วิปัสสนากรรมฐาน
วิปัสสนากรรมฐาน หมายถึง แนวทางหรือวิธีการฝึกจิตให้เกิดปัญญา เพื่อถึงซึ่ง “ทาง” พ้นทุกข์ ด้วยอุบายใด อุบายหนึ่ง ตามความถนัดของครู อาจารย์ผู้สอน โดยยึดหลักตาม กฎไตรลักษณ์ ๓ อย่าง ให้ผู้ฝึกจิตได้มีโอกาสเห็นความเป็นอนิจจัง คือ ความไม่เที่ยง มีการ เกิด-ดับอยู่เป็นปัจจุบันขณะ หรือ ทุกขัง เห็นอาการของทุกข์ ที่ตั้งอยู่ ดำรงอยู่ ได้เพียงชั่วคราว หรือ อนัตตา เห็นการสลายของทุกข์ เป็นความว่างเพราะไม่มีตัวตนที่ถาวร
เหตุ เพราะจิตมนุษย์มีความไม่รู้ (อวิชชา) และมี อายตนะทั้งภายนอกและภายใน อยู่ ๖ ช่องทาง เป็นปัจจัยหนุนเนื่องอยู่ จึงเกิดความผิดพลาดที่ยิ่งใหญ่ เพราะได้เข้าไป ยึดแรงกระทบของแรงสืบต่อ (แรงสันตติ) ที่มีการส่งออกมาและสะท้อนกลับภายในเวลา ๑ วินาที เป็นแรงหรือพลังงานที่ไร้เจตนา ไม่ได้ใส่เจตนาในการส่งพลังงานมากระทบ สักแต่ว่าเป็นไปตามกระบวนการทำงานจากศูนย์กลางของวงกลมที่ใหญ่กว่าเท่านั้น เมื่อจิตมนุษย์เข้าไปยึดการกระทบ เกิดกิเลสสะสมเป็น โลภะ โทสะ โมหะ ฯลฯ จึงหมดโอกาสเห็น “ทาง” หรือ “มรรค” ซึ่งเป็นภาวะจิตเดิมของมนุษย์ทุกคน>>
ใน สมัยพุทธกาล ด้วยความเป็นสัพพัญญู พระพุทธองค์จะทรงรู้วาระจิตของแต่ละบุคคลที่ทรงไปโปรด ว่ายึดติดในสิ่งใดมากเป็นพิเศษ เช่น ติดในความสวยความงาม ติดในทรัพย์สมบัติติดในกาม ฯลฯ พระพุทธองค์จะทรงใช้วิธีเทศนากระทุ้งโปรด เพื่อคลายความยึดติด จนการยึดติดคลายลง จิตเกิดการปล่อยวาง เข้าถึงมรรค เป็นการออกจากทุกข์ด้วยแรงเฉื่อย>>
สำหรับ ช่วงเวลาที่คงเหลือไว้แต่พระธรรมคำสอน เช่น ในยุคนี้ พระอาจารย์รัตน์ รตนญาโณ ได้ให้อุบายวิธีฝึกปฏิบัติฯ เพื่อเข้าสู่ “วิถีแห่งมรรค” ด้วยการใช้แรง ๓ แรง ได้แก่ แรงดัน แรงเหวี่ยง และ แรงความเป็นกลาง มีจุดมุ่งหมาย เพื่อให้แต่ละบุคคลได้เห็นธรรมชาติของแรงสืบต่อ หรือแรงสันตติก่อนเป็นลำดับแรก แล้วจึงสะสมแรง เร่งสติจนสติเต็มรอบไปตามลำดับ>>
ฐานที่มาของการใช้แรงทั้ง ๓ แรง>>
มนุษย์มีอวัยวะรับสัมผัส หรือ อายตนะ แบ่งออกเป็น ๒ ส่วน คือส่วนที่เป็นอายตนะภายนอก ตั้งอยู่ภายนอกร่างกาย และ ทำงานหนุนเนื่องตามเหตุตามปัจจัย มีด้วยกัน ๕ ช่องทาง (ทวาร) ได้แก่ ตาเห็นรูป หูรับเสียง จมูกรับกลิ่น ลิ้นรับรส และ กายรับสัมผัส สำหรับอายตนะภายในมีเพียง ๑ ช่องทาง (ทวาร) คือ ใจ เพื่อรับรู้อารมณ์ เพราะเป็นแหล่งของธาตุรู้ที่ใหญ่ที่สุดของร่างกาย>>
ดัง นั้น เมื่อจิตมนุษย์มีอวิชชา การยึดติดจึงเกิดขึ้นทั้ง ๒ ส่วน คือถ้าไม่ติดนอก ที่อายตนะภายนอก ๕ ทวาร ก็จะต้องติดใน ที่ใจซึ่งเป็นอายตนะภายใน และโดยธรรมชาติ ของแรงดึงดูดระหว่างวงกลม ทำให้ธาตุรู้จากอายตนะวงกลมที่เล็กกว่า เคลื่อนที่เข้าหาธาตุรู้ของใจ ซึ่งเป็นศูนย์กลางวงกลมที่ใหญ่กว่าเสมอ
๑. แรงดัน เป็นอุบายของการเข้าถึง “มรรค” ด้วยการเจริญสติ เพื่อให้เห็นความจริงว่า สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา >>
จุดมุ่งหมายของการเจริญสติ มีด้วยกันหลายอย่าง เช่น>>
- สามารถดับทุกข์ที่จุดเกิดเหตุได้เป็นปัจจุบันขณะ
- เพื่อให้เห็นอาการเกิด-ดับ ของทุกข์ที่เกิดขึ้นจากการกระทบ ระหว่างตัวรู้และสิ่งถูกรู้ ซึ่งนำไปสู่การยึดติดและมีตัวตน
- เพื่อให้เห็นการกระทบเป็นปัจจุบันขณะ และอย่าเผลอไปติดตัวรู้และตัวว่าง เพราะจะยิ่งไปเพิ่มอำนาจให้แก่ใจมากขึ้นอีก
- เพื่อให้จิตเคลื่อนที่เห็นอาการเกิด-ดับ ที่อายตนะทั้ง ๖ ทวาร เห็นว่าการเกิด-ดับ เกิดขึ้นสลับไป-มา เป็นสิ่งไม่เที่ยง ยึดมั่น ถือมั่น ไม่ได้
> >
การเจริญสติเพื่อสะสมแรงดัน มีวิธีฝึกปฏิบัติฯ ด้วยกัน ๒ วิธี คือ>>๑.๑ การเจริญสติ เพื่อให้เห็นอาการเกิด-ดับ เป็นปัจจุบันขณะ ของความไม่เที่ยง (อนิจจัง) ซึ่งในปัจจุบัน การฝึกปฏิบัติฯวิธีนี้งดใช้ชั่วคราว (อ่าน “แสงสว่างที่ปลายทางรอด”) และเปลี่ยนเป็นการเจริญสติ เพื่อให้เห็นอาการเกิด-ดับเป็นปัจจุบันขณะของการตั้งอยู่ (ทุกขัง)
๑.๒ การเจริญสติ “ตั้งอยู่” เพื่อให้เห็นว่าอาการตั้งอยู่ของทุกข์ เกิดขึ้นเนื่องจากจิตไปรวมเป็นหนึ่งเดียวกับอายตนะ หรือตัวปวด ตัวเจ็บ ทำให้ไม่เห็นความเป็นปกติ เกิด-ดับ ของอาการตั้งอยู่
> >
วิธีฝึกปฏิบัติฯ (ควรฝึกปฏิบัติฯได้ ๔๕ นาที หรือ ๑ ชั่วโมง)ท่านั่งสำหรับการฝึกปฏิบัติฯ ขึ้นอยู่กับความพร้อมของแต่ละบุคคล หลักสำคัญของ การฝึก “ตั้งอยู่” คือ ไม่พลิกแปรเปลี่ยนท่าขณะกำลังฝึก ท่านั่งที่สุภาพ สวยงาม ถูกต้อง คือการนั่งขัดสมาธิหรือพับเพียบ ตัวตั้งตรง มือขวาซ้อนบนมือซ้าย วางบนตัก หลับตาเบาๆ สร้างความรู้สึกว่า พร้อมแล้ว ที่จะลงมือฝึกปฏิบัติฯ
๑. ให้ผู้ฝึกปฏิบัติฯ เตรียมความพร้อมให้กับ “จิต” ด้วยการปล่อยวางความรู้สึก นึก และ คิด ให้ไหลออกไปพร้อมกับลมหายใจออกเป็นความว่างไปสักระยะหนึ่ง>>
๒. ถ้าอาการของเวทนา (เจ็บ ปวด เมื่อย ชา หนัก ฯลฯ) มีมาก ความรู้สึก (จิต) จะวิ่งไปหาจุดหรือตำแหน่งที่เจ็บปวดทันที ถ้าร่างกายปกติไม่มีความเจ็บปวด หากแต่ทุกคนต้องมีความนึกซึ่งมีฐานอยู่ที่ “ใจ” หรือความคิดที่ติดอยู่ใน “สมอง” หรืออายตนะที่รับการกระทบ แต่ละคนต้องหาโจทย์ หาตำแหน่งภายในร่างกายเพื่อนำมาใช้ฝึกปฏิบัติฯ>>
๓. ให้ผู้ฝึกปฏิบัติฯ นึกไปยังตำแหน่งที่หาไว้ได้แล้ว และส่งจิต คือความรู้สึก (ไม่ใช่ลมหายใจเข้า-ออก) ไปแตะ กระทบ หรือชนยังตำแหน่งนั้นเพียงตำแหน่งเดียว เมื่อส่งจิตไปถึงยังตำแหน่งที่ต้องการได้แล้ว ให้ใช้คำกำกับว่า “ตั้งอยู่” และถอนความรู้สึกออกมา ทำซ้ำวิธีเดิม ที่เดิม ด้วยจังหวะประมาณ ๑ วินาที ทำต่อเนื่องไปเรื่อยๆ ไม่ฟุ้งซ่านไปยังที่อื่น เรื่องอื่น ลองจินตนาการถึงการตีเทนนิสใส่ผนังกำแพง การใช้ค้อนตอกตะปู จังหวะที่ลูกเทนนิส ถูกตีออกไปกระทบกำแพงแล้ว ค้างไว้ จังหวะที่ค้อนตอกลงไปบนหัวตะปูแล้วค้างไว้คือจังหวะที่จิตส่งไปถึงตำแหน่งที่มีปัญหาพร้อมกับคำว่า ตั้งอยู่ และ จังหวะที่ลูกเทนนิสกระดอนออกมาหาผู้เล่นอีกครั้ง จังหวะที่ค้อนถูกยกพ้นออกมาจากหัวตะปู คือจังหวะที่ผู้ฝึก ผู้ป่วย ถอนจิต ถอนความรู้สึก ออกมาจากตำแหน่งที่มีปัญหา
๔. ไม่ใส่เจตนา หรือเครียด กับการฝึกปฏิบัติฯมากจนเกินไป ปล่อยความรู้สึกสบายๆ
๕. ผู้ฝึกปฏิบัติฯ อาจจะยังไม่ชำนาญ หรือลื่นไหลไปกับจังหวะที่มี ๒ จังหวะ คือ จังหวะส่งจิตเข้าไปถึง และ จังหวะถอนจิตออกมาจังหวะ เป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยให้เพลิดเพลินไปกับการฝึกปฏิบัติฯ เหมือนไม่ถูกบังคับ หรือจำใจทำ ในช่วงแรกๆอาจจะทำไปช้าๆ (ช้ากว่า ๑ วินาที) จิตตั้งมั่นอยู่กับตำแหน่ง และหน้าที่ในการส่งจิตไปถึงตำแหน่งที่ต้องการอย่างสม่ำเสมอ ร่างกายอาจจะโยกหรือส่ายเล็กน้อย ตามจังหวะการเคลื่อนที่ของจิต ให้คล้อยตามอย่าเกร็งหรือต้าน
๖. หากส่งจิตไปถึงพร้อมกับคำว่า ตั้งอยู่ แล้ว แต่รู้สึกว่า การกระทบ การชน ไม่แรงพอ ให้เพิ่มตัวเลขเข้าไปอีก เป็นตั้งอยู่ ๑ ตั้งอยู่ ๒ ตั้งอยู่ ๓ … ตั้งอยู่ ๑๐๐
๗. อาการทุกข์ “ตั้งอยู่” ของแต่ละบุคคลแตกต่างกัน เหมือนการผูกเชือก อาจจะมีเทคนิคในการผูก เช่น ผูกหลวม ผูกแน่น ตามแรงและจุดมุ่งหมายที่มี หากทำได้สำเร็จ ผู้ฝึกปฏิบัติฯจะสัมผัสได้ว่า อาการตั้งอยู่มีการตอบรับ คือมีแรงดีดกลับเป็นระลอกๆ โดยอัตโนมัติ นั่นหมายความว่า การเจริญสติเริ่มได้ผล ความรู้สึก ตึ๊บๆๆ ตึ๊บๆๆ ของแรงสืบต่อได้เกิดขึ้นแล้ว และไม่จำเป็นต้องกำหนด ตั้งอยู่ ตั้งอยู่ อีกต่อไป คงมีแต่อาการ ตึ๊บๆๆ ตึ๊บๆๆ ที่ค่อยๆ เพิ่มความเร็วและแรง เป็นขั้นตอนของการเร่งสติ ซึ่งเกิดขึ้นได้ ๒ ลักษณะ
๗.๑ เกิดขึ้น ณ จุดที่กำหนดตั้งอยู่ เมื่ออาการ ตึ๊บๆๆ ตึ๊บๆๆ เร่งเร็วขึ้น และสะสมแรงใว้ได้มาก จนสามารถทำลายตัวทุกข์ที่รวมตัวเป็นก้อนให้ระเบิด วาบ ดันทิ้งออกไป ด้วย “แรงดัน” แสดงว่า ปมเชือกที่ผูกไว้ ถูกทำลายได้แล้ว ๑ ปม
๗.๒ ความรู้สึก ตึ๊บๆๆ ตึ๊บๆๆ เร่ง เร็วมากขึ้น และกระจายออกไปทั่วทุกส่วนของร่างกาย มีสติเต็มรอบ แรงสั่นสะเทือนเกิดขึ้นทั่วตัว เหมือนกาน้ำเดือด ใจจะขาด ให้ปล่อยวางความกลัวตาย ปล่อยวางร่างกาย เกิดการระเบิดใหญ่ หรือ วาบใหญ่ สลายทุกข์ที่เคยมี หมดไปในพริบตา และผู้รู้ก็รู้ได้เฉพาะตน
หากผู้ฝึกปฏิบัติฯ ผ่านได้เพียง ๗.๑ ให้
๘. ลองสำรวจให้ทั่วตัวดูว่า มี “ปม” ทั้งปมหยาบ และ ปมละเอียด ถูกผูกไว้ที่ใดบ้าง ให้แก้ไข ทีละปม ทีละตำแหน่ง จะทำได้สำเร็จมากน้อยขนาดไหน อาการวาบหรือดันระเบิดเป็นอย่างไร ผู้รู้ ก็รู้ได้เฉพาะตน สิ่งสำคัญคือ “อย่าเปลี่ยนท่าฝึกปฏิบัติฯ”
ข้อ ๑-๘ เป็นวิธีฝึกปฏิบัติฯเพื่อแก้ไขในส่วนที่หยาบกว่า หรือกายหยาบ ผู้ฝึกปฏิบัติฯควรแก้ไขส่วนที่เป็นกายละเอียด หรือ กายในกายอีกเปลาะหนึ่งด้วย
๙. ให้ผู้ฝึก ผู้ป่วย หลับตานอกลืมตาใน และส่งความรู้สึก (จิต) ไปยังตำแหน่งเดิม หรือที่ปมปัญหาเดิม และนึก ส่งความรู้สึกที่ได้ เช่น เจ็บ ปวด เมื่อย ชา ฯลฯ ไปยังผนังตาซึ่งผนังตาจะรับภาพเป็นแสงสี เช่น สีเทา ดำ นวลหรือ ขาว ฯลฯ ให้ผู้ฝึก ผู้ป่วย ใช้แสงสีที่ปรากฏที่ผนังตาเป็นตำแหน่งกำหนด ตั้งอยู่ๆๆ ไปจนกว่าสิ่งผิดปกติที่ผนังตาหาย หมดไป ผู้ฝึก ผู้ป่วย จะสัมผัสได้ว่าเวทนาที่มีได้ทุเลาลงไปมาก ในระหว่างฝึกปฏิบัติฯ ข้อ ๑-๙ หากมีเสมหะให้บ้วนทิ้ง
๑๐. การทำลายทุกข์ที่ “ตั้งอยู่” บางท่านอาจจะใช้เวลาเพียง ๔๕ นาที หรือ ๑ ชั่วโมง บางท่านอาจจะเป็น ๑ วัน ๑ เดือน หรือ ๑ ปี หรือ หลายปี อย่าท้อหรือขี้เกียจ บอกตัวเองว่า “สิ่งนี้คือหน้าที่เพื่อตนเอง”
> >
อานิสงส์ของการฝึกปฏิบัติ ฯ “ตั้งอยู่ ”>>๑. ในระดับปกติธรรมดา จะช่วยแก้ไขความบกพร่องทางกาย-จิต คือ ลดเจ็บลดปวด หรือลดกิเลสลงได้ ตามความเพียรที่หมั่นฝึกปฏิบัติฯ เห็นความจริงว่า ทุกข์ ตั้งอยู่ได้ไม่นาน
๒. ส่งผลให้บุคคลนั้นเข้าถึง “ทาง” หรือ “มรรค” หรือ “มีดวงตาเห็นธรรม” และใช้ทาง” ที่ได้นั้นเป็นประดุจอาวุธไปประหารกิเลสอื่นๆไปตามลำดับ จากหยาบไปหาละเอียด และผู้ที่เห็นธรรมเห็นได้ด้วย “ดวงตาของจิต” ไม่ใช่ตาเนื้อ “
๒. แรงเหวี่ยง เป็นอุบายของการเข้าถึง “มรรค" ด้วยการสะสมแรงที่เกิดจากการหมุนวนระหว่างส่วนสุดโต่งภายนอก และส่วนสุดโต่งภายใน จนมีแรงมากพอที่จะเหวี่ยง “จิต” ให้หลุดพ้นไปจากแรงยึดเหนี่ยวของธาตุรู้ในใจ เรียกการฝึกปฏิบัติฯวิธีนี้ว่า การหมุนธรรมจักร หรือ สมาธิหมุน ซึ่งมีฐานที่มาจาก>>
๑. ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร พระสูตรปฐมเทศนาที่พระพุทธองค์ ทรงแสดงแก่ปัญจวัคคีย์ มีใจความสำคัญตอนหนึ่งว่า “ บรรพชิตไม่เสพส่วนสุดโต่งสองส่วน ” ทำให้จิตของท่าน โกณฑัญญะไม่ติดอยู่กับสิ่งที่กระทบจากภายนอกและไม่ติดในอารมณ์ฌานของใจ เมื่อจิตไม่ยึดติดทั้งนอกและใน อาการ “หมุนวน” จึงเกิดขึ้น เป็นผลให้ท่านโกณฑัญญะได้ บรรลุธรรม
พระ อาจารย์รัตน์ รตนญาโณ ได้อธิบาย “การไม่เสพส่วนสุดโต่งสองส่วน” ไว้ดังนี้ ส่วนสุดโต่งที่หนึ่ง หมายถึง อายตนะภายนอก ได้แก่ ตา หู จมูก ลิ้น กาย รวมเรียกว่า สุดโต่งภายนอก และส่วนสุดโต่งส่วนที่สอง หมายถึง อายตนะภายใน ได้แก่ ใจ ศูนย์กลางธาตุรู้ของร่างกาย และเรียกว่า สุดโต่งภายใน
๒. อาการยึดติด จิตปุถุชนทั่วๆไป มีกิเลสครอบงำ ไม่เห็นการกระทบที่เกิดขึ้นและดับไป เป็นปัจจุบันขณะ จึงมักจะยึดติดอยู่ข้างหนึ่งข้างใดเสมอ คือถ้าไม่ติดการกระทบจาก ภายนอกด้วยการได้เห็น ได้ยิน ได้กลิ่น รู้รส รู้สัมผัส ก็มักจะติดการกระทบจากภายใน คือการรับรู้อารมณ์ การปรุงแต่งจากธาตุรู้ของใจ
๓. ธรรมชาติของจิตมนุษย์มีการเคลื่อนที่ หมุนวนอยู่ตลอดเวลา สัมพันธ์กับแรงที่ส่งมา จากศูนย์กลางของวงกลมที่ใหญ่กว่าทั้งภายนอกและภายในร่างกาย
การเข้าถึง “มรรค” ด้วยแรงเหวี่ยง มีด้วยกัน ๒ วิธี คือ>>
๒.๑ การหมุนธรรมจักร มี จุดมุ่งหมายให้ผู้ฝึกปฏิบัติฯ เห็นเหตุแห่งทุกข์ที่เกิดจากจิต ไปหลงยึดติดแรงที่ส่งมากระทบกับ ตา หู จมูก ลิ้น กาย สมอง และผ่านกระบวนการปรุงแต่งของธาตุรู้ในใจ เพิ่มการยึดมั่นถือมั่นในขันธ์ ๕ การหมุนทวนเข็มนาฬิกา เกิดขึ้นระหว่างความรู้สึกภายนอกกับความรู้สึกภายใน หมุนวนเหวี่ยงเข้าหากันเป็นรอบๆ ทุก ๑ วินาที ในระหว่างหมุนธรรมจักร ผู้ฝึกปฏิบัติฯจะเห็นความจริงการวนของทุกข์ว่า เกิดขึ้นจากการที่จิตไม่สามารถดับได้ทันทีที่เหตุหรือจุดที่รับแรงกระทบ จึงกลายเป็นกระทบนอก และส่งไปถึงตัวรู้ในใจ
เมื่อ ผู้ฝึกปฏิบัติฯหมุนธรรมจักรจนเกิดความชำนาญ มีวงหมุนจากนอกเข้าหาใน และหมุนทวนเข็มนาฬิกาอย่างเป็นอัตโนมัติได้แล้ว จิตจะเกิดปัญญาเห็นการวนเกิดของจิตเป็นรอบๆ อย่างไม่มีที่สิ้นสุด เห็นความปกติของการเกิดขึ้น ตั้งอยู่ สลายของขันธ์ ๕ และเร่งสติจนเป็นสติเต็มรอบ และปล่อยวางการหมุน จิตจะถูกเหวี่ยงเข้าถึง “มรรค” ทันที
การหมุนธรรมจักรในปัจจุบันนี้ ต้องหยุดฝึกปฏิบัติฯเป็นการชั่วคราว ด้วยเหตุผลเดียวกับการงดฝึกการเจริญสติให้เห็นอาการเกิด-ดับของความไม่ เที่ยง เนื่องจากภาวะวิกฤตของพลังงานแม่เหล็กโลก ซึ่งท่านสามารถศึกษารายละเอียดได้จากหนังสือ “ทางรอด” และ “แสงสว่างที่ปลาย ทางรอด” แต่อย่างไรก็ดี ผู้เขียนจะให้วิธีฝึกการหมุนธรรมจักรไว้ด้วยเพราะหากเมื่อใด วิกฤต พลังงานแม่เหล็กโลกได้คลี่คลายลง การหมุนธรรมจักรก็สามารถนำมาฝึกปฏิบัติฯ กันได้อีกครั้ง
> >
> >
วิธีฝึกปฏิบัติฯ>>๑. ให้ผู้ฝึกปฏิบัติฯ คลายอารมณ์ โดยการปล่อยวางความรู้สึก นึก คิด ให้คลายออกไปเป็นความว่าง สักระยะหนึ่ง ผู้ฝึกปฏิบัติฯจะรู้ว่าจิตของตน เข้าไปยึดติดกับสิ่งใด อารมณ์ใด
๒. จิตของผู้ฝึกปฏิบัติฯ เข้าไปยึดติดกับสิ่งใด เช่น ตา หู จมูก ฯลฯ หรือความเจ็บปวดของขันธ์ ๕ รวมถึงอารมณ์ที่อยู่ใกล้ธาตุรู้ในใจ ให้เอาสิ่งนั้นเป็นตัวนอก (สุดโต่งภายนอก) และตัวรู้ภายในใจ เป็นตัวใน (สุดโต่งภายใน)
๓. ถ้าจิตของผู้ฝึกปฏิบัติฯไม่ติดทั้งส่วนสุดโต่งภายนอกและส่วนสุดโต่งภายใน การหมุนวน จะเกิดเป็นอัตโนมัติตามธรรมชาติ จากส่วนสุดโต่งภายนอกซึ่งมีศูนย์กลางของธาตุรู้ที่เล็กกว่า เคลื่อนที่หมุนเข้าหาธาตุรู้ในใจ ซึ่งเป็นแหล่งของธาตุรู้ที่ใหญ่กว่าเสมอ
๔. ถ้าหากผู้ฝึกปฏิบัติฯไม่สามารถเห็นตามข้อ ๓ ได้ ให้ผู้ฝึกปฏิบัติฯใส่เจตนาด้วยการเคลื่อนความรู้สึกในอุปทานขันธ์ที่ตัวเอง ติดอยู่ เช่น อาการปวดเข่า เป็นส่วนสุดโต่งภายนอกไปหาตัวรู้ที่ใจหรือสุดโต่งภายใน ความรู้สึกจากสองส่วนคือ เข่าที่เจ็บ และใจ ที่รับรู้การเจ็บเข่าจะหมุนวนเข้าหากัน เป็นรอบๆ ทวนเข็มนาฬิกา
ผู้ฝึกปฏิบัติฯ ต้องจำได้ว่า ตัวใน คือตัวรู้ในใจ ตัวนอก เป็นสิ่งใด อาการเวทนาหรืออารมณ์ที่เกิดจากการยึดติดในขันธ์ ๕
๕. เมื่อความรู้สึกภายในใจ และสิ่งที่ติดอยู่หมุนวนกันเป็นรอบๆ และ หมุนทวนเข็มนาฬิกา เป็นการเคลื่อนที่ของความรู้สึกจากสุดโต่งภายนอกไปหาตัวรู้ในใจ ร่างกายรับรู้การเคลื่อนที่ของจิตที่มีการหมุนวนเช่นนี้ ให้ทำตัวอ่อนๆ ปล่อยร่างกายโยกตัวคล้อยตามแรงหมุน ช่วยให้การเคลื่อนที่ของสสารและพลังงานคล่องตัวดีขึ้น
๖. เมื่อทำไปนานๆ ผู้ฝึกปฏิบัติฯจะเห็นว่า การเหวี่ยงหมุนเกิดเร็วและแรงขึ้น ไม่ต้องตกใจกลัว ปล่อยให้การหมุนเป็นไปโดยอัตโนมัติ ไม่มีที่สิ้นสุด ตราบเท่าทีเหตุปัจจัยยังคงมีอยู่ ขณะที่กำลังหมุน ผู้ฝึกปฏิบัติฯ จะรู้ตัวตลอดเวลาว่ามีเหตุการณ์อะไรเกิดขึ้นรอบๆตัวบ้าง ที่สำคัญจะเห็นว่าทุกข์เกิดจากจิต เข้าไปหลงยึดติดในแรงกระทบและส่งผ่าน จนเกิดการปรุงแต่งของธาตุรู้ในใจ เกิดการหมุนวนสลับไป-มาอย่างต่อเนื่อง ไม่ขาดสาย เมื่อการ หมุนเหวี่ยงเร็วและแรงขึ้น จนสติเต็มรอบให้ปล่อยวางการหมุน จิตจะเข้าถึง “มรรค” ซึ่งผู้รู้ก็รู้ได้เฉพาะตน
ด้วย อุบายของ “การหมุนธรรมจักร” จะทำให้จิตของผู้ฝึกปฏิบัติฯ เหวี่ยงพ้นออกจากสภาวะการปรุงแต่ง หรือพ้นจากการยึดติดในขันธ์ ๕ ได้ใน ๒ ลักษณะ คือ
๑. จิตหลุดด้วยแรงเหวี่ยง คือ การที่ผู้ฝึกปฏิบัติฯหมุนเร็ว และแรงมาก จนกระทั่งมีสติเต็มรอบ สะสมแรงเหวี่ยงได้มาก ทำให้จิตเหวี่ยงหลุดออกไปจากวงกลมของการหมุน ที่หมุนวนระหว่างอายตนะต่างๆกับใจ อาจทำให้ผู้ฝึกปฏิบัติฯ ล้มหงายหลังลงไป และมีแสงสว่างที่ไม่เคยเห็นมาก่อนเกิดขึ้น ซึ่งผู้รู้ก็รู้ได้เฉพาะตนเท่านั้น
๒. จิตหลุดพ้นด้วยการปล่อยวาง เมื่อ ผู้ฝึกปฏิบัติฯ หมุนเหวี่ยงไปเรื่อยๆ จิตจะเกิดปัญญายอมรับความจริง ว่าทุกสิ่งทุกอย่างเกิดขึ้น เพราะมีอารมณ์เข้ามาปรุงแต่งจิตทำให้ไม่เห็นการเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และสลายไปตามกาละ จะยึดมั่นถือมั่นไม่ได้ ปล่อยวางอดีต ปัจจุบัน อนาคต ทุกสิ่งเกิดขึ้นเพราะมีปัจจัยหนุนเนื่องอยู่ ปล่อยวางอุปทานทุกอย่าง รวมทั้งอุบายของการหมุน จิตจะลอยขึ้นๆ ให้ละตัวดู จิตจะพลิกเข้าถึงซึ่งความพ้นทุกข์ เห็นมรรคเห็นทางเดิน
> >
คุณประโยชน์>>๑. การหมุนธรรมจักร เป็นอุบายเรืองปัญญาที่ช่วยให้ผู้ฝึกปฏิบัติฯ เข้าถึงมรรคได้เร็วมาก
๒. การหมุนธรรมจักร เป็นวิธีฝึกปฏิบัติฯ ที่ฝึกให้จิตไม่ติดอยู่ที่หนึ่งที่ใดที่เดียว เป็นการคลายเกลียวน็อต ทำให้กิเลสไม่รวมตัวเป็นกลุ่มเป็นก้อน สามารถขับอนุสัยกิเลส โลภ โกรธ หลง อารมณ์และความคิดในอดีตที่อยู่ลึกที่สุดออกมาได้เร็ว
๓. ถ้าผู้ฝึกปฏิบัติฯ ได้หมุนธรรมจักรอย่างสม่ำเสมอ แม้จิตยังไม่เข้าถึง “มรรค” จะสามารถปรับ เปลี่ยนพฤติกรรมให้อยู่ในศีลธรรม ละเว้นและลดอบายมุขทั้งปวง ปล่อยวางสิ่งต่างๆที่เคยหลงยึดติดไว้ได้ จะเห็นโทษจากการที่จิตเข้าไปยึดติดในสิ่งต่างๆ และพยายามทำให้จิตเป็นอิสระ ให้ขันธ์ ๕ ยึดตัวเราได้น้อยที่สุด เปรียบเสมือนการลบรอยเท้าตนเอง เช่นเดียวกับการเจริญสติเกิด-ดับ หรือตั้งอยู่นั้นเอง
ข้อแนะนำ>>ถ้า ผู้ฝึกปฏิบัติฯต้องการฝึกการหมุนธรรมจักร โดยการใส่เจตนาให้ร่างกายหมุนตามไปด้วยแรงๆ ตามจังหวะการเคลื่อนที่ของจิต ควรบอกให้ผู้ใกล้ชิดทราบก่อนว่า กำลังจะทำสิ่งใด เพราะผู้ที่ดูคนอื่นหมุนธรรมจักร จะรู้สึกเวียนศีรษะ และ ไม่เข้าใจว่าเกิดอะไรขึ้นจึงต้องหมุนติ้ว ติ้วๆ ทำให้เกิดการเข้าใจผิด และพูดต่อไปอย่างผิดๆได้ง่าย
๒.๒ ไหว นิ่ง ว่าง เป็นอุบายหรือวิธีฝึกปฏิบัติฯ เพื่อสลัดหรือเหวี่ยงสิ่งที่ยึดติดให้สลายกลายเป็นความว่าง เป็นวิธีฝึกปฏิบัติฯที่ใช้มานาน และใช้ได้ทุกยุคทุกสมัย เป็นอีกรูปแบบหนี่งของ “การหมุน” ที่คล้ายคลึงกับการหมุนธรรมจักร มีจังหวะการทำงานของจิต ใน ๑ รอบวินาที ด้วยกัน ๓ ขั้นตอน
ไหว คือ การเริ่มเคลื่อนที่ของจิต
นิ่ง คือ ตัวปัญหา หรือ ตำแหน่ง ที่ต้องได้รับการแก้ไข เช่นตำแหน่งเวทนาของขันธ์ ได้แก่ ความเจ็บปวด เมื่อย หนัก ชา มะเร็ง ปอดอักเสบ ฯลฯ และอารมณ์ของกิเลสตัณหา
ว่าง คือ จังหวะที่จิตดันตัวนิ่งออกไปเป็นความว่าง
> >
วิธีฝึกปฏิบัติฯ >>๑. ให้ผู้ฝึกปฏิบัติฯ เลือกท่านั่งที่คิดว่าจะนั่งได้นานที่สุด หลับตาเบาๆปล่อยความรู้สึก นึก และคิด เป็นความว่างไปสักระยะหนึ่ง
๒. ถ้าผู้ฝึกปฏิบัติฯมีความรู้สึก “ว่าง” ได้ ผู้ฝึกปฏิบัติฯ จะสัมผัสได้ว่าจิตจะถูกดึงไปยังตำแหน่งที่มีปัญหาทันที ให้จำไว้เพราะจะใช้ตำแหน่งนั้นเป็นตัว “นิ่ง” (หากมีปัญหาหลายตำแหน่งให้ใช้ตำแหน่งที่รับความรู้สึกได้มากที่สุดเป็น ตัว “นิ่ง”)
๓. เคลื่อนจิต (ความรู้สึก) ออกไปพร้อมกับคำว่า “ไหว” ฉะนั้นใช้ “ไหว” เข้าไปกำกับการเคลื่อนที่ของจิตหรือ ใช้ “ไหว” เข้าไปกำกับขณะที่จิตกำลังเคลื่อนออกไป
๔. จิต “ไหว” ออกมาหาตัว “นิ่ง” พร้อมทั้งคำกำกับว่า “นิ่ง” และให้จิตนิ่ง อยู่ที่ตัวปัญหานั้น และ
๕. จิต (ความรู้สึก) ดันตัว “นิ่ง” ออกไปเป็นความว่าง พร้อมกับคำว่า ว่าง>>
๖. ฝึก ๓ จังหวะซ้ำ คือจิตเคลื่อนที่ออกพร้อมกับคำว่า ไหว และถึงจุดตำแหน่งที่มีปัญหาใช้ จิตจับหรือ กุมไว้ พร้อมกับคำว่า นิ่ง แล้วนึกดันตัวนิ่งให้สลายออกไปพร้อมกับคำว่า ว่าง (โปรดสังเกตว่าทั้ง ๓ จังหวะไม่เกี่ยวข้องกับจังหวะของลมหายใจแม้แต่สักนิด หากทำแล้วรู้สึกเหนื่อย แสดงว่าทำผิด)
๗. เมื่อฝึกปฏิบัติฯต่อเนื่องไปสักระยะหนึ่ง เกิดความคล่องตัว จังหวะลื่นไหลไม่ติดขัด จังหวะ ไหว นิ่ง ว่าง จะเคลื่อนที่เป็นวงกลม หรือรูปหยดน้ำ ใช้เวลา ๑ รอบ ประมาณ ๑ วินาที
๘. ตำแหน่ง “นิ่ง” จะถูกเหวี่ยงทิ้งออกไป หากทำได้สำเร็จ ความเจ็บปวด หรือกิเลสจะ จางคลายหรือหายเป็นปลิดทิ้ง (อย่าเติมความอยากหายให้กับ “จิต”)
๙. เมื่อทำ ไหว นิ่ง ว่าง ที่กิเลสอารมณ์ และตำแหน่งเจ็บปวดแล้ว ผู้ฝึกปฏิบัติฯ ต้องตามมาแก้ไขที่กายละเอียดอีกครั้ง เพื่อให้หายขาด หายสนิท โดยให้ผู้ฝึกปฏิบัติฯ หลับตานอกลืมตาใน ส่งจิตเคลื่อนไป “นิ่ง” ที่ตำแหน่งเดิม นึกถึงความรู้สึกโลภ โกรธ หลง ทุกข์ ปวดเจ็บ ฯลฯ ที่เคยมีหรือยังมีเหลืออยู่ ให้มาถึงผนังตา ซึ่งจะรับภาพเป็นแสงสี (ถึง แม้ผู้ฝึกปฏิบัติฯ จะไม่เห็นแสงสีใดๆก็ไม่เป็นไร เพียงแต่ให้เชื่อว่า สามารถส่งความรู้สึกไปยังผนังตาได้แล้วจริง) ให้ผู้ฝึกปฏิบัติฯ นึกทำ ไหว นิ่ง ว่าง ที่ผนังตา ด้วยเทคนิค ๓ จังหวะ เหมือนอย่างที่เคยทำ จะสามารถถอนรากถอนโคนตัวทุกข์อย่างได้ผลจริง
๑๐. หากฝึกปฏิบัติฯ ได้อย่างสม่ำเสมอ ขุดทิ้งได้ทั้งกิเลสหยาบและละเอียด สามารถ ถอนราก ถอนโคน ถอนอนุสัย จนเบาบางหรือหมดไป เท่ากับเป็นการลบรอยเท้าตนเอง เปลี่ยนแปลงพฤติกรรม มีโอกาสเข้าถึงมรรคได้เช่นเดียวกับการเจริญสติ หรือ การหมุนธรรมจักร
> >
คุณประโยชน์>>ไหว นิ่ง ว่าง สามารถเหวี่ยง สลัด กิเลสและการยึดติดที่ฝังรากลึกได้อย่างรวดเร็วและชะงัดที่สุด
๓. แรงความเป็นกลาง เป็นอุบายของการเข้าถึง “มรรค” ด้วยหลักการพื้นฐาน อย่างเดียวกันกับการหมุนธรรมจักร การฝึกปฏิบัติฯ แบ่งออกเป็น ๓ ขั้นตอน ด้วยกัน คือ >>
การ หาส่วนสุดโต่งทั้งสองส่วนให้ได้ก่อนเป็นอันดับแรก ลำดับถัดมาเป็นการนำจิตเข้าไปอยู่กึ่งกลางระหว่างส่วนสุดโต่งทั้งสองส่วน และพยายามประคองจิตไว้ที่กึ่งกลางไม่ติดข้างใดข้างหนึ่ง และขั้นตอนสุดท้าย คือเทคนิคของการสะสมแรงความเป็นกลาง ให้มีกำลังมากพอที่จะดันระเบิดออกไป ซึ่งมีด้วยกัน ๓ วิธี เป็นการใช้แรงความเป็นกลางร่วมกับแรงดัน >>
พระ พุทธองค์ทรงตรัสรู้ด้วยการวางจิตไว้ตรงกลางระหว่างรูปและอรูป รูป คือสภาพของร่างกายที่ผ่านการทรมานด้วยการอดอาหาร และ อรูป เป็นอารมณ์ของฌานอยู่ลึกที่สุดภายในใจ เมื่อทรงวางจิตไว้กึ่งกลางระหว่าง ๒ ส่วน แรงความเป็นกลางได้เกิดขึ้น และ สะสมแรงได้จนเต็มพิกัด เกิดแรงดันระเบิดออกไป ทำลายทั้ง รูป และ อรูป พระสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงทรงอุบัติขึ้น>>
ขั้น ตอนแรก ผู้ฝึกปฏิบัติฯ ต้องหาส่วนสุดโต่งภายนอก ซึ่งหมายรวมถึง การยึดติดที่อายตนะภายนอก อาการเวทนาของขันธ์ และอารมณ์ของใจ สำหรับสุดโต่งภายใน มีอยู่เพียงอย่างเดียว คือธาตุรู้ในใจ
สุดโต่งภายนอก สุดโต่งภายใน >>
กาย ใจ
ความคิดในสมอง รู้คิดในใจ
เสียงที่หู รู้ในใจ
กลิ่นที่จมูก รู้กลิ่นในใจ
รสที่ลิ้น รู้รสในใจ
รูปที่ตา รู้ว่ารูปในใจ
อารมณ์ในใจ ตัวรู้อารมณ์ในใจ
กฎเกณฑ์ หรือสมมุติบัญญัติใดๆ ที่เป็นของคู่กันเช่น บาปกับบุญ คุณกับโทษ ความดีกับความชั่ว ผู้ทำกับสิ่งที่ถูกกระทำ ผู้รู้กับสิ่งที่ถูกรู้ ผู้เห็นกับสิ่งที่ถูกเห็น ฯลฯ สิ่งทั้งหลายเหล่านี้ ล้วนเป็นส่วนสุดโต่งทั้งสองส่วน ที่ผู้ฝึกปฏิบัติฯ สามารถนำมาใช้เป็นอุบายของการฝึกหาแรงความเป็นกลาง
วิธีฝึกปฏิบัติฯ>>
๓.๑ หลังจากผู้ฝึกปฏิบัติฯได้คลายความรู้สึกเป็นความว่างไปพอสมควรแล้ว สิ่งที่เคยยึดติดจะโผล่ขึ้นมาให้เห็น ให้ใช้สิ่งนั้นเป็นสุดโต่งภายนอก และสุดโต่งภายในคือ ตัวรู้ในใจเสมอ>>
๓.๒ ให้ผู้ฝึกปฏิบัติฯ นำความรู้สึก(จิต) เข้าไปวางอยู่กึ่งกลางระหว่างสิ่งสุดโต่งภายนอกและตัวรู้ในใจ โดยปรับความรู้สึกให้อยู่กึ่งกลางเสมอ ไม่ค่อนไปทางหนึ่งทางใด เป็นการหาความเป็นกลางของความรู้สึก ไม่ใช่จุดกึ่งกลางที่วัดกันด้วยระยะทางเป็นนิ้ว หรือ เซนติเมตร ดังตัวอย่างเช่น สุดโต่งภายนอก คืออาการปวดศีรษะ และสุดโต่งภายใน คือตัวรู้ในใจที่รู้ว่าอาการปวดศีรษะเป็นอย่างไร ผู้ฝึกปฏิบัติฯ ต้องหาจุดกึ่งกลางของความรู้สึก ระหว่าง ศีรษะที่ปวด และใจที่รับรู้การปวด ไม่ให้ความรู้สึกถูกดึงไปข้างหนึ่งข้างใดมากกว่ากัน เหมือนการหาจุดสมดุลของไม้คานหาบของบนบ่า
๓.๓ เมื่อผู้ฝึกปฏิบัติฯ สามารถนำจิตเข้าไปอยู่กึ่งกลางระหว่างสองส่วนได้แล้ว และพยายามปรับความรู้สึกให้อยู่กึ่งกลางตลอดเวลา ในขั้นตอนนี้ มีเทคนิคของการเพิ่มสะสมแรงความเป็นกลาง ด้วยกัน ๓ วิธี ซึ่งผู้ฝึกปฏิบัติฯ ควรทำความเข้าใจ และเลือกเทคนิคที่ตนเองชอบ ถนัด นำไปละลายส่วนสุดโต่งทั้งสองส่วน ที่เป็นทั้งขันธ์หยาบและละเอียด ในขั้นตอนต่อๆไปอีกด้วย
๓.๓.๑ ให้นำความสงบนิ่งที่ได้จากการฝึกสมถกรรมฐานมาใช้ โดยปรับลมให้นิ่งเป็นหนึ่งเดียวกับจุดกึ่งกลางให้ได้ และกดความนิ่งให้อยู่ ณ จุดกึ่งกลางตลอดเวลา จนกระทั่ง จุดกึ่งกลางซึ่งเคยเป็นวงกลมเล็กเพียงนิดเดียว ได้เพิ่มขนาด ใหญ่ขึ้นๆ สะสมและขยายความเป็นกลางออกไปทั้งสองด้าน ยิ่งรู้สึกนิ่งสงบ ณ จุดกึ่งกลางได้มากเท่าใด จะยิ่งรู้สึกร้อนมากขึ้นตามลำดับ ในที่สุด เมื่อสะสมแรงความเป็นกลางได้มากพอแล้ว แรงความเป็นกลางจะดันระเบิดออกไปทำลายส่วนสุดโต่งภายนอกและสุดโต่งภายในพร้อมกัน
๓.๓.๒ เมื่อใช้อารมณ์สมถะ และนิ่งที่จุดกึ่งกลางได้แล้ว หากผู้ฝึกปฏิบัติฯ ใส่ความรู้สึกร่วมกับจุดกึ่งกลาง จะเกิดการหมุนท่ามกลางที่จุดกึ่งกลาง การหมุนจะหมุนเร็วขึ้นๆ พร้อมทั้งวงหมุนขยายใหญ่ออกไปทั้งสองข้าง และธรรมจักรหมุนปั่นทำลายส่วนสุดโต่งทั้งสองส่วนไปพร้อมๆกัน
๓.๓.๓ กำหนดตัวปัจจุบันขณะ “ตั้งอยู่” สำทับลงไป ณ จุดกึ่งกลาง หน้าที่ของจิตในขณะนั้น อยู่กับการกำหนดตั้งอยู่ ตั้งอยู่ๆๆ ที่จุดกึ่งกลาง เป็นการสะสมแรงความเป็นกลางได้อย่างรวดเร็ว จนสามารถดันระเบิดและทำลายส่วนสุดโต่งได้พร้อมกันทั้งสองส่วน
หาก แรงความเป็นกลาง ที่เกิดจากการใช้ความนิ่งสงบจี้ลงไป หรือเกิดจากการหมุนท่ามกลาง หรือการกำหนดตั้งอยู่ สามารถสะสมแรงความเป็นกลาง ได้มากมายมหาศาล สามารถดันระเบิดทำลายส่วนสุดโต่งทั้งสองส่วนได้ทันที จะส่งผลให้ผู้ฝึกปฏิบัติฯเข้าถึงมรรค แต่ถ้าหากแรงดันระเบิดมีน้อย ผลที่ได้เป็นเพียงการคลายการยึดติดได้ทีละอย่าง ทีละปม
๓.๔ ผู้ฝึกปฏิบัติฯต้องเข้าไปอยู่กึ่งกลางระหว่างสองส่วนไปทีละปม ทีละอย่าง จนกระทั่งแรงความเป็นกลางได้ละลายขันธ์หยาบหมดไป ผู้ฝึกปฏิบัติฯจะไปเจอส่วนที่เป็นขันธ์ละเอียด คือแสงสว่าง ความบริสุทธิ์ และความว่าง ซึ่งเป็นอารมณ์ของใจ
๓.๕ ผู้ฝึกปฏิบัติฯต้องทำลายแสงสว่างที่สว่างคล้ายหลอดไฟสีเหลือง โดยนำจิตเข้าไปอยู่กึ่งกลางระหว่างแสงสว่างและตัวรู้ในใจ แรงความเป็นกลางทำลายสองส่วนหมดไป ความบริสุทธิ์คล้ายๆหลอดไฟนีออนเกิดขึ้น และ เมื่อผู้ฝึกปฏิบัติฯ ทำลายความบริสุทธิ์และตัวรู้ในใจได้ ความว่างเกิดขึ้น และ ในที่สุดผู้ฝึกปฏิบัติฯ สามารถทำลายความว่าง อารมณ์สุดท้ายของใจได้ด้วยการอยู่กึ่งกลางตามวิธีการเดิม
๓.๖ ขณะนี้ผู้ฝึกปฏิบัติฯ สามารถละลายได้หมดทั้งส่วนที่เป็นขันธ์หยาบ และขันธ์ละเอียด จิตได้ทำงานมาถึงขั้นตอนสุดท้าย เหลืออยู่แต่เพียงจิตกับใจ (วิญญาณธาตุ หรือตัวรู้ในใจ) อยู่ซ้อนติดกันอย่างเหนียวแน่น การที่จะเข้าไปพบจิตอิสระได้ จิตกับตัวรู้ต้องแยกจากกันโดยเด็ดขาด มนุษย์ เราทุกคนตกอยู่ภายใต้อำนาจการบงการของใจ คือตัวรู้มาโดยตลอด เป็นการยากยิ่งนักที่จะสลัดตัวรู้ทิ้ง อุปมาง่ายๆว่า ขณะนี้ผู้ฝึกปฏิบัติฯ พายเรือมาถึงฝั่ง และ จะก้าวขึ้นฝั่ง ถ้าหากไม่ทิ้งเรือ สละเรือ จะก้าวขึ้นฝั่งได้อย่างไร ความรู้สึกตอนนี้เหมือนใจจะขาด เหมือนคนใกล้จะตาย เพราะจิตกำลังตัด “ใจ” คือตัวรู้ทิ้ง ต้องยอมตาย เพราะครั้งนี้ไม่ใช่การตายจริงที่ร่างกายสิ้นสูญไป แต่เป็นการตายพ้นไปจากความยึดติดในอุปทานขันธ์ และความไม่รู้ เมื่อผู้ฝึกปฏิบัติฯ สามารถทิ้งเรือก้าวขึ้นบนฝั่งได้ ถึงเวลาจะได้รู้ว่า “ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหิ” เป็นอย่างไร>>
> >
คุณประโยชน์>>๑. เป็นอุบายเข้าถึง “มรรค” ที่ทำได้ง่ายที่สุด เหมาะกับบุคคลที่เรียบง่าย ไม่ยึดติดกับสิ่งใด เป็นการบรรลุฉับพลัน
๒. ผู้ฝึกปฏิบัติฯจะเห็นขั้นตอนของการละลายขันธ์ ตั้งแต่ขันธ์หยาบไปจนถึงขันธ์ละเอียด อย่างชัดเจน เมื่อสามารถละลายได้หนึ่งครั้ง การละลายขันธ์ในส่วนอื่นๆที่เหลือจะทำให้ง่าย เพราะเข้าใจอุบายวิธีการดีแล้ว
> >
สิ่งเตือนใจ>>เมื่อ ผู้ฝึกปฏิบัติฯสามารถละลายขันธ์หยาบเข้าไปสู่ขันธ์ละเอียด คืออารมณ์ของใจ เป็นแสงสว่าง ความบริสุทธิ์ และความว่าง ผู้ฝึกปฏิบัติฯต้องรู้ว่าสิ่งที่ปรากฏเหล่านี้ ไม่ใช่สภาวธรรม ควรละลายสิ่งที่ปรากฏเหล่านั้นให้หมดไป