ถาม :
เรื่องปัญญานะครับ ปัญญาทางโลกกับทางธรรมต่างกันอย่างไร ?ตอบ :
คนละเรื่องกันเลย
ปัญญาทางโลก ภาษาฝรั่งเรียกว่า "ไอคิว" เป็นหน่วยความจำเฉย ๆ ส่วนปัญญาทางธรรม คือการรู้แจ้งเห็นจริง ตามสภาพความเป็นจริง
ถาม : ถึงเวลาก็ได้ผลทางวัตถุใช่ไหมครับ ?
ตอบ : จะได้ผลทางวัตถุมากกว่า
ถาม : จะมีในแง่เดียว หรือว่าจะมีแง่อื่นหรือเปล่าครับ ?
ตอบ : ไตรลักษณ์ นั่นก็เป็นแค่ส่วนเดียวเท่านั้น ยังมีนัยตามของ วิปัสสนาญาณ ๙ และตามนัยของ อริยสัจ ๔ แล้วยังมีวิปัสสนาธรรมชาติอีก
ถาม : แต่ว่าพอเราจับจุดหนึ่งได้ จุดอื่นจะมาเองใช่ไหมครับ ?
ตอบ : หากว่าได้จุดหนึ่ง จุดอื่นจะง่ายขึ้น
ถาม : ไม่ใช่มาเอง ?
ตอบ : ถ้าเราไม่ตะกายไปหา ก็ไม่มาหรอก เรื่องของปัญญาเป็นสิ่งที่ละเอียด เราต้องตั้งใจค้นคว้าเข้าไปจริง ๆ
ถาม : จะพิจารณาอยู่แค่ระบบเดียวใช่ไหมครับ ?
ตอบ : อยู่ที่ครูบาอาจารย์ ท่านสอนอย่างไร ลูกศิษย์ก็ทำอย่างนั้น
ถ้าหากว่าลูกศิษย์มีความสามารถสูง พอมั่นใจว่าตัวเองชำนาญในสิ่งนั้นแล้ว ก็ขยับหาสิ่งอื่นต่อได้ อย่างหลวงพ่อท่านเล่นซะหมดเลย กรรมฐาน ๔๐ กอง มหาสติปัฏฐานสูตรว่าครบทุกบรรพ ปัพพะโตพมะพระสูตรอีกอันหนึ่ง คิริมานนทสูตรก็คล้าย ๆ กับวิปัสสนาญาณ ๙
ถาม : เราเข้าใจอะไรดีมากขึ้น ?
ตอบ : ถ้าทำได้จริง ๆ จะเข้าใจแจ่มแจ้งเชียวล่ะ แต่เข้าถึงส่วนเดียวก็พอที่จะปล่อยวางได้บ้างแล้ว ปัญญานั้นจะมีในทุกระดับชั้น
ปัญญาของปุถุชน คือคนทั่ว ๆ ไปที่เกลือกกลั้วกับกิเลส ปัญญาของผู้ทรงฌาน ปัญญาของพระอริยเจ้า แต่ละระดับไม่เท่ากัน ความหยาบละเอียดต่างกัน
พอเราทำถึงจุด ๆ หนึ่ง เราจะคิดว่า ดีแล้ว ถูกแล้ว แต่ความจริงยังไม่ใช่ เพราะยังดีแค่นั้น ถูกแค่นั้น พอเรามีปัญญามากขึ้น พิจารณาได้ลึกซึ้งกว่านั้น ก็จะมีของที่ถูกกว่านั้น ดีกว่านั้นขึ้นมา พอเรามองย้อนไป ที่เราเคยว่าถูกแล้ว ดีแล้ว ก็กลายเป็นยังผิดไป ดังนั้นถึงได้บอกว่า เป็นสมมติ ผิดถูกก็คือสมมติ
สิ่งที่เราทำ ถ้าเป็นส่วนที่พระพุทธเจ้าท่านบัญญัติขึ้นมา ก็เป็นสิ่งที่ถูกต้อง แต่ถ้าเป็นทิฐิคือความเห็นของเรา โอกาสผิดก็มีเยอะ
สนทนากับพระอาจารย์เล็ก สุธมฺมปญฺโญ
ณ บ้านอนุสาวรีย์ฯ เดือนกุมภาพันธ์ พุทธศักราช ๒๕๔๔
ที่มา :
http://www.watthakhanun.com/webboard...ead.php?t=2271