ยังไม่เคยเห็นใครปลูกด้วยหัวเหมือนกันครับ ทั่วไปใช้ต้นสับเป็นท่อนๆ เลือกต้นอ้วนๆ
ยาวประมาณ1คืบ ขุดหลุม 1หน้าจอบ ใส่ท่อนมันลงไป ใช้เท้าเขี่ยดินกลบพอเสมอหลุม
ใบมันสำปะหลังมีพิษหากกินดิบๆ
อาหารเป็นพิษจากมันสำปะหลัง (Cassava poisoning)
Cassava หรือมันสำปะหลัง เป็นพืชเศรษฐกิจสำคัญของประเทศไทย มีการเพาะปลูกประมาณ
8 ล้านไร่ จากพื้นที่เกษตรทั้งหมด 165 ล้านไร่ ปลูกมากในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ฤดูกาลเพาะปลูกคือ
เดือนกรกฎาคม มีนาคม มันสำปะหลังมีชนิดหวานและชนิดขม ซึ่งชนิดขมมีพิษมากกว่า ในประเทศไทย
ส่วนใหญ่เป็นชนิดขม ซึ่งใช้ในอุตสาหกรรม มันสำปะหลังดิบมีพิษอยู่ที่เปลือก การรับประทาน
มันสำปะหลังที่ปรุงไม่ถูกต้องหรือไม่สุกดีจะเกิดการดูดซึมพิษไซยาไนด์ในระบบทางเดินอาหาร การเป็น
พิษจากมันสำปะหลังมีทั้งแบบเฉียบพลันและการเกิดอาการอย่างช้าๆ
จากรายงานการพบผู้ป่วยด้วย Cassava poisoning ในประเทศไทย 1 โดยสำนักระบาดวิทยา
กรมควบคุมโรค พบผู้ป่วยครั้งแรกในปี พ.ศ. 2516 จำนวน 5 ราย มีผู้เสียชีวิต 1 ราย ต่อมาพบต่อเนื่องกันมา
เป็นเวลานานถึง 8 ปี (ระหว่างปี พ.ศ. 2517 - 2524) โดยมีรายงานผู้ป่วยอยู่ระหว่าง 5 - 40 รายต่อปี
มีผู้เสียชีวิต อยู่ระหว่าง 1 - 2 ราย ต่อปี หลังจากนั้นไม่มีรายงานผู้ป่วยอีกเลยนานถึง 18 ปี (ระหว่าง พ.ศ.
2525 - 2543) จนกระทั่งเริ่มมีรายงานผู้ป่วยอีกในปี พ.ศ. 2544 - 2547 โดยปี พ.ศ. 2544 มีรายงานผู้ป่วย
164 ราย (อัตราป่วย 0.26 ต่อประชากรแสนคน) เพิ่มขึ้น เป็น 261 ราย ในปี พ.ศ. 2545 (อัตราป่วย 0.42 ต่อ
ประชากรแสนคน) ในปี พ.ศ. 2546 มีผู้ป่วย 148 ราย (อัตราป่วย 0.24 ต่อประชากรแสนคน) ในปี พ.ศ. 2547
มีผู้ป่วย 135 ราย (อัตราป่วย 0.22 ต่อประชากรแสนคน) ทั้ง 4 ปี ไม่มีผู้เสียชีวิต (รูปที่ 1) ปี พ.ศ. 2547
พบผู้ป่วยชาวพม่า 2 คน ไม่ระบุสัญชาติ 1 คน มีแนวโน้มพบเพศหญิงมากกว่าเพศชาย โดยพบกลุ่มอายุ
15 - 44 ปี มากขึ้น อาชีพเกษตรกรรมป่วยสูงสุด ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีอัตราป่วยสูงสุดตั้งแต่ปี พ.ศ.
2544 รองมาเป็นภาคเหนือ และภาคกลางสลับกัน ภาคใต้อัตราป่วยต่ำสุดทุกปี
ในปี พ.ศ. 2547 พบอัตราส่วนผู้ป่วยเพศชายต่อเพศหญิง เท่ากับ 1:2 ผู้ป่วยร้อยละ 73.3 ในกลุ่ม
อายุ 15 - 44 ปี สถานภาพ เป็นคู่ ร้อยละ 60.0 รองมาเป็นโสดร้อยละ 38.5 อาชีพที่พบมากคือ เกษตรกรรม
ร้อยละ 53.3 รองลงมาคือ นักเรียน รับจ้าง ร้อยละ 17.8, 17.03 ตามลำดับ อาชีพอื่น ๆ พบระหว่างร้อยละ
0.7 - 3.7 ได้แก่ ข้าราชการ ค้าขาย ครู และอื่น ๆ
การกระจายแต่ละปีมีลักษณะแตกต่างกัน ในปี พ.ศ. 2544 และ 2545 พบผู้ป่วยมากในช่วงเดือน
มิถุนายน - สิงหาคม โดยเริ่มในเดือนพฤษภาคม สูงสุดในเดือนกรกฎาคมและลดต่ำจนถึงเดือนตุลาคม
ส่วนปี พ.ศ. 2546 และ 2547 ไม่พบการกระจายลักษณะดังกล่าว (รูปที่ 3) พื้นที่พบผู้ป่วยมาก ได้แก่
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ รองลงมาคือ ภาคกลาง ภาคเหนือ และภาคใต้ อัตราป่วยต่อประชากรแสนคน
เท่ากับ 0.40, 0.19, 0.08, 0.01 ตามลำดับ (รูปที่ 2) จังหวัดที่พบรายงานมากใน 10 อันดับแรก ได้แก่ จังหวัด
สระแก้ว รองมาคือ บุรีรัมย์ สุรินทร์ เพชรบุรี มุกดาหาร ฉะเชิงเทรา ยโสธร กาญจนบุรี อุดรธานี และ
ปราจีนบุรีตามลำดับ (อัตราป่วยต่อประชากรแสนคนอยู่ระหว่าง 2.78 - 0.44) ไม่มีรายงานผู้ป่วยใน
http://epid.moph.go.th/Annual/Annual47/part1/54-Cassava%20poisoning.pdf