ดังนั้นเราจึงมักพูดติดต่อกันว่า "กรรมเวร"

ความเข้าใจที่ว่า ถ้าถือว่าชาติก่อนมีความสัมพันธ์กับชาตินี้ ก็จะต้องหมายความว่า
พ่อแม่ พี่น้องเพื่อนฝูงที่เคย พัวพันกันมาจะต้องไปพบกันทุกชาตินั้น ยังเป็นความเข้าใจที่ไม่ถูกต้องทั้งหมด
อันที่จริงชาติก่อน มีความสัมพันธ์กับชาตินี้จริง ในฐานะเป็นชาติที่เป็นเหตุให้เกิดมีชาตินี้ขึ้น
แต่พ่อแม่พี่น้อง ญาติมิตรในชาติก่อนนั้น หาได้เกิดพบกันทุกชาติไม่
ทั้งนี้ก็ขึ้นกับเงื่อนไขที่ว่า เมื่อพ่อแม่พี่น้อง ญาติมิตรนั้นๆ ได้ทำกรรมจะดีหรือไม่ก็ตาม หรือได้มีเวรต่อกันมา
กรรมและเวรอันนั้นแหละ ก็จะส่งผลให้เกิดมาพบกันในชาติต่อไป แต่จะทุกชาติหรือไม่ ก็แล้วแต่กรรมเวรที่จะก่อใหม่อีก

นัย ยะตรงข้าม หากพ่อแม่ พี่น้อง ญาติมิตร มีความผูกพันกันเพียงสายเลือดซึ่งเป็นเรื่องของธรรมชาติ หาได้ทำกรรมดีกรรมชั่ว หรือผูกเวรกันไว้ไม่
อย่างนี้ก็ไม่มีสาเหตุอันใดที่จะทำให้ ไปเกิดพบกันอีก คือไม่มีกรรมเวรร่วมกันนั่นเอง
เรื่องกรรมเรื่องเวร เป็นเรื่องลึกซึ้งและละเอียดอ่อนมาก ยากที่จะอธิบายให้เห็นแจ้ง ด้วยหน้ากระดาษเพียงเท่านี้ได้
แต่ผู้สนใจในเรื่องนี้ศึกษา ได้จากตำราและจากการสังเกตชีวิตจริงของตนและของคนอื่น จะช่วยความเข้าใจได้มาก


เราอาจแบ่งบุคคลในกรณีนี้ ได้ ๓ ประเภทด้วยกัน คือ

๑. ประเภทดีด้วยกัน คือทั้งสองฝ่ายหรือทั้งหมดได้เคยทำบุญทำความดี สร้างบารมีร่วมกันมา เรียกว่ามีดีเท่ากันว่างั้นเถอะ
ประเภทนี้ก็มักจะเกิดมาดีด้วยกัน ได้ดีพอๆกัน
เช่น ตำนานเรื่อง มฆมาณพสร้างถนนสร้างศาลามาด้วยกัน กับพวกอีก ๓๒ คน ตายไปแล้วได้เสวยสุขอยู่บน สวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เป็นต้น
ประเภทนี้ ความดีมีเท่ากัน จึงได้ดี ได้พบความดีมีสุขและเสวย ความดีอยู่ด้วยกันได้ เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ผู้มีคุณธรรมเสมอกันนั่นเอง
ที่เห็นง่ายๆ ในประเทศนี้ก็คือ ถ้าเป็นสามีภรรยากัน สามีก็ดี ภรรยาก็ดี ไม่ทะเลาะเบาะแว้ง กันเห็นอกเห็นใจกัน เรียกว่า ดีทั้งคู่
ถ้าเป็นพ่อแม่ลูกกัน ก็ดีทั้งพ่อ ทั้งแม่ ทั้งลูกพ่อแม่ก็รักลูก ทำเพื่อลูก และเป็นผู้นำที่ดีของลูก
ฝ่ายลูกก็เป็นลูกที่ดีของพ่อแม่ เชื่อฟังตั้งอยู่ในโอวาท รักเคารพพ่อแม่ด้วยใจจริง
ถ้าเป็นเพื่อน ก็เป็นเพื่อนที่ดีต่อกัน ช่วยเหลือกันด้วยน้ำใจ ไม่ชักชวนกันไปในทางเสียหาย เป็นต้น


๒. ประเภทเสียด้วยกัน คือ ทั้งสองฝ่ายเคยทำบาปทำกรรมร่วมกันมา มีความชั่วพอๆกัน ชอบเรื่องร้ายๆพอกัน
อย่างนี้ก็เกิดมาพบกันอีก และอยู่ด้วยกันได้ แม้จะลุ่มๆดอนๆก็ไม่ค่อยแยกกัน ถึงคราวสุขก็สุขด้วยกัน ถึงคราวทุกข์ก็ทุกข์ด้วยกันได้
ประเภทนี้ก็เช่นกัน ถ้าเป็นสามีภรรยากันก็ประเภทหญิงร้ายชายเลวนั่นแหละ
หรืออย่างพวกนักเลงเที่ยว นักเลงพนัน นักเลงสุรา จนกระทั่งนักเลงปล้นจี้ เป็นต้น คือชอบอย่างเดียวกัน ย่อมไปด้วยกันได้


๓. ประเภทมีเวรต่อกัน
คือ ประเภทที่อีกฝ่ายหนึ่งอาจดี แต่อีกฝ่ายอาจเสีย ฝ่ายดีก็จะถูกฝ่ายเสียคอยรบกวน คอยรังควาน คอยทำลายอยู่เรื่อย ไม่โดยตรงก็โดยอ้อม
อย่างกรณีที่ยกตัวอย่างมา เช่น บางรายพ่อแม่ดี แต่ลูกไม่ดี บางรายครอบครัวดี แต่บริวารนำความเดือดร้อนมาให้นั่นแหละ
กรณีอย่างนี้เกิดขึ้น เพราะทั้งสองฝ่าย หรือฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ยังผูกเวรจองกรรมไว้ จึงต้องมาพบกัน คอยขัดขวางกันอยู่ร่ำไป
ไม่ต้องอื่นไกลหรอก แม้แต่พระพุทธองค์ยังทรงมีมารคอยผจญ มีพระเทวทัตคอยทำลาย และมีนักบวชต่างศาสนาคอยล้างผลาญเลย

นี่แหละอำนาจของเวรล่ะ ลองได้ก่อไว้ หรือถูกก่อไว้ ก็เป็นได้ตามผจญกันไม่สิ้นสุดสักที ประดุจเวรของงูกับพังพอน เวรของกากับนกเค้า
และเวรของมนุษย์ผู้ถือตัวจัดในเรื่องศาสนากับผิวในปัจจุบัน

พระพุทธเจ้าจึงสอนให้ละเวรเสีย อย่างน้อยก็ด้วยการรักษาศีล ตั้งมั่นอยู่ในศีล เพราะศีลเป็นเวรมณี เป็นข้อปฏิบัติที่ทำให้หมดเวรได้
แม้อย่างกรรมก็เช่นกัน ไม่ว่าจะทำคนเดียว หรือร่วมทำกับใคร หากเป็นกรรมชั่วกรรมเสียแล้ว ท่านว่าไม่ควรทำทั้งนั้น


ที่มา agalico.com
ภาพจาก wisdomquarterly.blo gspot.com

 


บันทึกการเข้า

หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป: