ปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำทั่วประเทศ 8-17 บาท
LSVคลังสมองออนไลน์ "ปีที่14"
พฤศจิกายน 23, 2024, 12:35:59 pm *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำทั่วประเทศ 8-17 บาท  (อ่าน 3159 ครั้ง)
Nattawut-LSV Team
E23IUY
.กลุ่มผู้มีน้ำใจงาม.
member
*

คะแนน808
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 3581


อีเมล์
« เมื่อ: ธันวาคม 10, 2010, 07:48:09 am »



คณะกรรมการค่าจ้าง มีมติปรับค่าจ้าง ในอัตรา 8-17 บาท ภูเก็ตสูงสุด ส่วนกรุงเทพและปริมณฑลเท่ากัน ปรับเป็น 215 บาท มีผลบังคับใช้ 1 ม.ค.2554

วันที่ 9 ธ.ค.นายสมเกียรติ ฉายะศรีวงศ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน ในฐานะประธานคณะกรรมการค่าจ้าง พร้อมด้วยตัวแทนคณะกรรมการฝ่ายนายจ้างและลูกจ้าง ร่วมกันแถลง ผลการพิจารณาปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ ปี 2554 ที่จะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 ม.ค. 2554ว่า การพิจาณาค่าจ้างในครั้งนี้ ได้พิจารณาปรับขึ้นในอัตรา 8-17 บาท รวมทั้งสิ้น 9 อัตรา คือ 8,9,10,11,12,13,14,15 และ 17 บาท

โดยรวมทั่วประเทศแล้วอัตราค่าจ้างจะปรับขึ้นถึง 11 บาท โดยเป็นอัตราที่สูงกว่าข้อเรียกร้องของหลาย ๆ ฝ่าย จังหวัดที่ได้ปรับสูงสุด คือ ภูเก็ต ปรับเพิ่ม 17 บาท จาก 204 บาท เป็น 221 บาท ส่วนกรุงเทพและปริมณฑล ปรับในอัตรา 9-11 บาท ได้รับค่าจ้าง 215 บาทต่อวันเท่ากัน ส่วนจังหวัดต่ำสุดมี 7 จังหวัด ปรับขึ้น 8 บาท คือ จังหวัดพะเยา ศรีสะเกษ อำนาจเจริญ นครสวรรค์ เพชรบูรณ์ อุทัยธานี และประจวบคีรีขันธ์

ทั้งนี้เป็นการพิจารณาตามที่คณะอนุกรรมการอัตราค่าจ้างขั้นต่ำจังหวัดและคณะอนุกรรมการวิชาการและกลั่นกรองเสนอมา โดยที่ประชุมมีกรอบแนวคิดในการกำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ โดยได้คำนึงถึงคุณภาพชีวิตของแรงงานเพื่อให้มีรายได้ที่เพียงพอต่อการครองชีพในชีวิตประจำวัน และมีเหลือพอที่จะเป็นค่าใช้จ่ายในกิจกรรมทางสังคม เช่น ทำบุญ สันทนาการ บันเทิง และอื่น ๆ

นายสมเกียรติกล่าวว่า สำหรับรายละเอียดการปรับค่าจ้างมีดังนี้ ปรับขึ้นในอัตรา 8บาท 7 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดพะเยา ศรีสะเกษ อำนาจเจริญ นครสวรรค์ เพชรบูรณ์ อุทัยธานี และจังหวัดประจวบคีรีขันธ์

ปรับขึ้นในอัตรา 9 บาท 24 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดน่าน ตาก สุรินทร์ มหาสารคาม นครพนม ชัยภูมิ ลำปาง หนองบัวลำภู เชียงราย บุรีรัมย์ ร้อยเอ็ด ยโสธร สกลนคร ชัยนาท สุพรรณบุรี ตราด ลำพูน สมุทรสงคราม อ่างทอง เชียงใหม่ พระนครศรีอยุธยา สระบุรี สมุทรปราการ และกรุงเทพฯ

ปรับขึ้นในอัตรา 10 บาท 16 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดพิษณุโลก แม่ฮ่องสอน อุตรดิตถ์ มุกดาหาร กาฬสินธุ์ ขอนแก่น กำแพงเพชร หนองคาย นครนายก เลย สระแก้ว นครราชสีมา นนทบุรี นครปฐม ปทุมธานี และจังหวัดสมุทรสาคร ปรับขึ้นในอัตรา 11 บาท 6 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดปัตตานี นราธิวาส อุบลราชธานี สิงห์บุรี เพชรบุรี และระยอง

ปรับขึ้นในอัตรา 12 บาท 10 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดแพร่ พิจิตร สุโขทัย อุดรธานี ยะลา จันทบุรี กาญจนบุรี ลพบุรี ระนอง และจังหวัดชลบุรี

ปรับขึ้นในอัตรา 13 บาท 7 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดสุราษฎร์ธานี ชุมพร ตรัง ราชบุรี พังงา ฉะเชิงเทรา และจังหวัดปราจีนบุรี

ปรับขึ้นในอัตรา 14 บาท 3 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดพัทลุง สตูล และจังหวัดกระบี่

ปรับขึ้นในอัตรา 15 บาท 2 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดนครศรีธรรมราช สงขลา และปรับขึ้นในอัตรา 17 บาท จังหวัด ได้แก่ จังหวัดภูเก็ต โดยให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ เป็นต้นไป 1 ม.ค.2554

คณะกรรมการค่าจ้างจะรายงานผลการพิจารณาไปยังรมว.แรงงาน เพื่อลงนามในประกาศกระทรวงแรงงาน และส่งประกาศลงในราชกิจจานุเบกษา พร้อมทั้งนำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อทราบ และแจ้งอัตราค่าจ้างขั้นต่ำใหม่ให้ลูกจ้าง นายจ้างทราบต่อไป

ปลัดกระทรวงแรงงานกล่าวว่า ว่าได้มีการแบ่งข้อมูลการพิจารณาตามหลักเกณฑ์เป็น 3 กลุ่ม ตามลำดับความสำคัญ คือ กลุ่มความจำเป็นในการครองชีพของลูกจ้าง กลุ่มความสามารถในการจ่ายของนายจ้าง และกลุ่มสหภาพเศรษฐกิจและสังคม โดยให้คำนึงถึงคุณภาพชีวิตของแรงงาน ซึ่งการพิจารณาครั้งนี้เป็นการใช้ข้อมูลภาวะการณ์ครองชีพในช่วงปี 2553และการสำรวจค่าใช้จ่ายที่จำเป็นของแรงงานทั่วไปแรกเข้าทำงานในภาค อุตสาหกรรมทั่วประเทศ

โดยที่สภาวะเศรษฐกิจของประเทศไทยตั้งแต่ต้นปีจนถึงปัจจุบันมีการขยาย ตัวอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะการผลิตภาคอุตสาหกรรมชิ้นส่วนคอมพิวเตอร์และอิเล็กทรอนิกส์ และรถยนต์ ภาคการท่องเที่ยวและการส่งออก เมื่อพิจารณาเฉพาะสำหรับอุปสงค์ในประเทศทั้งการบริโภคและการลงทุนภาคเอกชนมี การขยายตัวในเกณฑ์ดี ถึงแม้อาจชะลอลงบ้างในช่วงครึ่งปีแรก และอัตราเงินเฟ้อมีการเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งเมื่อพิจารณาราคาสินค้าอุปโภคบริโภคที่จำเป็นในการดำรงชีพของผู้ใช้ แรงงานมีราคาสูงขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งราคาสินค้าในหมวดอาหารและเครื่องดื่ม น้ำมันเชื้อเพลิง ค่าพาหนะและการขนส่ง และค่าใช้จ่ายส่วนบุคคล ถึงแม้รัฐบาลจะมีมาตรการช่วยเหลือค่าครองชีพของประชาชน ได้แก่ ค่าไฟฟ้า รถเมล์ฟรี การตรึงราคาก๊าซหุงต้ม และการช่วยเหลือค่าชุดนักเรียนและอุปกรณ์การเรียน และการควบคุมดูแลราคาสินค้าของกระทรวงพาณิชย์อย่างใกล้ชิด ซึ่งทำให้ภาระค่าใช้จ่ายของประชาชนในส่วนนี้ลดลงในระดังหนึ่ง

นายสมเกียรติกล่าวว่า จากข้อมูลสำนักงานประกันสังคม มีลูกจ้างที่จะได้รับการปรับค่าจ้างครั้งนี้ จำนวน 2 ล้านคน เป็นเม็ดเงิน 6,918 ล้านบาท เมื่อรวมกับแรงงานต่างด้าวอีกประมาณ 2 ล้านคนเศษ ซึ่งจะได้รับค่าจ้างขั้นต่ำในอัตราใหม่ เป็นเงิน 7,775 ล้านบาท เมื่อรวมแล้วจะทำให้มีเม็ดเงินหมุนเวียนในระบบเพิ่มขึ้น 14,694 ล้านบาท ทำให้มีจำนวนการบริโภคเพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่า 1 แสนล้านบาท

นายปัณณพงศ์ อิทธิ์อรรถนนท์ ผู้แทนคณะกรรมการค่าจ้าง ฝ่ายนายจ้าง กล่าวว่า การปรับครั้งนี้เป็นอัตราที่ผู้ประกอบการรับได้ ในขั้นตอนต่อไปรัฐบาลต้องควบคุมราคาสินค้า เพื่อให้การปรับค่าจ้าง ได้ส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้ใช้แรงงานอย่างแท้จริง ทั้งนี้ ในส่วนที่ขาดจากที่นายกรัฐมนตรีพูดไว้250 บาท รัฐบาลควรมีมาตรการมาเพิ่มเติมให้เต็ม เช่นเดียวกับการขึ้นเงินเดือนให้แก่ข้าราชการและลูกจ้างภาครัฐ


http://news.udonzone.com


บันทึกการเข้า

พรเทพ-LSV team♥
รับติดตั้งจานดาวเทียม ลาดพร้าว บางกะปิ
Senior Member
member
*

คะแนน1453
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 12125

091-091-9196 ID LINE : tv59


เว็บไซต์
« ตอบ #1 เมื่อ: ธันวาคม 10, 2010, 12:32:12 pm »

แล้วค่าแรงช่างเมื่อไรได้ขึ้นบ้างครับ

(เพื่อนช่างทั้งหลาย ขึ้นเงินเดือนให้ตัวเองได้แล้ว)
บันทึกการเข้า

หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1 RC2 | SMF © 2001-2006, Lewis Media

lsv2555Please follow the new website at https://www.pohchae.com

Valid CSS!